สวนดุสิตโพล ชี้ คนไทยส่วนใหญ่กังวลผลข้างเคียง วัคซีนโควิด-19 พบมีแค่ 20% พร้อมฉีดเลย
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2555390
สวนดุสิตโพล ชี้ คนไทยส่วนใหญ่กังวลผลข้างเคียง วัคซีนโควิด-19 พบมีแค่ 20% พร้อมฉีดเลย
ดุสิตโพลเผยผลสำรวจ คนไทยกับวัคซีนโควิด-19 พบส่วนใหญ่ต้องการฉีด แต่กังวลผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีน แนะหน่วยงานรัฐเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน
สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเรื่อง “
คนไทยกับวัคซีนโควิด-19” โดยสำรวจความเห็นประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,570 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 22-29 มกราคม 2564 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นจากกรณีที่ไทยจะดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ โดยวัคซีนล็อตแรกคือแอสตราเซเนกาจากสหราชอาณาจักร วัคซีนจากซิโนแวคจากจีน และจะมีการผลิตวัคซีนภายในประเทศโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวัคซีนของไทย สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อบริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 ใดบ้าง
อันดับ 1 ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเท็ค (Pfyzer- BioNTech) 64.27%
อันดับ 2 อ๊อกฟอร์ด-แอสตราเซเนกา (Oxford-Astrazeneca) 52.55%
อันดับ 3 ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovec- Biotech) 51.66%
อันดับ 4 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson&Johnson) 35.10%
อันดับ 5 โมเดอร์นา (Moderna) 28.28%
2. ประชาชนมีความกังวลเรื่องใดบ้างในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย
อันดับ 1 ผลข้างเคียงของวัคซีน 82.71%
อันดับ 2 ประสิทธิภาพของวัคซีน 71.96%
อันดับ 3 ความเพียงพอของวัคซีนสำหรับประชาชนทุกคน 54.67%
อันดับ 4 ราคาต่อเข็มของวัคซีนกรณีที่ประชาชนต้องจ่าย 44.17%
อันดับ 5 ยี่ห้อของวัคซีนที่ไทยสั่งซื้อ 38.60%
3. ประชาชนต้องการจะฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
อันดับ 1 ต้องการฉีด แต่ขอรอดูผลข้างเคียงก่อน 65.99%
อันดับ 2 ต้องการฉีด และพร้อมฉีดได้เลย 20.70%
อันดับ 3 ไม่ต้องการฉีด 13.31%
4. ประชาชนเชื่อมั่นว่าวัคซีนจะป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น 63.88%
อันดับ 2 ไม่เชื่อมั่น 19.30%
อันดับ 3 เชื่อมั่น 16.82%
5. เมื่อมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยแล้ว การดูแลสุขภาพของประชาชนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
อันดับ 1 ดูแลเหมือนเดิม 60.83%
อันดับ 2 ดูแลมากขึ้น 35.54%
อันดับ 3 ดูแลน้อยลง 3.63%
นางสาว
พรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า เรื่องวัคซีนโควิด-19 เป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายตั้งคำถามต่อการบริหารงานของรัฐบาล เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของหลายประเทศต่างมีความคืบหน้าอย่างมากในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลใจทั้งในเรื่องยี่ห้อวัคซีน ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง กระบวนการจัดซื้อ ความล่าช้า ราคา และความโปร่งใส นับว่าเรื่องวัคซีนโควิด-19 เป็นโจทย์ที่ท้าทายรัฐบาลอย่างยิ่งในการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน
ด้าน ดร.
