ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เซนเทนเนียล ขนาด .22LR มีจุดเด่นที่น้ำหนักตัวเบาที่สุด เพียง 325 กรัม เบากว่าคู่แข่งคือ รูเกอร์ LCR .22
ปืนลูกโม่โครงเล็กของ สมิธแอนด์เวสสัน ที่โรงงานเรียกว่า J-Frame เปิดตัวเมื่อปี 1950 ในงานประชุมสมาคมผู้บัญชาการตำรวจนานาชาติ (International Association of Chief of Police Convention) ใช้กระสุนมาตรฐานตำรวจของยุคนั้น คือ .38 สเปเชียล โม่เล็ก จุ 5 นัด ขนาดกะทัดรัดพกพาสะดวก สมิธฯ จัดประกวดตั้งชื่อรุ่นปืนในที่ประชุมนั้น ชื่อที่ได้คะแนนสูงสุดคือ “ชีฟสเปเชียล” (Chiefs Special) เข้ากับบรรยากาศของงาน ปืนรุ่นแรกที่เข้าสายการผลิตใช้ลำกล้อง 3 นิ้ว ตามคำเรียกร้องของกลุ่มลูกค้าหลัก
สองปีต่อมา สมิธฯ ปรับแบบปืน ชีฟสเปเชียล รุ่นลำกล้อง 2 นิ้ว ให้เหมาะเป็นปืนพกซ่อนยิ่งขึ้น คือใช้นกสับซ่อนในโครงปืน ไม่มีหางนกที่อาจเกาะเกี่ยวเสื้อผ้า ไกแบบดับเบิลทุกนัด หากจำเป็นสามารถยิงจากในกระเป๋ากางเกงหรือเสื้อโค้ตได้ และพอดีกับเป็นโอกาสครบรอบร้อยปีของการก่อตั้งบริษัท จึงตั้งชื่อรุ่นว่า “เซนเทนเนียล” (Centennial) ตามติดด้วยรุ่นโครงอัลลอยน้ำหนักเบา “แอร์เวท เซนเทนเนียล” (Air Weight Centennial) ภายในปีเดียวกัน ต่อมาเมื่อสมิธฯ เปลี่ยนการเรียกชื่อรุ่นปืนเป็นรหัสตัวเลข ปืนนกในคู่นี้ได้รหัสคือ โมเดล 40 และ 42 ตามลำดับ แต่ชื่อ เซนเทนเนียล ยังใช้เรียกติดปากนักนิยมปืนเสมอมา
ปืนรูปแบบเซนเทนเนียล จัดเป็นกลุ่มสินค้าขายดีของสมิธฯ ในแคตตาล็อกล่าสุดมีลูกโม่โครงเล็กนกในเช่นนี้ให้เลือกถึง 10 แบบ ในขนาดกระสุน .22LR, .22 แม็กนั่ม, .32, .327 แม็กนั่ม, .38 สเปเชียล, 357 แม็กนั่ม และ 9 มม. ลูเกอร์ ตัวโม่ใหญ่เท่ากัน แต่จุกระสุนต่างกัน คือ 8 นัดสำหรับลูกกรด, 7 นัดสำหรับลูกกรดแม็กนั่ม, 6 นัดสำหรับ .32 และ 5 นัด สำหรับ .38/.357/9 มม.
