เรื่องราวนี้เกิดช่วงปลายปีที่แล้ว (ค.ศ. 2021, หรือ พ.ศ.2564) นะครับ หลังจากที่ผมขายสตรัท Silver Neomax One (อ่านรีวิวได้ที่
https://pantip.com/topic/41139502) และ ใส่โช๊ค+สปริง เดิมติดรถอัลติสรุ่นหน้าแบน (ไม่ตรงรุ่นรถผม) มาได้อาทิตย์นึง ระหว่างนั้นก็ไปลองนั่ง RSR Best-i ในรถอัลติส 2 คัน และ โช๊ค Tein Endura Pro ของพี่ที่ขับ Jazz มาด้วย ทำให้พอทราบฟีลลิ่งและตอบตัวเองได้มากขึ้นว่าชอบแบบไหนครับ
และสุดท้ายจากการหา RSR Best-i มือสองจากหลายๆร้าน ก็ตกลงปลงใจกับน้องคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนของเพื่อนที่รู้จักกันมานาน และพอดูในแชทผมเคยขายท่อ FGK ให้น้องคนนี้ไปด้วยเลยยิ่งคุยกันง่ายใหญ่เลยครับ สตรัท RSR Best-i ตัวนี้เป็นของตรงรุ่นของ Toyota Wish (ใช่ครับ ไม่ตรงรุ่นอัลติส) ผมได้สอบถามไปยังเพจ RSR Thailand แล้ว ทางเพจบอกว่าทางเราไม่มีผลิตตรงรุ่นอัลติสครับ ที่ใส่ๆกันน่าจะเป็นเอามาจากรุ่นอื่นแล้วมาแปลงใส่ ซึ่งปกติของวิชสามารถใส่อัลติสได้เลยโดยไม่ต้องแปลงอะไร เพียงแต่อาจออกแบบมาไม่ได้ balance กับอัลติสเป๊ะๆ อาจจะมีเรื่องของความยาวของแกนโช๊ค ความแข็งของสปริงหน้าหลัง และความหนืดของโช๊คหน้าหลังที่ไม่ได้สมดุลย์สำหรับอัลติส แต่เท่าที่ลองนั่งรถ 2 คัน ก็พิสูจน์ได้ว่าฟีลลิ่งมันดีจริงครับเลยมั่นใจที่จะเอามาใส่รถตัวเอง ซึ่งการซื้อต่อจากน้องครั้งนี้ น้องบอกว่าเคยเอาโช๊คไป overhaul มาแล้วประมาณปีครึ่ง ครับ มั่นใจได้ว่าไม่ใช่โช๊คเก่าๆที่ยังไม่เคยซ่อมเลย มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ ซึ่งโช๊ตเดิมๆที่มาจากญี่ปุ่นหลายคนเจอปัญหาซื้อมาใช้ได้แปปเดียวก็ต้องเสียเงิน overhaul เพราะอายุมันนานมากจนน้ำมันหรือแก๊สด้านในมันเสื่อมแล้ว หรือซีลหมดสภาพทำให้รั่วครับ
รูป - สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่นโตโยต้า วิช
สตรัทที่ผมเคยใช้มาทั้งหมด
1. Monroe Reflex (Twin Tube) - เป็นสตรัทคัสต้อม เอาโช๊คยี่ห้อนี้มาใส่กับปลอกปรับเกลียวและสปริงหลอด ผมใช้มา 2 ชุดครับ
2. Monroe Monotube (Mono Tube) - เป็นสตรัทคัสต้อมเหมือนตัวบน แต่โช๊คเป็นระบบโมโนทูป (อ่านรีวิวได้ที่
https://pantip.com/topic/37500158)
3. Silver Neomax One (Mono Tube) - เป็นสตรัทแท้ๆตัวแรกที่ผมใช้ แต่ไม่ถูกใจครับ ทนใช้ได้ 3 เดือนก็ขาย แต่คนที่ซื้อต่อผมไปนั้นชอบมาก
4. RSR Best-i (Mono Tube) <---- ตัวที่กำลัง เขียนรีวิวอยู่
รายละเอียด RSR Best-i ตรงรุ่น Toyota Wish
- แกนโช๊คระบบโมโนทูป
- โช๊คปรับหนึดได้ 36 ระดับ (อาจหมุนได้จริง 46 แต่ 10 แก๊กที่เกิน 36 จะไม่มีผลครับ)
- สปริงผสมไทเทเนียม หน้า 6K หลัง 8K (วิชมี 2 รุ่น อีกรุ่น ค่า K ก็ต่างกันครับ)
- สไลด์กระบอก สามารถปรับความสูง-ต่ำ บีบสปริง ได้อย่างอิสระ
- ผลิตญี่ปุ่น 100% มีศูนย์ซ่อมบริการในไทย
ข้อมูลเกี่ยวกับรถ
ยี่ห้อ/รุ่น : Altis ปี 2004 วางเครื่อง 2zz-ge 6MT
ขนาดล้อ : Advanti N718 ขอบ 15 กว้าง 7 ออฟเซ็ต +35 หนักวงละ 5.1 กก.
