แผนที่พื้นมหาสมุทรของ Marie Tharp ที่นำพื้นทะเลมาสู่โลก




แผนที่พื้นมหาสมุทรโลกในปี 1977 นี้ วาดโดย Heinrich Berann โดยอาศัยวิทยาศาสตร์และการทำแผนที่ของ Marie Tharp และ Bruce Heezen
Cr.LIBRARY OF CONGRESS, GEOGRAPHY AND MAP DIVISION


มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของโลกประกอบด้วยมหาสมุทร แต่สถานที่ใต้น้ำเหล่านี้เป็นพื้นที่ที่รู้จักกันน้อยที่สุดในโลก แม้ว่าตอนนี้มหาสมุทรส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการทำแผนที่  แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่าแผนที่ทำไปแล้ว มีความละเอียดเพียง 10 - 15 เปอร์เซ็นต์ของมหาสมุทรเท่านั้น

แม้ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา จะมีการสำรวจใต้ทะเลลึกและนำตัวอย่างทั้งหมดจากก้นทะเลขึ้นมาวิจัย แต่มนุษย์ยังรู้น้อยมากเกี่ยวกับมหาสมุทรที่ลึกที่สุด และต้องเรียนรู้อีกหลายสิ่ง เช่น คลื่นสึนามิที่ส่วนใหญ่เริ่มต้นด้วยแผ่นดินไหวใต้หรือใกล้พื้นมหาสมุทร, พื้นทะเลที่เป็นที่อยู่อาศัยของปลา ปะการัง และชุมชนที่ซับซ้อนของจุลินทรีย์ กุ้ง และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ โดยภูมิประเทศข้างใต้สามารถควบคุมกระแสน้ำที่กระจายความร้อน ซึ่งช่วยในการควบคุมสภาพอากาศของโลก

อย่างไรก็ตาม ก้าวสำคัญในการค้นพบเพิ่มเติมเกี่ยวกับมหาสมุทรของโลกและการทำแผนที่พื้นมหาสมุทรทั้งหมด ที่นำไปสู่การค้นพบเชิงปฏิวัตินี้ เกิดขึ้นโดยผู้หญิงคนหนึ่งที่ชื่อว่า Marie Tharp นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้รับการยกย่องมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์โลก ซึ่งแผนที่มหาสมุทรของเธอยังคงส่งผลกระทบต่อเราในปัจจุบัน

Marie Tharp เกิดที่มิชิแกนในปี 1920 เป็นนักธรณีวิทยาและนักทำแผนที่ตลอดช่วงชีวิตของเธอ และด้วยความร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานของเธอที่ชื่อ
Bruce Heezen ทำให้ Tharp เป็นคนแรกที่ทำแผนที่พื้นมหาสมุทรทางวิทยาศาสตร์ได้  โดยก่อนหน้าเธอเริ่มงานด้านวิทยาศาสตร์ในฐานะนักธรณีวิทยาของบริษัทน้ำมันและพลังงาน Stanolind Oil ในช่วงทศวรรษที่ 1940


แผนที่ที่แปลกใหม่ของ Marie Tharp ได้นำพื้นทะเลมาสู่โลก
 (Cr.ภาพ: Lamont – Doherty Earth Observatory, Columbia University) 


หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาด้านคณิตศาสตร์ Tharp เริ่มทำงานในห้องปฏิบัติการธรณีวิทยา Lamont ในปี 1948 ที่มหาวิทยาลัย Columbia
ในนิวยอร์ก ซึ่งปัจจุบันคือหอดูดาว Lamont-Doherty Earth และได้พบกับ Bruce Heezen นักธรณีวิทยาและผู้ร่วมงานอีกสองคนที่นี่ โดยเริ่มทำงานในโครงการค้นหาเครื่องบินที่ตกจากสงครามโลกครั้งที่สองที่ใช้ข้อมูลภาพถ่าย อย่างไรก็ตาม งานส่วนใหญ่ของ Tharp และ Heezen เป็นโครงการวิจัยเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศของพื้นมหาสมุทร

แผนที่ที่สวยงามและโดดเด่นของพื้นมหาสมุทรของโลกนี้ สร้างเสร็จในปี 1977 โดยแสดงต่อสาธารณชนให้เห็นภาพแรกของพื้นทะเลว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งในเวลานั้น พื้นมหาสมุทรเคยถูกมองว่าเป็นที่ราบโคลนไม่มีลักษณะเด่น แต่ Tharp แสดงให้เห็นว่ามันมีภูมิประเทศที่ขรุขระและส่วนใหญ่ถูกจัดวางอย่างเป็นระบบ

