ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาสดๆร้อนๆ
มีประกาศที่เผยแพร่ในราชกิจจาฯบอกว่า
📌ห้ามใช้+เอากันแดดที่มีสาร 4 ตัวเข้ากรมอุทยานแห่งชาติ
ถ้าไม่ทำตามจะโดนปรับเงินไม่เกิน 100,000 บาท📌
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
🔸เนื้อความแท้ๆของประกาศตามด้านล่าง ยกมาเป็น Ref ให้แล้ว
(อ่านไม่ไหวข้ามไปดูคำแปล+คหสต.ได้)🔸
กรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการังและระบบนิเวศ ในอุทยาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ประกอบข้อ 6 ของระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2563
และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงออกประกาศ ดังนี้
1.ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่
Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3),
Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate),
4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ
Butylparaben
หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
2.ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
👇จากประกาศนี้แปลว่าอะไร👇
📌ทางกรมอุทยานแห่งชาติเจอว่าคนที่ไปเที่ยวมีเยอะมากๆ แล้วก็ทากันแดดกันไปหมด
แต่กันแดดมีสารหลายตัวที่ทำให้ปะการังโตแล้วก็ตาย ปะการังเบบี๋ก็ตาย
น้องจะขยายพันธุ์ให้มีเยอะกว่านี้ก็ไม่ได้
หรือที่รอดก็เยินโดนฟอกขาวไปหมด
เรียกว่า สารกันแดดสำหรับปะการังก็คือปรมาณูล้างเผ่าพันธุ์ดีๆนี่เอง
📌แปลไทยเป็นไทย+ให้ความเห็น
1️⃣ แค่เฉพาะกันแดดที่มีสาร 4 ตัวนี้ที่ห้าม แต่ไม่ได้ห้ามครีมชนิดอื่นๆ
เอาจริงๆสารพวกนี้ไม่ได้อยู่แค่ในครีมกันแดด
แต่ใน Skincare อื่นๆก็มี เช่น
🤔Benzophenone-3
อีกหน้าที่นึงใช้เป็นตัวป้องกันสีสันในสูตรซีด
🤔Butylparaben
จริงๆหน้าที่หลักเป็นสารกันเสียเลยทั้งในยาและเครื่องสำอาง ใช้อยู่ที่ 0.5-0.6%
ซึ่งในสูตรกันแดดเค้าก็ไม่ได้ใช้ตัวนี้เป็น filter ในการกันแดดอยู่แล้ว
และถึง % ที่ใช้เป็นสารกันเสียอาจจะดูน้อย
แต่เพราะหน้าที่นี้แหละทำให้มีได้ในทุกสูตรจริงๆ มีอีกเยอะแบบมีกี่นิ้วก็นับไม่หมดอ่ะ
ทั้ง Make up+Skin care แถมมีทั้งทาหน้าทาตัว
กว่าจะออกจากบ้านถมลงหน้าลงตัวไปเท่าไหร่
ข้อนี้คืออ่านแล้วป้องกันยากจริงๆ
2️⃣ BP-3, Octinoxate, 4MBC 3 ตัวนี้เป็น 1 ใน 100 กว่าตัวของ chemical sunscreen และ Butylparaben ก็เป็น 1 ในหลายร้อยของกลุ่มสารกันเสีย paraben ทั้งหมด
ส่วนตัวในมุมรัก อยากให้กำหนดเป็นกลุ่มสาร มากกว่าระบุชนิด
เพราะรักเองก็มองว่าถ้าโครงสร้างทางเคมีใกล้กัน
ทั้งในกลุ่มพาราเบน หรือ chemical sunscreen
มันก็ยังมีตัวอื่นๆอีกเยอะแยะที่น่าจะทำให้ปะการังตายอยู่ดี
แต่ถ้ามองในมุมอุทยาน
เค้าคงมองว่าห้ามไว้แบบนี้ก็น่าจะช่วยได้เยอะแล้วอย่างน้อยซัก 50%ก็ยังดี
ดีกว่าปล่อย free แบบเดิม โดยไม่พยายามทำอะไร
