ปัญหา victim blaming เกิดมาจากอะไร?

อ่านข่าวคุณหมอกระต่าย ที่โดนรถชน แล้วรู้สึกเศร้าใจ แต่ที่แปลกใจคือเจอว่ามีคนบางส่วนตำหนิคุณหมอที่เดิน(บนทางม้าลาย)ไม่ระวังเอง เลยรู้สงสัยว่าชุดความคิดที่ว่า “ไม่ระวังเอง” มันเกิดมาจากอะไร แล้วก็คิดไปต่อว่ามันมีพื้นฐานมาจากการบังคับใช้กฏหมายที่อ่อนแอรึเปล่า? ถึงเกิดความรู้สึกว่ากฏหมาย/รัฐ/ผู้มีอำนาจ ดูแลไม่ได้ แต่คุณต้องดูแลตัวเอง? สมมติว่าถ้าเกินตกท่อขาหัก ก็ซวยไป ไม่ระวังเอง แทนที่จะฟ้องรัฐได้เงินมา เพราะรัฐไม่มีจ่าย ฟ้องไปก็ได้ลม

นึกถึงเรื่องตัวเอง ไปหาหมอ (ตปท) แล้วตั้งกระเป๋าบนโต๊ะ ที่มีเจลล้างมือ (มีโต๊ะตัวเดียวในห้องตรวจ) หมอกดเจลกระเด็นใส่กระเป๋ามีรอยด่าง หมอรีบขอโทษ เราไปแจ้ง director ของหน่วย ว่าเราคิดว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่หมอนะ แต่คุณต้องออกแบบห้องตรวจใหม่นะ ให้มี storage เขาก็ขอโทษเรา รับปากว่าจะติดตามเรื่องให้ และส่งเอกสารให้เราทำเรื่อง claim ประกันกับรัฐ  รพ ไม่มีความจำเป็นต้องมาต่อรองใดๆกับเราเลย เพราะรัฐมีประกันคุ้มครองให้ รพ เราก็แค่ไปร้องกับรัฐ

นึกว่าการเกิดที่ไทย หลายๆคนคงคิดว่าทำไมไม่ระวังไปตั้งตรงนั้นทำไม เรื่องเยอะ หัวหมอ เรียกร้องเงินชดเชย ทั้งๆที่สิ่งที่เราทำทั้งหมด มันคือสิทธิพื้นฐานที่รัฐให้เรา เราคิดว่าเรื่องการคุ้มครองจากรัฐ มันก็ส่งผลต่อ mindset ประชากร เช่น คนที่ US จะไม่ค่อยโทษตัวเอง โทษรัฐ โทษนู้นโทษนี่ตลอด ฟ้องเละเทะ ไม่ได้บอกว่าดี หรือไม่ดี แต่รู้สึกว่ามันคนละชุดความคิดกับ “ไม่ระวังเอง” มาก

คิดสงสัยว่านอกจากปัญหาเชิงนโยบายของรัฐ การบังคับใช้กฏหมาย 9ล9 อะไรที่เป็นปัจจัยอื่นๆ ให้เกิด victim blaming ได้อีก?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่