
วัดป่งซางงาม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๙ บ้านป่าซาง ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓๔ ตารางวา

ประวัติวัดป่าซางงาม น่าจะถูกถนุบำรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยตามประวัติวัดแจ้งว่าสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๐

เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมาครูบานันทา ธุดงค์มาจากเมืองยองหรือสิบสองปันนา เป็นผู้ทำการบูรณะก่อสร้างขึ้น

นอกจากนี้ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นในวัดป่าซาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓
ภายในประกอบด้วย อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงศ์
ศาลาบำเพ็ญกุศล หอระฆัง หอไตร และโรงครัว
ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปสมเด็จพระศรีวิฬุลกาวิลประทานหล่อด้วยโลหะศิลปะสุโขทัยผสมเชียงแสน
ชาวบ้านนิยมเรียกว่า พระเจ้าวัดน้อย พระพุทธมงคลสรากร ปางประทานพร
ธรรมาสน์สร้างด้วยไม้สัก มีจารึกเป็นอักษรล้านนา จานติดแผ่นไม้สักปิดทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖
และยังมี "วิหารแก้ว" วัดป่าซางงาม เป็นสถาปัตยกรรมสร้างใหม่ร่วมสมัย
เสาทุกต้นประดับด้วยกระจกแก้ว ระยิบระยับสวยงาม ประดิษฐานพระพุทธมงคลสราการ
พระพุทธรูปประจำอำเภอป่าซาง ปางมารวิชัย มีเรือนแก้ว คล้ายพระพุทธชินราช
เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้ามาท่านจะพบกับหอธรรมหรือเรียกอีกอย่างว่าหอพระไตรปิฎกครับ
หอธรรมหรือหอไตร มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันตกและเอกลักษณ์แบบล้านนา
อาคารก่ออิฐถือปูนหนาทึบสองชั้นแบบตะวันตก แต่โครงสร้างหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกันตามเอกลักษณ์ล้านนา
มุงด้วยกระเบื้อง หน้าบันและนาคสะดุ้งประดับด้วยกระจกสีสวยสดงดงาม ตัวอาคารประดับด้วยลายปูนปั้นเทวดาแบบล้านนา
ซึ่งพบเห็นได้เพียงบางวัดเท่านั้นในยุคนี้ เหนือกรอบบานหน้าต่างมีลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษาสวยงามมาก

จุดเด่นของหอธรรมหรือหอไตรนี้ก็คือ
งานปูนปั้นครับผมคาดว่าอายุไม่น่าจะต่ำกว่าร้อยปีดูจากพุทธศิลป์น่าพบว่าเป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาโบราณ
คือมีลักษณะเรียบ ๆ ไม่ตกแต่งมาก


หอธรรมหรือหอไตรนี้จะเป็นที่บรรจุคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น คัมภีร์ใบลาน
อีกทั้งปัจจุบันไม่ค่อยมีคนอ่านภาษาล้านนาออกหรือมีอ่านออกแต่ไม่มากนัก
นอกจากนี้ยังเก็บปั๊บสา (คัมภีร์ทำด้วยกระดาษสา) หนังสือพระไตรปิฎก และหนังสือธรรมะอื่น ๆ ที่สำคัญเป็นต้น

ก่อนเข้าสู่พระวิหารประจำวัดจะพบกับรูปปั้น (รูปเหมือน) ของพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ
เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง (นักบุญแห่งล้านไทย) ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทด้วยต้ม เป็นต้น
และบริเวณด้านหน้ายังมีจุดสำหรับพุทธศาสนิกชนหรือนักท่องเที่ยว
เมื่อมาเยี่ยมชมวัดแล้วสามารถร่วมทำบุญถวายปัจจัยในบาตรที่ทางวัดเตรียมไว้ให้ได้ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิต

พระวิหารของวัด อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ สถาปัตยกรรมล้านนาชัดเจน เพราะโครงสร้างหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกันสองชั้น
หน้าบันวิจิตรงดงามด้วยลายพรรณพฤกษาอ่อนช้อย ภายในเป็นที่เก็บบุษบกไม้แกะสลักทรงคุณค่า
พระประธานในพระวิหาร พระพุทธโสภณ (หลวงพ่องาม) พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร
ใต้ฐานพระประธานมีพระพุทธรูป พระเจ้านั่งดิน พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้ากาลวิละได้มาสร้างเวียงป่าซาง
ธรรมาสน์สร้างด้วยไม้สัก มีจารึกอักษรล้านนา คาดว่าสร้างขึ้นพร้อมๆกัการสร้างวัด