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็นเซนเทนเนียล ขนาด .22LR ชื่อรหัสคือ โมเดล 43C ตัวเบาพิเศษในชุด “แอร์ไลท์” (Air Lite) มีจุดเด่นที่น้ำหนักตัวเบาที่สุด เพียง 325 กรัม เบากว่าคู่แข่งคือ รูเกอร์ LCR .22 ที่ใช้โครงโพลิเมอร์เกือบ 100 กรัม ซึ่งสมิธฯ พยายามสุดฝีมือในการลดน้ำหนัก เริ่มจากวัสดุอัลลอยทั้งโครงปืนและตัวโม่ เหลือส่วนที่เป็นเหล็กคือลำกล้องและชุดลั่นไก โครงปืนมีการเซาะร่องใต้โกร่งไกและหลังด้าม ทั้งยังปาดครอบลำกล้องสองด้านให้แบนเพื่อลดน้ำหนักลงอีกด้วย ตัวปืนเบามากเช่นนี้ถ้าเป็นขนาด .38 จะมีปัญหาเรื่องรีคอยล์ และหัวกระสุนในโม่นัดที่ยังไม่ยิงอาจขยับเคลื่อนจากปลอกทำให้ปืนติดขัดได้ แต่เมื่อใช้กระสุน .22LR ไม่มีปัญหา ยิงได้นิ่มนวลดี
ตัวปืนแต่งผิวดำด้านทั้งกระบอก ยกเว้นตัวลำกล้องสเตนเลสที่อยู่ในปลอกหุ้มอัลลอย กับแป้นคัดปลอกกระสุน กลไกเป็นแบบดั้งเดิมไม่มีกุญแจล็อก ไกดับเบิลแต่งมาค่อนข้างดี แรงเหนี่ยวไก 10 ปอนด์ ศูนย์ดีมาก โดยศูนย์หน้าฝังหมุดขาวเห็นได้ชัดเจน ศูนย์หลังเป็นร่องรูปตัว U ที่สันปืน เล็งได้รวดเร็ว ด้ามยางแข็ง ออกแบบสำหรับพกซ่อน กำด้ามได้แบบนิ้วก้อยลอย
กระสุนลูกกรด .22LR มาตรฐาน หัวกระสุนหนัก 40 เกรน เมื่อยิงจากปืนลำกล้องสั้นเช่นนี้ ได้ความ เร็วประมาณ 900–920 ฟุต/วินาที พลังงาน 70-75 ฟุต-ปอนด์ หรือถ้าเป็นลูก CCI Stinger หัว 32 เกรน ความเร็วทำได้ 1,020 ฟุต/วินาที พลังงาน 73 ฟุต-ปอนด์ ไม่ต่างกัน สำหรับปืน 43C นี้ ควรเลือกใช้ลูกความเร็วมาตรฐานจะเหมาะกว่า.
https://www.dailynews.co.th/article/635295/
....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช
สวัสดีครับ
สารานุกรมปืนตอนที่ 907 ลูกกรดเซนเทนเนียล สมิธฯ 43C แอร์ไลท์
ปืนลูกโม่โครงเล็กของ สมิธแอนด์เวสสัน ที่โรงงานเรียกว่า J-Frame เปิดตัวเมื่อปี 1950 ในงานประชุมสมาคมผู้บัญชาการตำรวจนานาชาติ (International Association of Chief of Police Convention) ใช้กระสุนมาตรฐานตำรวจของยุคนั้น คือ .38 สเปเชียล โม่เล็ก จุ 5 นัด ขนาดกะทัดรัดพกพาสะดวก สมิธฯ จัดประกวดตั้งชื่อรุ่นปืนในที่ประชุมนั้น ชื่อที่ได้คะแนนสูงสุดคือ “ชีฟสเปเชียล” (Chiefs Special) เข้ากับบรรยากาศของงาน ปืนรุ่นแรกที่เข้าสายการผลิตใช้ลำกล้อง 3 นิ้ว ตามคำเรียกร้องของกลุ่มลูกค้าหลัก
สองปีต่อมา สมิธฯ ปรับแบบปืน ชีฟสเปเชียล รุ่นลำกล้อง 2 นิ้ว ให้เหมาะเป็นปืนพกซ่อนยิ่งขึ้น คือใช้นกสับซ่อนในโครงปืน ไม่มีหางนกที่อาจเกาะเกี่ยวเสื้อผ้า ไกแบบดับเบิลทุกนัด หากจำเป็นสามารถยิงจากในกระเป๋ากางเกงหรือเสื้อโค้ตได้ และพอดีกับเป็นโอกาสครบรอบร้อยปีของการก่อตั้งบริษัท จึงตั้งชื่อรุ่นว่า “เซนเทนเนียล” (Centennial) ตามติดด้วยรุ่นโครงอัลลอยน้ำหนักเบา “แอร์เวท เซนเทนเนียล” (Air Weight Centennial) ภายในปีเดียวกัน ต่อมาเมื่อสมิธฯ เปลี่ยนการเรียกชื่อรุ่นปืนเป็นรหัสตัวเลข ปืนนกในคู่นี้ได้รหัสคือ โมเดล 40 และ 42 ตามลำดับ แต่ชื่อ เซนเทนเนียล ยังใช้เรียกติดปากนักนิยมปืนเสมอมา
ปืนรูปแบบเซนเทนเนียล จัดเป็นกลุ่มสินค้าขายดีของสมิธฯ ในแคตตาล็อกล่าสุดมีลูกโม่โครงเล็กนกในเช่นนี้ให้เลือกถึง 10 แบบ ในขนาดกระสุน .22LR, .22 แม็กนั่ม, .32, .327 แม็กนั่ม, .38 สเปเชียล, 357 แม็กนั่ม และ 9 มม. ลูเกอร์ ตัวโม่ใหญ่เท่ากัน แต่จุกระสุนต่างกัน คือ 8 นัดสำหรับลูกกรด, 7 นัดสำหรับลูกกรดแม็กนั่ม, 6 นัดสำหรับ .32 และ 5 นัด สำหรับ .38/.357/9 มม.
