ม็อบบุกคลังขีดเส้น1สัปดาห์ จ่ายเยียวยาถ้วนหน้า3,500
https://www.dailynews.co.th/economic/820685
ไมค์ นำม็อบราษฎร บุกกระทรวงคลังยื่น 3 ข้อ ขอเยียวยาถ้วนหน้า 3,500 บาท 3 เดือน ลดค่าครองชีพน้ำ-ไฟ-เน็ตช่วยประชาชน แจกจ่ายวัคซีนทั่วถึง ขีดเส้น 1 สัปดาห์พร้อมนำม็อบกลับมาใหญ่กว่าเดิม
เมื่อเวลา 13.00 น. ที่กระทรวงการคลัง นาย
ภาณุพงศ์ จาดนอก แกนนำม็อบคณะราษฎร ได้เดินทางมายื่นจดหมายเปิดผนึกจากราษฎรถึงรมว.คลัง เพื่อขอให้ลดงบประมาณที่สูงเกินความจำเป็น เช่น งบประมาณของกองทัพ 223,467 ล้านบาท นำมาใช้ช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด โดยมีกลุ่มมวลชนเดินทางมารวมกว่า 60-70 คน ขณะที่กระทรวงการคลังได้มีการประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.บางซื่อ และตำรวจนครบาลจากส่วนกลางกว่า 100 นาย มาดูแลความเรียบร้อยพร้อมกับปิดประตูเข้า-ออกทั้งหมด
ทั้งนี้ ระหว่างการรอยื่นหนังสือได้เกิดความไม่พอใจขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่คลังได้ปิดประตูไม่ให้ม็อบเข้ามา อีกทั้งยังไม่มีตัวแทนมารับยื่นหนังสือ จนม็อบขู่ว่าจะใช้กำลังเปิดประตูและปิดถนนซอยอารีย์สัมพันธ์หน้ากระทรวงการคลัง แต่ต่อมากระทรวงการคลัง ได้ส่งตัวแทน น.ส.เฉลิมรัตน์ อิ่มนุกูลกิจ ผู้อำนวยการส่วนบริหารการพัสดุ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง มาเป็นผู้รับเรื่อง จากนั้นไม่นานกลุ่มก็สลายตัวแยกย้ายกลับไป
นาย
ภาณุพงศ์ กล่าวว่า การมายื่นจดหมายครั้งนี้ เพื่อต้องการเป็นกระบอกเสียงประชาชน ใช้รัฐบาลเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากยังมีพี่น้องประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงเงินเยียวยาจากโครงการคนละครึ่งเฟสสอง ทั้งจากที่ไม่มีอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ และประชาชนต้องแย่งชิงกันลงทะเบียน ดังนั้น คณะราษฎรจึงขอเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา 3 ข้อ โดยให้เวลา 1 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการตอบสนองจะเดินทางกลับมาอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 29 ม.ค.64 พร้อมกับมวลชนที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
สำหรับข้อเสนอ 3 ข้อประกอบด้วย
1. เยียวยาประชาชนอย่างถ้วนหน้าเท่าเทียม โดยให้รัฐเยียวยาประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยมาตรการดังกล่าวจะใช้งบประมาณ 525,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการตัดลดและโยกย้ายงบที่ไม่จำเป็นก็จะมีงบประมาณเพียงพอ
2. นําเข้าและกระจายวัคซีนโควิด-19 แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
และ 3. ช่วยอุดหนุนค่าครองชีพของประชาชน ทั้งค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโดยสาร อย่างน้อย 3 เดือน และสำหรับนักเรียน นักศึกษาจะต้องมีการลดค่าเล่าเรียน พร้อมทั้งช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเรียนออนไลน์
เดือดศาลากลาง! สหภาพร้อยเอ็ดปลดแอก นำ ‘แม่ค้า’ ถนนคนเดินร้องผู้ว่าฯ ปมหอการค้าสั่ง ‘ปิดตลาด’
https://www.matichon.co.th/politics/news_2542702
