“ชาหน้า”อาจเกิดจากโรคสมอง
อาการชา สามารถเกิดได้ทุกส่วนในร่างกาย แม้กระทั่งการชาที่ใบหน้า โดยอาการชาที่ใบหน้านั้น สามารถเกิดได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิงตั้งแต่วัยกลางคนจนถึงผู้สูงอายุ เกิดจากพยาธิสภาพที่เส้นประสาทรับความรู้สึก หากเซลล์ประสาทยังไม่ตายจะเป็นอาการปวดแต่หากเซลล์ประสาทตายหรือถูกตัดขาดจะทำให้เกิดอาการชา บางรายอาจจะพบอาการคร่อมกันคือทั้งปวดใบหน้าและชาใบหน้าร่วมด้วย
สาเหตุของอาการชา
อาการชาที่ใบหน้าสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การอักเสบของเส้นประสาท โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกต่างๆ โรคไตเสื่อม โรคเบาหวาน ขาดวิตามินบี และ บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณใบหน้า โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แขนง
เส้นประสาทออพตัลมิก (Ophthalmic branch) จะเกิดอาการช่วงหน้าผาก ดวงตา และจมูก
เส้นประสาทแมกซิลลารี (Maxillary branch) จะเกิดอาการช่วงแก้มทั้งสองข้าง (สีเหลือง)
เส้นประสาทแมนดิบุลาร์ (Mandibular branch) จะเกิดอาการช่วงคาง ขากรรไกร ด้านข้างของใบหน้าและใบหูเล็กน้อย (สีส้ม)
เส้นประสาทคู่ที่ 7 (Facial nerve) จะเกิดอาการช่วงลิ้นส่วนหน้าและใบหูชั้นกลาง
เส้นประสาทคู่ที่ 9 (Glossopharyngeal nerve) จะเกิดอาการช่วงใบหู หลังโพรงจมูก คอหอย ลิ้นส่วนหลัง ทอนซิล และกล่องเสียง
เส้นประสาทคู่ที่ 10 (Vegas nerve) จะเกิดอาการช่วงใบหูและเส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอและหลังกะโหลกศีรษะ (สีม่วงและสีฟ้า)
การวินิจฉัย
อาการชาที่ใบหน้า ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด ทั้งลักษณะของอาการอาการร่วม และการดำเนินโรค ประวัติการรักษาโรคในช่องปากมาก่อนหน้านี้ โรคประจำตัวการสัมผัสกับสารพิษ จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายและตรวจหาความผิดปกติทางเส้นประสาททั้งหมดร่วมกับทำการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อแยกโรคออกจากโรคอื่นๆ ได้ตรงจุดและช่วยให้การวินิจฉัยถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
การรักษา แบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางคือ
การรักษาด้วยยา จะให้ได้ผลดีต้องกระทำโดยเร็วที่สุด ยาที่ใช้จะเป็นในกลุ่มสเตอรอยด์ ยาในกลุ่มวิตามินบีรวม หรือยาที่มีฤทธิ์รักษาเส้นประสาทส่วนปลายด้วย การใช้ยาต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้นเนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างอันตรายไม่ควรซื้อยาทานเอง
การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ใช้การกระตุ้นไฟฟ้ากล้ามเนื้อใบหน้าที่การใช้ความร้อนประคบบริเวณใบหน้าที่มีอาการชา การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า
การรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดจะทำกรณีที่มีอาการของโรครุนแรงและไม่หายในรายที่เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ถูกทำลายหรือฝ่อลีบ เช่น ผ่าตัดแก้ไขหนังตาที่ปิดไม่สนิท การต่อและเลี้ยงเส้นประสาทสมองคู่อื่นเพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
แนะนำว่า หากยังมีอาการชาที่ใบหน้าอยู่เรื่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจร่างกาย และอาจต้องตรวจเพิ่มเติมอื่น แล้วจึงให้การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
อ่านเพิ่มเติม“ชาหน้า”อาจเกิดจากโรคสมอง
อาการ มือชา บอกโรค
-ชาปลายมือและปลายเท้า-
อาจเกิดจากอาการปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม หรือภาวะขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือบี 12 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคมะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น
ชาเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งซีก (ซีกที่อยู่ติดกับนิ้วกลาง) นอกนั้นไม่มีอาการชา อาจเป็นสัญญาณของโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด เนื่องจากเยื่อหุ้มเอ็นที่อยู่ในช่องใต้กระดูกมือบวม หรือกระดูกมือโตทำให้ช่องใต้กระดูกมือแคบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หรืออาจเกิดจากแผ่นพังผืดเสื่อม และหนาตัวขึ้น
ชานิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และอาจมีอาการปวดมือ ปวดร้าวไปถึงแขนด้วย นั่นอาจหมายถึงสัญญาณของโรคเส้นประสาทกดทับที่ฝ่ามือ โดยเกิดจากการใช้งานมือในลักษณะการเกร็งอยู่นาน ๆ ในท่าเดิม เช่น การจับมีด กรรไกร ไดร์เป่าผม คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะมีอาการปวดในเวลากลางคืนหรือตื่นนอนตอนเช้า
ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และด้านข้างฝ่ามือ (สันมือ) อาจเกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อศอกถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งก็ควรเปลี่ยนท่านั่งหรือท่านอนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการชาดังกล่าว
ชาง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ อาจเกิดจากเส้นประสาทกดทับที่ต้นแขน แนะนำให้เปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการเอาแขนพาดพนักเก้าอี้
ชาที่นิ้วก้อย อาจเกิดจากเส้นประสาทบริเวณรักแร้ที่ยาวไปถึงนิ้วก้อย สาเหตุจากงอและเกร็งข้อศอกเพื่อถือหูโทรศัพท์เป็นเวลานาน
อ่านเพิ่มเติม อาการมือชา บอกโรค
เท้าชาบอกโรค
สีชมพู
ชาหลังเท้าลากยาวไปถึงหน้าแข้ง แต่ไม่มีอาการชาที่มือ อาจเกิดจากการนั่งไขว้ห้าง ขัดสมาธิ พับเพียบ เป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทบริเวณใต้เข่าด้านนอกถูกกดทับจนเลือดเดินติดขัดได้
สีเขียว
ชาปลายเท้าและปลายมือ อาจเกิดจากอาการปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม หรือภาวะขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือบี 12 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคมะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น
สีน้ำเงิน
อาการชาที่เริ่มเกิดขึ้นจากปลายเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้ว ลามขึ้นไปที่ข้อเท้า เข่า และลำตัว เป็นอาการที่มักเกิดกับนักดื่มคอทองแดง เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์เข้าไปทำลายเส้นประสาทให้เสียหายหลายเส้น
สีส้ม
ชาทั้งเท้า และเลยไปถึงสะโพก อาการนี้ก็ควรต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
อ่านเพิ่มเติม เท้าชาบอกโรค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี
อาการชาบอกโรค
สาเหตุของอาการชา
อาการชาที่ใบหน้าสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ การอักเสบของเส้นประสาท โรคหลอดเลือดสมอง เนื้องอกต่างๆ โรคไตเสื่อม โรคเบาหวาน ขาดวิตามินบี และ บางครั้งก็ไม่ทราบสาเหตุ โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณใบหน้า โดยจะแบ่งออกเป็น 3 แขนง
เส้นประสาทออพตัลมิก (Ophthalmic branch) จะเกิดอาการช่วงหน้าผาก ดวงตา และจมูก
เส้นประสาทแมกซิลลารี (Maxillary branch) จะเกิดอาการช่วงแก้มทั้งสองข้าง (สีเหลือง)
เส้นประสาทแมนดิบุลาร์ (Mandibular branch) จะเกิดอาการช่วงคาง ขากรรไกร ด้านข้างของใบหน้าและใบหูเล็กน้อย (สีส้ม)
เส้นประสาทคู่ที่ 7 (Facial nerve) จะเกิดอาการช่วงลิ้นส่วนหน้าและใบหูชั้นกลาง
เส้นประสาทคู่ที่ 9 (Glossopharyngeal nerve) จะเกิดอาการช่วงใบหู หลังโพรงจมูก คอหอย ลิ้นส่วนหลัง ทอนซิล และกล่องเสียง
เส้นประสาทคู่ที่ 10 (Vegas nerve) จะเกิดอาการช่วงใบหูและเส้นประสาทไขสันหลังส่วนคอและหลังกะโหลกศีรษะ (สีม่วงและสีฟ้า)
การวินิจฉัย
อาการชาที่ใบหน้า ส่วนใหญ่ต้องอาศัยการซักประวัติอย่างละเอียด ทั้งลักษณะของอาการอาการร่วม และการดำเนินโรค ประวัติการรักษาโรคในช่องปากมาก่อนหน้านี้ โรคประจำตัวการสัมผัสกับสารพิษ จากนั้นแพทย์จะตรวจร่างกายและตรวจหาความผิดปกติทางเส้นประสาททั้งหมดร่วมกับทำการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือ MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อแยกโรคออกจากโรคอื่นๆ ได้ตรงจุดและช่วยให้การวินิจฉัยถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น