ปืนนายแบบสัปดาห์นี้ เป็นเซนเทนเนียล ขนาด .22LR ชื่อรหัสคือ โมเดล 43C ตัวเบาพิเศษในชุด “แอร์ไลท์” (Air Lite) มีจุดเด่นที่น้ำหนักตัวเบาที่สุด เพียง 325 กรัม เบากว่าคู่แข่งคือ รูเกอร์ LCR .22 ที่ใช้โครงโพลิเมอร์เกือบ 100 กรัม ซึ่งสมิธฯ พยายามสุดฝีมือในการลดน้ำหนัก เริ่มจากวัสดุอัลลอยทั้งโครงปืนและตัวโม่ เหลือส่วนที่เป็นเหล็กคือลำกล้องและชุดลั่นไก โครงปืนมีการเซาะร่องใต้โกร่งไกและหลังด้าม ทั้งยังปาดครอบลำกล้องสองด้านให้แบนเพื่อลดน้ำหนักลงอีกด้วย ตัวปืนเบามากเช่นนี้ถ้าเป็นขนาด .38 จะมีปัญหาเรื่องรีคอยล์ และหัวกระสุนในโม่นัดที่ยังไม่ยิงอาจขยับเคลื่อนจากปลอกทำให้ปืนติดขัดได้ แต่เมื่อใช้กระสุน .22LR ไม่มีปัญหา ยิงได้นิ่มนวลดี
ตัวปืนแต่งผิวดำด้านทั้งกระบอก ยกเว้นตัวลำกล้องสเตนเลสที่อยู่ในปลอกหุ้มอัลลอย กับแป้นคัดปลอกกระสุน กลไกเป็นแบบดั้งเดิมไม่มีกุญแจล็อก ไกดับเบิลแต่งมาค่อนข้างดี แรงเหนี่ยวไก 10 ปอนด์ ศูนย์ดีมาก โดยศูนย์หน้าฝังหมุดขาวเห็นได้ชัดเจน ศูนย์หลังเป็นร่องรูปตัว U ที่สันปืน เล็งได้รวดเร็ว ด้ามยางแข็ง ออกแบบสำหรับพกซ่อน กำด้ามได้แบบนิ้วก้อยลอย
กระสุนลูกกรด .22LR มาตรฐาน หัวกระสุนหนัก 40 เกรน เมื่อยิงจากปืนลำกล้องสั้นเช่นนี้ ได้ความ เร็วประมาณ 900–920 ฟุต/วินาที พลังงาน 70-75 ฟุต-ปอนด์ หรือถ้าเป็นลูก CCI Stinger หัว 32 เกรน ความเร็วทำได้ 1,020 ฟุต/วินาที พลังงาน 73 ฟุต-ปอนด์ ไม่ต่างกัน สำหรับปืน 43C นี้ ควรเลือกใช้ลูกความเร็วมาตรฐานจะเหมาะกว่า.
https://www.dailynews.co.th/article/635295/
....................................
ดร.ผณิศวร ชำนาญเวช