ขนาดยาง : Otani KC2000 205/60/15 ใช้มา2 เดือน ยังไม่ถึงหมื่น กม.
ช่วงล่าง : **
RSR Best-i ที่กำลังรีวิวอยู่**
อื่นๆ : ค้ำโช๊คหน้าบน XRS ญี่ปุ่นตรงรุ่น
รูป - Serial Number ของสตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่นโตโยต้า วิช รุ่นสปริง Medium (แข็งปานกลาง)
จุดประสงค์และความคาดหวัง
1. บังคุบควบคุมดี เอาอยู่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็ไว้ใจได้ พอๆกับ Silver หรือจะด้อยกว่าสักนิดก็รับได้
2. นุ่มนวลนั่งสบาย กว่า Silver สักหน่อยก็พอ ยิ่งถ้าได้เท่า Monroe จะดีมากๆ
รีวิว สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่น Wish ใส่ Altis
สปริงชุดนี้มา หน้า 6 หลัง 8 ผมจับสลับกันเป็นหน้า 8 หลัง 6 นะครับ เพราะปกติรถรุ่นผมสปริงหน้าควรจะแข็งกว่าหลัง และบีบสปริง (preload) 5 มม. ทั้งหน้า-หลังครับ ปรับหนืดแบบขับสบาย หน้า 22/36 หลัง 18/36 ปรับหนืดแบบตึงๆหน่อย หน้า 30/36 หลัง 20/36 ครับ
หมายเหตุ - การนับเลขปรับหนืด อ้างอิงตามสตรัทยี่ห้อชั้นนำอย่าง Tein จะเริ่มจากบิดขวาสุด (ตามเข็มนาฬิกา) เป็นตำแหน่งที่แข็งที่สุดนับเป็น 0 แล้วหมุนซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) จะนับ 1,2,3 ไปเรื่อยๆ ยิ่งหมุนจะยิ่งนุ่มลง แต่ในรีวิวผมนี้ ผมนับตามที่ผมถนัด คือขวาสุดเป็น 36 บิดซ้าย 1 แก๊กจะนับลดทีละ 1 ครับ
1.
การควบคุม - โดยรวมทำได้ดีถึงดีมากครับ แน่น เฟิร์มดี หากปรับหนืดน้อยจะย้วยให้ตัวนิดๆ แต่หากหักเลี้ยว หรือเข้าโค้งมันก็ไม่โคลงไม่เสียว แปลกมากครับ หากปรับมากๆจะตึงๆหน่อย บวกกับกระด้างนิด และเหมือนสปริงหน้าจะแข็งไปหน่อย ฟีลจะออกแน่นๆ ยุบน้อย แต่จะเด้งๆแถมๆนิดครับ ถ้าทางเรียบหรือขรุขระแบบราบจะไม่มีผลกระทบอะไร แต่หากทางเป็นคลื่นต้องยกคันเร่งแล้วเกร็งพวงมาลัย หรือชับผ่านคอสะพานจะเด้งแถม 2-3 ครั้ง ต้องปรับหนืดเพิ่มสัก 5-10 จะลดอาการเด้งลงได้มาก แต้ฟีลจะตึงๆเกร็งๆ ผมไม่ค่อยชอบครับ
อีกอย่างนึงรู้สึกมีอาการหน้าดื้อเวลาขับเข้าโค้งครับ อาจเพราะมันควบคุมได้ดีเกินไปเลยทำให้เราเพลินเข้าโค้งด้วยความเร็วมากกว่าปกติ แต่เวลาเลี้ยวหน้ามันไม่ค่อยอยากไปตามครับ รู้สึกได้ค่อนข้างชัดเลย ไม่แน่ใจว่าเพราะสตรัทไม่ตรงรุ่นเลยบาลานซ์ไม่ดี หรือเพราะสปริงหน้าแข็งไปทำให้หน้าดื้อเกิน แต่หากพูดถึงทางเรียบทั่วไป มันเป็นสตรัทที่ยิ่งขับเร็วยิ่งนิ่งจริงๆ เกิน 140+ ไปนี่นิ่งม๊ากกกกก ขับ 180 นึกว่าขับ 100 เดียว ทางเป็นคลื่นนิดๆแทบจะปรับให้มันราบเรียบแบบไม่มีอาการโคลงเลย ต่างจากสตรัทตัวอื่นๆที่เคยใช้มา หากยิ่งเร็วจะยิ่งย้วยหรือโคลงทำให้เรายิ่งเสียวมากขึ้น หรือหวิวมากขึ้นครับ
2.
