Holst: The Planets Suite, Op. 32 เพลงชุด “ดาวเคราะห์”

กระทู้สนทนา
เพลงชุดนี้ประพันธ์โดยกูสตาฟ โฮลส์ท์ (Gustav Holst)  นักประพันธ์เพลงคลาสสิกชาวอังกฤษ  เพลงชุดนี้แต่งขึ้นระหว่างปี 1914-1916 เป็นเพลงชุดแบบ modern suite เพลงประเภทนี้เป็นเพลงที่มีหลายท่อน (movement) สำหรับบรรเลงด้วยวงออร์เคสตรา บางครั้งใช้บรรยายเรื่องราวที่มีหลายท่อน อย่างกรณีเพลงชุด  Schยิ้มzade  ซึ่งเป็นเรื่องเล่าจากอาหรับราตรี เช่น การผจญภัยของซินแบด

เพลงชุด The Planets นี้มี 7  ท่อน บรรยายถึงดาวเคราะห์เท่าที่ค้นพบในช่วงที่ประพันธ์ โดยเรียงลำดับท่อนดังนี้  ดาวอังคาร (Mars) ดาวศุกร์ (Venus) ดาวพุธ (Mercury) ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ดาวเสาร์ (Saturn) ดาวยูเรนัส (Uranus)  ดาวเนปจูน (Neptune)  ส่วนดาวโลกแม้จะเป็นดาวเคราะห์แต่ก็ไม่มีการบรรยายไว้  เพราะว่าความมุ่งหมายของการประพันธ์เพลงชุดนี้เป็นเรื่องการบรรยายดาวเคราะห์ในเชิงโหราศาสตร์ (astrological character)  ซึ่งไม่จัดให้โลกเป็นตัวแทนในเชิงโหราศาสตร์นั่นเอง  เพราะว่าวิชาโหราศาสตร์เป็นเรื่องการศึกษาการโคจรของดาวเคราะห์ที่เห็นบนท้องฟ้า โดยเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อชีวิตคน   แต่เนื่องจากคนยืนอยู่บนโลกมองขึ้นไปบนท้องฟ้า  เราไม่ได้เห็นโลกโคจรไปบนท้องฟ้าเลย

คำแนะนำในการฟังเพลงชุดนี้สำหรับคนทั่วไปที่ไม่คุ้นเคยกับเพลงคลาสสิกขนาดยาว (เพลงชุดนี้ยาวประมาณ  45 นาที) การฟังรวดเดียวอาจเป็นเรื่องเกินสมาธิและความอดทน   หากฝืนทนฟังจนจบก็จะบอกว่าฟังไม่รู้เรื่องอะไรเลย  จับได้แต่ว่ามีดนตรีบรรเลงไปเรื่อย ๆ  นั่นคือปฏิกิริยาตอนฟังจบของคนทั่วไปที่ไม่ได้นิยมฟังเพลงคลาสสิกมาก่อน   ก็ต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องแปลกเลย  ยิ่งถ้าฟังเป็นครั้งแรกโดยไม่ได้รับการแนะนำมาก่อน  ก็จะจับเนื้อหาของเพลงไม่ได้  แต่หากได้รับ คำแนะนำบ้างก็จะพอจับเนื้อหาของเพลงได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าพอฟังครั้งแรกแล้วจะนิยมชมชอบเลยก็คงไม่เป็นอย่างนั้น  เพราะคนจะนิยมเพลงใด ๆ จะต้องได้ฟังบ่อย ๆ จนจำทำนองเด่น ๆ ได้ (แต่บางเพลงอาจชอบโดยยังจำทำนองไม่ได้ก็มี แต่พอฟังไปแล้วก็จะค่อย ๆ จำได้ดีขึ้น) และจะเข้าใจอารมณ์เพลงได้ดีขึ้น  และเมื่อนั้นก็จะชอบมากขึ้น และเชื่อหรือไม่หากเราเริ่มติดใจบางทำนอง  เราจะอยากฟังบ่อย ๆ เหมือนการฟังเพลงประเภทอื่นนั่นเอง  สำหรับการฟังเพลงชุดนี้แนะนำให้ฟังเพียงแค่ครั้งละท่อนให้เข้าใจและคุ้นเคยดี   แล้วค่อยฟังท่อนต่อ ๆ ไป  และท้ายสุดก้าวไปฟังรวดเดียวทั้งชุดเลย 
 
