ดูเหมือนว่าในห้วงเวลานี้ ข่าวใหญ่หน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ทั่วไปทุกฉบับ เห็นจะหนีไม่พ้นข่าวบันเทิงเชิงลึกหรือ "ข่าวดารา" ซึ่งยังหาข้อสรุปไม่จบไม่สิ้น
แม้แต่หนังสือพิมพ์เฉพาะเรื่องเฉพาะทางก็พร้อมใจลงข่าวเดียวกันเป็นว่าเล่น ช่วยให้ยอดขายหนังสือพุ่งขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่ประชาชนทุกคนสนใจกัน
สำหรับ "หนังสือพิมพ์บันเทิง" ก็ย่อมรู้ดีว่าต้องลงข่าวเกี่ยวกับวงการบันเทิงหรือดารา ครอบคลุมทุกแขนง ทุกประเด็น จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาก็มีสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งน้อย-ใหญ่ มาจับงานนี้เพื่อช่วงชิงตลาด มีทั้งที่ขายดีบ้างและเจ๊งบ้างตามอัตภาพ
หากเราจะย้อนไปถึงความหลังครั้งเก่าก่อน อาจจะยังไม่มีการลงเอยว่าหนังสือพิมพ์บันเทิงฉบับแรกของไทยคือที่ใด สันนิษฐานว่ามาจากหนังสือพิมพ์ "สยามบันเทิง" บ้างก็ "ฟ้าบันเทิง" ในราว ๆ ปี 2517-2521 ซึ่งทั้งสองแห่งนั้นพิมพ์ด้วยกระดาษขนาดแทบลอยด์ หน้าปกเป็นแบบสองสี
แต่ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์บันเทิงขนาดยักษ์มาตรฐานที่กระจัดกระจายเฉกเช่นปัจจุบัน ภาพสีและความสวยแซ่บสะดุดใจ ความยาวไม่เกิน 20 หน้าก็คุ้มค่าแล้ว หลายคนในที่นี้อาจจะยังไม่ทราบอย่างชัดเจนว่าเจ้าแรกคือยี่ห้อใด?
ในส่วนตัวผู้ค้นคว้าก็พบได้แล้วว่าผู้บุกเบิกหนังสือพิมพ์บันเทิงลักษณะนี้...เกิดขึ้นจากกลุ่มคนหนุ่มคนสาวที่ขออาสาแทรกตัวในวงการหนังสือให้เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือของผู้อ่านทั่วไปที่หลงใหลในสื่อโทรทัศน์
เราจะเริ่มจากตรงนี้...
อินไซด์ทีวี
กุมภาพันธ์ 2529 ถือเป็นการเริ่มต้นของหนังสือพิมพ์บันเทิงขนาดยักษ์ปกสี่สีแพรวพราวฝีมือคนไทย เจ้าของสโลแกน “โทรทัศน์ที่คุณอ่านได้” ภายใต้การนำทัพของ ธเรศวร์ สุศิวะ หรือ “ไพลิน สีน้ำเงิน” กับคู่ชีวิต ปกฉัตร สุศิวะ พร้อมด้วยกองบรรณาธิการหน้าใหม่เกือบยกชุด แถมยังได้นักข่าวชั้นเซียน “ต้อย แอ็คเน่อร์” เข้ามาช่วยดูแลงานอยู่ระยะหนึ่ง เป็นหนังสือพิมพ์ที่เน้นเสนอข่าวสาร เรื่องซุบซิบ และตัวอย่างของรายการโทรทัศน์ทุกช่องชนิดเจาะลึกด้วยลีลาเฉพาะตัว วางจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ อีกด้านหนึ่งยังเป็นผู้ริเริ่มและประสานงานมอบรางวัล “โทรทัศน์ทองคำ” ที่อยู่ยงถึงปัจจุบัน แต่หนังสือพิมพ์ทำไปได้ร่วม 7 ปีก็ล้มเลิกอย่างกะทันหันท่ามกลางความเสียดายของบรรดานักอ่านนักชมที่อุดหนุนมาตลอด