ความนุ่มนวล - ก่อนจะเอาสตรัทชุดนี้มาใส่ ผมใส่โช๊ค+สปริงเดิมมาได้อาทิตย์นึง หลังใส่ RSR เข้าไปแล้วผมว้าวมากครับ มันนุ่มมาก นุ่มกว่า Silver เยอะเลย มีคำอยู่คำนึงที่คนชอบพูดอวย RSR ก็คือ เหมือน "วิ่งบนพรม" ซึ่งก็อาจจะเว่อร์ไปหน่อย แต่ถ้าบอกว่านุ่มน้องๆโช๊คเดิมๆเลย ผมว่าอันนี้ไม่เกินจริงนะครับ รอยต่อเล็กๆนี่เรียบเนียนเหมือนโช๊คเดิมเลย ที่เทียบไม่ได้จริงๆคือพวกคอสะพานที่ชันๆหรือเนินหลังเต่าที่ต้องใช้การยุบซับแรงมากๆ อันนี้ RSR กระด้างกว่าชัดเจนเลยเพราะช่วงยุบมันน้อยครับ แต่ถ้าพูดถึงพวกสันคมๆ รอยต่อคอสะพาน ทางขรุขระในถนนราบ ฝาท่อ ที่ผมผ่านทุกๆวันโช๊คศูนย์กระแทกตึ้งยังไง RSR ก็จะดังไกล้เคียงกันหรือดังกว่าแค่นิดหน่อยเท่านั้น (แต่ต้องปรับหนืดน้อยหน่อยเน้นขับสบายนะครับ) แต่หากปรับเพิ่มให้ตึงๆหน่อย อาการกระด้าง กระแทก ก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละนิดครับ แต่อย่างที่บอกในข้อ 1 ข้างบนครับ ในถนนเส้นเดิม ยิ่งขับเร็วยิ่งเหมือนถนนเรียบนิ่งขึ้น ยิ่งขับช้ายิ่งเหืมือนขรุขระมากขึ้น ตอนใช้ Silver ก็รู้สึกคล้ายๆกันครับ
3.
ความขับสนุก - เป็นเรื่องเดียวที่ RSR ไม่ค่อยตอบโจทย์ครับ มันจะออกแนวขับแบบนวลๆ สุนทรีย์ นิ่งๆสบายๆ แต่มันไม่ค่อยปลุกความเป็นเสือในตัวเรา ไม่ค่อยเร้าอารมณ์ ไม่ค่อยมันส์เลยครับ ซึ่งตอนใช้ Silver ผมรู้สึกขับมันส์กว่านี้มาก เพราะ response ที่ไวและรับรู้ทุกรอยต่อมันคอยกระตุ้นให้เราอยากบู๊ พอเป็น RSR มันเหมาะกับสายชิวครับ ขับเรื่อยๆเฉื่อยๆ ถึงจะความเร็วสูงก็ยังชิวครับ
4.
