มัมมี่อียิปต์ลิ้นทองคำถูกพบในวิหาร Taposiris Magna




นักโบราณคดีคาดว่า ลิ้นทองคำอาจมีไว้ให้ผู้ตายใช้พูดจากับเทพโอไซริสในปรโลกได้
Cr.EGYPTIAN MINISTRY OF ANTIQUITIES


ทีมนักโบราณคดีของอียิปต์และมหาวิทยาลัย Santo Domingo แห่งสาธารณรัฐโดมินิกัน นำโดย Kathleen Martinez ได้ขุดพบมัมมี่ร่างหนึ่งซึ่งมีอายุเก่าแก่ราว 2,000 ปี โดยมัมมี่ดังกล่าวมีลิ้นที่ทำจากแผ่นทองคำอยู่ในปาก  การค้นพบครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นที่วิหาร "ทาโปไซริส แม็กนา" (Taposiris Magna) ในเมืองอเล็กซานเดรียของอียิปต์ ซึ่งนักโบราณคดีบางกลุ่มเชื่อกันว่า วิหารแห่งนี้อาจเป็นสุสานที่ฝังร่างพระนางคลีโอพัตราที่ 7 ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในประวัติศาสตร์
และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ทำไมต้องการประดิษฐ์เครื่องรางขึ้นเป็นรูปลิ้นจากแผ่นทองคำ แล้วนำเข้าไปไว้แทนที่อวัยวะจริงในช่องปาก แต่อาจเป็นได้ว่า
ผู้ตายมีความพิการหรือความผิดปกติทางการพูด จึงจำเป็นต้องมีลิ้นใหม่เพื่อใช้พูดจากับเทพโอไซริส (Osiris) ผู้พิพากษาตัดสินวิญญาณของคนตายในปรโลก

มัมมี่ลิ้นทองคำร่างนี้อยู่ในช่องเก็บศพ ซึ่งเจาะเข้าไปในก้อนหินขนาดใหญ่ ที่ขุดพบพร้อมกับมัมมี่อื่น ๆ อีก 15 ร่างที่มีสภาพไม่สมบูรณ์นัก โดยทีมนักโบราณคดีผู้ค้นพบคาดว่า มัมมี่เหล่านี้เคยมีชีวิตอยู่ในยุคราชวงศ์ทอเลมี (Ptolemy)  และส่วนหนึ่งเป็นองครักษ์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ที่ปกครองอียิปต์ในช่วง 323-282 ก่อนคริสตกาล มาจนถึงยุคที่จักรวรรดิโรมันเริ่มเข้ามาปกครองอียิปต์อย่างเต็มตัวเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้วัฒนธรรมกรีก-โรมันได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างสูงในอียิปต์ ซึ่งทีมงานได้​ตีพิมพ์​เผยแพร่​ผลงาน​การ​ค้นพบ​ครั้งนี้​ลง​ใน​วารสาร​ Live Science


หน้ากากและกล่องบรรจุร่าง (cartonage) ของมัมมี่เพศหญิง
Cr.EGYPTIAN MINISTRY OF ANTIQUITIES


นอกจากมัมมี่ลิ้นทองคำแล้ว ที่ชั้นในของโลงยังพบมัมมี่เพศหญิงที่มีหน้ากากและกล่องบรรจุร่าง (cartonage)  โดยกล่องบรรจุร่างนี้ทำจากปูนปลาสเตอร์ ผ้าลินิน และกาว ปั้นเป็นรูปทรงใบหน้าและลำตัวที่พอดีกับร่างผู้ตาย จากนั้นก็ประดับตกแต่งด้วยทองคำเปลวเป็นรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งมงกุฎ
เขาสัตว์ งูเห่า รวมทั้งสร้อยคอที่มีจี้รูปหัวนกเหยี่ยว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทพฮอรัส

ทั้งนี้ ก่อนหน้ามีการค้นพบเหรียญเงินจำนวนมากภายในกำแพงวิหาร "ทาโปไซริส แม็กนา" มาแล้ว ซึ่งเหรียญเหล่านี้สลักชื่อและภาพใบหน้าของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 ฟาโรห์องค์สุดท้ายของอาณาจักรอียิปต์โบราณ นับเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่า ยังมีการใช้งานวิหารแห่งนี้เพื่อบูชาเทพโอไซริสและเทพีไอซิส ในสมัยที่พระนางครองอำนาจอยู่ ทำให้น่าสงสัยว่าอาจจะเป็นสถานที่ฝังพระศพซึ่งปัจจุบันก็ยังค้นหาไม่พบ

ราชวงศ์ทอเลมี (Ptolemy) เป็นชาวกรีกที่ปกครองอียิปต์ระหว่างช่วง 304 - 30 ปีก่อนคริสตกาล โดยหลังจากพระนางคลีโอพัตราพ่ายแพ้ต่อกองทัพของจักรพรรดิออกัสตัส (Gaius Julius Caesar Augustus) ทำให้อียิปต์ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมันอย่างสมบูรณ์ในที่สุด






Taposiris Magna ซึ่งเป็นที่รู้จักในภาษาอาหรับว่า Abu Sir ก่อตั้งขึ้นในราว 280–270 ก่อนคริสตศักราช โดย Ptolemy II Philadelphus
ประมาณ 45 กิโลเมตรไปทางตะวันตกของ Alexandria ตามชายฝั่งทางเหนือของทะเลสาบ Mareotis  โดยวิหารที่ยิ่งใหญ่ที่น่าประทับใจนี้ มีเพียงกำแพงด้านนอกเท่านั้นที่ยังคงยืนอยู่ในปัจจุบัน ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นศูนย์กลางลัทธิที่สำคัญของเทพเจ้าโอซิริสและไอซิส

อย่างไรก็ตาม การค้นพบทางโบราณคดีรวมถึง Doric column drum กว่าหนึ่งร้อยชิ้นที่ค้นพบในสถานที่แสดงให้เห็นว่า วิหาร Taposiris Magna มีการผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างสถาปัตยกรรมวิหารของอียิปต์และกรีก ดังนั้น กำแพงโดยรอบที่มีเสาสไตล์อียิปต์แห่งนี้ ครั้งหนึ่งน่าจะเคยเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของกรีกที่มีสถาปัตยกรรมแบบ Doric columns 

และตรงข้ามกับวิหารจะมีหอคอยหินที่สร้างขึ้นในสมัยกรีก - โรมัน ซึ่งในปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ Borg El Arab ซึ่งหอคอยนี้ตอนแรก ถูกคิดว่าเป็นหอนาฬิกาหรือประภาคารขนาดเล็กเพราะมีลักษณะคล้ายกับ  Pharos of Alexandria (Lighthouse of Alexandria)
ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยังมีการค้นพบที่สำคัญอีกหลายอย่างได้แก่ หน้ากากศพหญิงมงกุฎทองคำ 8 ชิ้น และหน้ากากหินอ่อน 8 ชิ้นซึ่งเชื่อว่ายังมี
สิ่งประดิษฐ์อีกจำนวนมากที่วิหารแห่งนี้  ปัจจุบัน การขุดค้นในสถานที่ยังคงดำเนินการอยู่ 



มุมมองทางทิศเหนือของTaposiris Magna Osiris


ซากปรักหักพังของหอคอยหิน






(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่