ในการฟังเพลงคลาสสิกเราต้องรู้ก่อนว่าคนแต่งเขาต้องการบอกหรือนำเสนออะไรให้เราฟัง  เราจะไปเรียกร้องเอาตามใจเราไม่ได้ เราต้องรู้ก่อนว่าแนวเพลงของเขาเป็นอย่างไรซึ่งก็รู้ได้จากการอ่านคำแนะนำนั่นเอง (ที่จริงแค่ชื่อประเภทเพลงก็พอบอกได้ว่ามันพังยากหรือง่าย)  อย่างในยุคก่อนจะอธิบายเพลงไว้ที่ประวัติของเพลงบนปกแผ่นเสียง แผ่นซีดี หรือตลับเทป สำหรับยุคนี้ยิ่งง่ายมากเพราะแค่ google  ชื่อเพลงก็จะมีอธิบายไว้เยอะแยะ  หากเราไม่อยากฟังเพลงแบบนี้ก็อย่าเสียเวลาฟัง  เพราะต่อให้เขาแต่งดีอย่างไรในงานแบบของเขา เราก็จะไม่มีวันชอบหรือเข้าถึงเพลงแบบนั้น ๆ  เวลาฟังเพลงพวกนี้เราต้องพร้อมจะฟัง  หากไม่พร้อมก็ไม่ต้องเสียเวลา เพราะมันต้องใช้สมาธิในการฟังถึงจะรู้เรื่อง หากไม่มีความตั้งใจฟังก็จะฟังไม่รู้เรื่องได้ยินแค่เสียงดนตรีเท่านั้น
 
ในการแนะนำเพลงชุดนี้ จะแนะนำทีละท่อนและจะนำวีดีโอมาให้ฟัง พอนำเสนอครบทุกท่อนแล้วจึงจะเอาเพลงเต็มมาใส่ไว้ในส่วนท้ายของคอมเม้นท์ 1  สำหรับคนที่รู้จักเพลงชุดนี้ดีแล้ว  หรือใครที่อยากฟังทั้งหมดทันทีก็ให้เลื่อนไปฟังได้จากหลายวงด้านท้ายสุด (ตรงฟังเพลงทั้งชุด)
 
อนึ่ง  เพลงชุดนี้จะมีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งซึ่งจะไม่ค่อยคุ้นเคยกัน  แต่ในเพลงชุดนี้ มีบทบาทให้ได้ยินพอควร  เครื่องดนตรีนี้คือ  celesta เซเลสตา ถ้าเป็นภาษาฝรั่งเศสเขียนว่า celeste เซแลส(เตอ) ออกเสียงเตอเบา ๆ เครื่องดนตรีนี้จะคล้ายกับเปียโนขนาดเล็กจะให้เสียงกรุ๊งกริ๋งฟังไพเราะดีซึ่งเขาเปรียบกันว่าเป็นเสียงสวรรค์ heavenly ในเพลงชุดนี้จะได้ยินเครื่องดนตรีนี้บ่อยครั้งแต่จะไม่ดังมาก  เพราะว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็ก ๆ จะได้ยินได้ดีในตอนที่ดนตรีไม่ดังมาก

ตัวอย่างเสียง celesta ในเพลง  Sugar Plum Fairy Dance จากบัลเล่ต์เรื่อง The Nutcracker ของ ไชคอฟสกี้ Tchaikovsky 
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
  
ดูการเล่น celesta หรือ celeste

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เนื้อหาแต่ละท่อน (movement) 

1.ดาวอังคาร (Mars : Bringer of war บริงเง่อร์ ออฟ วอร์)
 
ดาวอังคารเทพเจ้าแห่งการสงคราม  นำมาซึ่งการสงคราม ความรุนแรงความทุกข์ยาก เนื้อหาอารมณ์เพลงจึงต้องเป็นเรื่องความรุนแรงของสงคราม แนวเพลงมีเสียงดังจังหวะแบบมาร์ช เสียงกลองตีเป็น 5 จังหวะกระแทกกระทั้นคึกคักปลุกเร้าใจตลอดเพลง ผู้แต่งต้องการเปิดตัวด้วยเพลงที่กระตุ้นความรู้สึกปลุกเร้า  ถ้าอยากฟังแนวนี้ก็ให้เลือกฟังท่อน Mars ดาวอังคาร  และถ้าของคนอื่นเลือกเพลงอย่าง Ride of Valkyries ของว๊ากเน่อร์ (Richard Wagner)
 
