JJNY : เว็บวิชาการด้านการทหารแนะ 6 วิธีทำไอโอ│ปตท.สผ.ไม่สามารถเข้าพื้นที่เอราวัณได้│"นิพิฏฐ์"อัด ไม่มีมารยาท│โฆษกกล้าปูด

เว็บวิชาการด้านการทหาร แนะกองทัพ 6 วิธี ทำไอโอยังไง ไม่ให้โดนแบน!
https://www.matichon.co.th/politics/news_2609167

เว็บวิชาการด้านการทหาร แนะกองทัพ 6 วิธี ทำไอโอยังไง ไม่ให้โดนแบน!
 
จากกรณีเฟสบุ๊ก ผู้ให้บริการโซเชียลมีเดียรายใหญ่ที่สุดในโลก ออกมาเปิดเผยว่าได้ทำการปิดเพจเฟซบุ๊กและกลุ่มเฟซบุ๊กมากกว่า 185 บัญชี ซึ่งเป็นบัญชีอวตาร และพบหลักฐานอย่างชัดเจนว่าโยงกับกองทัพไทย มีลักษณะการเป็นบัญชีส่วนหนึ่งของปฎิบัติการด้านข้อมูลข่าวสาร หรือสงครามจิตวิทยา โดยมีเป้าหมายพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
โดยก่อนหน้านี้ไม่นาน ทวิตเตอร์ ก็เพิ่งประกาศปิดบัญชีที่ใช้ในปฎิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือ ไอโอ เป็นจำนวนมากในไทย ซึ่งให้ข้อมูลโจมตีฝั่งตรงข้ามรัฐบาลและเชื่อมโยงกับกองทัพเช่นกันจนมีข่าวดังไปทั่วโลก รวมถึง การอภิปรายทั่วไป อภิปรายพรบ.งบประมาณ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ครั้งล่าสุด ก็มีการเปิดเผยข้อมูลหลักฐานจำนวนมากเกี่ยวกับการสั่งการทำปฎิบัติการไอโอในไทยโจมตีทางการเมืองในไทย
 
เล่าสุดเว็บไซต์ ThaiArmedForce.com เพจความรู้ด้านการทหาร ได้ออกมาให้ความเห็นและข้อมูล แนะนำการทำปฎิบัติการข้อมูลข่าวสาร โดยมีข้อสรุป 6 ข้อ อาทิ
 
1. หลีกเลี่ยงการใช้ระบบแม่ข่าย-ลูกข่าย หรือการเปิดบัญชีกลางหรือสำนักกลางและให้บัญชีต่าง ๆ แชร์หรือคัดลอกบทความหรือสื่อไปซ้ำ ๆ ซึ่งยังไงก็มีความเสี่ยงสูงที่จะผิดกฎ CIB ไม่ว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไรก็ตาม
 
2. เราเข้าใจดีว่าการผลิตสื่อแม่แบบเพื่อกระจายไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ให้โพสนั้นเป็นวิธีการที่ง่ายและมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมผลลัพธ์ของสารที่จะสื่อได้ รวมถึงกำลังพลในหน่วยต่าง ๆ อาจจะไม่มีคนที่มีความสามารถมากพอที่จะผลิตสื่อได้ทุกหน่วย แต่ที่จะบอกก็คือวิธีนี้มักใช้ในยุคที่ใบปลิวใช้งานได้ผล ซึ่งไม่ใช่ปัจจุบันที่เป็นยุคดิจิตอล
 
3. หยุดการตั้ง KPI ในเชิงปริมาณ เน้นที่ KPI ในเชิงคุณภาพ เช่น ในปัจจุบันเราทราบกันดีว่าจำนวนคนกดไลน์หรือยอดแชร์ไม่ใช่สิ่งที่จะวัดความสำเร็จของเนื้อหา หากแต่เป็นปฏิสัมพันธ์หรือ Engagement ต่างหากที่วัดได้จริง เพราะถ้าเราจะสังเกตก็คือ หลายเพจหลายกลุ่มของหน่วยงานรัฐมีการโพสเนื้อหาเป็นจำนวนมาก แต่มีคนที่มามีปฏิสัมพันธ์ด้วยน้อยมาก การตอบแบบใส่ภาพ GIF หรือตอบแบบใช้ข้อความซ้ำ ๆ กันเช่น โพสซ้ำ ๆ ว่าเป็นกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วน นอกจากจะไม่ช่วยให้ปฏิสัมพันธ์ดีขึ้นแล้ว ยังอาจถูก Algorithm ของ Facebook จับได้ว่าเป็น Spam ด้วย
 
4. พัฒนากำลังพลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตรงนี้เราเข้าใจดีกว่าเป็นเรื่องยาก เพราะการบริหารงานของกองทัพและหน่วยงานความมั่นคงนั้นมักเป็นระบบ Top-Down คือสั่งการให้ปฏิบัติและรับไปปฏิบัติ ซึ่งผู้สั่งการก็เป็นนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่มักจะใช้งาน Social Media ไม่คล่องหรือตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลงนี้ คำสั่งที่ออกมาจึงไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร และยิ่งผู้ปฏิบัติต้องรับมาปฏิบัติอย่างเดียว เสนอความเห็นแย้งไม่ได้ จึงทำให้การดำเนินการไม่เกิดผล
 
