ภาพถ่ายในอดีต ... โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กระทู้สนทนา
ตั้งขึ้นพร้อมกับคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่พ.ศ. 2511 
เป็นที่ฝึกสอนของนักศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
เพราะตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ - เรียกตัวเองว่าโรงเรียนนักเรียนมัธยมตีนดอย
ปีแรกเปิดรับชั้น ม.ศ. 1 ชั้นเดียว 
นักเรียนส่วนใหญ่จะเป็นลูกอาจารย์ในมอ และ อาจารย์หมอในสวนดอก
เปิดเพิ่มชั้นละปี พ.ศ. 2514 เราก็เข้าเรียนในชั้น ม.ศ.1 

ภาพถ่ายเก่า ตั่งแต่ พ.ศ. 2514 - 2518
ที่สนามแบดมินตัน - กำแพงไม้ล้อมรอบเพื่อบังลม 
เป็นที่ที่แก้งเราชอบไปสิง ก่อนเข้าแถวตอนเช้า
เป็นครั้งแรกที่ได้สวดมนต์หลังเคารพธงชาติ - เพราะเคยอยู่โรงเรียนคริสเตียน

มี 2 เทอม เหมือน ม.ช. เปิดเรียนในวันที่ 1 มิถุนายน
สถานที่เรียนเป็นชั้น 1 ตึกแรกของคณะศึกษาศาสตร์
มีเพื่อนร่วมชั้น 103 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1,2,3 ตามลำดับตัวอักษร 
ม.ศ.2-3-4 ย้ายมาเรียนที่อาคารแรกของโรงเรียน - เพิ่งสร้างเสร็จ
ตึกกลาง เป็นอาคารสองชั้นชั้นล่างเป็นห้องธุรการ ชั้นบนเป็นห้องสมุด

มีระเบียงเชื่อมตึกหกเหลี่ยม ไปทั้งสองข้าง แต่ละตึกมีสองชั้น แต่ละชั้นมีห้องเรียน 4 ห้อง

ม.ศ. 5 ได้อยู่ตึกใหม่ 

การเรียนการสอน
ม.ต้น หลักสูตรเป็นแบบมัธยมแบบประสม ไม่มีห้องประจำ ไม่มีล็อกเกอร์ประจำ แต่มีห้อง 1 2 3 แบ่งตามระหัส ระหัสเรียงตามตัวอักษร
การเรียนเป็นการเดินเรียน ใครเรียนวิชาไหน ห้องอะไร ถึงวิชาเรียนแบกกระเป๋าไปเรียนห้องนั้น
วิชาที่เรียนแบบแปลกใหม่
วิชาสังคม ; ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง-ศีลธรรม
มีการแบ่งกลุ่มทำงาน ค้นเนื้อหา - ที่ห้องสมุด เขียนรายงานส่ง และอภิปรายหน้าห้อง - ครั้งแรกตื่นเต้นมาก

ประทับใจ 
วิชาเรขาคณิต อาจารย์จะอธิบายสัจจพจน์ - ตั้งโจทย์บนกระดานดำ - ออกนอกห้องให้นักเรียนคิด 
ท้ายชั่วโมง ให้นักเรียนก็ช่วยกันตอบจน ซ.ต.พ. - เมื่อมาเปิดดูหนังสือก็พบว่าอาจารย์ให้พวกเราพิสูจน์ทฤษฏี
ภาษาอังกฤษ ใช้หนังสือ Jack & Jill 
ชั้นม.ศ. 3 โรงเรียนเราไม่ต้องสอบข้อสอบรวมภาค เหมือนโรงเรียนอื่น
แม้ไม่เครียดเรื่องสอบผ่าน แต่เครียดที่ไม่ได้ไปต่อ ม.ศ.4 ไม่ได้เรียนวิชาที่อยากเรียน บางคนก็ต้องออกไปทำงาน