Tharp และ Heezen นั้น ต้องการทำแผนที่พื้นมหาสมุทรเพื่อทำความเข้าใจธรณีวิทยาของมัน ที่เชื่อมต่อกับทวีปต่างๆตามสมมุติฐานร่วมกัน ด้วยเหตุนี้
พวกเขาจึงร่วมมือกันเป็นเวลาหลายสิบปีตั้งแต่ปี 1950 - 1970 และเพื่อรวบรวมข้อมูล Heezen จึงออกเรือวิจัยไปในทะเลและเก็บข้อมูล โดยข้อมูลดิบ
ส่วนใหญ่มาจากการเกิดเสียงหรือการวัดโซนาร์ของความลึกของมหาสมุทร

กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณเสียงในช่วงเวลาปกติ เสียงสะท้อนของสัญญาณเหล่านั้นจะถูกนำขึ้นมาโดยไมโครโฟนบนเรือ จากนั้น อุปกรณ์ป้อนข้อมูลทางหน้าจอจะทำเครื่องหมายบนกระดาษบันทึก และอ่านตัวเลขที่ทำให้เกิดเสียงได้อย่างต่อเนื่อง


ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงเรือ NOAA ที่ใช้เครื่องสะท้อนเสียงแบบ multibeam echosounder เพื่อทำแผนที่พื้นทะเล Cr. NOAA


ผู้หญิงในเวลานั้นไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานบนเรือเดินทะเล ดังนั้น Tharp จึงใช้ข้อมูลที่ Heezen รวบรวมมา เพื่อทำแผนที่พื้นมหาสมุทรอย่างเป็นระบบ ที่บ้านของเธอ และจากการอ่านค่าโซนาร์นับพันเหล่านั้น Tharp วาดรายละเอียดใต้น้ำของพื้นมหาสมุทรตามระดับของ ลองจิจูดและละติจูด ด้วยการใช้ปากกา หมึก และไม้บรรทัดเท่านั้น 

Tharp ใช้สิ่งที่เรียกว่าเทคนิคการทำแผนที่ทางกายภาพ (physiographic mapping technique) โดยใช้แสงและพื้นผิวสำหรับแผนภาพของเธอ แทนการใช้สี ทั้งยังรวมข้อมูลการวิจัยจากแหล่งอื่น ๆ เช่น Woods Hole Oceanographic Institution และข้อมูลจากเครื่องวัดแผ่นดินไหวของแผ่นดินไหวใต้น้ำไว้ด้วย

แผนที่ของ Tharp และ Heezen ถือเป็นการปฏิวัติด้วยเหตุผลหลายประการ อันดับแรกที่ตอนนั้นทุกคนคิดว่าพื้นมหาสมุทรว่างเปล่า แต่ที่น่าตื่นเต้นคือ Tharp ได้แสดงภาพมันบนกระดาษเปล่าแผ่นใหญ่ และที่สำคัญกว่านั้น  Tharp และ Heezen ค้นพบว่าพื้นมหาสมุทรไม่ได้ราบเรียบ แต่ปกคลุมไปด้วยลักษณะทางธรณีวิทยาหลายประเภท เช่น

หุบเขา สันเขา และภูเขาเช่นเดียวกับบนพื้นดินของโลก ซึ่งบ่อยครั้งลักษณะทางธรณีวิทยาในมหาสมุทรเหล่านี้ มีขนาดใหญ่และลึกกว่าสิ่งใด ๆ ที่เห็นบนพื้นผิวโลก โดยแผนที่ของ Tharp และข้อมูลของ Heezen ได้แสดงให้เห็นว่าพื้นมหาสมุทรเป็นโลกที่กว้างใหญ่ซับซ้อนเกินกว่าที่ใคร ๆ จะจินตนาการได้

Tharp’s East-West profiles across the North Atlantic. The Floors of the Ocean, 1959
Mid-Atlantic Ridge ที่โดดเด่นในรายละเอียดอันน่าทึ่งบนแผนที่พื้นมหาสมุทรแอตแลนติกโดย Bruce Heezen และ Marie Tharp
ที่วาดโดย Heinrich C. Berann ได้รับการตีพิมพ์เป็นส่วนเสริมของนิตยสาร National Geographic ฉบับเดือนมิถุนายน 1968
Cr.ภาพ NATIONAL GEOGRAPHIC
Tharp และ Heezen มีส่วนร่วมอย่างมากต่อวิทยาศาสตร์และโลก เมื่อแผนที่ของพวกเขาเผยให้เห็นสันเขาใต้น้ำ 40,000 ไมล์ที่ทอดยาวไปตามพื้นโลก ต่อมาในปี 1953 เป็นอีกครั้งที่ Tharp ได้ค้นพบกลุ่มภูเขาไฟที่น่าทึ่งในช่วงกลางมหาสมุทร mid-Atlantic Ridge ซึ่งเป็นกลุ่มภูเขาไฟที่ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ผ่านมหาสมุทร