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. วันที่ 22 มกราคม ที่ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่ม
สหภาพร้อยเอ็ดปลดแอก พร้อมด้วยผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ที่ถนนคนเดินจังหวัดร้อยเอ็ด รวมตัวกันกว่า 100 คน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากผลกระทบที่ตลาดถูกสั่งปิด และข่าวลือในเรื่องผลประโยชน์จากการปรับตลาด โดยทางหอการค้าแจ้งว่า ให้เวลาผู้ประกอบอาชีพค้าขาย 1 เดือน ในการประชาสัมพันธ์กับลูกค้าตลาดถนนคนเดิน ซึ่งจะย้ายไปที่ข้าง ร้อยเอ็ดไฮเปอร์มาร์ท ให้เหตุผลว่า รถติด ขัดขวางการจราจร และสุ่มเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งชาวบ้านตั้งข้อสงสัยว่า เปิดตลาดมาหลายปี เหตุใดจึงเพิ่งมาบอกว่ารถติด โดยชาวบ้านยืนยันว่า ขอให้เปิดตลาดที่เดิม
ทั้งนี้ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน จึงขอให้หน่วยงานราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ช่วยแก้ไขปัญหา โดยส่งตัวแทนขึ้นไปร่วมประชุม กับผู้อำนวยการ ศูนย์ดำรงธรรม จ.ร้อยเอ็ด กว่า 20 นาที
ตัวแทนประชาชน กล่าวว่า หอการค้าแจ้งเรื่องการปรับตลาดล่าช้า ซึ่งได้เสียเงินลงทุนค่าที่และสินค้าไปแล้ว แต่รายได้ไม่มี และไม่มีการเยียวยา ซึ่งบอกแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่มีการบอกอะไรในกลุ่ม เวลามีปัญหา หอการค้าไม่เคยอธิบาย
ด้าน ตัวแทนศูนย์ดำรงธรรม กล่าวว่า ต้องให้หอการค้าไปพิจารณา และเยียวยา เชื่อว่าหอการค้าพร้อมช่วย ซึ่งจะมีการประชุมในวันนี้ด้วย สมาชิกหอการค้าโดยภาคเอกชน ยินดีเสนอพื้นที่สำหรับค้าขายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ส่วนตัวเห็นด้วยในเรื่องการแจ้งล่วงหน้า ส่วนผลผกระทบที่ผ่านมา ลองเสนอหอการค้า เชื่อว่า ทางหอการค้าสามารถทำความเข้าใจได้ ขอแค่ให้โอกาส
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ที่ยืนรอตัวแทนกลุ่มร่วมประชุม อยู่ด้านล่างของศาลากลางจังหวัด ต่างเปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจ พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลงมาชี้แจงกับผู้ประกอบการ อีกทั้ง มีการชูป้ายผ้า ระบุข้อความ “
เปิดตลาด” “ผู้ว่า จงรับฟังเรา” โดยมวลชน ตะโกน “
เปิดตลาด” “
ออกไป” เป็นระยะ
ตัวแทนประชาชน กล่าวว่า เราอยากทราบว่า ยื่นเรื่องแล้วจะขายของได้เลยหรือไม่ หรือต้องรอไปอีกนานแค่ไหน
โดย ตัวแทนศูนย์ดำรงธรรม กล่าวว่า จากข้อสรุปที่ร่วมประชุมกัวบตัวแทนผู้ประกอบการค้าขาย 1. ท่านผู้ว่าฯ จะรีบดำเนินการในสิ่งที่ร้องขอให้ 2.เราอยากให้ขายของ ข้อสรุปเบื้องต้น คือ ไปขายก่อน เป็นเวลา 1 เดือน แต่ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ท่าน ผอ.ศูนย์ดำรงธรรม จะประสานงานกับทางหอการค้าให้ โดยขอให้ตัวแทนมาร่วมประชุม ท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้เพิกเฉย จะดำเนินการให้ แต่ประชาชนต้องให้ความร่วมมือด้วย
ภาษีที่ดินสูญแสนล. อปท.7,850 แห่งขาดงบ รัฐชดเชยแค่ปีละหมื่นล้าน
https://www.thansettakij.com/content/business/465543