ความยืดหยุ่น - ไม่แตกต่างจากสตรัททั่วไปครับ เด่นที่สามารถปรับหนืดได้ละเอียดยิบถึง 46 ระดับ แถมสเกลความละเอียดยังรู้สึกว่าละเอียดกว่า Silver ด้วย กล่าวคือตอนปรับ Silver รู้สึกไกล้จุดที่พอใจละขาดนิดเดียว แต่พอหมุนแก๊กนึงอ้าวมันเลยไปหน่อย อยากได้ค่าตรงกลางอะทำไงน๊อ แต่ใน RSR คือหมุนไปแก๊กนึงละ เอ๊ะยังไม่ถึง อีกแก๊ก เอ๊ะก็ยังไม่ถึงอีก ต้องประมาณ 3 แก๊ก ถึงจะประมาณเท่า Silver 1 แก๊กครับ อันนี้ไม่รู้เพราะว่า RSR ผ่านการใช้งานมานานแล้ว ทำให้ความหนืดของน้ำมันมันดรอบลงแล้วด้วยหรือเปล่านะครับ อย่างอื่นก็มีปรับสูงต่ำได้แบบสไลด์กระบอก ไม่กระทบความสูง แต่ขอหักคะแนนนิดนึงเรื่องที่มันไม่ตรงรุ่นครับ แล้วทำให้ไม่สามารถโหลดลงได้เยอะ หลังประบลงสุดแล้วแต่ยังดูสูง หน้าปรับลงได้อีกแต่เอาแค่เตี้ยกว่าหลัง 1.5 ซม. รวมๆแล้วเลยดูแทบจะไม่เตี้ยต่างจากรถสแตนดาร์ดเลยครับ
5.
ความคุ้มค่า - ถ้าเทียบประสิทธิภาพที่ได้ทั้งหมดนี้ ในราคาเต็มคือ ไม่แน่ใจว่าตัวญี่ปุ่นเท่าไรนะครับ สมมติ 7 หมื่นบาท สำหรับผม สายขับชิวอาจจะมีเร็วบ้างแต่ไม่ได้บู๊ล้างหลาญ ผมว่าผมขอเลือก Monroe Monotube จะเหมาะกับฐานะผมมากกว่า ถึงแม้จะสมรรถนะต่างกันประมาณนึง แต่ผมไม่ได้ใช้สมรรถนะของ RSR ได้คุ้มเต็มที่ขนาดนั้นครับ แต่ถ้าเทียบกับการซื้อ RSR มือสอง ที่ราคาตลาดอยู่ที่แค่ 2 หมื่น +- มันสุดจะคุ้มเลยครับ หากซื้อมาใช้ไม่ถึงปีแล้วรั่วหรือหมดสภาพ ก็เอาไป overhaul ใหม่ ร้านทั่วไปคิด 4 ต้น 6-8 พัน ใช้ได้ต่อยาวๆอีก 3-5 ปี คุ้มมากครับ
ตาราง - ค่าความแข็งของสปริงที่แนะนำ แข็งปานกลาง แข็งมาก และแข็งน้อย
สรุปผลการทดลอง
สตรัท RSR Best-i ตรงรุ่น Toyota Wish ใส่ใน Altis ผมได้มาในราคา 15,000 เป็นสตรัทรถบ้าน ที่สมรรถนะดี แน่น เฟิร์ม บังคับควบคุมได้ดี ถึงมีความย้วยบ้าง แต่หักหลบเร็วๆแล้วเอาอยู่ ทั้งยังนุ่มนวล ปรับสภาพถนนให้เรียบขึ้น นั่งสบาย แต่ไม่โคลงเคลงโยกโยนเหมือนโช๊คเดิมศูนย์ (ถึงจะไม่นุ่มเท่าของศูนย์ถ้าเจอทางโหดๆ แต่ทางโดยรวมกว่า 80% ก็นุ่มไกล้เคียงศูนย์เลย แต่ต้องปรับนุ่มนะ) สำหรับผม มันคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายมากๆครับ
ทิ้งท้ายไว้ว่า ล่าสุดตอนนี้ ผมไปเปลี่ยนสปริงหน้าลดค่า K มาแล้วครับ เพิ่งลองๆเปลี่ยนดูยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไร ถ้าลองไล่เบอร์จนนิ่งแล้วยังไง จะกลับมารีวิวแชร์ในกระทู้ถัดๆไปนะครับ สุดท้ายนี้ ตัวผมเองไม่ได้มีความรู้มาก ไม่ได้อยู่วงในหรือทำงานในสายยานยนต์ใดๆ เพียงแค่เคยทดลองใช้เลยอยากจะนำมาเล่ามาแชร์ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจไม่มากก็น้อยครับ หากมีข้อผิดพลาด ใช้คำผิด ประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
คะแนนความถึงพอใจ:
