ทำไมสมัยก่อนยี่ห้อ IBM เคยมีชื่อเสียงเรื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้เขาใช้ไหมหรือเป็นตำนานเหมือน Nokia

ทำไมสมัยก่อนคอมยี่ห้อ IBM เคยมีชื่อเสียงเรื่องคอมพิวเตอร์ตอนนี้ยังมีผลิตอีกไหมหรือกลายเป็นแค่ตำนานเหมือน Nokia ชอบรูปทรงและสัญลักษณ์ของของคอมปัจจุบันนี้บริษัทเขาทำเกี่ยวกับอะไร?
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
เหตุการณ์ช่วง IBM Compatible มันไม่ได้เป็นแบบที่คคห.ที่ 4 กล่าวมานะครับ IBM สร้าง IBM PC ขึ้นมาด้วย open architecture เพราะความต้องการของผู้จำหน่ายที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์รุ่นนี้ (ที่จะตีตลาด home market) ใช้อุปกรณ์ในท้องตลาดทั่วไปได้ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ของ IBM ซึ่งส่งผลให้ผู้ขายสามารถดูแลรักษาซ่อมแซมคอมพิวเตอร์พวกนี้ได้เองโดยที่ไม่ต้องเรียก IBM ให้เข้ามาซ่อมให้ การซ่อมได้เองนี้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับตลาดระดับผู้ใช้งานทั่วไป ทาง IBM ถึงออกแบบระบบที่ใช้สินค้าทั่วไปของบริษัทอื่น เช่นชิปของ Intel ใช้ OS ของไมโครซอฟต์ แต่มีอุปกรณ์นึงที่ IBM สร้างเองนั่นก็คือ BIOS ที่เป็นตัวควบคุมฮาร์ดแวร์ทุกอันครับ และ IBM ป้องกันอุปกรณ์ตัวนี้ด้วยสิทธิบัตร (patent) IBM ไม่ได้ยอมให้บริษัทอื่นสร้างคอมพิวเตอร์เลียนแบบหรอกครับ คือคุณซื้อฮาร์ดแวร์ทั่วไปมาต่อเป็นคอมพิวเตอร์ได้ ซื้อ OS จากไมโครซอฟต์ได้ แต่ถ้าไม่มี BIOS เครื่องคุณก็ทำงานไม่ได้ การทำงานของ BIOS นั้น IBM เปิดเผยผ่านสิทธิบัตรอยู่แล้ว แต่ถ้าใครสร้างตามโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก IBM ก็โดนฟ้องจ่ายค่าเสียหายหัวโตครับ

ทีนี้มีบริษัทนึงใช้เทคนิคที่เรียกว่า reverse engineering ที่วิเคราะห์ input/output ทุก combination ของตัว BIOS นี้ แล้วออกแบบวงจรใหม่ที่แปลง input เป็น output เดียวกันกับของ IBM โดยที่ไม่ได้ใช้วงจรของ IBM น่ะครับ (ที่ผมเคยได้ยินมาคือใช้สองทีม ทีมแรกวิเคราะห์ input/output ทุก combination เขียนเป็น spec แล้วให้ทีมที่สองที่ไม่เคยเห็นไม่เคยใช้ IBM PC เลย เห็นแต่ spec มาออกแบบวงจรใหม่) พอสร้าง BIOS ที่ทำงานได้เหมือนของ IBM ก็เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสุดท้ายที่ทำให้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM PC Compatible (เทียบเคียง) ขึ้นมาได้

บริษัทนั้นชื่อ Compaq ครับ IBM ฟ้องร้องไม่ได้ด้วยเพราะการทำ reverse engineering และขาย/ก็อปผลลัพธ์นั้นยังไม่ผิดกฎหมาย patent law ตอนนั้น

ลองดูวิดิโอคลิปนี้ครับเป็นซีรีส์เรื่อง Halt and Catch Fire ช่วงที่ทีมแรกดัมพ์ ROM จาก BIOS ของ IBM
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่