อปท.7,850 แห่งทั่วประเทศอ่วม รัฐบาลลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ติดต่อ 2 ปี จัดเก็บรายได้ท้องถิ่นวูบ 1 แสนล้านบาท จำใจหั่นแผนงานดูแลประชาชน รัฐบาลกลางชดเชยแค่หมื่นล้าน
ผลจากรัฐบาลมีนโยบายลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% อีกหนึ่งปี ต่อเนื่องจากปี2563 ส่งผลกระทบต่อรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ทั้ง7,850แห่งทั่วประเทศ ลดลง ในภาพรวมไม่ตํ่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ต่อปี สำหรับทางออก เสียงสะท้อนจากท้องถิ่น ระบุว่าต้องลดภาระค่าใช้จ่าย, ชะลอโครงการลงทุนออกไปและรัฐต้องชดเชยงบประมาณอย่างต่อเนื่องเพราะไม่มั่นใจว่าสถานการณ์โควิดจะจบลงเมื่อใด
ท้องถิ่นโอดรายได้วูบ
นางสาว
สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต และนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เปิดเผย ”
ฐานเศรษฐกิจ” จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 รัฐบาลมีนโยบายขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากปีที่ผ่าน โดยจะลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% และลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหา ริมทรัพย์เหลือ 0.01% โดยมอบกระทรวงคลังและมหาดไทย นำเสนอกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อที่ประชุมครม.ต่อไป เผยว่า การลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินลง 90 % ที่ดำเนินการครั้งแรกในปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หายไปประมาณ 50,000 ล้านบาท เฉพาะของเทศบาลนครและเทศบาลเมืองขนาดใหญ่ ก็ลดลงไปถึง 30,000 ล้านบาท
“
ปีที่ผ่านมาเทศบาลนครภูเก็ตก็สูญเสียรายได้ส่วนนี้ไปร่วม 100 ล้านบาท หากรัฐบาลจะมีนโยบายขยายการลดอัตราการจัดเก็บต่อในปีนี้ จะทำให้ท้องถิ่นสูญเสียรายได้ส่วนนี้ไม่น้อยกว่าเดิม และบางพื้นที่อาจจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบมาก ผู้ประกอบการหลายรายสู้ไม่ไหวต้องเลิกกิจการ และเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นกลับมา ทำให้ฐานภาษีส่วนนี้อาจเหลือน้อยลง”
ร่อนหนังสือของบอุดหนุน
ทั้งนี้ รายได้ของท้องถิ่นมีเพียง 10-20 %ที่จัดเก็บเอง ที่เหลือรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐเป็นผู้จัดเก็บแล้วจัดสรรให้ท้องถิ่น เพื่อไปปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุโรคระบาดและต้องลดอัตราภาษีที่เป็นรายได้ของท้องถิ่น ก็ทำให้ท้องถิ่นมีเงินเหลือจากภาวะปกติเพียง 60 % ในการดูแลประชาชน
นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าใจดีว่า เป็นสถานการณ์โรคระบาด ที่ส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย เมื่อรายได้ท้องถิ่นหดหายไปก็ต้องไปปรับแผนงานต่าง ๆ ลง บางกิจกรรมที่ทำไม่ได้ในช่วงควบคุมการระบาดก็ยกเลิกไป เช่น งานวันเด็ก การจัดงานเทศกาลตรุษจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมการแข่งขันกีฬา