การควบคุม: 8/10
ความนุ่มนวล: 7.5/10
ความขับสนุก: 5/10
ความยืดหยุ่น: 7/10
ความคุ้มราคา: 9/10
ฝากติดตามผลงานที่เพจ Need For Slow ด้วยครับ:
https://www.facebook.com/Needforslow247/
[CR] รีวิวสามัญชน: สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่น Wish ใส่ Altis
และสุดท้ายจากการหา RSR Best-i มือสองจากหลายๆร้าน ก็ตกลงปลงใจกับน้องคนหนึ่งที่เป็นเพื่อนของเพื่อนที่รู้จักกันมานาน และพอดูในแชทผมเคยขายท่อ FGK ให้น้องคนนี้ไปด้วยเลยยิ่งคุยกันง่ายใหญ่เลยครับ สตรัท RSR Best-i ตัวนี้เป็นของตรงรุ่นของ Toyota Wish (ใช่ครับ ไม่ตรงรุ่นอัลติส) ผมได้สอบถามไปยังเพจ RSR Thailand แล้ว ทางเพจบอกว่าทางเราไม่มีผลิตตรงรุ่นอัลติสครับ ที่ใส่ๆกันน่าจะเป็นเอามาจากรุ่นอื่นแล้วมาแปลงใส่ ซึ่งปกติของวิชสามารถใส่อัลติสได้เลยโดยไม่ต้องแปลงอะไร เพียงแต่อาจออกแบบมาไม่ได้ balance กับอัลติสเป๊ะๆ อาจจะมีเรื่องของความยาวของแกนโช๊ค ความแข็งของสปริงหน้าหลัง และความหนืดของโช๊คหน้าหลังที่ไม่ได้สมดุลย์สำหรับอัลติส แต่เท่าที่ลองนั่งรถ 2 คัน ก็พิสูจน์ได้ว่าฟีลลิ่งมันดีจริงครับเลยมั่นใจที่จะเอามาใส่รถตัวเอง ซึ่งการซื้อต่อจากน้องครั้งนี้ น้องบอกว่าเคยเอาโช๊คไป overhaul มาแล้วประมาณปีครึ่ง ครับ มั่นใจได้ว่าไม่ใช่โช๊คเก่าๆที่ยังไม่เคยซ่อมเลย มาจากญี่ปุ่นแท้ๆ ซึ่งโช๊ตเดิมๆที่มาจากญี่ปุ่นหลายคนเจอปัญหาซื้อมาใช้ได้แปปเดียวก็ต้องเสียเงิน overhaul เพราะอายุมันนานมากจนน้ำมันหรือแก๊สด้านในมันเสื่อมแล้ว หรือซีลหมดสภาพทำให้รั่วครับ
รูป - สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่นโตโยต้า วิช
สตรัทที่ผมเคยใช้มาทั้งหมด
1. Monroe Reflex (Twin Tube) - เป็นสตรัทคัสต้อม เอาโช๊คยี่ห้อนี้มาใส่กับปลอกปรับเกลียวและสปริงหลอด ผมใช้มา 2 ชุดครับ
2. Monroe Monotube (Mono Tube) - เป็นสตรัทคัสต้อมเหมือนตัวบน แต่โช๊คเป็นระบบโมโนทูป (อ่านรีวิวได้ที่ https://pantip.com/topic/37500158)
3. Silver Neomax One (Mono Tube) - เป็นสตรัทแท้ๆตัวแรกที่ผมใช้ แต่ไม่ถูกใจครับ ทนใช้ได้ 3 เดือนก็ขาย แต่คนที่ซื้อต่อผมไปนั้นชอบมาก
4. RSR Best-i (Mono Tube) <---- ตัวที่กำลัง เขียนรีวิวอยู่
รายละเอียด RSR Best-i ตรงรุ่น Toyota Wish
- แกนโช๊คระบบโมโนทูป
- โช๊คปรับหนึดได้ 36 ระดับ (อาจหมุนได้จริง 46 แต่ 10 แก๊กที่เกิน 36 จะไม่มีผลครับ)
- สปริงผสมไทเทเนียม หน้า 6K หลัง 8K (วิชมี 2 รุ่น อีกรุ่น ค่า K ก็ต่างกันครับ)
- สไลด์กระบอก สามารถปรับความสูง-ต่ำ บีบสปริง ได้อย่างอิสระ
- ผลิตญี่ปุ่น 100% มีศูนย์ซ่อมบริการในไทย
ข้อมูลเกี่ยวกับรถ
ยี่ห้อ/รุ่น : Altis ปี 2004 วางเครื่อง 2zz-ge 6MT
ขนาดล้อ : Advanti N718 ขอบ 15 กว้าง 7 ออฟเซ็ต +35 หนักวงละ 5.1 กก.
