บริษัททำธุรกิจส่งออก ขอภาษีมูลค่าเพิ่มคืน ถูกระงับเพื่อตรวจสอบ 3 ปีแล้ว

เราเป็นบัญชี ของ บริษัทส่งออก เปิดมาเกือบ 10 ปี แล้ว ทุกสิ้นเดือน ก็จะยื่นแบบ ภพ 30 เพื่อขอภาษีซื้อคืน 
วงจรยอดขายของบริษัท จะมี high และ low season เหมือน ๆ กันทุกปี คือ ช่วงเดือนกันยา ยอดขายจะค่อย ๆ ลดลง จนถึง มกรา  
และเริ่มขึ้นสูงเดือนกุมภา จนถึงสิงหา ประมาณนี้ 
ปัญหาคือ ช่วงที่ยอดขายลดลง  vat ที่ขอคืน ก็จะต่ำ เพราะซื้อวัตถุดิบน้อย 
พอถึงเดือนกุมภา หรือมีนา ซึ่งยอดสั่งซื้อเข้ามาเยอะ ก็จะเริ่มซื้อวัตถุดิบเยอะ ทำให้มี vat ขอคืนสูง 
ตรงเดือนที่เป็นรอยต่อ ขึ้นต้น high season นี่เอง (ทุก ๆ กุมภา หรือ มีนา) สรรพากรจะให้เหตุผลว่า มียอดขอภาษีซื้อคืนสูงเท่านั้น เท่านี้
เข้าเกณฑ์ที่จะต้องถูก "ส่งเข้ากระบวนการตรวจก่อนคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม"  ซึ่งการถูกตรวจสอบ บริษัทฯ ไม่ได้มีปัญหา เรียกเอกสารอะไร ก็ส่งไปให้ดู ช่วงปีแรก ๆ ก็ไม่ค่อยเท่าไร ใช้เวลาอาจจะ 3-4 เดือน ก็จะได้คืน แต่ 3 ปีที่แล้ว จนท สรรพากร บอกว่า ทำงานไม่ทัน จนท ไม่พอ มีงานเพิ่ม โน่น นี่ นั่น ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบบริษัทได้  และทุกครั้งที่เราโทรไปตามเรื่อง เขาก็จะขอเอกสารเพิ่ม เราก็ส่งไป  2-3 เดือน โทรไปตามใหม่ ก็ขอเอกสารใหม่ วนเวียนไป
ณ ตอนนี้ มี vat ที่ถูกระงับไว้ หลายเดือน สำหรับหลายปี  ลักษณะการระงับ จะเป็นแบบนี้
กุมภา ของปี 256x
กุมภา ของ 256x
มีนา ของ 256x
มิถุนา ของ 256x  
มกรา ของ 256x   
คำอธิบายของสรรพากรคือ เนื่องจากบริษัทฯ ขาดทุน ดังนั้น ต้องตรวจสอบ จนกว่าจะได้คำตอบ จึงจะคืนภาษีซื้อให้ 
เรารู้ว่า สรรพากร มีอำนาจมากกกกกก    ครอบคลุมกว้างขวาง  ทะเลาะกับใคร ก็จะชนะเสมอ  ผู้ประกอบการ ไม่กล้าตอแย 
แล้วเราก็รู้ว่า ตอนนี้ รัฐกำลังถังแตก อาจต้องมีการดึงเงินเอาไว้ แต่ 3-4 ปีนี่ มันนานไปแล้วนะ
ยอดเงินเริ่มสูง สถานการณ์การเงินบริษัท ไม่ค่อยดี บางเดือน เงินไม่พอจ่าย พนง ต้องแบ่งจ่ายด้วยซ้ำ แต่เงินส่วนหนึ่ง ไปจมอยู่กับรัฐ
แล้วภาษีซื้อขอคืน สำหรับบริษัทส่งออก มันเป็นเงินของผู้ประกอบการ   เรื่องที่เกิดขึ้นแบบนี้  มันถูกต้องแล้วหรือ ? 
แล้ว ผู้ประกอบการ ทำอะไรได้มากกว่าการโทรตามเรื่อย ๆ ส่งเอกสารกันไม่จบสิ้นหรือไม่ ?  
เผื่อใครเคยเจอ หรือมีความเห็น ข้อแนะนำดี ๆ  จะขอบคุณมาก  
หรือเราต้องเสนอเขาไปเลยว่า รัฐอยากได้เท่าไร กี่เปอร์เซนต์  เฉือนไปเลย มีใครทำแบบนี้หรือไม่ ?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่