รถยนต์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของ Henry Ford ในปี 1941




รถถั่วเหลืองทดลองของ Henry Ford / Cr.ภาพThe Henry Ford/Ford Motor Company


สำหรับ Henry Ford และ T-model ยอดนิยมของเขา นอกจากจะจุดประกายความหลงใหลในรถยนต์ให้กับเราและความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น แล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าครั้งหนึ่ง Ford เคยพยายามสร้างรถยนต์ที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

Henry Ford เกิดในฟาร์มและใช้เวลาในวัยเด็กทำงานในฟาร์มของพ่อของเขา แม้ว่าเขาจะดูถูกงานในฟาร์มตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่ในวัยกลางคน เขากลับรู้สึกทึ่งกับแนวคิดที่จะผสมผสานการทำฟาร์มเข้ากับอุตสาหกรรม และมีความสนใจมาอย่างยาวนานในพลาสติกที่พัฒนาจากผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะถั่วเหลืองที่ Ford พยายามค้นหาการใช้ถั่วเหลืองในการผลิต แต่ก็ประสบความสำเร็จอย่างจำกัด

เขาปลูกฝังความสัมพันธ์กับนักวิทยาศาสตร์เกษตรชาวอเมริกัน George Washington Carver และสร้างห้องปฏิบัติการถั่วเหลืองในหมู่บ้าน Greenfield Village ในมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ที่ซึ่งเขาได้ทดลองกับน้ำมันและพลาสติกจากถั่วเหลือง โดยเริ่มนำมาใช้ในยานพาหนะของเขาเช่น ในหัวเกียร์ แต่ Ford มีความฝันที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือ เขาต้องการสร้างรถยนต์จากพลาสติกเกือบทั้งหมด ผลลัพธ์ที่ได้คือสิ่งที่เรียกว่า "รถถั่วเหลือง" (soybean car) ที่เปิดตัวในปี 1941

soybean car ของ Ford ได้รับการตั้งชื่อนี้ เนื่องจากมีการกล่าวกันว่า โครงตัวถังทำด้วยพลาสติกจากถั่วเหลืองที่สร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการ Greenfield Village ในเมือง Dearborn, มิชิแกน (ตัวอาคารที่เป็นโครงสร้างสีเทา) แม้ว่าโครงสร้างไม่อยู่ให้เห็นแล้ว แต่ Lowell Overly พนักงาน Ford ที่ดูแลโครง การกล่าวว่า วัสดุตัวรถเป็น "เส้นใยถั่วเหลืองใน phenolic resin (โพลีเมอร์สังเคราะห์) กับ formaldehyde (สารประกอบอินทรีย์ที่มีตามธรรมชาติ) ที่ใช้ในการทำให้ชุ่ม"

โครงเหล็กของรถถั่วเหลือง ซึ่งจะมีแผงตัวถังสิบสี่แผงติดตั้งกับเฟรมนี้

แต่วิศวกรด้านพลาสติกในวันนี้ให้ความเห็นว่า พลาสติกอาจจะมีส่วนประกอบของถั่วเหลืองที่สำคัญอยู่ แต่แผงตัวถังน่าจะเป็นพลาสติกฟีนอลทั่วไปที่คล้ายกับสิ่งที่เรารู้จักกันในชื่อ Bakelite อย่างไรก็ตาม พลาสติกโครงสร้างจากถั่วเหลืองไม่เคยได้รับการพิสูจน์มาจนถึงทุกวันนี้

"รถถั่วเหลือง" นั้นยังมีความน่าสนใจในด้านอื่นๆ มากมาย เริ่มจากสถาปัตยกรรมของมัน เดิมทีได้รับการออกแบบโดย Bob Gregorie หัวหน้านักออกแบบของ Ford และด้วยความช่วยเหลือจาก John Najjar  แชสซีและโครงสร้างส่วนบนของตัวถังแบบบูรณาการถูกสร้างขึ้นจากท่อเหล็กผนังบาง แผงตัวถังแบบหล่อทั้ง 14 แผงที่ประกอบเป็นผิวรถจะถูกแขวนไว้บนโครงสร้างรองรับนี้ ซึ่งแผ่นพลาสติกถั่วเหลืองจำนวน 14 แผ่นนี้ จะหนาประมาณหนึ่งในสี่ของนิ้วเท่านั้น
ส่วนหน้าต่างทำด้วยแผ่นอะครีลิคน้ำหนักเบา และระบบขับเคลื่อน 136 CID Ford V8-60 แรงม้า ส่งผลให้น้ำหนักโดยรวมลดลง 25 เปอร์เซ็นต์ โดยมีรายงานว่ามีน.น.เพียง 2,000 ปอนด์ ทั้งยังทำให้รถประหยัดน้ำมันมากขึ้น นอกจากนี้ รถยังได้รับการออกแบบให้วิ่งโดยใช้น้ำมันกัญชาได้ทำให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
 