เนื่องจากเป็นการรวมกลุ่มคนจำนวนมากที่อาจเกิดความเสี่ยงการระบาด บางแผนงานต้องชะลอไปก่อน หรือต้องขอความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น ส่วนการจะนำเงินสำรองมาใช้นั้นต้องดูว่าระเบียบเปิดช่องให้แค่ไหน รวมทั้งขณะนี้ได้ทำหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณาชดเชยรายได้ของท้องถิ่นที่ขาดหายไปอยู่
หารายได้แหล่งใหม่
นางสาว
สมใจกล่าวอีกว่า ในระยะยาวท้องถิ่นต้องหาช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ ซึ่งได้ดำเนินการมาก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว โดยสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย มอบให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ช่วยศึกษาวิจัยเรื่องนี้อยู่ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นจะได้มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่เพิ่มขึ้น อาทิเช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญอีกประการ คือ ภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่หรือเศรษฐกิจชุมชนต้องเข้มแข็ง ซึ่งเทศบาลเราก็พยายามส่งเสริม เมื่อเศรษฐกิจฐานรากแข็งแรง หลายแห่งมีทุนทางสังคม มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถต่อยอดเพิ่มมูลค่า ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เมื่อคนในพื้นที่หรือชุมชนมีรายได้เพิ่ม เศรษฐกิจที่เติบโตมีความเคลื่อนไหวสุดท้ายทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีขึ้น มีกำลังที่จะดูแลพื้นที่ดีขึ้นตามไปด้วย
พับโครงการ-รื้อกม.
สำหรับทางออก นาย
ธีรศักดิ์ พานิชย์วิทย์ อดีตเลขาธิการ สมาคมองค์การบริหารส่งตำบลแห่งประเทศไทย ระบุว่านับตั้งแต่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บังคับใช้ในทางปฎิบัติจนถึงปัจุบัน ยังไม่สามารถใช้กฎหมายได้อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจาก เกิดสถานการณ์โควิดรัฐบาลลดภาษีลง 90% ช่วยลดผลกระทบติดต่อกัน 2 ปี
โดยพิจารณาจากข้อมูลคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุว่า ปี 2563 ตั้งเป้าจัดเก็บรายได้ 3.3 หมื่นล้านบาทต่อปีหรือไม่เกิน3.5หมื่นล้านบาทต่อปี แต่เมื่อ ลดภาษีที่ดินลง90% รายได้ลดลงเหลือ กว่า3,000ล้านบาท และปี 2564 ลดภาษีลง 90% อีกปี มองว่ารายได้จะไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา และต้องปรับลดเป้ารายได้ตัดงบโครงการลงทุนออกไป
ขณะรัฐบาลใช้งบกลาง ปี2564 จำนวน 1.1 หมื่นล้านบาท ชดเชยรายได้ท้องถิ่น 7,850 แห่งที่ขาดหายไป จากที่ท้องถิ่นมีหนังสือเสนอขอไป เต็มจำนวนกว่า 3 หมื่นล้านบาทและปีนี้ก็เช่นกันน่าจะได้รับชดเชยงบประมาณในปี2565
นาย
ธีรศักดิ์กล่าวต่อว่า ขณะข้อเท็จจริงท้องถิ่นไม่สามารถเก็บภาษีจากคนรวยที่กระจายถือครองที่ดbนได้ เพราะทุกรายเลี่ยงภาษีรกร้าง 0.3% ไปทำเกษตรกรรมส่งผลให้ท้องถิ่นขาดรายได้ หากกฎหมายไม่สามารถ ปฏบัติได้จริง และเกิดผลเสียมากกว่าผลดีรัฐบาลควรนำภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนมาใช้ตามเดิม หรือแก้ไขปรับปรุงภาษีที่ดินใหม่ให้รัดกุมจะส่งผลดีกว่า
JJNY : 5in1 ม็อบบุกคลัง/ร้อยเอ็ดปลดแอกนำแม่ค้าร้อง/ภาษีที่ดินสูญแสนล./อนุดิษฐ์จี้ตรวจเน็ตประชารัฐ/หมอสุภัทรแนะรบ.