วิทวัส รัตนถาวร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลสำรวจในเรื่อง “
คนไทยกับวัคซีนโควิด-19” บ่งชี้ได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ ราคา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการได้รับวัคซีน
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงกับความเชื่อมั่นของประชาชนในด้านความปลอดภัยของวัคซีน โดยสะท้อนจากผลสำรวจที่พบว่า ประชาชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนมากถึงร้อยละ 82.71 ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทางภาครัฐที่ต้องดำเนินการเร่งชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ที่มีความแตกต่างกันของแต่ละบริษัท
โรงแรม 3.7 พันแห่ง ปิดตาย ทุนต่างชาติไล่ทุบราคา “ภูเก็ต-สมุย”
https://www.prachachat.net/tourism/news-604542
วิกฤต ! โรงแรม-ที่พัก 3,700 แห่งในพื้นที่ 20 จังหวัดเข้าคิวปิดกิจการ ศูนย์วิจัยกสิกรฯเผยยอดหนี้คงค้างธุรกิจโรงแรมสูงกว่า 4.19 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดโรงแรม-ที่พักเมืองไทย “โอเวอร์ซัพพลาย” ตั้งแต่ก่อนโควิด ด้วยจำนวน 1.12 ล้านห้อง โรงแรม “ภูเก็ต-สมุย-พัทยา” โคม่าหลังโควิด-19 ระลอกใหม่ทุบซ้ำ แห่ขายยกโครงการ ทุนไทย-ต่างชาติสบช่องกดราคาซื้อต่ำกว่า 50% ชี้หลายรายแจ็กพอตแบงก์เจ้าหนี้ขีดเส้นตาย อสังหาฯอ่วมไม่น้อยหน้าบ้าน-คอนโดฯ ภูเก็ตราคาตกวูบในรอบ 20 ปี
รร. 3,700 แห่งต่อคิวปิดกิจการ
ผู้สื่อข่าว “
ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยถึงผลวิจัยธุรกิจโรงแรมและที่พัก ปี 2564 ยังไม่พ้นวิกฤตจากผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาได้ โดยคาดว่าโรงแรมและที่พักจดทะเบียนในพื้นที่ 20 จังหวัด (พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง) มีความเสี่ยงต้องปิดกิจการถึง 20% หรือประมาณ 3,700 แห่ง จากทั้งหมด 1.84 หมื่นแห่ง และมีแนวโน้มจำนวนมากขึ้น หากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ไม่สามารถควบคุมได้ในไตรมาส 1/2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภูเก็ต กรุงเทพฯ พัทยา และกระบี่ เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จะเป็นกลุ่มโรงแรมราคาประหยัด และโรงแรมขนาดกลาง ที่มีกำไรขั้นต้นต่ำและเน้นรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกรุ๊ปทัวร์ สำหรับกลุ่มโรงแรมระดับบน แม้จะได้เปรียบทางการตลาดและมีความสามารถบริหารต้นทุนได้ดีกว่า แต่ด้วยมูลหนี้ที่สูง ขณะที่รายได้ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากข้อจำกัดที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมที่เพิ่งเปิดใหม่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะได้รับผลกระทบสูงจากปัญหาสภาพคล่อง
ทั้งนี้ กลุ่มโรงแรมและที่พักใน 20 จังหวัดที่มีการพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง อาทิ ภูเก็ต พังงา ยะลา สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) ชลบุรี กระบี่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น โดยมีการจดทะเบียนทั้งสิ้น 1.84 หมื่นแห่ง คิดเป็น 60% ของจำนวนโรงแรมทั้งประเทศ และมีห้องพักจำนวน 8.3 แสนห้อง คิดเป็น 72.4% ของห้องพักทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมกัดฟันเปิดให้บริการประมาณ 50-55%