แล้วก็ต้องเสียตังเสียเวลามานั่งฟูมฟักฟื้นฟูกันยาวๆ
3️⃣ การห้ามใช้และนำกันแดดเข้าไป
เอาไปทาในอุทยานคงไม่มีอยู่แล้วหละ
แต่ทาก่อนเข้านี่บอกตามตรงว่าคงจะตรวจไม่ได้จริงๆอ่ะ
ถ้าครีมอยู่บนหน้า/บนตัวไปแล้ว
4️⃣ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 100,000 บาท
สิ่งนี้เป็นค่า maximum แปลว่า เค้าอาจจะปรับแค่ 200-300 ก็ได้
(ทีนี้ต้องไปดูว่ามีระบุเพิ่มเติมถึงขั้นต่ำในการปรับมั้ย)
แต่ถ้าถามว่าเค้าจะเรียกแสนนึงตั้งแต่แรกก็ได้นะ ไม่ผิดเลยเหมือนกัน
ก็ดูคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
ดูจะมีช่องโหว่เยอะเหมือนกัน
แต่ถ้าอยากให้ได้ตามความตั้งใจของอุทยานทุกคนควรทำยังไงบ้าง
📌ตัวเราในฐานะนักท่องเที่ยว📌
1️⃣ มีใจรักษ์โลกมากกว่าที่ประกาศกำหนด
2️⃣ เช็กครีมทุกตัวก่อนจะไปทริปดำน้ำ/ลงทะเลเลยว่ามีคำพวกนี้มั้ย
💛ReefSafe แต่ให้ระวังแบรนด์ที่เซฟไม่จริงไว้บ้าง
💛Paraben free
💛Chemical sunscreen free หรือ Physical sunscreen 100%
💛 Skincare หรือ Make up ใดๆที่มีสี ให้พลิกหลังกล่องดู Benzophenone มั้ย
3️⃣ ไม่ใช่แค่ไม่พกไปนะ ไม่ทาไปตั้งแต่แรกด้วย
เพราะอย่างที่บอกเจ้าหน้าที่เค้าเช็กตรงนี้ไม่ได้อยู่แล้ว
มีแค่เราที่รู้ตัวเองแหละว่ารักษ์โลกมากแค่ไหน
ก็ไฟต์ให้เค้าหน่อย
4️⃣ อย่าฟังโฆษณาชวนเชื่อมากเกินไป
โดยเฉพาะสิ่งที่ทดแทนการทากันแดด
❌วิตามินกันแดด เพราะมันกันแดดไม่ได้จ้า
✅เสื้อผ้ากันยูวีมีจริง ป้องกันแดดได้จริง
แต่ให้เช็กค่า UPF ด้วย และยังต้องทากันแดดส่วนที่พ้นเสื้ออยู่จ้า
📌ผู้ผลิตควรทำอะไร📌
1️⃣ ผลิตตามเดิม
ใช่แล้วค่าคุณฟังไม่ผิด
เพราะสูตรกันแดดเป็นสิ่งที่ต้องมีหลากหลายให้เหมาะกับโอกาส
เช่น อยู่บ้านWFH ทำงานออฟฟิศ ออกกลางแจ้ง หรือ ดำน้ำ
ทุกวันนี้ USFDA แพทย์ เภสัช ด้านมะเร็งผิวหนัง
ก็บอกจนปากจะฉีกถึงรูหูว่าให้ทากันแดดทุกวัน
แต่คนก็ยังไม่ค่อยจะทากันเท่าไหร่
ทำให้โรคทางผิวหนังที่เกิดจากแสงแดดปัจจุบันพุ่งทะยานมากๆ
🌟ดังนั้น สูตรที่หลากหลายควรมีเหมือนเดิม🌟
แต่ที่ต้องมีเพิ่มเติม คือ
2️⃣ educate ว่าควรเลือกอะไรและส่งเสริมนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
✅หากสูตรไหนไม่ควรใช้ก็บอกว่าไม่ควรทาไปทะเล ไปดำน้ำ
✅หากสูตรไหนควรใช้ก็ให้ความรู้ในการเลือก
เพราะการสื่อสารของแบรนด์
จะมีส่วนช่วยสร้างความตระหนักรู้ของผู้ใช้ได้มากๆๆๆๆๆๆ
✅อย่าทริค อย่าหมกเม็ด
เพราะถ้าคุณทำแบบนี้
ผู้บริโภคจะไม่มีทางรู้เลยว่าเค้ากำลังทำร้ายธรรมชาติแบบไม่ตั้งใจ
📌คนออกกฎหรืออุทยานควรทำไง📌
ควรใช้กฎอย่างจริงจังแต่ Fully support
คือ ถ้าจะห้ามตามที่บอกจริงๆ ด้วยการยึดสิ่งที่กันแดดเค้า
🔸ก็ช่วยหายี่ห้อที่โอเคมาเผื่อไว้ด้วย แล้วตอนออกมาก็คืนของเค้าไป🔸
ไม่ใช่แค่โยนของนักท่องเที่ยวทิ้ง
เพราะมันจะกลายเป็นขยะ
ยิ่งไม่รักษ์โลกกว่าเดิมอีก
คงไม่มีใครอยากใช้ครีมมือสองกันใช่มั้ยหละ