เพลงท่อนนี้ได้มีการนำไปเป็นแนวทางในการแต่งเพลงประกอบหนังเรื่องสตาร์วอร์ โดยจอร์จลูกัส (George Lucas) ผู้อำนวยการสร้างบอกให้ John Williams ผู้แต่งให้เอาแนวเพลงของ The planets (แต่ไม่ได้ให้ลอกทำนอง)   เพลง Imperial march ของสตาร์วอร์ก็ยึดแนวทางของท่อนดาวอังคารนี่เอง  ขอให้ฟัง  imperial march ใน star war เปรียบเทียบกันดูจะเห็นว่าเอาจังหวะจาก Mars นี่เอง  และยังมีหนังอีกหลายเรื่องที่นำแนวเพลงจากเพลงชุดนี้ไปใช้  โดยเฉพาะพวกหนังอวกาศ  หนังประเภทอื่นก็มีอีก นำไปใช้ในเพลงโฆษณาก็มี
 
เพลง Imperial march จากหนัง Star War ที่ใช้จังหวะจากเพลงดาวอังคาร
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

วีดีโอเพลงดาวอังคาร

 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
2.  ดาวศุกร์ Venus (bringer of peace) ผู้นำมาซึ่งสันติภาพและความสงบสุข
 
ดาวศุกร์เทพแห่งความงามผู้นำมาซึ่งสันติภาพ  ความสงบสุข    เพลงท่อนนี้ให้อารมณ์เพลงตรงข้ามกับท่อน Mars  คือมีจังหวะช้า เนิบนาบ  เอื่อย ๆ  อ่อนโยนนุ่มนวล  ไม่มีจังหวะกระแทกกระทั้นเลย ทำนองก็แนวเยือกเย็นออกหวาน ๆ ฟังแล้วจะให้ความสงบทางจิตใจ  คนทั่วไปฟังแล้วอาจบอกว่าง่วงนอน  ก็นั่นแหละใช่เลยมันนำมาซึ่งความสงบสุขผ่อนคลายให้คนฟังนั่นเอง ยามใดถ้าอยากทำใจให้สงบก็ฟังท่อนนี้เลย    ก็ต้องย้ำอีกครั้งว่าเวลาฟังเพลงพวกนี้เราอย่าเอาความต้องการของตัวเองเป็นหลัก แต่ให้ยึดว่าคนแต่งต้องการบอกหรือสื่ออารมณ์เพลงไปทางไหน  และก็ให้เราอินไปกับที่เขาต้องการอย่าไปฝืน เพราะถ้าเราฝืนก็จะเกิด conflict  ขัดแย้งในใจกลายเป็นไม่ถูกใจเพราะมันจะไม่เป็นแบบที่เราต้องการ    คือคนทั่วไปมักชอบเพลงทำนองเพราะ ๆ  ง่าย  ๆ ไม่ซับซ้อน   หรือชอบพวกมีจังหวะสนุกสนาน  แต่คนแต่งเขาไม่เน้นไปทางนั้นเลย หากเราไม่ชอบแนวนี้ก็ไม่ต้องฟัง  ก็ให้หาฟังตามแบบที่เราต้องการแทน  ซึ่งเพลงคลาสสิกก็มีหลายแนวหลากหลายอารมณ์เพลงให้เลือกเยอะไป
 