ขนาดยาง : Otani KC2000 205/60/15 ใช้มา2 เดือน ยังไม่ถึงหมื่น กม.
ช่วงล่าง : **RSR Best-i ที่กำลังรีวิวอยู่**
อื่นๆ : ค้ำโช๊คหน้าบน XRS ญี่ปุ่นตรงรุ่น
รูป - Serial Number ของสตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่นโตโยต้า วิช รุ่นสปริง Medium (แข็งปานกลาง)
จุดประสงค์และความคาดหวัง
1. บังคุบควบคุมดี เอาอยู่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินก็ไว้ใจได้ พอๆกับ Silver หรือจะด้อยกว่าสักนิดก็รับได้
2. นุ่มนวลนั่งสบาย กว่า Silver สักหน่อยก็พอ ยิ่งถ้าได้เท่า Monroe จะดีมากๆ
รีวิว สตรัทปรับเกลียว RSR Best-i ตรงรุ่น Wish ใส่ Altis
สปริงชุดนี้มา หน้า 6 หลัง 8 ผมจับสลับกันเป็นหน้า 8 หลัง 6 นะครับ เพราะปกติรถรุ่นผมสปริงหน้าควรจะแข็งกว่าหลัง และบีบสปริง (preload) 5 มม. ทั้งหน้า-หลังครับ ปรับหนืดแบบขับสบาย หน้า 22/36 หลัง 18/36 ปรับหนืดแบบตึงๆหน่อย หน้า 30/36 หลัง 20/36 ครับ
หมายเหตุ - การนับเลขปรับหนืด อ้างอิงตามสตรัทยี่ห้อชั้นนำอย่าง Tein จะเริ่มจากบิดขวาสุด (ตามเข็มนาฬิกา) เป็นตำแหน่งที่แข็งที่สุดนับเป็น 0 แล้วหมุนซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) จะนับ 1,2,3 ไปเรื่อยๆ ยิ่งหมุนจะยิ่งนุ่มลง แต่ในรีวิวผมนี้ ผมนับตามที่ผมถนัด คือขวาสุดเป็น 36 บิดซ้าย 1 แก๊กจะนับลดทีละ 1 ครับ
1. การควบคุม - โดยรวมทำได้ดีถึงดีมากครับ แน่น เฟิร์มดี หากปรับหนืดน้อยจะย้วยให้ตัวนิดๆ แต่หากหักเลี้ยว หรือเข้าโค้งมันก็ไม่โคลงไม่เสียว แปลกมากครับ หากปรับมากๆจะตึงๆหน่อย บวกกับกระด้างนิด และเหมือนสปริงหน้าจะแข็งไปหน่อย ฟีลจะออกแน่นๆ ยุบน้อย แต่จะเด้งๆแถมๆนิดครับ ถ้าทางเรียบหรือขรุขระแบบราบจะไม่มีผลกระทบอะไร แต่หากทางเป็นคลื่นต้องยกคันเร่งแล้วเกร็งพวงมาลัย หรือชับผ่านคอสะพานจะเด้งแถม 2-3 ครั้ง ต้องปรับหนืดเพิ่มสัก 5-10 จะลดอาการเด้งลงได้มาก แต้ฟีลจะตึงๆเกร็งๆ ผมไม่ค่อยชอบครับ
อีกอย่างนึงรู้สึกมีอาการหน้าดื้อเวลาขับเข้าโค้งครับ อาจเพราะมันควบคุมได้ดีเกินไปเลยทำให้เราเพลินเข้าโค้งด้วยความเร็วมากกว่าปกติ แต่เวลาเลี้ยวหน้ามันไม่ค่อยอยากไปตามครับ รู้สึกได้ค่อนข้างชัดเลย ไม่แน่ใจว่าเพราะสตรัทไม่ตรงรุ่นเลยบาลานซ์ไม่ดี หรือเพราะสปริงหน้าแข็งไปทำให้หน้าดื้อเกิน แต่หากพูดถึงทางเรียบทั่วไป มันเป็นสตรัทที่ยิ่งขับเร็วยิ่งนิ่งจริงๆ เกิน 140+ ไปนี่นิ่งม๊ากกกกก ขับ 180 นึกว่าขับ 100 เดียว ทางเป็นคลื่นนิดๆแทบจะปรับให้มันราบเรียบแบบไม่มีอาการโคลงเลย ต่างจากสตรัทตัวอื่นๆที่เคยใช้มา หากยิ่งเร็วจะยิ่งย้วยหรือโคลงทำให้เรายิ่งเสียวมากขึ้น หรือหวิวมากขึ้นครับ