ทีวีนิวส์
ในเมื่ออินไซด์ทีวีเป็นผู้นำ...ก็ย่อมมีผู้ตามเป็นเพื่อนร่วมทางเสมอ เจ้าของสโลแกน “สาระบันเทิงสำหรับชนทุกระดับ” เริ่มจัดทำในปี 2531 นำทีมโดย กาญจน์ ตระกูลธรรม นักข่าวมากประสบการณ์ จึงไม่น่าแปลกที่ชาวบ้านในยุคนั้นจะเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ช่อง 3” เพราะมี ประชา มาลีนนท์ ถือหุ้นส่วนใหญ่ ทั้งที่เปิดกว้างรับข้อมูลข่าวสารและรายการต่าง ๆ จากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง แต่ข่าวเด่นหน้า 1 ทุกฉบับก็หนีไม่พ้นเรื่องของช่อง 3 อยู่ดี วางตลาดมาได้ 2 ปีก็มีอันล้มเลิกไปเนื่องจากทำออกมาแล้วไม่ได้รับความสนใจอย่างที่ควรจะเป็น
สยามบันเทิง (ยุคสยามสปอร์ต)
หลังจากที่อินไซด์ทีวียุติตัวเองก็ไม่มีหนังสือพิมพ์บันเทิงหลงเหลือบนแผงอยู่เลย จนกระทั่งปลายปี 2539 ก็ได้ผู้กล้าชุดใหม่คือเครือสยามสปอร์ต โดยมี ฉัตรชัย วรดิลก เป็นผู้นำทีมงาน เรียกได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์บันเทิงแห่งแรกที่ตีพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ใช้กระดาษอาร์ตมันและกระดาษปอนด์รวมกัน มีจุดขายนำบนหน้า 1 ด้วยภาพดาราแต่งตัวหวือหวา วางจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ด้วยปณิธานว่า “แม่นยำ เชื่อถือได้ จำหน่ายมากที่สุด” และก็เป็นหนังสือพิมพ์บันเทิงเพียงแห่งเดียวที่ยังคงจัดพิมพ์และยืนหราบนแผงในปัจจุบัน
มายาแชนแนล
จากประสบการณ์การทำข่าวบันเทิงอันโชกโชนของ “ต้อย แอ็คเน่อร์” ร่วมงานมาแล้วหลายแห่ง เขาจึงได้เวลาเป็นเถ้าแก่หนังสือพิมพ์ด้วยตัวเองบ้างในปี 2544 แรกเริ่มมี เฉลิมเกียรติ สมหวัง รั้งตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการ และ อัญมณี สีชาด เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากนายทุนต่าง ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนมาโอบอุ้มกิจการ เป็นหนังสือพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม วางจำหน่ายสัปดาห์ละ 2 ฉบับ ครอบคลุมเรื่องราวรอบด้านของวงการบันเทิง แต่ภายหลังได้ปรับรูปเล่มเป็นนิตยสารรายเดือน และลุยงานช่องเคเบิลทีวีจนถึงวันนี้
สตาร์นิวส์
