สารานุกรมปืนตอนที่ 636 AK น้ำหนักเบา (อลูมิเนียม อัลลอย)

"ขอขอบคุณเพจ GUN in The World แอดมิน Gtd.77 อย่างสูงครับ"

https://www.facebook.com/catwarriorandroyalthaiarmyman/

ความเป็นมา
..................................................
การทดสอบชิ้นส่วนอลูมิเนียม อัลลอย กับ AK-47 ในปี 1949
บ่อยครั้งเรามักได้ยินว่า ปลย.M16 มีน้ำหนักเบากว่า AK บางทีจะเรียกได้ว่าพวกอเมริกันนำพวกวัสดุที่ใช้ในอากาศยานมาสร้างปืนเล็กยาวของตน เพิ่มเติมด้วยพลาสติกและอลูมิเนียม แต่ก็ไม่ใช่แบบนั้นซะทีเดียว
รากเหง้าของ M16 เติบโตเกิดขึ้นใน กลุ่มบริษัท Fairchild Aircraft Corporation โดยมี AmaLite Company ที่เป็นบริษัทในเครือเป็นผู้ออกแบบ ในขั้นต้นเป็นการนำความรู้ที่ได้จากการทำอากาศยานมาประยุกต์ใช้กับอาวุธเบา ซึ่งมีอิทธิพลตั้งแต่ ปลย.AR-10 ที่ออกแบบโดย Eugene Stoner แม้ว่าจะล้มเหลวจากการทดสอบเนื่องจากลำกล้องที่ใช้วัสดุล้ำสมัยในตอนนั้นเกิดแตกในช่วงประกวดแบบ ปลย.ที่จะเข้าประจำการในกองทัพสหรัฐ ในช่วงทศวรรษที่ 1950s ส่วน Aluminum Alloy ถูกใช้ใน M16 ในเวลาต่อมา James Sullivan หนึ่งในผู้ร่วมออกแบบได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความพิเศษของ 7075 Aluminum คร่าวๆว่า เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษราวกับมีเวทมนต์วูดู (Voodoo) ซึ่งเราไม่เคยเห็นมาก่อนใน 7075 เลย
ในขณะเดียวกัน ปลย.จูโจมของ Kalashnikov ที่ประจำการในเดือนตุลาคมปี 1949 ก็มีรายงานว่ามีบางชิ้นส่วนได้ใช้ชิ้นส่วนโลหะผสมน้ำหนักเบาเช่นกัน โดยชิ้นส่วนเหล่านี้ทำมาจากอะลูมิเนียมอัลลอย D-16T ซึ่งน่าสนใจและสร้างความประหลาดใจ เพราะมันให้คุณสมบัติเทียบเท่าเหล็กเกรด st.50. บางทีทางโรงงานผลิตมักไม่ค่อยสนใจในองค์ความรู้ที่ตนเองมี ทำให้แทนที่จะได้ปืนเล็กยาวที่มีน้ำหนักปืนเปล่า แค่ 3.53 กก. ในตอนนั้น จึงได้ตัวผลิตใช้งานจริงๆที่มีน้ำหนักถึง 4.21-4.34 กก. แทน และเมื่อบรรจุกระสุนครบตามอัตรากระสุนมูลฐาน (ซองกระสุสน 6 ซอง กระสุน 180 นัด) จาก 7.889 กก. เพิ่มไปถึง 10.3 กก.



ในการลดน้ำหนักตัวปืน ในส่วนของซองกระสุนที่ทำจากอะลูมิเนียม จะมีน้ำหนักเพียง 0.169 กก. แต่ถ้าใช้เหล็กปกติ จะมีน้ำหนักถึง 0.440 กก. ในส่วนของตัวปืน AK ที่ใช้อลูมิเนียม ก็ไม่ได้แย่อะไร ไม่ว่าจะเป็น ความแม่นยำ ความน่าเชื่อถือในการทดสอบบทต่างๆ ความน่าเชื่อถือในการยิงต่อเนื่องนานๆ แต่ในการทดสอบอย่างหลังปืนพังลงเนื่องจากส่วนที่ทำจากเหล็กกลับกลายมาเป็นส่วนที่ทำให้ปืนพังเร็วขึ้น เนื่องจากอลูมิเนียมความความบอบบางมากกว่านั่นเอง

ในการทดสอบ
1.ทิ้งกระเป๋าบรรจุซองกระสุนพร้อมบรรจุกระสุนลงจากที่สูง 7-10 เมตร แล้วนำทำการยิง 3 รอบ
2.ทิ้งซองกระสุนลงพื้นคอนกรีตจากที่สูง 1.5 ม. และทุ่มใส่ผนังคอนกรีต แล้วทำการยิง อย่างละ 3 รอบ
3.ทดสอบเปรียบเทียบระหว่างใช้กับไม่ใช้ชิ้นส่วนที่ทำจากอะลูมิเนียมอย่างละ 3 รอบ
4.ขว้างปาปืนไปข้างหน้า แล้วทำการยิง
5.ทำการยิงไปทั้งสิ้น 1900 นัด
ซึ่งโจทย์การทดสอบนี้ใช้มาตั้งแต่มหาสงครามโลก ที่ทางกองทัพได้ออกแบบบททดสอบปืนที่จะมาประจำการนั่นเอง ในปี 1942 มีการทดสอบเช่นเดียวกันนี้ แต่เปลี่ยนมาเป็นทำหล่นจากหลังม้า กับให้เท้าม้าเหยียบ นั่นเอง
ในช่วงปี 1962 มีแนวคิดนี้กลับมาอีกครั้ง เนื่องจากการแข่งขันด้านอวกาศ แต่ก็โดนตีตกไป เพราะต้องนำทั้งองค์ความรู้ด้านนี้ไปใช้ในงานด้านอวกาศมากกว่า มีการทดสอบชิ้นส่วนที่ทำจาก อะลูมิเนียม-แมงกานีส กับไทเทเนียม อัลลอย ซึ่งก็ผ่านไปด้วยดี ถ้าถึงขั้นได้ประจำการจริงๆทหารโซเวียตคงได้ใช้ปืนเทคโนโลยีอวกาศก็เป็นได้ แต่ขั้นตอนมันยาก และไทเทเนียมก็หายากด้วยจึงทำให้ไม่ได้ไปต่อ
พวกอเมริการู้จักใช้อลูมิเนียมร่วมกับพลาสติกมาในปลย.M16 ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1960s ใช้ซองกระสุนแบบตรงขนาด 20 นัด เนื่องจากซองแบบโค้งมีปัญหาการป้อนกระสุนมากในช่วงนั้นนั่นเอง
ในปัจจุบันมีผู้ผลิตปืนทรง AK หลายๆเจ้าผลิตออกมา ทำให้ปืนทรงนี้จะอยู่ต่อไปอีกนานเท่านาน
..................................................
บทความโดย Andrey Ulanov writer, historian
Kalashnikov Concern
แปลและเรียบเรียงโดย Ghosttando77
ที่มา
..................................................
https://kalashnikov.media/.../otchet-strelkovogo-poligona...
..................................................
#บทความปืนโดยGW
#GW
#GTD77


สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่