⚀มาลาริน/อุ่นใจได้ค่ะ...คลังแจงสถานการณ์คลังยังแข็งแกร่ง ไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

เพี้ยนปักหมุดอาคม”ยันประเทศไม่เข้าข่ายล้มละลาย



นานาโอเคอาคม”แจงภูมิคุ้มกันประเทศยังดี ไม่จ่อล้มละลาย ระบุ ทุนสำรอง และ ฐานะการคลังแข็งแกร่ง ขณะที่ หนี้สาธารณะยังอยู่ในเพดาน ยันภาครัฐพร้อมกระตุ้นเศรษฐกิจและลงทุน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเนื่อง และจำเป็นการปฏิรูปรายได้เพื่อให้ภาครัฐมีความมั่นคงในการใช้จ่าย
 
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวในหัวข้อ”แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19”ในงานสัมมนา”พลิกสูตรวัคซีนสู้โควิด พลิกวิกฤตเศรษฐกิจไทย”ซึ่งจัดโดยเครือมติชน โดยยืนยันรัฐบาลมีภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจที่ดี สะท้อนจากเครื่องชี้ทั้งในแง่จีดีพีที่สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง ระดับทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง ฐานะการคลังอยู่ในระดับที่ดี และ ระดับหนี้สาธารณะที่ยังคงยืนในกรอบความยั่งยืน ดังนั้น ตามที่มีข่าวปรากฎในสื่อว่า เศรษฐกิจประเทศจะเข้าสู่การล้มละลายนั้น ไม่เป็นความจริง

อมยิ้ม33เขากล่าวว่า วัคซีนทางเศรษฐกิจ ถือเป็นภูมิคุ้มกันระดับประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีภูมิคุ้มกันเช่นกัน ซึ่งการบริหารจัดการความเสี่ยงก็เป็นภูมิคุ้มกันอย่างหนึ่ง ขณะนี้ ปรากฏข่าว ประเทศจะล้มละลาย ซึ่งตัวชี้วัดจะมี 3 ระดับ

➡️อันดับหนึ่ง คือ จีดีพี ต้องเติบโตต่อเนื่องและมั่นคง จะสูงต่ำไม่เป็นไร แต่ต้องต่อเนื่อง บางทีอยากได้ 5-8% แต่เศรษฐกิจเราใหญ่มากอันดับสองอาเซียน จะเติบโต 1% ต้องใช้แรงอย่างมาก

➡️อันดับสอง ฐานะการเงินประเทศเป็นอย่างไร ซึ่งหมายถึงทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเรา ปัจจุบันอยู่ที่ 2-3 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าเอาเงินมาชำระหนี้ระยะสั้นก็ได้ถึง 3 เท่า แสดงถึงฐานะมั่นคง

➡️อันดับสาม การเงินการคลังในประเทศ ซึ่งต้องดูฐานะการคลัง ก็มีเงินสำรองเช่นกัน ก็เรียนว่า ยังมั่นคงอยู่ ฉะนั้น ข้อมูลปรากฏในสื่อว่าประเทศจะล้มละลาย ไม่ใช่ 
 
➡️อันดับที่สี่ คือ ระดับหนี้สาธารณะ ปัจจุบันอยู่ที่ 50% ของจีดีพี ซึ่งถามว่า สูงไหม เรากำหนดเพดานไม่เกิน 60%ต่อจีดีพี ที่ขึ้นมาในระดับ 50% เพราะโควิด-19 จำเป็นต้องกู้เพื่อให้มีเงินใช้จ่ายเพื่อรับมือ ลำพังงบประจำปีนั้น ไม่ได้ เพราะผูกพันส่วนราชการหมด เราก็นำมาแก้ไขเฉพาะหน้า ทั้งอุปกรณ์การแพทย์ที่เพียงพอ เยียวยาผู้ที่ได้รับผบกระทบ และฟื้นฟูเศรษฐกิจ

“ปีที่แล้วเราปิดประเทศ ล็อกดาวน์ไป สองเดือน กิจกรรมเศรษฐกิจไม่มี คนก็ไม่มีงานทำ และเมื่อเยียวยาเสร็จแล้ว ก็ต้องฟื้นฟู ฉะนั้น ก็กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ทำให้หนี้เพิ่มขึ้น แต่หนี้ที่เพิ่ม ไม่ใช่เราประเทศเดียว ทุกประเทศในโลก ธนาคารโลก ไอเอ็มเอฟเอง ก็ต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินให้ภาคการคลังใช้จ่ายเงิน ฉะนั้น เวลานี้ ทั่วโลกก็หนี้เพิ่มขึ้น ในประเทศแล้วสูงกว่า 100% แต่ของเรากำหนดไว้เกิน 60% แสดงภูมิคุ้มกันที่ดี”
 