โอเวอร์ซัพพลายก่อนโควิด
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า จากข้อมูลธุรกิจโรงแรมและที่พักของประเทศไทยก่อนการระบาดของโควิดอยู่ในภาวะ “โอเวอร์ซัพพลาย” อยู่แล้ว โดยโรงแรมและที่พักจดทะเบียนทั่วประเทศมีจำนวน 3.04 หมื่นแห่ง จำนวนห้องพัก 1.12 ล้านห้อง โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงแรมราคาประหยัดและโรงแรมขนาดกลาง ราคาเฉลี่ยประมาณ 1,720 บาท ทั้งนี้ พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยอัตราการเข้าพักทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 69% ซึ่งสะท้อนว่าในภาวะปกติธุรกิจโรงแรมและที่พักในประเทศไทยก็เผชิญกับภาวะอุปทานล้นตลาดอยู่แล้ว
สำหรับ 5 จังหวัดที่มีซัพพลายห้องพักสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 290,000 ห้อง, ภูเก็ต 120,000 ห้อง, ชลบุรี 98,500 ห้อง และเชียงใหม่ 54,610 ห้อง
ขณะที่สินเชื่อคงค้างของผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักทั่วประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3/2563 มูลค่า 4.19 แสนล้านบาท จากจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 16,117 บัญชี
โอกาสที่จะอยู่รอด
รายงานของศูนย์วิจัยระบุว่า แนวโน้มการท่องเที่ยวปี 2564 ยังมีความเสี่ยงสูงจากสถานการณ์โควิดที่ยังรุนแรงในหลายประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 35-40% ในกรณีที่สามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ภายในไตรมาส 1/2564
พร้อมประเมินว่า กลุ่มโรงแรมที่จะอยู่รอดต้องมีฐานตลาดเป็นนักท่องเที่ยวไทย อย่างกลุ่มบูติคโฮเทล กลุ่มที่พักขนาดเล็กที่มีแคแร็กเตอร์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวไทย เป็นกลุ่มที่มีความยืดหยุ่นในการสร้างรายได้จากช่องทางอื่น ๆ เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร การจัดกิจกรรมประชุม/สัมมนา รวมทั้งต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการราคาและอัตราค่าห้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสร้างจุดคุ้มทุนได้จากอัตราเข้าพักเฉลี่ย 35-40%
ทุนไทย-ต่างชาติกดราคาซื้อ
ด้านนายณัฐวุฒิ นำมณีวงศ์ ประธานบริหาร บริษัท เนวิเกเตอร์ไทย จ.ภูเก็ต เจ้าของเพจ Phuket Real Estate Agents บริษัทที่ปรึกษา และตัวแทนรับฝากขาย-เช่าอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และโรงแรมในภูเก็ต ซึ่งได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และโควิด-19 กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก หลายรายปัญหาเข้าขั้นวิกฤต โดยเฉพาะหลังการระบาดระลอกใหม่ เพราะแทบไม่มีคนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวภูเก็ต
ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะขึ้นแบล็กลิสต์ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเป็นพิเศษกับคนภูเก็ต ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้าน คอนโดฯ เห็นได้จากการยื่นขอสินเชื่อถูกปฏิเสธ (reject rate) เกือบทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมในภูเก็ตโดยเฉพาะรายกลางและเล็กเกือบ 90% พากันบอกขายกิจการ เช่นเดียวกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของต้องการขายยกโครงการ โดยยอมลดราคาลง 30-40% แต่ส่วนใหญ่ยังขายไม่ได้ เนื่องจากทั้งทุนไทย และทุนต่างชาติกดราคาซื้อต่ำกว่า 50% ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่เป็นหนี้สถาบันการเงิน จึงตกลงกันไม่ได้ คาดว่าช่วงไตรมาส 2 ปีนี้จะเห็นดีลการซื้อขายชัดเจนขึ้น
“
ทุนต่างชาติที่เข้ามาดูลู่ทางลงทุนมาจากทั่วโลก เช่น จีน, รัสเซีย, ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์, สแกนดิเนเวียน ฯลฯ แต่ละรายจะเข้ามาขอข้อมูล เช็กราคา ไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรร คอนโดฯ โรงแรม”
แบงก์เจ้าหนี้ขีดเส้นตาย
ขณะที่ผู้ประกอบการที่มีปัญหายังลังเล เพราะไม่รู้สถานการณ์จะดีขึ้นหรือไม่ ถ้าวัคซีนโควิดยังไม่ถึงขั้นใช้ได้ปลอดภัยทั้งหมด ภาคท่องเที่ยว อสังหาฯในภูเก็ตคงฟื้นยาก แม้มองว่าหลังโควิดผ่านไป ภูเก็ตมีโอกาสจะฟื้นกลับมาเติบโต แต่กว่าจะถึงวันนั้นไม่รู้จะตายหรือรอด แม้บางรายที่พอมีสายป่านประคองตัวได้ถึงปี 2565 แต่เมื่อไม่มีความชัดเจนก็อาจต้องตัดใจขาย อย่างไรก็ตาม โรงแรมบางแห่งถูกแบงก์เจ้าหนี้ขีดเส้นตายภายในอีกไม่กี่เดือน ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น คงต้องยอมขายราคาถูก ๆ ก่อนจะถูกแบงก์เจ้าหนี้ยึด น่าเห็นใจเจ้าของโรงแรม เพราะแม้แต่ระดับ 5 ดาวหลายแห่ง ถ้าไม่ใช่เชนใหญ่ระดับโลก็เจ็บหนัก ไม่ต่างจากโรงแรมระดับ 4 ดาว 3 ดาว เพราะมีค่าใช้จ่าย
บ้าน-คอนโดฯราคาลงรอบ 20 ปี
นาย
ณัฐวุฒิกล่าวว่า ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ต ทั้งบ้าน คอนโดฯก็อยู่แบบหืดขึ้นคอ ก่อนเกิดโควิดบ้าน คอนโดฯในภูเก็ตราคาสูงมาก แต่ตอนนี้ราคาลดลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 20 ปี แข่งกันลดราคาต่ำลงเป็นพิเศษ อย่างบ้านเดี่ยวใหม่ พื้นที่ 40 ตร.ว. ปกติ 6 ล้านบาทขึ้นไป แต่วันนี้ซื้อได้ 3.7-3.8 ล้านบาท หรือลดลง 30-40% ขณะที่คอนโดฯก็มีคนประกาศขายต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เช่น คอนโดฯช่วง presale ยูนิตละ 3 ล้านบาท แต่ตอนนี้บอกขาย 2.5 ล้านบาท ด้านผู้ประกอบการก็ยอมขายราคาต้นทุน เพื่อเอาทุนคืนมาก่อน แต่ยังหาคนซื้อยาก เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ ในภูเก็ตถ้าใครทำเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวไม่สามารถกู้ซื้ออสังหาฯได้
“
รูปธรรมที่ชัดเจนเห็นได้จากเพจขายอสังหาฯ Phuket Real Estate Agents ช่วงปี 2563 ที่มียอดฝากขายเพิ่ม 100% ถึงวันนี้มากกว่าเดิม 2 เท่า แต่ขายออกยากเพราะสถาบันการเงินคุมเข้มการปล่อยกู้ คนทำงานในธุรกิจท่องเที่ยว อสังหาฯในภูเก็ต จะถูกขึ้นแบล็กลิสต์กู้เงินไม่ได้ กลายเป็นถูกฟรีซไปเลย สำหรับคนที่ฝากขายมีทั้งคนภูเก็ต กับคนจากจังหวัดอื่นที่มาทำงานในภูเก็ต อีกส่วนหนึ่งเป็นทุนกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี เข้ามาลงทุน แต่ขายออกได้น้อยไม่เกิน 10% ของที่ฝากขาย”
JJNY : ดุสิตโพลชี้ส่วนใหญ่กังวลผลข้างเคียงวัคซีน/โรงแรม3.7พันแห่งปิดตาย/สมุทรสาครพุ่ง801คน/พท.ประเมินGDPปี64เหลือ2.2%