อีกอย่างนึงบางคนใจรักในการท่องเที่ยวมากๆๆ
แต่ผิวก็ไวต่อแดดมากๆเช่นกัน
ถ้าไม่หาตัวทดแทนแล้วผิวเค้าผิวไหม้ไปก็ทำให้หมดสนุก
รู้สึกไม่ประทับใจกันไปใหญ่
ไม่มาเที่ยวซ้ำจะทำยังไง
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
สรุป
ประกาศเรื่องนี้มาสั้นๆ แต่การตีความ รวมถึงช่องโหว่เยอะมากๆ
🌟แต่สำหรับรักมองว่าอย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี🌟
ที่จะอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติในบ้านเราบ้าง
ถึง EU จะยังไม่ออกเป็นกฎหมายเครื่องสำอางชัดเจน
แต่ต่างประเทศเค้าก็พยายามไฟต์กับเรื่องนี้อยู่
รักก็รอให้มันเกิดขึ้นในไทย
มีบ้างเล็กน้อยก็เอาแหละ
ส่วนช่องโหว่เยอะๆ
มันก็ไม่ใช่ความผิดของคนออกกฎ
และความรับผิดชอบก็ไม่ใช่ของผู้ผลิตคนเดียว
🌟แต่มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกของคนหมู่มากจริงๆ🌟
ถึงมันจะยังไม่รัดกุม
ยังมี part อื่นๆที่ช่วยปะการังได้มากยิ่งกว่า
เช่น การกำจัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงทะเลหรือใดๆ
แต่แค่เฉพาะในกรอบเรื่องเครื่องสำอาง
ถ้าเราช่วยๆกัน เห็นว่าเรื่องนี้ก็เหมือนกับการมีกาลเทศะในการใส่เสื้อผ้าไปสถานที่ต่างๆ
มันก็ช่วยปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้อีกทางนึงหละน้า
#เพราะรักจึงบอก
#เภสัชกรรัก
🐠ใช้กันแดดยังไงให้รักษ์โลกกว่าเดิม?🐠-ประกาศห้ามนำและใช้กันแดดในอุทยานแห่งชาติ‼️
มีประกาศที่เผยแพร่ในราชกิจจาฯบอกว่า
📌ห้ามใช้+เอากันแดดที่มีสาร 4 ตัวเข้ากรมอุทยานแห่งชาติ
ถ้าไม่ทำตามจะโดนปรับเงินไม่เกิน 100,000 บาท📌
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
🔸เนื้อความแท้ๆของประกาศตามด้านล่าง ยกมาเป็น Ref ให้แล้ว
(อ่านไม่ไหวข้ามไปดูคำแปล+คหสต.ได้)🔸
กรมอุทยานฯ พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ
และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการังและระบบนิเวศ ในอุทยาน
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ประกอบข้อ 6 ของระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2563
และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 จึงออกประกาศ ดังนี้
1.ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่
Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3),
Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate),
4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ
Butylparaben
หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
2.ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 24 มิถุนายน 2564
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
👇จากประกาศนี้แปลว่าอะไร👇
📌ทางกรมอุทยานแห่งชาติเจอว่าคนที่ไปเที่ยวมีเยอะมากๆ แล้วก็ทากันแดดกันไปหมด
