JJNY : ก้าวหน้าเฮ!ผลไม่เป็นทางการเกิน10│หนี้ครัวเรือนฉุดการฟื้นตัวศก.│ณวัฒน์รับปากช่วยมิสแกรนด์เมียนมา│ส.ส.แปดริ้วกริบ

ก้าวหน้าเฮ! ผลไม่เป็นทางการ คว้าเก้าอี้นายกเทศมนตรีเกิน 10 เก้าอี้แล้ว
https://www.matichon.co.th/politics/news_2647254
 

ก้าวหน้าเฮ! ผลไม่เป็นทางการ คว้าเก้าอี้นายกเทศมนตรีเกิน 10 เก้าอี้แล้ว ประกาศ 4 ปีจากนี้ ขอจัดเต็ม 
 
จากกรณีการจัดเลือกตั้งเทศบาลทั่วประเทศไทย มีรายงานว่า ผู้สมัครซึ่งลงรับเลือกตั้งในนามคณะก้าวหน้า สามารถเอาชนะเลือกตั้งได้มากกว่า 10 แห่ง เช่นที่ สมุทรปราการ อุดรธานี ร้อยเอ็ด ลำพูน หนองบัวลำภู ขณะนี้กำลังรอการยืนยันทางการว่าจะได้อย่างแน่นอน จำนวนเท่าไหร่ ที่ไหนบ้าง โดย เพจคณะก้าวหน้า – ท้องถิ่น โพสต์ข้อความ ระบุว่า 

4 ปีนับจากนี้ เราจะทำเต็มที่ เพื่อพิสูจน์ว่าผู้บริหารท้องถิ่น สามารถสร้างอนาคตใหม่ให้กับประชาชนได้ คณะก้าวหน้าขอขอบคุณทุกคะแนนเสียงจากประชาชน ที่ออกมาเลือกทีมเทศบาลคณะก้าวหน้าทั่วประเทศ ปลายปากกาของท่านได้เปิดโอกาสให้นักการเมืองที่มีความตั้งใจ มีวิสัยทัศน์ ได้เข้าไปใช้ความสามารถพัฒนาบ้านเกิดของตัวเองในกว่า 10 ท้องถิ่น
 
4 ปีนับจากนี้ เราจะทำงานอย่างหนักเพื่อพิสูจน์ว่าผู้บริหารท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ สามารถสร้างอนาคตใหม่ที่ดีกว่า ก้าวหน้ากว่า ให้กับพื้นที่ของตัวเองได้ เราจะเร่งทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้โดยเร็วที่สุด โดยอยู่บนหลักการทำงานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ และประชาชนมีส่วนร่วมกับการบริหารท้องถิ่นในทุกมิติ 4 ปีนับจากนี้ คณะก้าวหน้าจะทำเต็มที่ เพื่อบ้านของเราทุกคน
 
https://www.facebook.com/LocalProgressivemovement/photos/a.115827246990802/231566398750219/
 
ด้านพรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า ทวิตข้อความสั้นๆ ระบุว่า 
 
ขอบคุณทุกคะแนนเสียงจากพี่น้องประชาชน และยินดีกับว่าที่นายกเทศมนตรีคณะก้าวหน้าทุกคนค่ะ งานหนักรออยู่ เรามีเวลา 4 ปีเพื่อพิสูจน์ว่าผู้บริหารทองถิ่นคณะก้าวหน้าจะสร้างอนาคตใหม่ที่ก้าวหน้าและก้าวไกลกว่าให้กับประชาชนได้แค่ไหน
 
https://twitter.com/Pannika_FWP/status/1376379901117227008
 

 
หนี้ครัวเรือน ฉุดการฟื้นตัวเศรษฐกิจ 
https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/473711
 
การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่เพียงกระทบต่อสุขภาพของคนไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงินของคนไทยอีกด้วย เพราะมาตรการควบคุมการระบาดของโรค ทำให้ครัวเรือนสูญเสียรายได้จากการลดวันทำงาน ลดเงินเดือน หรือกระทั่งเลิกจ้างงาน ขณะที่รายจ่ายหรือหนี้สิน ยังคงมีอยู่เท่าเดิม ทำให้ภาคครัวเรือนมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น
 
ปี 2563 ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อย่างหนัก ทำให้อัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูงที่ 1.69% เพิ่มจากปี 2562 ที่ 0.98% และชั่วโมงการทำงานโดยเฉลี่ยลดลง โดยชั่วโมงการทำงานภาคเอกชนอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงจาก 45.8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรือลดลง 5.7% ขณะที่แรงงานที่ทำงานล่วงเวลา (ทำงานมากกว่า 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) มีจำนวนลดลง 17.1% ซึ่งส่วนหนึ่งทำให้แรงงานมีรายได้ลดลงและอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ
 
ปัญหาหนี้ครัวเรือนจึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นความเปราะบางและความเสี่ยงต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่ยังอยู่ในภาวะความไม่แน่นอนสูง โดยตัวเลขล่าสุดจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่า หนี้ครัวเรือน ณ ไตรมาส 3 ปี 2563 มียอดคงค้างถึง 13.77 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8 แสนล้านบาท จากไตรมาส 4 ปี 2562 ที่มียอดรวม 13.49 ล้านล้านบาท หรือหากคิดเป็นสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) สูงถึง 86.6% เพิ่มขึ้นจาก 79.9%ต่อจีดีพี ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2562
 
แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นมาก มาจากการหดตัวของเศรษฐกิจที่เป็นผลกระทบของโควิด-19 โดยเฉพาะไตรมาส 2 ที่เศรษฐกิจไทยหดตัวถึง 12% ซึ่งถือว่า เป็นระดับตํ่าสุดของวิกฤติครั้งนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยสูงเกือบ 40 ล้านคนหายไป ขณะที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวสูงเกือบ 12% ของจีดีพีไทย
 
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงถึง 86.6% ต่อจีดีพีนั้น เป็นสถิติสูงสุดในรอบ 18 ปี และยังมีสัญญาณการเร่งตัวขึ้นของการก่อหนี้ก้อนใหม่ โดยเฉพาะหนี้เพื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงหนี้ก้อนใหญ่ อย่างหนี้เพื่อการประกอบอาชีพและหนี้เช่าซื้อรถยนต์ และหนี้เพื่ออุปโภคบริโภค เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จึงมีความเป็นไปได้ที่สัดส่วนหนี้ครัวเรือนของไทย จะขยับขึ้นไปยืนเหนือระดับ 90% ต่อจีดีพีในช่วงสิ้นปี 2563 และมีโอกาสเร่งขึ้นต่อในปี 2564 โดยอาจเพิ่มขึ้นมาที่ 91.0% ต่อจีดีพี หรืออาจสูงกว่านั้น หากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากโควิดมากกว่าที่ประเมินไว้
 
ล่าสุดศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังออกมาเปิดเผยผลสำรวจความเห็นครัวเรือนจาก 300 ตัวอย่างในช่วงต้นเดือนมีนาคมพบว่า ส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง 56.2% โดยกลุ่มที่รายได้ลด ยังคงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 70% ซึ่งเป็นประเด็นค่าครองชีพ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภาระหนี้ต่อรายได้ (DSR) มากกว่า 50% ของรายได้ต่อเดือน ซึ่งมีประมาณ 10.8% ของกลุ่มตัวอย่าง จึงมีความเสี่ยงต่อวิกฤติด้านสถานะทางการเงิน
 
ดังนั้นแนวโน้มหนี้ครัวเรือนปี 2564 ยังขยับขึ้นอีกเป็น 89.5%ต่อจีดีพี เพราะยังภาระหนี้ที่อยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือทางการเงินทั้งภาคธุรกิจ เอสเอ็มอี และบุคคลธรรมดาที่เดือดร้อนจากโควิด ซึ่งจากยอดหนี้ครัวเรือนคงค้างเกือบ 14 ล้านล้านบาทนั้น มีหนี้ที่ยังอยู่ภายใต้มาตรการช่วยเหลือประมาณ 2.79 ล้านล้านบาท คิดเป็น 19.9% ของหนี้ครัวเรือนทั้งหมด
 
ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่แค่ประเทศไทยประเทศเดียว เนื่องจากประเทศอื่นก็อยู่ในสถานการณ์ที่หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ผลจากวิกฤติโควิด-19 ที่กระจายไปทั่วโลกและกระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้างเช่นกัน แม้ว่าเศรษฐกิจแต่ละประเทศจะทยอยฟื้นตัว แต่ยังบนความไม่แน่นอนค่อนข้างมาก เพราะยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพในการกระจายวัคซีน การกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติจะทำได้เร็วเพียงใด และแม้จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา แต่ก็ยังไม่มั่นใจว่า กำลังซื้อจะอยู่ในระดับเดิมหรือไม่ เพราะแต่ละประเทศต่างก็มีผลกระทบด้านรายได้ไม่ต่างจากไทย และปัญหาภัยแล้ง
 
นอกจากนั้นปัญหาขาดการออมของคนไทย ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หนี้ครัวเรือนของไทยเพิ่มขึ้น โดยจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนในปี 2562 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พบว่า ครัวเรือนไทยมีเงินออมตํ่าเฉลี่ยเพียง 133,256 บาทต่อครัวเรือน และยังเริ่มออมช้า ซึ่งจากการศึกษาของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เองก็พบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยเริ่มวางแผนการออมที่อายุ 42 ปี ขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่มวางแผนการออมตั้งแต่อายุ 30ปี และเมื่อพิจารณาการลงทุนของครัวเรือนไทย ยังพบว่า ในปี2562 ครัวเรือนที่ลงทุนคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2.2% ของครัวเรือนทั้งหมด อีกทั้งคนไทยยังมีการก่อหนี้ในระดับสูง
 
ดังนั้นมองไปข้างหน้า ภาระหนี้ครัวเรือน จึงเป็นโจทย์สำคัญ หลังผ่านวิกฤติโควิด-19 ส่วนหนึ่งเพื่อเตรียมตัวรองรับสังคมสูงวัยด้วย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่