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2555390
ดุสิตโพลเผยผลสำรวจ คนไทยกับวัคซีนโควิด-19 พบส่วนใหญ่ต้องการฉีด แต่กังวลผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีน แนะหน่วยงานรัฐเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน
สวนดุสิตโพลมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศเรื่อง “คนไทยกับวัคซีนโควิด-19” โดยสำรวจความเห็นประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,570 คน (สำรวจทางออนไลน์) ระหว่างวันที่ 22-29 มกราคม 2564 เพื่อสะท้อนความคิดเห็นจากกรณีที่ไทยจะดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ โดยวัคซีนล็อตแรกคือแอสตราเซเนกาจากสหราชอาณาจักร วัคซีนจากซิโนแวคจากจีน และจะมีการผลิตวัคซีนภายในประเทศโดยบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางเกี่ยวกับวัคซีนของไทย สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนรู้จักหรือเคยได้ยินชื่อบริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 ใดบ้าง
อันดับ 1 ไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเท็ค (Pfyzer- BioNTech) 64.27%
อันดับ 2 อ๊อกฟอร์ด-แอสตราเซเนกา (Oxford-Astrazeneca) 52.55%
อันดับ 3 ซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovec- Biotech) 51.66%
อันดับ 4 จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson&Johnson) 35.10%
อันดับ 5 โมเดอร์นา (Moderna) 28.28%
2. ประชาชนมีความกังวลเรื่องใดบ้างในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย
อันดับ 1 ผลข้างเคียงของวัคซีน 82.71%
อันดับ 2 ประสิทธิภาพของวัคซีน 71.96%
อันดับ 3 ความเพียงพอของวัคซีนสำหรับประชาชนทุกคน 54.67%
อันดับ 4 ราคาต่อเข็มของวัคซีนกรณีที่ประชาชนต้องจ่าย 44.17%
อันดับ 5 ยี่ห้อของวัคซีนที่ไทยสั่งซื้อ 38.60%
3. ประชาชนต้องการจะฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่
อันดับ 1 ต้องการฉีด แต่ขอรอดูผลข้างเคียงก่อน 65.99%
อันดับ 2 ต้องการฉีด และพร้อมฉีดได้เลย 20.70%
อันดับ 3 ไม่ต้องการฉีด 13.31%
4. ประชาชนเชื่อมั่นว่าวัคซีนจะป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่
อันดับ 1 ค่อนข้างเชื่อมั่น 63.88%
อันดับ 2 ไม่เชื่อมั่น 19.30%
อันดับ 3 เชื่อมั่น 16.82%
5. เมื่อมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทยแล้ว การดูแลสุขภาพของประชาชนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
อันดับ 1 ดูแลเหมือนเดิม 60.83%
อันดับ 2 ดูแลมากขึ้น 35.54%
อันดับ 3 ดูแลน้อยลง 3.63%
นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า เรื่องวัคซีนโควิด-19 เป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายตั้งคำถามต่อการบริหารงานของรัฐบาล เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของหลายประเทศต่างมีความคืบหน้าอย่างมากในการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ความแตกต่างที่เห็นได้ชัด ทำให้ประชาชนเกิดความกังวลใจทั้งในเรื่องยี่ห้อวัคซีน ประสิทธิภาพ ผลข้างเคียง กระบวนการจัดซื้อ ความล่าช้า ราคา และความโปร่งใส นับว่าเรื่องวัคซีนโควิด-19 เป็นโจทย์ที่ท้าทายรัฐบาลอย่างยิ่งในการเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน
ด้าน ดร.วิทวัส รัตนถาวร อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า จากผลสำรวจในเรื่อง “คนไทยกับวัคซีนโควิด-19” บ่งชี้ได้ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจและติดตามข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 ทั้งในด้านของประสิทธิภาพ ราคา และผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ภายหลังจากการได้รับวัคซีน
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ยังส่งผลกระทบโดยตรงกับความเชื่อมั่นของประชาชนในด้านความปลอดภัยของวัคซีน โดยสะท้อนจากผลสำรวจที่พบว่า ประชาชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนมากถึงร้อยละ 82.71 ซึ่งเป็นหน้าที่ของหน่วยงานทางภาครัฐที่ต้องดำเนินการเร่งชี้แจง ทำความเข้าใจกับประชาชนถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนโควิด-19 ที่มีความแตกต่างกันของแต่ละบริษัท
โรงแรม 3.7 พันแห่ง ปิดตาย ทุนต่างชาติไล่ทุบราคา “ภูเก็ต-สมุย”
https://www.prachachat.net/tourism/news-604542
วิกฤต ! โรงแรม-ที่พัก 3,700 แห่งในพื้นที่ 20 จังหวัดเข้าคิวปิดกิจการ ศูนย์วิจัยกสิกรฯเผยยอดหนี้คงค้างธุรกิจโรงแรมสูงกว่า 4.19 แสนล้านบาท ขณะที่ตลาดโรงแรม-ที่พักเมืองไทย “โอเวอร์ซัพพลาย” ตั้งแต่ก่อนโควิด ด้วยจำนวน 1.12 ล้านห้อง โรงแรม “ภูเก็ต-สมุย-พัทยา” โคม่าหลังโควิด-19 ระลอกใหม่ทุบซ้ำ แห่ขายยกโครงการ ทุนไทย-ต่างชาติสบช่องกดราคาซื้อต่ำกว่า 50% ชี้หลายรายแจ็กพอตแบงก์เจ้าหนี้ขีดเส้นตาย อสังหาฯอ่วมไม่น้อยหน้าบ้าน-คอนโดฯ ภูเก็ตราคาตกวูบในรอบ 20 ปี
รร. 3,700 แห่งต่อคิวปิดกิจการ
ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยถึงผลวิจัยธุรกิจโรงแรมและที่พัก ปี 2564 ยังไม่พ้นวิกฤตจากผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถกลับเข้ามาได้ โดยคาดว่าโรงแรมและที่พักจดทะเบียนในพื้นที่ 20 จังหวัด (พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง) มีความเสี่ยงต้องปิดกิจการถึง 20% หรือประมาณ 3,700 แห่ง จากทั้งหมด 1.84 หมื่นแห่ง และมีแนวโน้มจำนวนมากขึ้น หากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ระลอกใหม่ไม่สามารถควบคุมได้ในไตรมาส 1/2564 ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภูเก็ต กรุงเทพฯ พัทยา และกระบี่ เป็นต้น
สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด จะเป็นกลุ่มโรงแรมราคาประหยัด และโรงแรมขนาดกลาง ที่มีกำไรขั้นต้นต่ำและเน้นรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เป็นกรุ๊ปทัวร์ สำหรับกลุ่มโรงแรมระดับบน แม้จะได้เปรียบทางการตลาดและมีความสามารถบริหารต้นทุนได้ดีกว่า แต่ด้วยมูลหนี้ที่สูง ขณะที่รายได้ยังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากข้อจำกัดที่ยังไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรมที่เพิ่งเปิดใหม่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จะได้รับผลกระทบสูงจากปัญหาสภาพคล่อง