เขากล่าวด้วยว่า ภูมิคุ้มกันอันดับสอง คือ ภูมิคุ้มกันกลุ่ม คือ ภาคการผลิต โฟกัสไปที่ท่องเที่ยว ก็เจอปัญหาทุกประเทศ ที่โควิด-19 กระทบเรื่องรายได้ภาคการผลิต เกษตร อุตสาหกรรม และท่องเที่ยว โดยภาคเกษตรก็กระทบ เพราะเป็นวัตถุดิบอาหารป้อนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งจะกระทบมากน้อยขึ้นอยู่กับว่า มีการกระจายความเสี่ยงมากแค่ไหน สำหรับภูมิคุ้มกันอันดับสาม คือ ในระดับประชาชนและแรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับเงินออมเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบัน เราก็มีระบบการออมรองรับ ทั้งในภาคบังคับและสมัครใจ
 
การเช็คสิทธิ์ 'เราชนะ' ลงทะเบียน เตรียมรับเงินเยียวยาโควิด 7,000 บาท
เช็คสิทธิ์ 'เราชนะ' ลงทะเบียน เงินงวดแรกเข้าพรุ่งนี้ บัตรคนจน เช็คที่นี่
'เราชนะ' ลงทะเบียน ร้านค้า เช็คสิทธิ ถุงเงิน เตรียมใช้จ่าย 'เงินเยียวยา' วันนี้!

เขากล่าวด้วยว่า สถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงที่เกิดโควิด-19 ในปีที่แล้วกับปีนี้ มีความแตกต่างกัน โดยรอบแรก กิจกรรมเศรษฐกิจปิดหมด เราให้ความสำคัญกับการดูแลระบบสาธารณสุข แต่รอบนี้ เราให้ความสำคัญทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังสามารถเดินต่อไปได้
“ปีนี้เราต้องบาลานซ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการแพร่ระบาด เราไม่ได้หยุดกิจกรรมเศรษฐกิจทั้งหมด เราหยุดในจุดที่สุ่มเสี่ยงแหล่งแพร่เชื้อ โดยเฉพาะสถานบันเทิงต่างๆ ขณะที่ ระบบโลจิสติกส์ ร้านอาหารไม่กระทบ ในเดือนธ.ค.-ม.ค.การใช้จ่ายโครงการคนละครึ่ง ยอดใช้จ่ายยังเพิ่ม ไม่ได้หยุดเลย แสดงว่า การดำเนินชีวิตยังดำเนินอยู่ นี่คือ ความแตกต่าง”

สำหรับแนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลยังคงผลักดันให้เกิดการลงทุนในภาครัฐ เพื่อเตรียมตัวรองรับหลังสิ้นสุดสถานการณ์โควิด - 19 ซึ่งจะดำเนินการควบคู่ไปกับการเยียาวยาและการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ก็ดำเนินการอยู่ ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะต้องปฏิรูปโครงสร้างรายได้ เพื่อให้มั่นใจว่า เรามีภูมิคุ้มกันเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายของรัฐบาลในอนาคต
ทั้งนี้ รัฐบาลจะให้ความสำคัญในการสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมในอนาคต อาทิ ดิจิทัล การท่องเที่ยว ออนไลน์ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/920861

เพี้ยนปักหมุดโฆษกรบ. เผย ศก.ไทยผ่านจุดตกต่ำแล้ว บอก เงินคงคลังเข้มแข็ง งบประมาณลงทุนเพียงพอ


นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยในปัจจุบันว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยถือว่ามีสัญญาณที่ดี มีรายงานจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลังออกมาให้ข้อมูลว่าช่วงเดือนธ.ค. 2563 ตัวเลขต่างๆ ถือว่าดี เช่นการขยายการส่งออก มีการขยายตัวครั้งแรกในรอบ8 เดือน อยู่ที่ร้อยละ4.7 อัตราเงินเฟ้อต่ำ ทุนสำรองสูง ผ่านพ้นจุดที่ตกต่ำมาแล้ว และ ในปี2564 ตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆจะดีขึ้น
 
อีกทั้งสำนักงานบลูมเบิร์ก ประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่า เป็นประเทศที่น่าสนใจอันดับ1 ใน17 ประเทศของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำให้มีแรงดึงดูดจากเงินทุนต่างประเทศ รวมทั้ง ดัชนีสุขภาพของไทยติด1ใน10 ประเทศแรกของโรค ส่วนการจัดเก็บรายได้ของไทยระหว่างปี 2557- 2563 ถือว่าขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี มีเพียง3 ปี ที่จัดเก็บลดลงจากปีก่อนหน้า คือ 2557 ,2560 และ 2563 โดยปี 2563 สาเหตุที่จัดเก็บภาษีได้น้อยที่เกิดผลประทบจากโควิด19 ที่รัฐบาลออก มาตรการภาษีช่วยเหลือประชาชน และ มาตรการช่วยผู้ประกอบการต่าง จึงจัดเก็บรายได้น้อยลง