กิจกรรม 
วงดนตรีสตริงของ(รุ่น)เรา วงแดง แป๊ะ โต + บางทีมีเพื่อนตู่ด้วย
ก่อนหน้าก็มีวงของรุ่นพี่ - พี่รุ่น 1 ชื่อวง The Stream พี่อิทธิ พลางกูร พี่เต๊ะ พี่ชัยณรงค์ น่าจะมีอีกคนแต่จำไม่ได้
มีการส่งต่อรุ่นถึงรุ่น จนถึงรุ่นเรา - มีงานขอให้บอก เราจะยกวงไปเล่น 
ตอน ม.ศ. 4 เพื่อน ๆ ได้เชิญอาจารย์ที่สอนศิลปการแสดงจากคณะมนุษยศาสตร์(เสื้อดำ) และรุ่นพี่ (เชิ้ตขาว) มาเทรนการแสดงละครอย่างมีวิชาการ 
มีการวอร์มกล้ามเนื้อก่อน 
มีการใช้กล้ามเนื้อบังคับการเคลื่อนไหวของร่างกาย 
ที่จริงมีวิธีการใช้เสียงด้วยแต่เพราะฝึกกันแค่สั้น ๆ 1-2 อาทิตย์ เวลาไม่จะพอเราจึงแสดงละครใบ้กัน
เราช่วยกันคิดเรื่องชีวิตประจำวันของเราเช่น โหนรถเมล์มาโรงเรียน เรียนหนังสือ ทะเลาะกันต่อยกัน 
เมื่อฝึก action ต่าง ๆ แล้ว อาจารย์เอาทั้งหมดมาต่อกันเป็นละครที่แสดงจริง
การแสดงในงานปีใหม่ พ.ศ. 2517
ดนตรีไทยเรียนกับเจ้าป้าโสภา ณ เชียงใหม่ 
เคยเล่นอังกะลุง ทั้งวงมีแค่ 8 คน เราถือตัว ซอล - ลา เคยไปออกทีวีช่อง 8 ลำปางด้วย

วิชาเลือก ให้เลือกทีเดียวแล้วยาวไปจน ม.ศ 3 ได้แก่ เกษตรกรรมศิลป์ คหกรรมศิลป์ เขียนแบบ อุตสาหกรรมศิลป์หรือไฟฟ้า เราเลือกเรียนไฟฟ้า - ต่อไฟเป็นนะ