เธอสังเกตเห็นส่วนที่ยุบตัวลงในสันเขา ซึ่งดูเหมือนจะเป็นรอยแตกต่อเนื่องตามแนวยาว ข้อสังเกตเหล่านี้ทำให้เธอเน้นย้ำทฤษฎีการลอยตัวของทวีป (theory of continental drift) หรือการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร  ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่าทวีปต่างๆเคลื่อนที่โดยการขยายไปทั่วก้นทะเลในมหาสมุทร แม้ว่าในตอนแรกจะไม่เป็นที่นิยม แต่ทฤษฎีของการลอยตัวของทวีปและการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลกก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการวิทยาศาสตร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

Marie Tharp และ Bruce Heezen นั้น ทำแผนที่พื้นมหาสมุทรเสร็จสิ้นไปแล้วหลายแห่ง ได้แก่ แผนที่ของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือที่สร้างเสร็จเป็นครั้งแรกในปี 1957 ตามด้วยแผนที่ของมหาสมุทรแอตแลนติกใต้และมหาสมุทรอินเดียในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 และหลังจากที่ Heezen เสียชีวิตในปี 1977  Tharp ได้เผยแพร่แผนที่ที่ครอบคลุมของมหาสมุทรทั้งหมดในปีเดียวกันนั้น เรียกว่า " แผนที่พื้นมหาสมุทรโลก " (World Ocean Floor Map)
และยังคงทำงานให้กับมหาวิทยาลัย Columbia จนกระทั่งเธอเสียชีวิตในเดือนสิงหาคม 2006 ด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุได้ 86 ปี 

  
แผนวาดที่พื้นมหาสมุทรจากข้อมูลของ Marie Tharp และ Bruce Heezen ในปี 1950
ซึ่ง Tharp เป็นคนแรก ๆ ที่แนะนำการมีอยู่ของร่องลึกกลางมหาสมุทร แต่ Jacques Cousteau คิดว่ามันเพ้อฝันเกินไป
จึงใช้การดำน้ำเพื่อค้นหาร่องลึกที่เธอคาดการณ์ไว้

ผลกระทบของ Marie Tharp และการทำแผนที่พื้นมหาสมุทรของเธอยังคงอยู่กับเราในปัจจุบัน และงานของ Tharp และ Heezen ได้นำไปสู่การยอมรับอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับทฤษฎีการเคลื่อนที่ของทวีป และการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก

นอกจากนี้ ผลงานของพวกเขายังนำไปสู่การค้นพบสันเขาในมหาสมุทร และการทำแผนที่โลกที่ไม่เคยมีใครรู้จักมาก่อน แต่ไม่ว่าในกรณีใด Marie Tharp ก็ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า ประสบความสำเร็จในฐานะผู้หญิงในสาขาที่ถูกครอบงำโดยผู้ชาย และเป็นผู้บุกเบิกวิทยาศาสตร์สมุทรศาสตร์ (science of oceanography) ของเธอ

Tharp และ Heezen ได้รับรางวัลต่างๆหลายครั้ง ได้แก่
- เหรียญ Hubbard เหรียญรางวัลเกียรติยศสูงสุดของของ National Geographic Society (สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ) ในปี 1978 ร่วมกับกลุ่มนักสำรวจ    และผู้ค้นพบเช่นเออร์เนสต์แชคเคิลตัน , Louis และ Mary Leakey และ Jane Goodall 
- รางวัลความสำเร็จดีเด่นของ Society of Women Geographers ในปี 1996
- รางวัล Mary Sears Woman Pioneer ของสถาบันสมุทรศาสตร์ Woods Hole ในปี 1999 และ
- รางวัลมรดกหอดูดาว Lamont – Doherty Earth คนแรกในปี 2001

ทั้งนี้ในปี 1997 หอสมุดแห่งชาติใส่ชื่อ Tharp เป็นหนึ่งในสี่นักเขียนแผนที่ที่โดดเด่นแห่งศตวรรษที่ 20 
 

Marie Tharp กับ Bruce Heezen

 

ที่มา 


(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่