https://www.dailynews.co.th/economic/820685
ไมค์ นำม็อบราษฎร บุกกระทรวงคลังยื่น 3 ข้อ ขอเยียวยาถ้วนหน้า 3,500 บาท 3 เดือน ลดค่าครองชีพน้ำ-ไฟ-เน็ตช่วยประชาชน แจกจ่ายวัคซีนทั่วถึง ขีดเส้น 1 สัปดาห์พร้อมนำม็อบกลับมาใหญ่กว่าเดิม
ทั้งนี้ ระหว่างการรอยื่นหนังสือได้เกิดความไม่พอใจขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่คลังได้ปิดประตูไม่ให้ม็อบเข้ามา อีกทั้งยังไม่มีตัวแทนมารับยื่นหนังสือ จนม็อบขู่ว่าจะใช้กำลังเปิดประตูและปิดถนนซอยอารีย์สัมพันธ์หน้ากระทรวงการคลัง แต่ต่อมากระทรวงการคลัง ได้ส่งตัวแทน น.ส.เฉลิมรัตน์ อิ่มนุกูลกิจ ผู้อำนวยการส่วนบริหารการพัสดุ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง มาเป็นผู้รับเรื่อง จากนั้นไม่นานกลุ่มก็สลายตัวแยกย้ายกลับไป
นายภาณุพงศ์ กล่าวว่า การมายื่นจดหมายครั้งนี้ เพื่อต้องการเป็นกระบอกเสียงประชาชน ใช้รัฐบาลเยียวยาช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากยังมีพี่น้องประชาชนจำนวนมากเข้าไม่ถึงเงินเยียวยาจากโครงการคนละครึ่งเฟสสอง ทั้งจากที่ไม่มีอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ และประชาชนต้องแย่งชิงกันลงทะเบียน ดังนั้น คณะราษฎรจึงขอเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณา 3 ข้อ โดยให้เวลา 1 สัปดาห์ หากไม่ได้รับการตอบสนองจะเดินทางกลับมาอีกครั้งในวันศุกร์ที่ 29 ม.ค.64 พร้อมกับมวลชนที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
สำหรับข้อเสนอ 3 ข้อประกอบด้วย
1. เยียวยาประชาชนอย่างถ้วนหน้าเท่าเทียม โดยให้รัฐเยียวยาประชาชนผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เดือนละ 3,500 บาท เป็นเวลา 3 เดือน โดยมาตรการดังกล่าวจะใช้งบประมาณ 525,000 ล้านบาท ซึ่งหากมีการตัดลดและโยกย้ายงบที่ไม่จำเป็นก็จะมีงบประมาณเพียงพอ
2. นําเข้าและกระจายวัคซีนโควิด-19 แก่ทุกคนอย่างเท่าเทียม
และ 3. ช่วยอุดหนุนค่าครองชีพของประชาชน ทั้งค่าสาธารณูปโภค ค่าไฟฟ้า ค่าประปา ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโดยสาร อย่างน้อย 3 เดือน และสำหรับนักเรียน นักศึกษาจะต้องมีการลดค่าเล่าเรียน พร้อมทั้งช่วยอุดหนุนค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการเรียนออนไลน์
เดือดศาลากลาง! สหภาพร้อยเอ็ดปลดแอก นำ ‘แม่ค้า’ ถนนคนเดินร้องผู้ว่าฯ ปมหอการค้าสั่ง ‘ปิดตลาด’
https://www.matichon.co.th/politics/news_2542702
เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. วันที่ 22 มกราคม ที่ศาลากลางจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มสหภาพร้อยเอ็ดปลดแอก พร้อมด้วยผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ที่ถนนคนเดินจังหวัดร้อยเอ็ด รวมตัวกันกว่า 100 คน เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมจากผลกระทบที่ตลาดถูกสั่งปิด