นายอนุชา กล่าวต่อว่า สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ชี้แจงว่าสภาพเงินคงคลัง มีเพียงพอในการดำเนินนโยบาย และการลงทุนต่างๆ โดยเงินคงคลังปลายงวดปี 2563 มากกว่าเงินคงคลังปลายปี 2562 ร้อยละ 49.5 และหนี้สาธารณะไม่เกินกรอบที่กฎหมายร้อยละ60

https://siamrath.co.th/n/217398

เพี้ยนปักหมุดคลังแจงประเด็นสถานการณ์เศรษฐกิจไทย ฐานะการคลัง และการดูแลคนตัวเล็ก



จากกรณีที่มีผู้วิจารณ์ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยแย่ลงเรื่อย ๆ ฐานะการคลังมีความเปราะบางจน อาจนำไปสู่การล้มละลายทางการคลัง และรัฐบาลไม่ดูแลประชาชนและผู้ประกอบการรายเล็กรายน้อย

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังขอชี้แจงประเด็นข้อวิจารณ์ดังกล่าว ดังนี้
ประเด็นเศรษฐกิจและฐานะการคลัง สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันส่งสัญญาณดีขึ้น จากรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม 2563 ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังชี้ว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นทั้งในด้านอุปสงค์จากต่างประเทศ และอุปสงค์ในประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าที่กลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือน ที่ร้อยละ 4.7 ต่อปี ประกอบกับเครื่องชี้การบริโภคในหมวดสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ จากสถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้วและจะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ โดยล่าสุด สำนักข่าว Bloomberg ได้ประเมินมุมมองอนาคตเศรษฐกิจของไทยปี 2564 ว่าเป็นประเทศที่น่าสนใจเป็น อันดับ 1 ใน 17 ประเทศในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging Market Economies) สะท้อนได้จากเงินสำรองระหว่างประเทศในระดับสูง ความแข็งแกร่งในภาคการเงินระหว่างประเทศและศักยภาพในการดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ อีกทั้ง Bloomberg ได้เผยแพร่ดัชนีประสิทธิภาพของระบบรักษาสุขภาพ (Bloomberg Heath-Efficiency Index 2020) โดยชื่นชมประเทศไทยว่าเป็นหนึ่งในสิบอันดับแรก (อันดับที่ 9) ของประเทศที่มีระบบรักษาสุขภาพที่มีประสิทธิภาพสูงเหนือกว่าอีกหลายประเทศจากกลุ่มตัวอย่าง 57 ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ แสดงให้เห็นถึงระบบสาธารณสุขของไทยที่มีประสิทธิภาพสูง

ในส่วนของการจัดเก็บรายได้รัฐบาลจะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ โดยในช่วงปีงบประมาณ 2557 – 2563 การจัดเก็บรายได้รัฐบาลขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก 2,074,660 ล้านบาท เป็น 2,391,570 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 2.1 ต่อปี (Compound Annual Growth Rate) ซึ่งมีเพียงปีงบประมาณ 2557 2560 และ 2563 ที่การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิลดลงจากปีก่อนหน้า โดยในปีงบประมาณ 2563 รายได้รัฐบาลลดลง เนื่องจากผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย และการออกมาตรการทางภาษีเพื่อบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นเร่งด่วน

นอกจากนี้สถานการณ์ทางการคลังประเทศไทยในปัจจุบันยังอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง โดยฐานะทางการคลังมีความมั่นคงและมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ระดับเงินคงคลังยังอยู่ในระดับที่เพียงพอสามารถรองรับการเบิกจ่ายงบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ และการดำเนินนโยบายต่าง ๆ 

เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไป ทั้งนี้ ระดับเงินคงคลังปลายงวด ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 อยู่ที่ 473,001 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าเงินคงคลังปลายงวด ณ สิ้นปีงบประมาณก่อนหน้า ถึงร้อยละ 49.5 นอกจากนี้ ในส่วนของหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 8.1 ล้านล้านบาท โดยมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เท่ากับร้อยละ 52.1 ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังที่กำหนดให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 และซึ่งหนี้ที่เกิดขึ้นเป็นการนำไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งผลให้เกิดการจ้างงานและช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

https://www.moneyandbanking.co.th/article/mof-explain-04022021

อุ่นใจ...การเงินการคลังของไทยยังแข็งแกร่งค่ะ...นานาเยี่ยม

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่