ทั้งนี้ กลุ่มโรงแรมและที่พักใน 20 จังหวัดที่มีการพึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติสูง อาทิ ภูเก็ต พังงา ยะลา สุราษฎร์ธานี (เกาะสมุย) ชลบุรี กระบี่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น โดยมีการจดทะเบียนทั้งสิ้น 1.84 หมื่นแห่ง คิดเป็น 60% ของจำนวนโรงแรมทั้งประเทศ และมีห้องพักจำนวน 8.3 แสนห้อง คิดเป็น 72.4% ของห้องพักทั้งประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีโรงแรมกัดฟันเปิดให้บริการประมาณ 50-55%
โอเวอร์ซัพพลายก่อนโควิด
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า จากข้อมูลธุรกิจโรงแรมและที่พักของประเทศไทยก่อนการระบาดของโควิดอยู่ในภาวะ “โอเวอร์ซัพพลาย” อยู่แล้ว โดยโรงแรมและที่พักจดทะเบียนทั่วประเทศมีจำนวน 3.04 หมื่นแห่ง จำนวนห้องพัก 1.12 ล้านห้อง โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มโรงแรมราคาประหยัดและโรงแรมขนาดกลาง ราคาเฉลี่ยประมาณ 1,720 บาท ทั้งนี้ พบว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ค่าเฉลี่ยอัตราการเข้าพักทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 69% ซึ่งสะท้อนว่าในภาวะปกติธุรกิจโรงแรมและที่พักในประเทศไทยก็เผชิญกับภาวะอุปทานล้นตลาดอยู่แล้ว
สำหรับ 5 จังหวัดที่มีซัพพลายห้องพักสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 290,000 ห้อง, ภูเก็ต 120,000 ห้อง, ชลบุรี 98,500 ห้อง และเชียงใหม่ 54,610 ห้อง
ขณะที่สินเชื่อคงค้างของผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักทั่วประเทศ ณ สิ้นไตรมาส 3/2563 มูลค่า 4.19 แสนล้านบาท จากจำนวนลูกค้าทั้งสิ้น 16,117 บัญชี
โอกาสที่จะอยู่รอด
รายงานของศูนย์วิจัยระบุว่า แนวโน้มการท่องเที่ยวปี 2564 ยังมีความเสี่ยงสูงจากสถานการณ์โควิดที่ยังรุนแรงในหลายประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยกดดันอัตราการเข้าพักของโรงแรมที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 35-40% ในกรณีที่สามารถควบคุมการระบาดระลอกใหม่ได้ภายในไตรมาส 1/2564
พร้อมประเมินว่า กลุ่มโรงแรมที่จะอยู่รอดต้องมีฐานตลาดเป็นนักท่องเที่ยวไทย อย่างกลุ่มบูติคโฮเทล กลุ่มที่พักขนาดเล็กที่มีแคแร็กเตอร์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์นักท่องเที่ยวไทย เป็นกลุ่มที่มีความยืดหยุ่นในการสร้างรายได้จากช่องทางอื่น ๆ เช่น ภัตตาคาร ร้านอาหาร การจัดกิจกรรมประชุม/สัมมนา รวมทั้งต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการราคาและอัตราค่าห้องอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสร้างจุดคุ้มทุนได้จากอัตราเข้าพักเฉลี่ย 35-40%
ทุนไทย-ต่างชาติกดราคาซื้อ
ด้านนายณัฐวุฒิ นำมณีวงศ์ ประธานบริหาร บริษัท เนวิเกเตอร์ไทย จ.ภูเก็ต เจ้าของเพจ Phuket Real Estate Agents บริษัทที่ปรึกษา และตัวแทนรับฝากขาย-เช่าอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ต เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และโรงแรมในภูเก็ต ซึ่งได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจ และโควิด-19 กำลังเดือดร้อนอย่างหนัก หลายรายปัญหาเข้าขั้นวิกฤต โดยเฉพาะหลังการระบาดระลอกใหม่ เพราะแทบไม่มีคนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวภูเก็ต
