JJNY : เปิดรับต่างชาติแต่ศก.ยังไม่ฟื้น│โควิดลงปอดเสียชีวิต หลังฉีดแอสตร้าฯ│น้ำท่วมเกษตรสูญ8พันล.│ทีมสอบบราซิลแนะฟ้องปธน.

กระทู้ข่าว
วิจัยเผย แม้เปิดรับต่างชาติแต่เศรษฐกิจไทยก็ยังไม่ฟื้น เพราะยังเป็นประเทศความเสี่ยงสูง
https://brandinside.asia/krungsri-on-thai-reopening-this-november-2021/
 
 
วิจัยกรุงศรีชี้ แม้มีการเปิดประเทศต้นพฤศจิกายนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแบบไม่กักตัว แต่ระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะยังคงต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤติการระบาด
  
รัฐบาลเตรียมดำเนินมาตรการโควิดฉบับใหม่เพื่อฟื้นฟูกิจกรรมเศรษฐกิจที่ถูกกระทบหนักจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้กลับมาดำเนินการมากขึ้นเพื่อทุเลาความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
 
จากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (ศบค.) เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ได้ข้อสรุปสำหรับการผ่อนคลายมาตรการโควิดเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจดังนี้ 
 
• พิจารณาเปิดประเทศ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน รับนักท่องเที่ยวจากประเทศความเสี่ยงต่ำโดยไม่ต้องกักตัว
• ลดเวลาเคอร์ฟิว ตั้งแต่ 16 ตุลาคม จาก 22.00 น. – 4.00 น. เป็น 23.00 น. – 3.00 น. 
• ผ่อนคลายกิจกรรม เช่น การจัดงาน การประชุม เพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมตามระดับพื้นที่
 
ไทยเปิดรับต่างชาติ แต่ต่างชาติยังระแวงไทย
 
ประเทศไทยมีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวมหาศาล ในปี 2019 มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนประเทศไทยเกือบ 40 ล้านคน มีรายได้จากภาคการท่องเที่ยวคิดเป็นเกือบ 20% ของ GDP แต่ในปี 2020 รายได้จากภาคการท่องเที่ยวลดลงเหลือเพียง 6.78% ของ GDP เพราะการระบาดของโควิด-19
  
ดังนั้น สิ่งที่น่าจับตาที่สุดอย่างหนึ่งในครั้งนี้จึงหนีไม่พ้นการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจากประเทศความเสี่ยงต่ำ เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ เยอรมนี จีน และสิงคโปร์ โดยอยู่ภายใต้ข้อกำหนด เช่น ฉีดวัคซีนครบโดส มีการตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางและเมื่อถึงไทย 
 
อย่างไรก็ตาม การเปิดรับนักท่องเที่ยวอาจต้องเจออุปสรรค เพราะนักท่องเที่ยวต่างชาติยังคงต้องปฏิบัติตามมาตรการหรือนโยบายของประเทศต้นทางเป็นสำคัญ 
 
• นักท่องเที่ยวจีน ที่มีสัดส่วนสูงเกือบ 28% ของภาคท่องเที่ยวไทยยังคงอยู่ใต้มาตรการคุมเข้ม ประชาชนยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ
 
• นักท่องเที่ยวสหรัฐฯ และยุโรป ยังคงได้รับคำเตือนจากภาครัฐให้หลีกเลี่ยงการเดินทางมาไทยเนื่องจากเป็นพื้นที่การระบาดที่ยังมีความเสี่ยงสูง 
 
การท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาฟื้นตัวเต็มที่ในปีนี้
 
ดังนั้น แม้ไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแต่การท่องเที่ยวอาจจะฟื้นกลับมาได้ไม่เต็มตัว วิจัยกรุงศรีเคยคาดเอาไว้ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะมีเพียง 150,000 คน และ 2,500,000 คน ในปี 2564 และปี 2565 ตามลำดับ
 
วิจัยกรุงศรีชี้ชัดว่าการฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยวของไทยและภูมิภาคเอเชียอาจล่าช้า เนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ยังอยู่ในระดับสูง และมีความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน และการกลายพันธุ์ของไวรัส ทำให้บรรยากาศของประเทศไม่ตอบโจทย์นักท่องเที่ย ว
นอกจากนี้ วิจัยกรุงศรีประเมินเอาไว้ว่าแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการ และมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมภายในสิ้นปีนี้จะยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาด
 
• ดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมจะมีค่าอยู่ที่ 94.4% ของระดับก่อนการระบาด 
• กิจกรรมท่องเที่ยวจะอยู่เพียงแค่ 57.9% ของระดับก่อนการระบาด
 
figures from วิจัยกรุงศรี
ที่มา – วิจัยกรุงศรี
 

 
สุดเศร้า เปิดโพสต์สุดท้าย ‘ยูทูบเบอร์ดัง’ เชื้อโควิดลงปอดเสียชีวิต หลังฉีดแอสตร้าฯ เข็ม 2
https://www.matichon.co.th/covid19/thai-covid19/news_3000271
 
สุดเศร้า เปิดโพสต์สุดท้าย ‘ยูทูบเบอร์ดัง’ เชื้อโควิดลงปอดเสียชีวิต หลังฉีดแอสตร้าฯเข็ม 2
 
เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม มีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ“Pimpisa Pancharoen” โพสต์ภาพพร้อมข้อความ ระบุว่า 

“Rip พี่เบิร์ด พิธีกรรายการ รายการ “ เฮฮา ภาษาตุ๊ด”
 
แอลเพิ่งรู้ข่าวตอนนี้ ถึงกับช็อคมาก เพราะเมื่อวานยังพูดถึงอยู่เลย ในแชทกลุ่มรายการก็ไม่คอยได้คุยอะไรกัน ทำไมพี่เบิร์ดจากน้องๆไปเร็วแบบนี้ ใจหายมาก น้ำตาจะไหล แอลกำลังจะนัดถ่ายคลิปกันอยู่เลยเร็วๆ นี้ พยายามหาคอนเท็นต์สนุกๆ❤️💕แอลขอให้พี่เบิร์ดหลับให้สบายนะคะ พี่เบิร์ดคือรุ่นพี่ที่ดีคนนึ่งที่แอลเคารพนับถือ และคำพูดเวลาพี่เบิร์ดสอนแอลจำได้หมด😭#อยากให้เป็นแค่ความฝัน# Bird Kamol Sukkapat รักเสมอ
 
#พี่เบิร์ดเสียเพราะโควิดลงปอดตอนฉีดวัคซีนเข็มสอง#
เสียเวลา03:30# ”
 
ทั้งนี้ มีรายงานว่า ในเฟซบุ๊กของผู้เสียชีวิต Bird Kamol Sukkapat ได้เปิดเผยภาพการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 2 เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมา และในเวลาต่อมา ได้โพสต์เฟซบุ๊กบอกเล่าอาการป่วยของตัวเองหลายครั้ง เช่น วันที่ 2 ต.ค. ระบุว่า “แอสต้า+ฝนตก = อย่าเก่ง” , วันที่ 3 ต.ค. “ป่วยหนัก เพราะ แอสต้า” , วันที่ 5 ต.ค. “หายเถอะขอร้อง…แอสต้า” และโพสต์สุดท้ายเมื่อเวลา 01.06 น. วันที่ 19 ต.ค. “ทำไมใจร้าย สรุปต้องตาย
 
ทั้งนี้ ในโพสต์ของผู้เสียชีวิต มีผู้เข้าไปแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก
 
https://www.facebook.com/lly.single/posts/4589155911177438
https://www.facebook.com/kamol.sukkapat
 

 
สศก.ชี้น้ำท่วม ภาคเกษตร สูญ 8 พันล้าน กระทบพื้นที่ 5.37 ล้านไร่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_6686794
 
สศก.ชี้น้ำท่วม ภาคเกษตร สูญ 8 พันล้าน -กระทบพื้นที่เกษตร 5.37 ล้านไร่ ฉุดจีดีพีภาคเกษตรลด 0.5% ข้าว-พืชผัก เสียหาย 30%
 