และข่าวลือในเรื่องผลประโยชน์จากการปรับตลาด โดยทางหอการค้าแจ้งว่า ให้เวลาผู้ประกอบอาชีพค้าขาย 1 เดือน ในการประชาสัมพันธ์กับลูกค้าตลาดถนนคนเดิน ซึ่งจะย้ายไปที่ข้าง ร้อยเอ็ดไฮเปอร์มาร์ท ให้เหตุผลว่า รถติด ขัดขวางการจราจร และสุ่มเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งชาวบ้านตั้งข้อสงสัยว่า เปิดตลาดมาหลายปี เหตุใดจึงเพิ่งมาบอกว่ารถติด โดยชาวบ้านยืนยันว่า ขอให้เปิดตลาดที่เดิม
ทั้งนี้ ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน จึงขอให้หน่วยงานราชการ และผู้ว่าราชการจังหวัด ได้ช่วยแก้ไขปัญหา โดยส่งตัวแทนขึ้นไปร่วมประชุม กับผู้อำนวยการ ศูนย์ดำรงธรรม จ.ร้อยเอ็ด กว่า 20 นาที
ตัวแทนประชาชน กล่าวว่า หอการค้าแจ้งเรื่องการปรับตลาดล่าช้า ซึ่งได้เสียเงินลงทุนค่าที่และสินค้าไปแล้ว แต่รายได้ไม่มี และไม่มีการเยียวยา ซึ่งบอกแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่มีการบอกอะไรในกลุ่ม เวลามีปัญหา หอการค้าไม่เคยอธิบาย
ด้าน ตัวแทนศูนย์ดำรงธรรม กล่าวว่า ต้องให้หอการค้าไปพิจารณา และเยียวยา เชื่อว่าหอการค้าพร้อมช่วย ซึ่งจะมีการประชุมในวันนี้ด้วย สมาชิกหอการค้าโดยภาคเอกชน ยินดีเสนอพื้นที่สำหรับค้าขายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ส่วนตัวเห็นด้วยในเรื่องการแจ้งล่วงหน้า ส่วนผลผกระทบที่ผ่านมา ลองเสนอหอการค้า เชื่อว่า ทางหอการค้าสามารถทำความเข้าใจได้ ขอแค่ให้โอกาส
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ประชาชนผู้ประกอบอาชีพค้าขาย ที่ยืนรอตัวแทนกลุ่มร่วมประชุม อยู่ด้านล่างของศาลากลางจังหวัด ต่างเปล่งเสียงแสดงความไม่พอใจ พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ลงมาชี้แจงกับผู้ประกอบการ อีกทั้ง มีการชูป้ายผ้า ระบุข้อความ “เปิดตลาด” “ผู้ว่า จงรับฟังเรา” โดยมวลชน ตะโกน “เปิดตลาด” “ออกไป” เป็นระยะ
ตัวแทนประชาชน กล่าวว่า เราอยากทราบว่า ยื่นเรื่องแล้วจะขายของได้เลยหรือไม่ หรือต้องรอไปอีกนานแค่ไหน
โดย ตัวแทนศูนย์ดำรงธรรม กล่าวว่า จากข้อสรุปที่ร่วมประชุมกัวบตัวแทนผู้ประกอบการค้าขาย 1. ท่านผู้ว่าฯ จะรีบดำเนินการในสิ่งที่ร้องขอให้ 2.เราอยากให้ขายของ ข้อสรุปเบื้องต้น คือ ไปขายก่อน เป็นเวลา 1 เดือน แต่ตลอดระยะเวลา 1 เดือน ท่าน ผอ.ศูนย์ดำรงธรรม จะประสานงานกับทางหอการค้าให้ โดยขอให้ตัวแทนมาร่วมประชุม ท่านผู้ว่าฯ ไม่ได้เพิกเฉย จะดำเนินการให้ แต่ประชาชนต้องให้ความร่วมมือด้วย
ภาษีที่ดินสูญแสนล. อปท.7,850 แห่งขาดงบ รัฐชดเชยแค่ปีละหมื่นล้าน
https://www.thansettakij.com/content/business/465543
อปท.7,850 แห่งทั่วประเทศอ่วม รัฐบาลลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ติดต่อ 2 ปี จัดเก็บรายได้ท้องถิ่นวูบ 1 แสนล้านบาท จำใจหั่นแผนงานดูแลประชาชน รัฐบาลกลางชดเชยแค่หมื่นล้าน
ผลจากรัฐบาลมีนโยบายลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% อีกหนึ่งปี ต่อเนื่องจากปี2563 ส่งผลกระทบต่อรายได้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ทั้ง7,850แห่งทั่วประเทศ ลดลง ในภาพรวมไม่ตํ่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ต่อปี สำหรับทางออก เสียงสะท้อนจากท้องถิ่น ระบุว่าต้องลดภาระค่าใช้จ่าย, ชะลอโครงการลงทุนออกไปและรัฐต้องชดเชยงบประมาณอย่างต่อเนื่องเพราะไม่มั่นใจว่าสถานการณ์โควิดจะจบลงเมื่อใด
ท้องถิ่นโอดรายได้วูบ
นางสาวสมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต และนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เปิดเผย ”ฐานเศรษฐกิจ” จากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 รัฐบาลมีนโยบายขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจากปีที่ผ่าน โดยจะลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% และลดค่าธรรมเนียมการโอนอสังหา ริมทรัพย์เหลือ 0.01% โดยมอบกระทรวงคลังและมหาดไทย นำเสนอกฎหมายและประกาศที่เกี่ยวข้องต่อที่ประชุมครม.ต่อไป เผยว่า การลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินลง 90 % ที่ดำเนินการครั้งแรกในปี 2563 ที่ผ่านมา ทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) หายไปประมาณ 50,000 ล้านบาท เฉพาะของเทศบาลนครและเทศบาลเมืองขนาดใหญ่ ก็ลดลงไปถึง 30,000 ล้านบาท
“ปีที่ผ่านมาเทศบาลนครภูเก็ตก็สูญเสียรายได้ส่วนนี้ไปร่วม 100 ล้านบาท หากรัฐบาลจะมีนโยบายขยายการลดอัตราการจัดเก็บต่อในปีนี้ จะทำให้ท้องถิ่นสูญเสียรายได้ส่วนนี้ไม่น้อยกว่าเดิม และบางพื้นที่อาจจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากการระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบมาก ผู้ประกอบการหลายรายสู้ไม่ไหวต้องเลิกกิจการ และเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นกลับมา ทำให้ฐานภาษีส่วนนี้อาจเหลือน้อยลง”
ร่อนหนังสือของบอุดหนุน
ทั้งนี้ รายได้ของท้องถิ่นมีเพียง 10-20 %ที่จัดเก็บเอง ที่เหลือรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐเป็นผู้จัดเก็บแล้วจัดสรรให้ท้องถิ่น เพื่อไปปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เมื่อเกิดเหตุโรคระบาดและต้องลดอัตราภาษีที่เป็นรายได้ของท้องถิ่น ก็ทำให้ท้องถิ่นมีเงินเหลือจากภาวะปกติเพียง 60 % ในการดูแลประชาชน
นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าใจดีว่า เป็นสถานการณ์โรคระบาด ที่ส่งผลกระทบต่อทุกฝ่าย เมื่อรายได้ท้องถิ่นหดหายไปก็ต้องไปปรับแผนงานต่าง ๆ ลง บางกิจกรรมที่ทำไม่ได้ในช่วงควบคุมการระบาดก็ยกเลิกไป เช่น งานวันเด็ก การจัดงานเทศกาลตรุษจีนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือกิจกรรมการแข่งขันกีฬา