พระพุทธมงคลสรากร
หน้าตักกว้าง 30นิ้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเสด็จมาเททอง และพระราชทานนามเมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นงานฝีมือช่างกรุงเทพฯ ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์
ประดิษฐาน ณ ศาลาพิศาลประชาสามัคคี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะนำออกแห่เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล

ภายในพระวิหารแห่งนี้หากดูเผิน ๆ ก็จะมีพระประธานองค์สีทองประดิษฐานอยู่มารวิชัย หรือ ชนะมาร หรือ สะดุ้งมาร

เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา

พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้
(ตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (โพธิบัลลังก์) ตามตำนานในพุทธประวัติ

แต่ความพิเศษอยู่ตรงนี้ครับ ใต้ฐานพระประธานในพระวิหารจะมีช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ครับ
ภายในจะมีการต่อหลอดไฟเพิ่มความสว่างในการมองเห็นด้านใน (มีลักษณะเหมือนอุโมงค์)
หากมองเข้าไปจะพบกับพระพุทธรูปเก่าสององค์ครับในปางประทับนั่งอยู่บนดิน
ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่าพระเจ้านั่งดิน
(พระเจ้า ภาษาถิ่นเหนือหมายถึงพระพุทธรูปนะครับ ไม่ใช่หมายถึงพระเจ้าตามนัยความหมายในทางศาสนาคริสต์)

ทราบมาว่าพระเจ้านั่งดินนี้เป็นพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งบนดินไม่มีแท่นชุกชีเหมือนพระพุทธรูปองค์อื่น
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรีหรือสมัยพระเจ้ากาวิละสร้างเวียงป่าซาง
พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเชื่อว่าพระเจ้านั่งดินนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ใครได้บูชาจะพบแต่ความสุข ความเจริญ
พุทธอุทยานในที่นี้จะมีการตั้งแสดงพระพุทธรูปปางต่าง ๆ (อยู่บริเวณด้านข้างพระวิหาร)

จะมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เช่น ปางสมาธิ ปางนาคปก ปางปรินิพพาน สวยงามมาก

เป็นจุดที่แสดงให้เห็นถึงความงามของพุทธศิลป์ และพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ได้เป็นอย่างนี้
วิหารแก้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม ประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม
ภายในและภายนอกวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมสร้างใหม่ร่วมสมัย เสาทุกต้นประดับด้วยกระจกแก้ว ระยิบระยับสวยงาม

บริเวณด้านในจะมีการประดิษฐานพระพุทธรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม

บริเวณด้านหน้าพระวิหารนี้จะมีรูปปั้นพญานาคตัวใหญ่สีเงินขดด้านซ้ายขวาทางเข้าพระวิหาร
และมีสิงห์ยืนเฝ้าประตูด้านหน้าพระวิหารเด่นสง่าแฝงไว้ซึ่งความน่าเกรงขาม ศักดิ์สิทธิ์





จุดสุดท้ายเป็นพระเจดีย์ทองทั้งองค์สวยงามมากด้านบนสุดจะมียอดฉัตรสีทอง



หากเดินทางมาเยี่ยมชมในช่วงบ่าย ๆ องค์พระเจดีย์จะสะท้อนกับแสงของแดดที่มากระทบจะดูเด่นสง่าสวยงามน่าศรัทธา
โดยหากท่านมาแล้วอย่าลืมกราบสักการะขอพรให้ได้นะครับเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวท่านเอง และครอบครัว
ยังมีพิพิธภัณฑ์วัดป่าซาง จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ กลอง เป็นต้น