วันที่ 20 ต.ค.64 นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ สศก. ประเมินความเป็นไปได้ที่ปริมาณผลผลิตจะเสียหายตามพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยพิจารณาระดับความอ่อนไหวของพืชนั้น ๆ ต่อภาวะน้ำท่วม เช่น ผลผลิตข้าว ประเมินว่ามีโอกาสเสียหายประมาณ 30% ของข้าวทั้งหมดที่ปลูกในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม เนื่องจากนาข้าวส่วนใหญ่อยู่ในที่ลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง
 
ขณะที่พืชไร่ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง มักปลูกในที่ดอน จึงไม่ประสบปัญหาน้ำท่วมขังเหมือนข้าว บางส่วนได้รับความเสียหายจากน้ำไหลหลาก คาดว่าโอกาสเสียหายจะอยู่เพียง5% ของพืชไร่ในพื้นที่น้ำท่วมเท่านั้น
 
ส่วนพืชผักมีโอกาสเสียหายประมาณ 30% ของพื้นที่ปลูกที่โดนน้ำท่วม โดยภาพรวมมีพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบประมาณ 5.37 ล้านไร่ โดยประเมินสถานการณ์ เป็น 2 กรณี (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ต.ค. 2564)
 
1. กรณีน้ำท่วมเดือนก.ย.- กลางต.ค. 2564 สำหรับข้าวนาปี คาดว่ามีพื้นที่เสียหาย 3.5 ล้านไร่ มีมูลค่าความเสียหาย 4,685 ล้านบาท และพืชผัก คาดว่ามีพื้นที่เสียหาย 0.18 ล้านไร่ มีมูลค่าความเสียหาย 1,069 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 6,250 ล้านบาท
 
2. กรณีน้ำท่วมขัง เดือนก.ย. – ต.ค.2564 สำหรับข้าวนาปี คาดว่ามีพื้นที่เสียหาย 5 ล้านไร่ มีมูลค่าความเสียหาย 6,692 ล้านบาท และพืชผัก คาดว่ามีพื้นที่เสียหาย 0.23 ล้านไร่ มีมูลค่าความเสียหาย 1,366 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 8,058 ล้านบาท
 
สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ จีดีพี ภาคเกษตรปี 2564 ลดลงประมาณ 4,190 – 5,730 ล้านบาท หรือลดลง 0.2 – 0.5% ซึ่งเป็นการประเมินในเบื้องต้นที่ไม่ได้รวมความเสียหายด้านทรัพย์สิน ทั้งนี้ จึงต้องมีการติดตามผลกระทบอย่างต่อเนื่องในระยะต่อไป
 
สำหรับปี 2564 ภาคเกษตรได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2564 หลังมีพายุ และอิทธิพลพายุ กระทบประเทศไทยจำนวน 6 ลูกได้แก่ พายุไซโคลน “ยาอาส” เกิดขึ้นระหว่าง 25 – 29 พ.ค., พายุ ‘โคะงุมะ’ เกิดขึ้นระหว่าง 12 – 13 มิ.ย. พายุโซนร้อน “โกนเซิน” เกิดขึ้นระหว่าง 9-10 ก.ย.
 
“พายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” เกิดขึ้นระหว่าง 23 – 30 ก.ย. พายุโซนร้อน “ไลออนร็อก” เกิดขึ้นระหว่าง 10 – 12 ต.ค. และ พายุโซนร้อน “คมปาซุ” เกิดขึ้นระหว่าง 13 – 15 ต.ค. และขณะนี้ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
 
จากอิทธิพลพายุทั้ง 6 ลูก ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมาก หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน น้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตร ร่องมรสุมกำลังแรงดังกล่าว มีสาเหตุจากปรากฏการณ์ลานิญา ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำหลายแห่งมีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บ
 
โดยเฉพาะเขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำตะคอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จนต้องเร่งระบายน้ำออกสู่พื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งทำให้หลายพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างหนัก
 
การที่ฝนตกชุกยาวนานนับตั้งแต่เดือนก.ย. 2564 ก่อให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่ 48 จังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อประชากร 5% ของประเทศ จากประชากรทั้งหมดทั่วประเทศประมาณ 69.8 ล้านคน และพื้นที่เกษตรได้รับผลกระทบ 6.5% ของพื้นที่การเกษตรในประเทศ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่