ใครจะเชื่อว่านิตยสารบันเทิงที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศอย่าง “ทีวีพูล” ภายใต้การบริหารงานของ “มาดามติ๋ม” พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ยังโดดเข้าจับงานหนังสือพิมพ์ด้วย และแล้วเสียงเล่าอ้างก็พิสูจน์ความจริงด้วยดีเมื่อปี 2547 อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นทีวีพูลฉบับขนาดยักษ์ เพราะจะสังเกตว่าเนื้อในของข่าวรวมไปถึงกำลังคนบางส่วนคล้ายคลึงกับนิตยสารแม่ แต่ผลตามมาคือไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาด สุดท้ายจึงกลับลำด้วยการปรับขนาดเป็นแมกกาซีนในหัวเดิมต่ออีกหลายปีโดยเปลี่ยนไปเน้นเสนอภาพข่าวปาปารัซซี่ และในวันนี้เราก็ไม่มีโอกาสเห็นมันบนแผงหนังสือเลย
สยามดารา
ความใฝ่ฝันของผู้ช่ำชองเรื่องกีฬาในรูปสิ่งพิมพ์อย่างเครือสยามสปอร์ตที่จะเกิดหนังสือพิมพ์บันเทิงรายวันแห่งแรกของไทยถูกเก็บบ่มนานหลายปี และแล้วก็เป็นรูปธรรมขึ้นมาในกลางปี 2548 โดยมีผู้ก่อตั้งคือ ยอดชาย ขันธะชวนะ หรือ “ยอดทอง” และ ธีรภัทร์ สูตะบุตร พรั่งพร้อมด้วยทีมงานและคอลัมนิสต์มากหน้าหลายตา อัดแน่นด้วยเรื่องราวและข่าวสารวงการบันเทิงทุกแขนง แถมยังมีการจัดมอบรางวัล “สยามดารา สตาร์ อะวอร์ดส์” เป็นประจำทุกกลางปีด้วย แต่เมื่อพฤติกรรมของคนอ่านเปลี่ยนผัน สยามดาราจึงยุบตัวเองอย่างเงียบเชียบ แต่ใช่จะจากไปง่ายดายเพราะกำลังหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพียง 2 หน้าในเซ็คชั่นหนึ่งของหนังสือพิมพ์สยามกีฬา และยังมีสื่อออนไลน์เข้ามาทดแทนความรู้สึกเดิมจนมียอดชมไม่ใช่น้อย
ดาราเดลี่
ในเวลาเริ่มต้นที่ใกล้เคียงกันก็เกิดหนังสือพิมพ์บันเทิงตามมาอีกแห่งซึ่งมีค่ายบันเทิงชั้นนำอย่าง “อาร์เอส” เข้ามาหนุนหลังในระยะแรก ทั้งที่พยายามวางตัวเป็นกลางให้กับสื่อบันเทิงทุกค่ายในการลงข่าวและข้อมูล เป็นหนังสือพิมพ์ที่เจาะลึกทุกแง่มุมของวงการบันเทิงอย่างแท้จริงตามสโลแกน “มากกว่าดารา ยิ่งกว่าบันเทิง” โดยมีผู้ก่อตั้งคือ “ต้อย แอ็คเน่อร์” ร่วมด้วยกำลังคนบางส่วนที่แยกตัวจากมายาแชนแนล นั่นก็ช่วยเป็นแรงกระพือให้ดาราเดลี่ทำยอดขายเป็นอันดับ 1 จนเมื่อมีการเปลี่ยนนายทุน ความนิยมก็พลอยเสื่อมลง ทั้งยังปรับระยะวางตลาดจากรายวันเป็นรายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และท้ายสุดเป็นนิตยสารรายเดือน แม้จะยุติการจัดพิมพ์แล้วแต่ยังมีสื่อออนไลน์มาพยุงให้กิจการข่าวเดินหน้าต่อไป
ทั้งหมดนี้คือการเดินทางของหนังสือพิมพ์บันเทิงในเมืองไทยที่เราเอามาให้ชมเป็นตัวอย่าง...ตัวอย่างที่เป็นแบบฉบับ...ตัวอย่างที่มียอดขายสูง...ตัวอย่างที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ซึ่งไม่สามารถพบหาได้ในหอสมุดแห่งชาติ นอกจากตัวผู้ค้นคว้าเอง
- - - - - คุณเคยอ่านอะไรบ้างเอ่ย? สวัสดี. - - - - -
เปิดกรุหนังสือพิมพ์บันเทิงในเมืองไทย...คุณเคยอ่านอะไร?
