รัฐบาลบิ๊กตู่ เสี่ยงเข้าตาจน เพดานก่อหนี้ต่อจีดีพี 70% ไม่พอให้ออก พ.ร.ก.กู้เงิน สู้โควิดโอมิครอน

กระทู้สนทนา
ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมา มีการรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของรัฐบาลบิ๊กตู่ การออก พ.ร.ก.กู้เงิน 2 ฉบับ รวม 1.5 แสนล้านบาท เป็นมาตรการแจกเงินเยียวยาในโครงการต่างๆ นานา ถึง 8 แสนล้านบาท คาดว่าสุดท้ายจะแตะ 1 ล้านล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการใช้เพื่อการสาธารณสุข และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
ตอนนี้ ทำให้รัฐบาลบิ๊กตู่ คิดหนัก ว่า การออก พ.ร.ก. กู้เงินมาสู้โอมิครอน ครั้งนี้จะกู้เงินเท่าไรดีเพื่อเอาโอมิครอนให้อยู่หมัด และฟื้นเศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ตามเป้าหมาย

ที่ผ่านมา รัฐบาลบิ๊กตู่มีการแก้ไขเพดานก่อหนี้ประเทศต่อจีดีพี จากไม่เกิน 60% เป็นไม่เกิน 70% ของจีดีพี ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีช่องที่จะกู้เงินได้อีกกว่า 1 ล้านล้านบาท ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ
ดังนั้นต้องลุ้นว่า บิ๊กตู่ออก พ.ร.ก.กู้เงินสู้โอมิครอนแบบชนิดโดนรุมสวดครั้งเดียว 1 ล้านล้านบาท ไปเลย หรือว่า จะทยอยกู้ที่แรก 5 แสนบาท ไปก่อนเป็นการวัดดวง เพื่อพอจะได้โดนสวดน้อยหน่อย แต่หากไม่พอต้องออก พ.ร.ก.กู้อีก 5 แสนล้านบาท ก็จะกลายเป็นว่ารัฐบาลบิ๊กตู้โดนสวดสองรอบว่าเป็นรัฐบาลที่ดีแต่กู้
ก่อนหน้ามีการระบาดของโควิดโอมิครอน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คนปัจจุบัน เสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.กู้เงินอีก 1 ล้านล้านบาท รวมกับการกู้ 2 รอบแรก 1.5 ล้านล้านบาท เป็น 2.5 ล้านล้าน เพื่อถมหลุมรายได้ของประชาชนและธุรกิจที่เจอพิษโควิดถูกสูบหายไป 2.6 ล้านล้านบาท

แต่สถานการณ์การระบาดของโอมิครอนที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว น่าจะทำให้หลุมรายได้ของประชาชนและภาคธุรกิจน่าจะใหญ่และลึกมากกว่า 2.6 ล้านล้านบาท ดังนั้นช่องว่างกู้เงินของรัฐบาลที่เหลืออีก 1 ล้านล้านบาท จะเพียงพอเยียวยาฟื้นฟูเศรษฐกิจหรือไม่

กระทรวงการคลัง รายงานหนี้สาธารณะของประเทศไทย สิ้นเดือน พ.ย. 2564 อยู่ที่ 9.62 ล้านล้านบาท หรือ 59.58% ของจีดีพี โดยคิดจากมูลค่าจีดีพีที่ 16 ล้านล้านบาท หากดีดลูกคิดแบบกลมๆ 70% ของจีดีพี อยู่ที่ 11.2 ล้านล้านบาท เมื่อไปหักกับหนี้ที่มีอยู่แล้ว ทำให้ประเทศไทยก่อหนี้ได้อีก 1.58 ล้านล้านบาท

โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่