Ford เชื่อว่า "แผงพลาสติกทำให้รถปลอดภัยกว่ารถเหล็กทั่วไป และรถสามารถพลิกคว่ำได้โดยไม่ถูกบดขยี้" โดยมีวิดีโอหนึ่งแสดงให้เห็นว่า Ford ใช้ขวานฟันไปที่ส่วนท้ายของรถที่ติดตั้งพลาสติกจากถั่วเหลืองเพื่อแสดงให้เห็นว่ามันไม่บุบ รวมทั้งในตอนนั้น การเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรปเกิดการขาดแคลนโลหะ จึงมีการระงับการผลิตรถยนต์ทั้งหมด ซึ่ง Ford คาดการณ์ว่า ถ้าใช้วัสดุใหม่นี้แทนเหล็กเพื่อสร้างรถยนต์จะลดการใช้โลหะลง
10 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐอเมริกา


ในช่วงต้นทศวรรษ 1940 Henry Ford ได้ทดลองทำชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับรถยนต์ การทดลองเหล่านี้ส่งผลให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
"รถพลาสติกที่ทำจากถั่วเหลือง" แม้ว่ารถคันนี้ไม่ได้เป็นคอลเล็กชั่นของพิพิธภัณฑ์ แต่ก็ยังคงเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบที่เป็นนวัตกรรมใหม่
โดยรถคันนี้ถูกจัดแสดงที่ Dearborn ในปี 1941 และที่งาน Michigan State Fair Grounds ในปลายปีนั้น 

แม้ว่า Ford จะทุ่มเงินหลายล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาพลาสติกสำหรับรถยนต์ โดยประกาศว่าเขาจะ "ปลูกรถยนต์จากดิน" (grow automobiles from the soil) และให้การรับรองและความมั่นใจในอนาคตของพลาสติกจากพืช แต่โครงการก็ล้มเหลว ในที่สุด รถถั่วเหลืองก็ไม่มีให้เราสำรวจความลึกลับอีกต่อไปโดยแบบจำลองเดียวที่เคยสร้างได้ถูกทำลายและแผนการผลิตหน่วยที่สองถูกระงับ เมื่อสิ้นสุดสงคราม แนวคิดเรื่องรถยนต์พลาสติกได้พับไปอันเนื่องมาจากพลังงานที่มุ่งไปสู่ความพยายามในการฟื้นฟูสงคราม
 
ปัจจุบันเมื่อพูดถึง "รถถั่วเหลือง" มักจะไม่ค่อยมีใครรู้จัก แหล่งข่าวรายหนึ่งอ้างว่าพวกมันทำมาจากสูตรทางเคมีที่รวม ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ป่านหรือฝ้าย  flax (linseed ทำผ้าลินินและสิ่งทอ) และสมุนไพร ramie โดยในวัสดุพลาสติก จะมีเส้นใยเซลลูโลสคิดเป็น 70% ในขณะที่ส่วนที่เหลืออีก 30% เป็นสารยึดเกาะเรซิน 

สำหรับวัสดุจากถั่วเหลืองที่ถูกนำมาใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แทนวัสดุโลหะที่ขาดแคลน หนึ่งในนั้นที่นิยมใช้หลายรัฐของอเมริกาคือป้ายทะเบียนรถ ที่ทำจากถั่วเหลืองอัด แต่วัสดุที่ได้จะมีลักษณะคล้ายกระดาษแข็งซึ่งบอบบางมากจนมีน้อยอันที่จะอยู่รอดโดยไม่เสียหาย เช่นเกษตรกรคนหนึ่งเล่าว่าหลังจากสัตว์เลี้ยงของเขารู้ว่าป้ายทะเบียนรถกินได้ มันก็จะเข้ามากินทันทีที่รถจอด