กุมภาพันธ์ 2529 ถือเป็นการเริ่มต้นของหนังสือพิมพ์บันเทิงขนาดยักษ์ปกสี่สีแพรวพราวฝีมือคนไทย เจ้าของสโลแกน “โทรทัศน์ที่คุณอ่านได้” ภายใต้การนำทัพของ ธเรศวร์ สุศิวะ หรือ “ไพลิน สีน้ำเงิน” กับคู่ชีวิต ปกฉัตร สุศิวะ พร้อมด้วยกองบรรณาธิการหน้าใหม่เกือบยกชุด แถมยังได้นักข่าวชั้นเซียน “ต้อย แอ็คเน่อร์” เข้ามาช่วยดูแลงานอยู่ระยะหนึ่ง เป็นหนังสือพิมพ์ที่เน้นเสนอข่าวสาร เรื่องซุบซิบ และตัวอย่างของรายการโทรทัศน์ทุกช่องชนิดเจาะลึกด้วยลีลาเฉพาะตัว วางจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ อีกด้านหนึ่งยังเป็นผู้ริเริ่มและประสานงานมอบรางวัล “โทรทัศน์ทองคำ” ที่อยู่ยงถึงปัจจุบัน แต่หนังสือพิมพ์ทำไปได้ร่วม 7 ปีก็ล้มเลิกอย่างกะทันหันท่ามกลางความเสียดายของบรรดานักอ่านนักชมที่อุดหนุนมาตลอด
ในเมื่ออินไซด์ทีวีเป็นผู้นำ...ก็ย่อมมีผู้ตามเป็นเพื่อนร่วมทางเสมอ เจ้าของสโลแกน “สาระบันเทิงสำหรับชนทุกระดับ” เริ่มจัดทำในปี 2531 นำทีมโดย กาญจน์ ตระกูลธรรม นักข่าวมากประสบการณ์ จึงไม่น่าแปลกที่ชาวบ้านในยุคนั้นจะเรียกว่า “หนังสือพิมพ์ช่อง 3” เพราะมี ประชา มาลีนนท์ ถือหุ้นส่วนใหญ่ ทั้งที่เปิดกว้างรับข้อมูลข่าวสารและรายการต่าง ๆ จากสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง แต่ข่าวเด่นหน้า 1 ทุกฉบับก็หนีไม่พ้นเรื่องของช่อง 3 อยู่ดี วางตลาดมาได้ 2 ปีก็มีอันล้มเลิกไปเนื่องจากทำออกมาแล้วไม่ได้รับความสนใจอย่างที่ควรจะเป็น
หลังจากที่อินไซด์ทีวียุติตัวเองก็ไม่มีหนังสือพิมพ์บันเทิงหลงเหลือบนแผงอยู่เลย จนกระทั่งปลายปี 2539 ก็ได้ผู้กล้าชุดใหม่คือเครือสยามสปอร์ต โดยมี ฉัตรชัย วรดิลก เป็นผู้นำทีมงาน เรียกได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์บันเทิงแห่งแรกที่ตีพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม ใช้กระดาษอาร์ตมันและกระดาษปอนด์รวมกัน มีจุดขายนำบนหน้า 1 ด้วยภาพดาราแต่งตัวหวือหวา วางจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ ด้วยปณิธานว่า “แม่นยำ เชื่อถือได้ จำหน่ายมากที่สุด” และก็เป็นหนังสือพิมพ์บันเทิงเพียงแห่งเดียวที่ยังคงจัดพิมพ์และยืนหราบนแผงในปัจจุบัน
จากประสบการณ์การทำข่าวบันเทิงอันโชกโชนของ “ต้อย แอ็คเน่อร์” ร่วมงานมาแล้วหลายแห่ง เขาจึงได้เวลาเป็นเถ้าแก่หนังสือพิมพ์ด้วยตัวเองบ้างในปี 2544 แรกเริ่มมี เฉลิมเกียรติ สมหวัง รั้งตำแหน่งหัวหน้ากองบรรณาธิการ และ อัญมณี สีชาด เป็นผู้ช่วยบรรณาธิการบริหาร ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากนายทุนต่าง ๆ ที่ผลัดเปลี่ยนมาโอบอุ้มกิจการ เป็นหนังสือพิมพ์สี่สีทั้งเล่ม วางจำหน่ายสัปดาห์ละ 2 ฉบับ ครอบคลุมเรื่องราวรอบด้านของวงการบันเทิง แต่ภายหลังได้ปรับรูปเล่มเป็นนิตยสารรายเดือน และลุยงานช่องเคเบิลทีวีจนถึงวันนี้