แต่กันแดดมีสารหลายตัวที่ทำให้ปะการังโตแล้วก็ตาย ปะการังเบบี๋ก็ตาย
น้องจะขยายพันธุ์ให้มีเยอะกว่านี้ก็ไม่ได้
หรือที่รอดก็เยินโดนฟอกขาวไปหมด
เรียกว่า สารกันแดดสำหรับปะการังก็คือปรมาณูล้างเผ่าพันธุ์ดีๆนี่เอง
📌แปลไทยเป็นไทย+ให้ความเห็น
1️⃣ แค่เฉพาะกันแดดที่มีสาร 4 ตัวนี้ที่ห้าม แต่ไม่ได้ห้ามครีมชนิดอื่นๆ
เอาจริงๆสารพวกนี้ไม่ได้อยู่แค่ในครีมกันแดด
แต่ใน Skincare อื่นๆก็มี เช่น
🤔Benzophenone-3
อีกหน้าที่นึงใช้เป็นตัวป้องกันสีสันในสูตรซีด
🤔Butylparaben
จริงๆหน้าที่หลักเป็นสารกันเสียเลยทั้งในยาและเครื่องสำอาง ใช้อยู่ที่ 0.5-0.6%
ซึ่งในสูตรกันแดดเค้าก็ไม่ได้ใช้ตัวนี้เป็น filter ในการกันแดดอยู่แล้ว
และถึง % ที่ใช้เป็นสารกันเสียอาจจะดูน้อย
แต่เพราะหน้าที่นี้แหละทำให้มีได้ในทุกสูตรจริงๆ มีอีกเยอะแบบมีกี่นิ้วก็นับไม่หมดอ่ะ
ทั้ง Make up+Skin care แถมมีทั้งทาหน้าทาตัว
กว่าจะออกจากบ้านถมลงหน้าลงตัวไปเท่าไหร่
ข้อนี้คืออ่านแล้วป้องกันยากจริงๆ
2️⃣ BP-3, Octinoxate, 4MBC 3 ตัวนี้เป็น 1 ใน 100 กว่าตัวของ chemical sunscreen และ Butylparaben ก็เป็น 1 ในหลายร้อยของกลุ่มสารกันเสีย paraben ทั้งหมด
ส่วนตัวในมุมรัก อยากให้กำหนดเป็นกลุ่มสาร มากกว่าระบุชนิด
เพราะรักเองก็มองว่าถ้าโครงสร้างทางเคมีใกล้กัน
ทั้งในกลุ่มพาราเบน หรือ chemical sunscreen
มันก็ยังมีตัวอื่นๆอีกเยอะแยะที่น่าจะทำให้ปะการังตายอยู่ดี
แต่ถ้ามองในมุมอุทยาน
เค้าคงมองว่าห้ามไว้แบบนี้ก็น่าจะช่วยได้เยอะแล้วอย่างน้อยซัก 50%ก็ยังดี
ดีกว่าปล่อย free แบบเดิม โดยไม่พยายามทำอะไร
แล้วก็ต้องเสียตังเสียเวลามานั่งฟูมฟักฟื้นฟูกันยาวๆ
3️⃣ การห้ามใช้และนำกันแดดเข้าไป
เอาไปทาในอุทยานคงไม่มีอยู่แล้วหละ
แต่ทาก่อนเข้านี่บอกตามตรงว่าคงจะตรวจไม่ได้จริงๆอ่ะ
ถ้าครีมอยู่บนหน้า/บนตัวไปแล้ว
4️⃣ ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 100,000 บาท
สิ่งนี้เป็นค่า maximum แปลว่า เค้าอาจจะปรับแค่ 200-300 ก็ได้
(ทีนี้ต้องไปดูว่ามีระบุเพิ่มเติมถึงขั้นต่ำในการปรับมั้ย)
แต่ถ้าถามว่าเค้าจะเรียกแสนนึงตั้งแต่แรกก็ได้นะ ไม่ผิดเลยเหมือนกัน
ก็ดูคุ้มค่ากับความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว
ดูจะมีช่องโหว่เยอะเหมือนกัน
แต่ถ้าอยากให้ได้ตามความตั้งใจของอุทยานทุกคนควรทำยังไงบ้าง
📌ตัวเราในฐานะนักท่องเที่ยว📌
1️⃣ มีใจรักษ์โลกมากกว่าที่ประกาศกำหนด
2️⃣ เช็กครีมทุกตัวก่อนจะไปทริปดำน้ำ/ลงทะเลเลยว่ามีคำพวกนี้มั้ย
💛ReefSafe แต่ให้ระวังแบรนด์ที่เซฟไม่จริงไว้บ้าง
💛Paraben free
💛Chemical sunscreen free หรือ Physical sunscreen 100%
💛 Skincare หรือ Make up ใดๆที่มีสี ให้พลิกหลังกล่องดู Benzophenone มั้ย
3️⃣ ไม่ใช่แค่ไม่พกไปนะ ไม่ทาไปตั้งแต่แรกด้วย
เพราะอย่างที่บอกเจ้าหน้าที่เค้าเช็กตรงนี้ไม่ได้อยู่แล้ว
มีแค่เราที่รู้ตัวเองแหละว่ารักษ์โลกมากแค่ไหน
