ถ้าพูดถึง ‘นักข่าว’ ในหัวของเพื่อนๆ มีภาพแบบไหนอยู่นะ?
ในยุคปัจจุบันที่การสื่อสารสะดวกรวดเร็ว เพียงแค่เพื่อนๆ หยิบมือถือขึ้นมาก็สามารถที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างง่ายดาย จากสถิติของ We Are Social ได้เผยให้เห็นว่า 69% ของคนไทยนั้นสามารถเข้าถึงอินเตอร์ได้ และยังมีแนวโน้มได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งยังใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักในการอัพเดทข่าวเป็นอันดับ 1 ของโลกในปี 2021 หรือคิดเป็น 78% (ขอบคุณข้อมูลสถิติ จาก
wearesocial)
ดังนั้น 'โซเชียลมีเดีย' จึงกลายเป็นช่องทางของการรับรู้ข่าวสารที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากของคนไทยในช่วงทีผ่านมา และด้วยเหตุนี้ ‘นักข่าว’ จึงเป็นหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามากๆ เพราะนักข่าวเองก็เปรียบเสมือนสื่อกลางคอยทำหน้าที่กระจ่ายข่าวให้ประชาชนได้รับรู้ แต่หากว่าในบางครั้งการนำเสนอข่าวที่ผิดพลาดก็กลายเป็นกระแสตีกลับ และยิ่งไปกว่านั้นตัวสื่อเองยังถูกตั้งคำถามถึงเรื่องของหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว จนถึงขั้นมีแฮชแท็ก
#สื่อไร้จรรยาบรรณ #แบนสื่อ ออกมาให้เราได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง
จนถึงตอนนี้เราเองก็คงจะตั้งคำถามอยู่ในใจว่า
จรรยาบรรณกับการเป็นสื่อ ยังมีอยู่จริงๆ ใช่มั้ย?
สื่อยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีอยู่หรือเปล่า?
เพราะอะไรที่ทำให้ภาพลักษณ์สื่อเป็นอย่างทุกวันนี้?
ฉะนั้นวันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปหาคำตอบกับข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับอาชีพนักข่าว ไปดูกันว่า ก่อนจะมาเป็นนักข่าว ก่อนที่จะต้องลงสนามไปเจอปัญหาหน้างานจริงๆ พวกเขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง ลองมาดู มาเปิดใจ และมาทำความเข้าใจกันว่า
แท้จริงแล้ว ‘อาชีพนักข่าว’ นั้นเป็นเช่นไร?
เปิดทุกมุมของ ‘นักข่าว’ กว่าจะมาเป็นอาชีพนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย
ดังนั้น 'โซเชียลมีเดีย' จึงกลายเป็นช่องทางของการรับรู้ข่าวสารที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากของคนไทยในช่วงทีผ่านมา และด้วยเหตุนี้ ‘นักข่าว’ จึงเป็นหนึ่งอาชีพที่มีความสำคัญกับชีวิตประจำวันของเรามากๆ เพราะนักข่าวเองก็เปรียบเสมือนสื่อกลางคอยทำหน้าที่กระจ่ายข่าวให้ประชาชนได้รับรู้ แต่หากว่าในบางครั้งการนำเสนอข่าวที่ผิดพลาดก็กลายเป็นกระแสตีกลับ และยิ่งไปกว่านั้นตัวสื่อเองยังถูกตั้งคำถามถึงเรื่องของหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณในการนำเสนอข่าว จนถึงขั้นมีแฮชแท็ก #สื่อไร้จรรยาบรรณ #แบนสื่อ ออกมาให้เราได้เห็นกันอยู่บ่อยครั้ง