ใครจะเชื่อว่านิตยสารบันเทิงที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศอย่าง “ทีวีพูล” ภายใต้การบริหารงานของ “มาดามติ๋ม” พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย ยังโดดเข้าจับงานหนังสือพิมพ์ด้วย และแล้วเสียงเล่าอ้างก็พิสูจน์ความจริงด้วยดีเมื่อปี 2547 อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นทีวีพูลฉบับขนาดยักษ์ เพราะจะสังเกตว่าเนื้อในของข่าวรวมไปถึงกำลังคนบางส่วนคล้ายคลึงกับนิตยสารแม่ แต่ผลตามมาคือไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาด สุดท้ายจึงกลับลำด้วยการปรับขนาดเป็นแมกกาซีนในหัวเดิมต่ออีกหลายปีโดยเปลี่ยนไปเน้นเสนอภาพข่าวปาปารัซซี่ และในวันนี้เราก็ไม่มีโอกาสเห็นมันบนแผงหนังสือเลย
ความใฝ่ฝันของผู้ช่ำชองเรื่องกีฬาในรูปสิ่งพิมพ์อย่างเครือสยามสปอร์ตที่จะเกิดหนังสือพิมพ์บันเทิงรายวันแห่งแรกของไทยถูกเก็บบ่มนานหลายปี และแล้วก็เป็นรูปธรรมขึ้นมาในกลางปี 2548 โดยมีผู้ก่อตั้งคือ ยอดชาย ขันธะชวนะ หรือ “ยอดทอง” และ ธีรภัทร์ สูตะบุตร พรั่งพร้อมด้วยทีมงานและคอลัมนิสต์มากหน้าหลายตา อัดแน่นด้วยเรื่องราวและข่าวสารวงการบันเทิงทุกแขนง แถมยังมีการจัดมอบรางวัล “สยามดารา สตาร์ อะวอร์ดส์” เป็นประจำทุกกลางปีด้วย แต่เมื่อพฤติกรรมของคนอ่านเปลี่ยนผัน สยามดาราจึงยุบตัวเองอย่างเงียบเชียบ แต่ใช่จะจากไปง่ายดายเพราะกำลังหลบ ๆ ซ่อน ๆ เพียง 2 หน้าในเซ็คชั่นหนึ่งของหนังสือพิมพ์สยามกีฬา และยังมีสื่อออนไลน์เข้ามาทดแทนความรู้สึกเดิมจนมียอดชมไม่ใช่น้อย
ในเวลาเริ่มต้นที่ใกล้เคียงกันก็เกิดหนังสือพิมพ์บันเทิงตามมาอีกแห่งซึ่งมีค่ายบันเทิงชั้นนำอย่าง “อาร์เอส” เข้ามาหนุนหลังในระยะแรก ทั้งที่พยายามวางตัวเป็นกลางให้กับสื่อบันเทิงทุกค่ายในการลงข่าวและข้อมูล เป็นหนังสือพิมพ์ที่เจาะลึกทุกแง่มุมของวงการบันเทิงอย่างแท้จริงตามสโลแกน “มากกว่าดารา ยิ่งกว่าบันเทิง” โดยมีผู้ก่อตั้งคือ “ต้อย แอ็คเน่อร์” ร่วมด้วยกำลังคนบางส่วนที่แยกตัวจากมายาแชนแนล นั่นก็ช่วยเป็นแรงกระพือให้ดาราเดลี่ทำยอดขายเป็นอันดับ 1 จนเมื่อมีการเปลี่ยนนายทุน ความนิยมก็พลอยเสื่อมลง ทั้งยังปรับระยะวางตลาดจากรายวันเป็นรายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และท้ายสุดเป็นนิตยสารรายเดือน แม้จะยุติการจัดพิมพ์แล้วแต่ยังมีสื่อออนไลน์มาพยุงให้กิจการข่าวเดินหน้าต่อไป
ทั้งหมดนี้คือการเดินทางของหนังสือพิมพ์บันเทิงในเมืองไทยที่เราเอามาให้ชมเป็นตัวอย่าง...ตัวอย่างที่เป็นแบบฉบับ...ตัวอย่างที่มียอดขายสูง...ตัวอย่างที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ซึ่งไม่สามารถพบหาได้ในหอสมุดแห่งชาติ นอกจากตัวผู้ค้นคว้าเอง