ก็ไฟต์ให้เค้าหน่อย
4️⃣ อย่าฟังโฆษณาชวนเชื่อมากเกินไป
โดยเฉพาะสิ่งที่ทดแทนการทากันแดด
❌วิตามินกันแดด เพราะมันกันแดดไม่ได้จ้า
✅เสื้อผ้ากันยูวีมีจริง ป้องกันแดดได้จริง
แต่ให้เช็กค่า UPF ด้วย และยังต้องทากันแดดส่วนที่พ้นเสื้ออยู่จ้า
📌ผู้ผลิตควรทำอะไร📌
1️⃣ ผลิตตามเดิม
ใช่แล้วค่าคุณฟังไม่ผิด
เพราะสูตรกันแดดเป็นสิ่งที่ต้องมีหลากหลายให้เหมาะกับโอกาส
เช่น อยู่บ้านWFH ทำงานออฟฟิศ ออกกลางแจ้ง หรือ ดำน้ำ
ทุกวันนี้ USFDA แพทย์ เภสัช ด้านมะเร็งผิวหนัง
ก็บอกจนปากจะฉีกถึงรูหูว่าให้ทากันแดดทุกวัน
แต่คนก็ยังไม่ค่อยจะทากันเท่าไหร่
ทำให้โรคทางผิวหนังที่เกิดจากแสงแดดปัจจุบันพุ่งทะยานมากๆ
🌟ดังนั้น สูตรที่หลากหลายควรมีเหมือนเดิม🌟
แต่ที่ต้องมีเพิ่มเติม คือ
2️⃣ educate ว่าควรเลือกอะไรและส่งเสริมนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
✅หากสูตรไหนไม่ควรใช้ก็บอกว่าไม่ควรทาไปทะเล ไปดำน้ำ
✅หากสูตรไหนควรใช้ก็ให้ความรู้ในการเลือก
เพราะการสื่อสารของแบรนด์
จะมีส่วนช่วยสร้างความตระหนักรู้ของผู้ใช้ได้มากๆๆๆๆๆๆ
✅อย่าทริค อย่าหมกเม็ด
เพราะถ้าคุณทำแบบนี้
ผู้บริโภคจะไม่มีทางรู้เลยว่าเค้ากำลังทำร้ายธรรมชาติแบบไม่ตั้งใจ
📌คนออกกฎหรืออุทยานควรทำไง📌
ควรใช้กฎอย่างจริงจังแต่ Fully support
คือ ถ้าจะห้ามตามที่บอกจริงๆ ด้วยการยึดสิ่งที่กันแดดเค้า
🔸ก็ช่วยหายี่ห้อที่โอเคมาเผื่อไว้ด้วย แล้วตอนออกมาก็คืนของเค้าไป🔸
ไม่ใช่แค่โยนของนักท่องเที่ยวทิ้ง
เพราะมันจะกลายเป็นขยะ
ยิ่งไม่รักษ์โลกกว่าเดิมอีก
คงไม่มีใครอยากใช้ครีมมือสองกันใช่มั้ยหละ
อีกอย่างนึงบางคนใจรักในการท่องเที่ยวมากๆๆ
แต่ผิวก็ไวต่อแดดมากๆเช่นกัน
ถ้าไม่หาตัวทดแทนแล้วผิวเค้าผิวไหม้ไปก็ทำให้หมดสนุก
รู้สึกไม่ประทับใจกันไปใหญ่
ไม่มาเที่ยวซ้ำจะทำยังไง
🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹🔹
สรุป
ประกาศเรื่องนี้มาสั้นๆ แต่การตีความ รวมถึงช่องโหว่เยอะมากๆ
🌟แต่สำหรับรักมองว่าอย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้นที่ดี🌟
ที่จะอนุรักษ์ทรัพยกรธรรมชาติในบ้านเราบ้าง
ถึง EU จะยังไม่ออกเป็นกฎหมายเครื่องสำอางชัดเจน
แต่ต่างประเทศเค้าก็พยายามไฟต์กับเรื่องนี้อยู่
รักก็รอให้มันเกิดขึ้นในไทย
มีบ้างเล็กน้อยก็เอาแหละ
ส่วนช่องโหว่เยอะๆ
มันก็ไม่ใช่ความผิดของคนออกกฎ
และความรับผิดชอบก็ไม่ใช่ของผู้ผลิตคนเดียว
🌟แต่มันเป็นเรื่องของจิตสำนึกของคนหมู่มากจริงๆ🌟
ถึงมันจะยังไม่รัดกุม
ยังมี part อื่นๆที่ช่วยปะการังได้มากยิ่งกว่า
เช่น การกำจัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงทะเลหรือใดๆ
แต่แค่เฉพาะในกรอบเรื่องเครื่องสำอาง
ถ้าเราช่วยๆกัน เห็นว่าเรื่องนี้ก็เหมือนกับการมีกาลเทศะในการใส่เสื้อผ้าไปสถานที่ต่างๆ
มันก็ช่วยปะการังและสิ่งแวดล้อมทางทะเลได้อีกทางนึงหละน้า
#เพราะรักจึงบอก
#เภสัชกรรัก