2. ความนุ่มนวล - ก่อนจะเอาสตรัทชุดนี้มาใส่ ผมใส่โช๊ค+สปริงเดิมมาได้อาทิตย์นึง หลังใส่ RSR เข้าไปแล้วผมว้าวมากครับ มันนุ่มมาก นุ่มกว่า Silver เยอะเลย มีคำอยู่คำนึงที่คนชอบพูดอวย RSR ก็คือ เหมือน "วิ่งบนพรม" ซึ่งก็อาจจะเว่อร์ไปหน่อย แต่ถ้าบอกว่านุ่มน้องๆโช๊คเดิมๆเลย ผมว่าอันนี้ไม่เกินจริงนะครับ รอยต่อเล็กๆนี่เรียบเนียนเหมือนโช๊คเดิมเลย ที่เทียบไม่ได้จริงๆคือพวกคอสะพานที่ชันๆหรือเนินหลังเต่าที่ต้องใช้การยุบซับแรงมากๆ อันนี้ RSR กระด้างกว่าชัดเจนเลยเพราะช่วงยุบมันน้อยครับ แต่ถ้าพูดถึงพวกสันคมๆ รอยต่อคอสะพาน ทางขรุขระในถนนราบ ฝาท่อ ที่ผมผ่านทุกๆวันโช๊คศูนย์กระแทกตึ้งยังไง RSR ก็จะดังไกล้เคียงกันหรือดังกว่าแค่นิดหน่อยเท่านั้น (แต่ต้องปรับหนืดน้อยหน่อยเน้นขับสบายนะครับ) แต่หากปรับเพิ่มให้ตึงๆหน่อย อาการกระด้าง กระแทก ก็จะค่อยๆเพิ่มขึ้นทีละนิดครับ แต่อย่างที่บอกในข้อ 1 ข้างบนครับ ในถนนเส้นเดิม ยิ่งขับเร็วยิ่งเหมือนถนนเรียบนิ่งขึ้น ยิ่งขับช้ายิ่งเหืมือนขรุขระมากขึ้น ตอนใช้ Silver ก็รู้สึกคล้ายๆกันครับ
3. ความขับสนุก - เป็นเรื่องเดียวที่ RSR ไม่ค่อยตอบโจทย์ครับ มันจะออกแนวขับแบบนวลๆ สุนทรีย์ นิ่งๆสบายๆ แต่มันไม่ค่อยปลุกความเป็นเสือในตัวเรา ไม่ค่อยเร้าอารมณ์ ไม่ค่อยมันส์เลยครับ ซึ่งตอนใช้ Silver ผมรู้สึกขับมันส์กว่านี้มาก เพราะ response ที่ไวและรับรู้ทุกรอยต่อมันคอยกระตุ้นให้เราอยากบู๊ พอเป็น RSR มันเหมาะกับสายชิวครับ ขับเรื่อยๆเฉื่อยๆ ถึงจะความเร็วสูงก็ยังชิวครับ
4. ความยืดหยุ่น - ไม่แตกต่างจากสตรัททั่วไปครับ เด่นที่สามารถปรับหนืดได้ละเอียดยิบถึง 46 ระดับ แถมสเกลความละเอียดยังรู้สึกว่าละเอียดกว่า Silver ด้วย กล่าวคือตอนปรับ Silver รู้สึกไกล้จุดที่พอใจละขาดนิดเดียว แต่พอหมุนแก๊กนึงอ้าวมันเลยไปหน่อย อยากได้ค่าตรงกลางอะทำไงน๊อ แต่ใน RSR คือหมุนไปแก๊กนึงละ เอ๊ะยังไม่ถึง อีกแก๊ก เอ๊ะก็ยังไม่ถึงอีก ต้องประมาณ 3 แก๊ก ถึงจะประมาณเท่า Silver 1 แก๊กครับ อันนี้ไม่รู้เพราะว่า RSR ผ่านการใช้งานมานานแล้ว ทำให้ความหนืดของน้ำมันมันดรอบลงแล้วด้วยหรือเปล่านะครับ อย่างอื่นก็มีปรับสูงต่ำได้แบบสไลด์กระบอก ไม่กระทบความสูง แต่ขอหักคะแนนนิดนึงเรื่องที่มันไม่ตรงรุ่นครับ แล้วทำให้ไม่สามารถโหลดลงได้เยอะ หลังประบลงสุดแล้วแต่ยังดูสูง หน้าปรับลงได้อีกแต่เอาแค่เตี้ยกว่าหลัง 1.5 ซม. รวมๆแล้วเลยดูแทบจะไม่เตี้ยต่างจากรถสแตนดาร์ดเลยครับ