เนื่องจากเป็นการรวมกลุ่มคนจำนวนมากที่อาจเกิดความเสี่ยงการระบาด บางแผนงานต้องชะลอไปก่อน หรือต้องขอความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น ส่วนการจะนำเงินสำรองมาใช้นั้นต้องดูว่าระเบียบเปิดช่องให้แค่ไหน รวมทั้งขณะนี้ได้ทำหนังสือขอให้รัฐบาลพิจารณาชดเชยรายได้ของท้องถิ่นที่ขาดหายไปอยู่
หารายได้แหล่งใหม่
นางสาวสมใจกล่าวอีกว่า ในระยะยาวท้องถิ่นต้องหาช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ ซึ่งได้ดำเนินการมาก่อนเกิดโควิด-19 แล้ว โดยสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย มอบให้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ช่วยศึกษาวิจัยเรื่องนี้อยู่ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้ท้องถิ่นจะได้มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่เพิ่มขึ้น อาทิเช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม
ที่สำคัญอีกประการ คือ ภาวะเศรษฐกิจในพื้นที่หรือเศรษฐกิจชุมชนต้องเข้มแข็ง ซึ่งเทศบาลเราก็พยายามส่งเสริม เมื่อเศรษฐกิจฐานรากแข็งแรง หลายแห่งมีทุนทางสังคม มีภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถต่อยอดเพิ่มมูลค่า ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เมื่อคนในพื้นที่หรือชุมชนมีรายได้เพิ่ม เศรษฐกิจที่เติบโตมีความเคลื่อนไหวสุดท้ายทำให้รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีขึ้น มีกำลังที่จะดูแลพื้นที่ดีขึ้นตามไปด้วย
พับโครงการ-รื้อกม.
สำหรับทางออก นายธีรศักดิ์ พานิชย์วิทย์ อดีตเลขาธิการ สมาคมองค์การบริหารส่งตำบลแห่งประเทศไทย ระบุว่านับตั้งแต่ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง บังคับใช้ในทางปฎิบัติจนถึงปัจุบัน ยังไม่สามารถใช้กฎหมายได้อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องจาก เกิดสถานการณ์โควิดรัฐบาลลดภาษีลง 90% ช่วยลดผลกระทบติดต่อกัน 2 ปี
โดยพิจารณาจากข้อมูลคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระบุว่า ปี 2563 ตั้งเป้าจัดเก็บรายได้ 3.3 หมื่นล้านบาทต่อปีหรือไม่เกิน3.5หมื่นล้านบาทต่อปี แต่เมื่อ ลดภาษีที่ดินลง90% รายได้ลดลงเหลือ กว่า3,000ล้านบาท และปี 2564 ลดภาษีลง 90% อีกปี มองว่ารายได้จะไม่แตกต่างจากปีที่ผ่านมา และต้องปรับลดเป้ารายได้ตัดงบโครงการลงทุนออกไป
ขณะรัฐบาลใช้งบกลาง ปี2564 จำนวน 1.1 หมื่นล้านบาท ชดเชยรายได้ท้องถิ่น 7,850 แห่งที่ขาดหายไป จากที่ท้องถิ่นมีหนังสือเสนอขอไป เต็มจำนวนกว่า 3 หมื่นล้านบาทและปีนี้ก็เช่นกันน่าจะได้รับชดเชยงบประมาณในปี2565
นายธีรศักดิ์กล่าวต่อว่า ขณะข้อเท็จจริงท้องถิ่นไม่สามารถเก็บภาษีจากคนรวยที่กระจายถือครองที่ดbนได้ เพราะทุกรายเลี่ยงภาษีรกร้าง 0.3% ไปทำเกษตรกรรมส่งผลให้ท้องถิ่นขาดรายได้ หากกฎหมายไม่สามารถ ปฏบัติได้จริง และเกิดผลเสียมากกว่าผลดีรัฐบาลควรนำภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนมาใช้ตามเดิม หรือแก้ไขปรับปรุงภาษีที่ดินใหม่ให้รัดกุมจะส่งผลดีกว่า