วีดีโอเพลง

 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

3 ดาวพุธ Mercury, the Winged Messenger  เทพนำสารของพระเจ้า 

ท่อนดาวพุธเป็นท่อนที่สั้นที่สุดของเพลงชุดนี้ยาวประมาณไม่เกิน 4 นาที  โดยที่ท่อนนี้กล่าวถึงดาวพุธในฐานะเป็นเทพนำสารของพระเจ้า (ในรูปมักแสดงเทพมีปีกที่ข้อเท้า หรือหมวกติดปีก และเป็นเทพอุปถัมภ์แห่งการค้าขาย นักเดินทางด้วย) การนำสารจะต้องทำอย่างรวดเร็วว่องไว ฉับไว  เนื้อหาเพลงจะออกไปทางมีชีวิตชีวา  ไม่ซับซ้อน สบาย ๆ  จังหวะเพลงเร็วฉับไว ทำนองเพลงจะประกอบด้วยกลุ่มตัวโน๊ตสั้น ๆ บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีต่าง ๆ สลับกันไปเบา ๆ ไม่ดังมากนัก และบรรเลงอย่างรวดเร็วจังหวะจะเปรียบก็เหมือนเพลงประกอบพวกการ์ตูนตอนวิ่งจู๊ด ๆ  ไม่มีทำนองยาว ๆ ให้จดจำ
รูปเทพเมอร์คิวรี่ ปกติจะมีหมวกติดปีก หรือรองเท้าติดปีก และอาจมีคธามีงูพันรอบ มีไก่ แพะ เต่ารวมอยู่ด้วย
 


 

 วีดีโอเพลงดาวพุธ
 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
4. ดาวพฤหัสบดี Jupiter, the Bringer of Jollity  ผู้นำความมีชีวิตชีวารื่นรมย์ยินดี

Jupiter เป็นประมุขแห่งเทพทั้งหลาย มีความสง่ายิ่งใหญ่ เป็นเทพที่นำความรื่นรมย์  แนวเพลงออกมาแนวเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่และให้อารมณ์ ยินดีมีความสุขที่สุดในเพลงชุดนี้  เป็นท่อน top hit ที่คนนิยมฟังกันมากที่สุด ทำนองที่ฟังแล้วตรึงใจจะอยู่ที่นาที 3:00 - 4:55 ของลิ้งค์แรก  ช่วงตรงนี้ใช้จังหวะ slow waltz  สำหรับท่อนนี้ให้กลับมาฟังบ่อย  ๆ  รับรองว่าต้องชอบ   ตรงท้ายส่วนนี้หากเป็นนักแต่งเพลงหรือนักฟังเพลงจะรู้ว่าทำนองเพลงส่วนนี้ยังไม่จบสมบูรณ์มันยังค้าง ๆ อยู่ (คือเพลงยังไม่ลงที่โทนิค)  คือโฮลส์ท์ได้ให้ไปเล่นทำนองอื่นไปอีกสักครู่ใหญ่ ๆ แล้วในที่สุดก็วกกลับไปเล่นส่วนที่เหลือของทำนองเพราะ ๆ  นั้นอีกครั้งหนึ่งในช่วงครึ่งนาทีสุดท้ายก่อนจบ  ซึ่งในทางเทคนิคการแต่งเพลงมันจะต้องมีส่วนนี้ด้วยเพื่อให้เพลงส่วนที่เพราะ ๆ ได้จบโดยสมบูรณ์ตามหลักระบบเสียงโทนาลิตี้ (Tonality) ที่เพลงต้องจบลงด้วยเสียงโทนิคของคีย์นั้น ๆ (ถ้าสนใจเรื่องโทนาลิตี้ให้ไปอ่าน
ตามนี้)  https://musicapp271.blog.fc2.com/blog-entry-15.html  
 
วีดีโอเพลงดาวพฤหัสบดี

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ 

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
สำหรับทำนองตรงเพราะ ๆ นี้ Holst ได้แยกออกไปทำเป็นเพลง hymn tune ชื่อ Thaxted ตามชื่อหมู่บ้านที่เขาอยู่อาศัยมาหลายปี โดยใช้เนื้อร้องของ  Cecil Spring-Rice และทำนองนี้ก็ได้มีการนำไปใช้ในเพลงรักชาติชื่อ ‘I Vow to Thee My Country’   และมีการนำทำนองไปใช้ในการ
แข่งขันรักบี้โลก The Rugby World Cup  และในโอกาสอื่น ๆ อีกเช่น
 
British Legion Festival of Remembrance 2016

 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
พิธีศพเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล  นาที 1.36

 คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

ดาวเสาร์ต่อในคอมเม้นท์  เพราะคำเกินใส่ได้ไม่หมด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่