5. ความคุ้มค่า - ถ้าเทียบประสิทธิภาพที่ได้ทั้งหมดนี้ ในราคาเต็มคือ ไม่แน่ใจว่าตัวญี่ปุ่นเท่าไรนะครับ สมมติ 7 หมื่นบาท สำหรับผม สายขับชิวอาจจะมีเร็วบ้างแต่ไม่ได้บู๊ล้างหลาญ ผมว่าผมขอเลือก Monroe Monotube จะเหมาะกับฐานะผมมากกว่า ถึงแม้จะสมรรถนะต่างกันประมาณนึง แต่ผมไม่ได้ใช้สมรรถนะของ RSR ได้คุ้มเต็มที่ขนาดนั้นครับ แต่ถ้าเทียบกับการซื้อ RSR มือสอง ที่ราคาตลาดอยู่ที่แค่ 2 หมื่น +- มันสุดจะคุ้มเลยครับ หากซื้อมาใช้ไม่ถึงปีแล้วรั่วหรือหมดสภาพ ก็เอาไป overhaul ใหม่ ร้านทั่วไปคิด 4 ต้น 6-8 พัน ใช้ได้ต่อยาวๆอีก 3-5 ปี คุ้มมากครับ
ตาราง - ค่าความแข็งของสปริงที่แนะนำ แข็งปานกลาง แข็งมาก และแข็งน้อย
สรุปผลการทดลอง
สตรัท RSR Best-i ตรงรุ่น Toyota Wish ใส่ใน Altis ผมได้มาในราคา 15,000 เป็นสตรัทรถบ้าน ที่สมรรถนะดี แน่น เฟิร์ม บังคับควบคุมได้ดี ถึงมีความย้วยบ้าง แต่หักหลบเร็วๆแล้วเอาอยู่ ทั้งยังนุ่มนวล ปรับสภาพถนนให้เรียบขึ้น นั่งสบาย แต่ไม่โคลงเคลงโยกโยนเหมือนโช๊คเดิมศูนย์ (ถึงจะไม่นุ่มเท่าของศูนย์ถ้าเจอทางโหดๆ แต่ทางโดยรวมกว่า 80% ก็นุ่มไกล้เคียงศูนย์เลย แต่ต้องปรับนุ่มนะ) สำหรับผม มันคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายมากๆครับ
ทิ้งท้ายไว้ว่า ล่าสุดตอนนี้ ผมไปเปลี่ยนสปริงหน้าลดค่า K มาแล้วครับ เพิ่งลองๆเปลี่ยนดูยังไม่ค่อยนิ่งเท่าไร ถ้าลองไล่เบอร์จนนิ่งแล้วยังไง จะกลับมารีวิวแชร์ในกระทู้ถัดๆไปนะครับ สุดท้ายนี้ ตัวผมเองไม่ได้มีความรู้มาก ไม่ได้อยู่วงในหรือทำงานในสายยานยนต์ใดๆ เพียงแค่เคยทดลองใช้เลยอยากจะนำมาเล่ามาแชร์ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อท่านที่สนใจไม่มากก็น้อยครับ หากมีข้อผิดพลาด ใช้คำผิด ประการใด ต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ
คะแนนความถึงพอใจ:
การควบคุม: 8/10
ความนุ่มนวล: 7.5/10
ความขับสนุก: 5/10
ความยืดหยุ่น: 7/10
ความคุ้มราคา: 9/10
ฝากติดตามผลงานที่เพจ Need For Slow ด้วยครับ:
https://www.facebook.com/Needforslow247/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้