5. หนทางหนึ่งที่จะทำได้คือ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสอบใบรับรองหรือ Certificate ของเจ้าของผลิตภัณฑ์อย่าง Facebook ถือเป็นทางเลือกที่ดีมาก เพราะข้อสอบก็ไม่ใช่ง่าย ๆ ทำให้ก่อนจะสอบได้ กำลังพลจะต้องไปเรียนรู้และฝึกฝนตนเองจนมีความรู้พอจะมาสอบ ซึ่งสามารถทำได้โดยการใช้งบฝึกอบรมไปลงเรียนหลักสูตรต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนมีเปิดสอนเป็นจำนวนมาก เมื่อได้ความรู้มาแล้วก็มาสอบจนได้รับใบรับรอง ซึ่งก็จะทำให้เรามีความรู้ในระดับที่สามารถวางแผนการใช้ Facebook ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับเงินภาษีประชาชน เงิน 350 เหรียญสหรัฐที่ กอ.รมน.เคยจ่ายไปในการซื้อโฆษณา ก็จะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
 
6. สุดท้าย เราคงแนะนำไม่ได้ละเอียดมาก เพราะจะนอก Topic ของเพจของเราและเรามีกฎข้อห้ามอยู่ว่า เราพูดอะไรได้หรือไม่ได้ 
แต่เราจะขอแนะนำสั้น ๆ ก็คือ 

กองทัพและหน่วยงานความมั่นคง ควรกลับมาทำงานตามหน้าที่ของตน อย่าทำงานนอกเหนือหน้าที่ หรือไปทำงานในที่ที่ไม่ใช่หน้าที่ หรือไปเข้าใจเอาเองว่า งานนั้นคือหน้าที่ของตนครับ
 

 
ปตท.สผ. มึน! ไม่สามารถเข้าพื้นที่เอราวัณได้ หวั่นส่งผลกระทบความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซ 
https://www.khaosod.co.th/economics/news_6070660
 
นายพงศธร ทวีสิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่าหลังจากที่ บริษัท ปตท.สผ. เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ปตท.สผ. อีดี) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้ชนะการประมูลในโครงการ G1/61 หรือแหล่งเอราวัณ เมื่อเดือนก.พ. 2562 ที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้พยายามประสานงานกับผู้รับสัมปทานปัจจุบันของแหล่งเอราวัณมาโดยตลอด เพื่อเตรียมความพร้อมในการผลิตก๊าซธรรมชาติให้ได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อ ปตท.สผ. อีดี เข้าเป็นผู้ดำเนินการต่อในปี 2565
 
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 1 ตั้งแต่เดือนส.ค. 2562 เพื่อให้ ปตท.สผ. อีดี เข้าสำรวจพื้นที่เท่านั้น แต่เมื่อเข้าสู่การเจรจาข้อตกลงเข้าพื้นที่ระยะที่ 2 เพื่อเข้าดำเนินการติดตั้งแท่นหลุมผลิตและเจาะหลุมผลิต ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเตรียมการผลิต ผู้รับสัมปทานปัจจุบันของแหล่งเอราวัณไม่ยินยอมให้เข้าดำเนินการดังกล่าว แม้ ปตท.สผ. อีดี จะพยายามสรุปการทำข้อตกลงเข้าพื้นที่ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2563 โดยการเข้าดำเนินการในพื้นที่จะไม่กระทบต่อการผลิตของผู้รับสัมปทานปัจจุบัน รวมถึงยอมรับเงื่อนไขทั้งหมดในการเข้าพื้นที่ ตามที่ผู้รับสัมปทานปัจจุบันต้องการ เช่น การรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานของ ปตท.สผ. อีดี เป็นต้น
 
ปตท.สผ. มีความพยายามที่จะเจรจาเพื่อเข้าพื้นที่โครงการ G1/61 มาโดยตลอด โดยอยากขอโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้รับสัมปทานปัจจุบัน ร่วมกับการประสานงานจากทางหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากมองว่าความร่วมมืออย่างจริงใจจากทุกฝ่ายเป็นการทำโดยยึดผลประโยชน์ของคนไทยและประเทศชาติเป็นหลัก ซึ่งการที่ ปตท.สผ. ยินยอมที่จะปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเข้าพื้นที่ตามที่ผู้รับสัมปทานรายปัจจุบันเสนอมา ถือเป็นการแสดงความจริงใจในการพยายามที่จะรักษาความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ ทำให้รู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งที่การเจรจาไม่เป็นผล ซึ่งการที่ปตท.สผ. ไม่สามารถเข้าพื้นที่แหล่งเอราวัณได้ จะมีผลกระทบกับความต่อเนื่องในการผลิตก๊าซธรรมชาติเพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลังงานของประเทศ” นายพงศธร กล่าว
 
ทั้งนี้ ปตท.สผ. อีดี ได้ลงนามในสัญญาแบ่งปันผลผลิตเมื่อเดือนก.พ. 2562 เพื่อเป็นผู้ดำเนินการโครงการ G1/61 (แหล่งเอราวัณ) และโครงการ G2/61 (แหล่งบงกช) ภายหลังสัญญาสัมปทานของทั้งสองแหล่งสิ้นสุดในปี 2565-2566 โดยในส่วนของแหล่งเอราวัณนั้น บริษัทได้เตรียมแผนการเปลี่ยนผ่านสิทธิการดำเนินการ เพื่อให้สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้ตามสัญญาไม่น้อยกว่า 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สำหรับโครงการ G1/61 นั้น ปตท.สผ. อีดี ได้ร่วมทุนกับบริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด ในสัดส่วนการลงทุน 60% และ 40% ตามลำดับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่