การรักษา แบ่งออกได้เป็น 3 แนวทางคือ
การรักษาด้วยยา จะให้ได้ผลดีต้องกระทำโดยเร็วที่สุด ยาที่ใช้จะเป็นในกลุ่มสเตอรอยด์ ยาในกลุ่มวิตามินบีรวม หรือยาที่มีฤทธิ์รักษาเส้นประสาทส่วนปลายด้วย การใช้ยาต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้นเนื่องจากมีผลข้างเคียงค่อนข้างอันตรายไม่ควรซื้อยาทานเอง
การรักษาด้วยกายภาพบำบัด ใช้การกระตุ้นไฟฟ้ากล้ามเนื้อใบหน้าที่การใช้ความร้อนประคบบริเวณใบหน้าที่มีอาการชา การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้า
การรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดจะทำกรณีที่มีอาการของโรครุนแรงและไม่หายในรายที่เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ถูกทำลายหรือฝ่อลีบ เช่น ผ่าตัดแก้ไขหนังตาที่ปิดไม่สนิท การต่อและเลี้ยงเส้นประสาทสมองคู่อื่นเพื่อนำมาใช้ทดแทนเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7
แนะนำว่า หากยังมีอาการชาที่ใบหน้าอยู่เรื่อย ๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจร่างกาย และอาจต้องตรวจเพิ่มเติมอื่น แล้วจึงให้การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
อ่านเพิ่มเติม“ชาหน้า”อาจเกิดจากโรคสมอง
อาจเกิดจากอาการปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม หรือภาวะขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือบี 12 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคมะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น
ชาเฉพาะนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางครึ่งซีก (ซีกที่อยู่ติดกับนิ้วกลาง) นอกนั้นไม่มีอาการชา อาจเป็นสัญญาณของโรคเส้นประสาทมือถูกบีบรัด เนื่องจากเยื่อหุ้มเอ็นที่อยู่ในช่องใต้กระดูกมือบวม หรือกระดูกมือโตทำให้ช่องใต้กระดูกมือแคบ เลือดไหลเวียนไม่สะดวก หรืออาจเกิดจากแผ่นพังผืดเสื่อม และหนาตัวขึ้น
ชานิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และอาจมีอาการปวดมือ ปวดร้าวไปถึงแขนด้วย นั่นอาจหมายถึงสัญญาณของโรคเส้นประสาทกดทับที่ฝ่ามือ โดยเกิดจากการใช้งานมือในลักษณะการเกร็งอยู่นาน ๆ ในท่าเดิม เช่น การจับมีด กรรไกร ไดร์เป่าผม คอมพิวเตอร์ ซึ่งมักจะมีอาการปวดในเวลากลางคืนหรือตื่นนอนตอนเช้า
ชานิ้วก้อย นิ้วนาง และด้านข้างฝ่ามือ (สันมือ) อาจเกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อศอกถูกกดทับ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ซึ่งก็ควรเปลี่ยนท่านั่งหรือท่านอนเพื่อหลีกเลี่ยงอาการชาดังกล่าว
ชาง่ามนิ้วระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ อาจเกิดจากเส้นประสาทกดทับที่ต้นแขน แนะนำให้เปลี่ยนท่านั่งบ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการเอาแขนพาดพนักเก้าอี้
ชาที่นิ้วก้อย อาจเกิดจากเส้นประสาทบริเวณรักแร้ที่ยาวไปถึงนิ้วก้อย สาเหตุจากงอและเกร็งข้อศอกเพื่อถือหูโทรศัพท์เป็นเวลานาน
อ่านเพิ่มเติม อาการมือชา บอกโรค
ชาหลังเท้าลากยาวไปถึงหน้าแข้ง แต่ไม่มีอาการชาที่มือ อาจเกิดจากการนั่งไขว้ห้าง ขัดสมาธิ พับเพียบ เป็นเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทบริเวณใต้เข่าด้านนอกถูกกดทับจนเลือดเดินติดขัดได้
สีเขียว
ชาปลายเท้าและปลายมือ อาจเกิดจากอาการปลายประสาทอักเสบหรือเสื่อม หรือภาวะขาดวิตามินบี 1 บี 6 หรือบี 12 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคไต โรคมะเร็ง และจากยาหรือสารพิษ เป็นต้น
สีน้ำเงิน
อาการชาที่เริ่มเกิดขึ้นจากปลายเท้า ฝ่าเท้า ปลายนิ้ว ลามขึ้นไปที่ข้อเท้า เข่า และลำตัว เป็นอาการที่มักเกิดกับนักดื่มคอทองแดง เนื่องจากฤทธิ์แอลกอฮอล์เข้าไปทำลายเส้นประสาทให้เสียหายหลายเส้น
สีส้ม
ชาทั้งเท้า และเลยไปถึงสะโพก อาการนี้ก็ควรต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากอาจเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท
อ่านเพิ่มเติม เท้าชาบอกโรค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้