น่าเสียดายที่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมเป็นการทั่วไป ต้องแจ้งให้ทางวัดทราบเท่านั้น
ลำพูน-วัดป่าซางงาม บ้านป่าซาง ถนนสายลำพูน-ลี้ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง
วัดป่งซางงาม ตั้งอยู่เลขที่ ๔๕๙ บ้านป่าซาง ถนนสายลำพูน-ลี้ หมู่ที่ ๑ ตำบลป่าซาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓๔ ตารางวา
ประวัติวัดป่าซางงาม น่าจะถูกถนุบำรุงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ โดยตามประวัติวัดแจ้งว่าสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๓๘๐
เดิมเป็นวัดร้างมาก่อน ต่อมาครูบานันทา ธุดงค์มาจากเมืองยองหรือสิบสองปันนา เป็นผู้ทำการบูรณะก่อสร้างขึ้น
นอกจากนี้ได้จัดตั้งห้องสมุดขึ้นในวัดป่าซาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓
ภายในประกอบด้วย อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ศาลาอเนกประสงศ์
ศาลาบำเพ็ญกุศล หอระฆัง หอไตร และโรงครัว
ปูชนียวัตถุมี พระพุทธรูปสมเด็จพระศรีวิฬุลกาวิลประทานหล่อด้วยโลหะศิลปะสุโขทัยผสมเชียงแสน
ชาวบ้านนิยมเรียกว่า พระเจ้าวัดน้อย พระพุทธมงคลสรากร ปางประทานพร
ธรรมาสน์สร้างด้วยไม้สัก มีจารึกเป็นอักษรล้านนา จานติดแผ่นไม้สักปิดทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖
และยังมี "วิหารแก้ว" วัดป่าซางงาม เป็นสถาปัตยกรรมสร้างใหม่ร่วมสมัย
เสาทุกต้นประดับด้วยกระจกแก้ว ระยิบระยับสวยงาม ประดิษฐานพระพุทธมงคลสราการ
พระพุทธรูปประจำอำเภอป่าซาง ปางมารวิชัย มีเรือนแก้ว คล้ายพระพุทธชินราช
เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้ามาท่านจะพบกับหอธรรมหรือเรียกอีกอย่างว่าหอพระไตรปิฎกครับ
หอธรรมหรือหอไตร มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมผสมผสานกันระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันตกและเอกลักษณ์แบบล้านนา
อาคารก่ออิฐถือปูนหนาทึบสองชั้นแบบตะวันตก แต่โครงสร้างหลังคาซ้อนชั้นลดหลั่นกันตามเอกลักษณ์ล้านนา
มุงด้วยกระเบื้อง หน้าบันและนาคสะดุ้งประดับด้วยกระจกสีสวยสดงดงาม ตัวอาคารประดับด้วยลายปูนปั้นเทวดาแบบล้านนา
ซึ่งพบเห็นได้เพียงบางวัดเท่านั้นในยุคนี้ เหนือกรอบบานหน้าต่างมีลวดลายปูนปั้นพรรณพฤกษาสวยงามมาก
จุดเด่นของหอธรรมหรือหอไตรนี้ก็คือ
งานปูนปั้นครับผมคาดว่าอายุไม่น่าจะต่ำกว่าร้อยปีดูจากพุทธศิลป์น่าพบว่าเป็นพุทธศิลป์แบบล้านนาโบราณ
คือมีลักษณะเรียบ ๆ ไม่ตกแต่งมาก
หอธรรมหรือหอไตรนี้จะเป็นที่บรรจุคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาต่าง ๆ เช่น คัมภีร์ใบลาน
อีกทั้งปัจจุบันไม่ค่อยมีคนอ่านภาษาล้านนาออกหรือมีอ่านออกแต่ไม่มากนัก
นอกจากนี้ยังเก็บปั๊บสา (คัมภีร์ทำด้วยกระดาษสา) หนังสือพระไตรปิฎก และหนังสือธรรมะอื่น ๆ ที่สำคัญเป็นต้น
ก่อนเข้าสู่พระวิหารประจำวัดจะพบกับรูปปั้น (รูปเหมือน) ของพระเกจิอาจารย์ต่าง ๆ
เช่น ครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง (นักบุญแห่งล้านไทย) ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา วัดพระบาทด้วยต้ม เป็นต้น
และบริเวณด้านหน้ายังมีจุดสำหรับพุทธศาสนิกชนหรือนักท่องเที่ยว
เมื่อมาเยี่ยมชมวัดแล้วสามารถร่วมทำบุญถวายปัจจัยในบาตรที่ทางวัดเตรียมไว้ให้ได้ทั้งนี้ก็เพื่อความเป็นสิริมงคลแห่งชีวิต
พระวิหารของวัด อาคารก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ สถาปัตยกรรมล้านนาชัดเจน เพราะโครงสร้างหลังคาลาดต่ำ ซ้อนกันสองชั้น
หน้าบันวิจิตรงดงามด้วยลายพรรณพฤกษาอ่อนช้อย ภายในเป็นที่เก็บบุษบกไม้แกะสลักทรงคุณค่า