วัสดุจากถั่วเหลืองยังทำให้นึกไปถึง Duroplast พลาสติกเส้นใยฝ้ายที่ใช้ทำโครงร่างหรือตัวถังด้านนอกสำหรับรถยนต์ Trabant ของเยอรมันตะวันออก (1957- 2534) ที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง ซึ่งถูกใช้ครั้งแรกในรถยนต์ IFA F8 ต่อมาคือ AWZ P70 Zwickau รวมทั้งยังใช้ทำฝารองนั่งชักโครกและกระเป๋าเดินทางด้วย แม้จะไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกทั้งการเผายังทำให้เกิดควันพิษ แต่ส่วนประกอบของ Duroplast ก็มีเรื่องราวของหมู แกะ หรือสัตว์เลี้ยงในฟาร์มอื่นๆ ที่กินมันเช่นกัน (อย่างเช่นในภาพยนตร์ Black Cat, White Cat)

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมการขนส่งที่คิดค้นขึ้นเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 นี้ หนึ่งร้อยกว่าปีต่อมา จะมีส่วนเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่เป็นก๊าซหลักทำให้เกิดภาวะโลกร้อน แต่ก็ถือว่า Ford นั้นเป็นผู้บุกเบิกด้านนิเวศวิทยา เพราะในช่วงทศวรรษที่ 1930 Ford เป็นหนึ่งในบริษัทกลุ่มแรกๆ ที่ผลิตและใช้สิ่งที่เราเรียกว่า "พลาสติกชีวภาพ" ในปัจจุบัน ซึ่งทำจากพืชที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ  Ford ไม่เพียงผลิตพลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่านั้น เขายังเป็นคนแรกที่สร้างรถยนต์ด้วยวัสดุนี้ และนำเสนอต่อสาธารณชนด้วย

ในขณะที่ กระบวนการเพื่อค้นหาวัสดุพลาสติก "ใหม่" นี้ยังคงดำเนินต่อไปในปัจจุบัน ด้วยการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ได้จากข้าวโพด หญ้าสวิตช์ และเห็ดอย่างกว้างขวาง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากรัฐอิลลินอยส์ รัฐและรัฐมิชิแกน แต่ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคือการใช้วัสดุจากถั่วเหลืองในความพยายามของ Ford ดังนั้น นักวิจัยในปัจจุบันจึงกลับมาเน้นที่พลาสติกจากถั่วเหลืองอีกครั้ง โดยเฉพาะการใช้โปรตีนจากถั่วเหลือง "truly green" สำหรับเป็นสารยึดเกาะเส้นใย lignocellulosic  ในทางกลับกัน ฟางถั่วเหลืองยังคงเป็นทางเลือกที่มีจุดอ่อนสำหรับใช้ในแผ่นใยไม้อัด โดยมีการต้านทานน้ำค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเส้นใยไม้เนื้ออ่อนที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งมันอาจจะดีสำหรับป้ายทะเบียน แต่ยังไม่พร้อมสำหรับวัสดุก่อสร้าง


ป้ายทะเบียนถั่วเหลืองของรัฐ Cascade County คอลเลคชันพลาสติกของมหาวิทยาลัย Syracuse ในปี 1943-1944 [2018.024.2]


ห้องปฏิบัติการทดลองถั่วเหลืองในหมู่บ้าน Greenfield Village ประมาณปี 1940
Ford เชื่อว่าอุตสาหกรรมและการเกษตรควรส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยในช่วงทศวรรษที่ 1930 เขาใช้ถั่วเหลือง พืชผลที่อาจรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน และสร้างห้องปฏิบัติการถั่วเหลืองใน Greenfield Village ทำการการทดลองพวกมัน นำไปสู่การใช้น้ำมันจากถั่วเหลืองและพลาสติกบางชนิด
ในรถยนต์ของ Ford Motor Company / Cr.ภาพ thehenryford.org/



(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)


แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่