ขณะเดียวกัน สถาบันการเงินส่วนใหญ่จะขึ้นแบล็กลิสต์ เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อเป็นพิเศษกับคนภูเก็ต ทั้งผู้ประกอบการ ผู้บริโภคที่ต้องการซื้อบ้าน คอนโดฯ เห็นได้จากการยื่นขอสินเชื่อถูกปฏิเสธ (reject rate) เกือบทั้งหมด ทำให้ผู้ประกอบการโรงแรมในภูเก็ตโดยเฉพาะรายกลางและเล็กเกือบ 90% พากันบอกขายกิจการ เช่นเดียวกับโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของต้องการขายยกโครงการ โดยยอมลดราคาลง 30-40% แต่ส่วนใหญ่ยังขายไม่ได้ เนื่องจากทั้งทุนไทย และทุนต่างชาติกดราคาซื้อต่ำกว่า 50% ซึ่งเป็นราคาที่ต่ำกว่าที่เป็นหนี้สถาบันการเงิน จึงตกลงกันไม่ได้ คาดว่าช่วงไตรมาส 2 ปีนี้จะเห็นดีลการซื้อขายชัดเจนขึ้น
“ทุนต่างชาติที่เข้ามาดูลู่ทางลงทุนมาจากทั่วโลก เช่น จีน, รัสเซีย, ฮ่องกง, ไต้หวัน, สิงคโปร์, สแกนดิเนเวียน ฯลฯ แต่ละรายจะเข้ามาขอข้อมูล เช็กราคา ไม่ว่าจะเป็นบ้านจัดสรร คอนโดฯ โรงแรม”
แบงก์เจ้าหนี้ขีดเส้นตาย
ขณะที่ผู้ประกอบการที่มีปัญหายังลังเล เพราะไม่รู้สถานการณ์จะดีขึ้นหรือไม่ ถ้าวัคซีนโควิดยังไม่ถึงขั้นใช้ได้ปลอดภัยทั้งหมด ภาคท่องเที่ยว อสังหาฯในภูเก็ตคงฟื้นยาก แม้มองว่าหลังโควิดผ่านไป ภูเก็ตมีโอกาสจะฟื้นกลับมาเติบโต แต่กว่าจะถึงวันนั้นไม่รู้จะตายหรือรอด แม้บางรายที่พอมีสายป่านประคองตัวได้ถึงปี 2565 แต่เมื่อไม่มีความชัดเจนก็อาจต้องตัดใจขาย อย่างไรก็ตาม โรงแรมบางแห่งถูกแบงก์เจ้าหนี้ขีดเส้นตายภายในอีกไม่กี่เดือน ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น คงต้องยอมขายราคาถูก ๆ ก่อนจะถูกแบงก์เจ้าหนี้ยึด น่าเห็นใจเจ้าของโรงแรม เพราะแม้แต่ระดับ 5 ดาวหลายแห่ง ถ้าไม่ใช่เชนใหญ่ระดับโลก็เจ็บหนัก ไม่ต่างจากโรงแรมระดับ 4 ดาว 3 ดาว เพราะมีค่าใช้จ่าย
บ้าน-คอนโดฯราคาลงรอบ 20 ปี
นายณัฐวุฒิกล่าวว่า ในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ต ทั้งบ้าน คอนโดฯก็อยู่แบบหืดขึ้นคอ ก่อนเกิดโควิดบ้าน คอนโดฯในภูเก็ตราคาสูงมาก แต่ตอนนี้ราคาลดลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 20 ปี แข่งกันลดราคาต่ำลงเป็นพิเศษ อย่างบ้านเดี่ยวใหม่ พื้นที่ 40 ตร.ว. ปกติ 6 ล้านบาทขึ้นไป แต่วันนี้ซื้อได้ 3.7-3.8 ล้านบาท หรือลดลง 30-40% ขณะที่คอนโดฯก็มีคนประกาศขายต่ำกว่าราคาที่ซื้อมา เช่น คอนโดฯช่วง presale ยูนิตละ 3 ล้านบาท แต่ตอนนี้บอกขาย 2.5 ล้านบาท ด้านผู้ประกอบการก็ยอมขายราคาต้นทุน เพื่อเอาทุนคืนมาก่อน แต่ยังหาคนซื้อยาก เนื่องจากธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อ ในภูเก็ตถ้าใครทำเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวไม่สามารถกู้ซื้ออสังหาฯได้
“รูปธรรมที่ชัดเจนเห็นได้จากเพจขายอสังหาฯ Phuket Real Estate Agents ช่วงปี 2563 ที่มียอดฝากขายเพิ่ม 100% ถึงวันนี้มากกว่าเดิม 2 เท่า แต่ขายออกยากเพราะสถาบันการเงินคุมเข้มการปล่อยกู้ คนทำงานในธุรกิจท่องเที่ยว อสังหาฯในภูเก็ต จะถูกขึ้นแบล็กลิสต์กู้เงินไม่ได้ กลายเป็นถูกฟรีซไปเลย สำหรับคนที่ฝากขายมีทั้งคนภูเก็ต กับคนจากจังหวัดอื่นที่มาทำงานในภูเก็ต อีกส่วนหนึ่งเป็นทุนกรุงเทพฯ เชียงใหม่ ชลบุรี เข้ามาลงทุน แต่ขายออกได้น้อยไม่เกิน 10% ของที่ฝากขาย”