พระประธานในพระวิหาร พระพุทธโสภณ (หลวงพ่องาม) พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ เมตร
ใต้ฐานพระประธานมีพระพุทธรูป พระเจ้านั่งดิน พระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้ากาลวิละได้มาสร้างเวียงป่าซาง
ธรรมาสน์สร้างด้วยไม้สัก มีจารึกอักษรล้านนา คาดว่าสร้างขึ้นพร้อมๆกัการสร้างวัด
พระพุทธมงคลสรากร
หน้าตักกว้าง 30นิ้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเสด็จมาเททอง และพระราชทานนามเมื่อปี พ.ศ.2513 เป็นงานฝีมือช่างกรุงเทพฯ ปิดทองเหลืองอร่ามไปทั้งองค์
ประดิษฐาน ณ ศาลาพิศาลประชาสามัคคี ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะนำออกแห่เพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ภายในพระวิหารแห่งนี้หากดูเผิน ๆ ก็จะมีพระประธานองค์สีทองประดิษฐานอยู่มารวิชัย หรือ ชนะมาร หรือ สะดุ้งมาร
เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา
พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้
(ตรัสรู้ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (โพธิบัลลังก์) ตามตำนานในพุทธประวัติ
แต่ความพิเศษอยู่ตรงนี้ครับ ใต้ฐานพระประธานในพระวิหารจะมีช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ครับ
ภายในจะมีการต่อหลอดไฟเพิ่มความสว่างในการมองเห็นด้านใน (มีลักษณะเหมือนอุโมงค์)
หากมองเข้าไปจะพบกับพระพุทธรูปเก่าสององค์ครับในปางประทับนั่งอยู่บนดิน
ซึ่งน่าจะเป็นที่มาของคำว่าพระเจ้านั่งดิน
(พระเจ้า ภาษาถิ่นเหนือหมายถึงพระพุทธรูปนะครับ ไม่ใช่หมายถึงพระเจ้าตามนัยความหมายในทางศาสนาคริสต์)
ทราบมาว่าพระเจ้านั่งดินนี้เป็นพระพุทธรูปโบราณประทับนั่งบนดินไม่มีแท่นชุกชีเหมือนพระพุทธรูปองค์อื่น
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงธนบุรีหรือสมัยพระเจ้ากาวิละสร้างเวียงป่าซาง
พุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเชื่อว่าพระเจ้านั่งดินนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ใครได้บูชาจะพบแต่ความสุข ความเจริญ
พุทธอุทยานในที่นี้จะมีการตั้งแสดงพระพุทธรูปปางต่าง ๆ (อยู่บริเวณด้านข้างพระวิหาร)
จะมีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เช่น ปางสมาธิ ปางนาคปก ปางปรินิพพาน สวยงามมาก
เป็นจุดที่แสดงให้เห็นถึงความงามของพุทธศิลป์ และพุทธลักษณะของพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ได้เป็นอย่างนี้
วิหารแก้วองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม ประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม
ภายในและภายนอกวิหาร เป็นสถาปัตยกรรมสร้างใหม่ร่วมสมัย เสาทุกต้นประดับด้วยกระจกแก้ว ระยิบระยับสวยงาม
บริเวณด้านในจะมีการประดิษฐานพระพุทธรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปฐม
บริเวณด้านหน้าพระวิหารนี้จะมีรูปปั้นพญานาคตัวใหญ่สีเงินขดด้านซ้ายขวาทางเข้าพระวิหาร
และมีสิงห์ยืนเฝ้าประตูด้านหน้าพระวิหารเด่นสง่าแฝงไว้ซึ่งความน่าเกรงขาม ศักดิ์สิทธิ์
จุดสุดท้ายเป็นพระเจดีย์ทองทั้งองค์สวยงามมากด้านบนสุดจะมียอดฉัตรสีทอง
หากเดินทางมาเยี่ยมชมในช่วงบ่าย ๆ องค์พระเจดีย์จะสะท้อนกับแสงของแดดที่มากระทบจะดูเด่นสง่าสวยงามน่าศรัทธา
โดยหากท่านมาแล้วอย่าลืมกราบสักการะขอพรให้ได้นะครับเพื่อความเป็นสิริมงคลกับตัวท่านเอง และครอบครัว
ยังมีพิพิธภัณฑ์วัดป่าซาง จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ กลอง เป็นต้น
น่าเสียดายที่ไม่ได้เปิดให้เข้าชมเป็นการทั่วไป ต้องแจ้งให้ทางวัดทราบเท่านั้น