วิขาพละศึกษา ได้เรียนกีฬาเทอมละอย่าง ซอฟบอล วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ บาสเก็ตบอล กิจกรรมเข้าจังหวะ (folk dance) ยิมนาสติก 
หน้าโรงยิม เวลากำลังจะเปลี่ยนชุดพละเป็นชุดนักเรียน
ไม่รู้ใครตะโกนว่าถ่ายรูป ดารามากันครบ 
เมื่อหัดเล่นวอลเล่ย์บอลเราจริงจังมาก เราก็ประสบความสำเร็จตอนอยู่ ม.ศ.3
ชายใหญ่ได้ชนะเลิศกีฬานักเรียน หญิงใหญ่ได้รองชนะเลิศ
มามาคุณแม่ของเพื่อน และคุณแม่ของนักเรียนทั้งชั้น ได้เลี้ยงให้ที่บ้านสวน 89 ปัจจุบันคือ 89 พลาซ่า 
ทีมว่ายน้ำของเราเป็นทีมที่แข็งมาก - แน่นอนเพราะเรามีสระรุจิรวงศ์อยู่ข้างโรงเรียน
กรีฑามีแต่รูปรับเหรียญวิ่งข้ามรั้ว ของเราเอง
โรงอาหาร - สุ่มไก่ของเรา
ที่ยืนยิ้ม -อาจารย์ฝึกสอน (ม.ศ.1) 
มีงานรื่นเริง เอาอาหารมาทานด้วยกัน - อาจารย์ฝึกสอน (ม.ศ.1)
โลเกชั้นถ่ายรูป
ห้องส้วม
นอกระเบียงตึกเรียน 
สนามบอล
ท้ายกะบะรถเพื่อน
หน้าห้องธุรการ + ยิม
การสอบอย่างเป็นทางการ ตอน ม.ศ.5
สอบเทียบ ม.ศ 5 ก่อนหน้าจะสอบราวเดือนสิงหาคมจึงเรียกกันว่าสอบสิงหา
รุ่นเราเป็นรุ่นแรกที่สอบตอนเดือนตุลาคม แต่ไม่เห็นเรียกว่าสอบตุลา
สอบโควต้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (รับ 20% ภาคเหนือ) เดือนกุมภาพันธ์
เป็นปีแรก หากจะสอบเอ็นทรานส์ใหญ่ ต้องสละสิทธิ์โควต้าก่อน 
ซึ่งก่อนนั้นไม่ต้องสละสิทธิ์เลือกอันไหนก็ได้
และสอบ ม.ศ. 5 ปลายปีท้ายสุด - ส่วนใหญ่ไม่ดูหนังสือกันแล้วถ้าสอบเทียบและโควต้าได้
ก่อนสอบ อาจารย์พี่เล็กก็ช่วยติวภาษาอังกฤษให้ในวันเสาร์อาทิตย์ ให้อาจารย์หอบแฟ้มเองเลยนิ
สมุดพก ม.ศ.1 และ ม.ศ. 5
 ทัศนศึกษา
ม.ศ. 1 โรงเรียนพาไปทัศนศึกษาบางละมุง - พาเด็กดอยไปเที่ยวทะเล
พักที่สถานที่ของราชการจำชื่อไม่ได้ ที่บางละมุงอยู่ติดทะเล
หาดลงเล่นน้ำไม่ได้ - มีแมงกะพรุนเยอะ ชายฝั่งมีผักบุ้งทะเลเลื้อยอยู่เต็ม 
ม.ศ. 2 โรงเรียนจัดไปทัศนศึกษาภาคใต้ - ถึงปาดังเบซา รอนแรมไปราวๆ 10 วัน 
ระหว่างทางได้ไปตามโรงเรียน เช่นเซนต์จอห์นที่กรุงเทพ  
ในรูปแรก ที่ประจวบ - เขาตาม่องล่าย
ม.ศ.3 ไปเข้าค่ายเดินทางไกล ที่ค่ายลูกเสือบ้านโฮ่ง - เิดนไปค่ายลูกเสือ และไปบ้านป่าแป๋
เรียนรู้การกางเต๊นท์ - ยังไม่รู้จัก flying sheet , ตอกสมอบก ขุดร่องน้ำ - แต่ก็โดนฝนถล่ม นอนเต้นท์ไม่ได้จึงต้องไปสุมอยู่กันที่อาคารไม้ที่เห็น 
เรียนรู้การล้างจานของชาวค่าย - ใช้ขี้เถ้าในเตาไปล้างจานแทนน้ำยาล้างจาน
ม.ศ. 4 ไปบางไทรอยุธยา, พระราชวังบางปะอิน และวัดพระศรีสรรเพชร?
กิจกรรมนอกหลักสูตร
ตอนปลายปี ม.ศ. 5 จัดเลี้ยงแบบปิ๊กนิคเพื่อแสดงความขอบพระคุณอาจารย์สอนเคมี
อาจารย์ ดร.พิมล เสื้อสีฟ้าสวมแว่นตา อาจารย์เกตุ เสื้อสีขาวซ้ายมือ ที่นั่งถือไอศครีม
ที่เกาะลอย - คนเคยอยู่ ม.ช. อยู่ทางทิศเหนือของสันเขื่อนอ่างแก้ว
เป็นที่สำหรับหนุ่มสาวมาจู๋จี๋กัน
เลี้ยงอำลาเมื่อสอบ ม.ศ.5 เสร็จ - ที่บ้านนักเรียนคนหนึ่ง
ไปเที่ยว ดอยเต่า อำเภอฮอด ไปตั้งแค้มป์กันที่เกาะกลางดอยเต่า
มีอาจารย์มาด้วยสองท่านแม้จะ private อาจารย์อัญชลี กับอาจารย์พี่เล็ก 
เรือก็พามาปล่อยเกาะ แล้วจะรับกลับในวันรุ่งขึ้น
คนทำกับข้าวก็ทำไป คนกลางคือหัวหน้าเชฟ คนใส่แว่นคือรองหัวหน้าเชฟ คนที่กำลังหั่นเป็นลูกมือ คนเล่นกีตาร์คือมือวางอันดับ 1 ของคนเล่นกีตาร์
คนกางเต้นท์ก็กางไป สาว ๆ ก็ร้องเพลงกันไปก็ต้องให้เขาเทคแคร์ซิเนาะ
ต่อคิวกันพายเรือรอบเกาะ รอบละ 2 คน
ก้นเรือก็มีรูรั่วก็เอานิ้วโป้งอุด อีกมือก็ถือขันคอยวิดน้ำออกจากเรือ
อีกคนพายเรือไป ถึงตรงนี้ก็อุตริ ปีนไปนั่งบนขอนไม้เก็บภาพ - รอดตายมาได้
กิจกรรมตอนกลางคืน หนังสือ Daffodil เปิดอยู่กับ skylight เล่มข้างล่าง คือคัมภีร์จอมยุทธ์กีตาร์สมัยนั้น
รุ่งเช้าที่ดอยเต่า
ปิดท้ายด้วยภาพการรวมตัวครั้งหลังสุด พ.ศ. 2563 ก่อนโควิดมาเยือน
ครบรอบ 49 ปีที่รู้จักกัน - พ.ศ. 2514
มีท่านอาจารย์มาร่วมงานภาคกลางวันด้วย 12 ท่าน - กลมกลืนกันไปกับลูกศิษย์
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่