ซีพีเปิดโรงงานหน้ากากอนามัย รับผู้ตรวจการแผ่นดิน ตอบปัญหาคาใจสังคม

หลังจากนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ร้องเรียนให้ตรวจสอบการผลิตหน้ากากอนามัยของซีพี คณะผู้บริหารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน นำโดย นายวทัญญู ทิพยมณฑา รองเลขาธิการ สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้เข้าตรวจเยี่ยมโรงงานหน้ากากอนามัย บริษัท ซีพี โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด วิสาหกิจเพื่อสังคมในเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง เมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 โดยให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจสอบว่า มีความเข้าใจในกระบวนการทำงานของซีพี เนื่องจากเห็นได้ชัดเจนว่าซีพีมีเป้าหมายทำเพื่อการแพทย์และพื่อสาธารณะ โดยมีการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ตั้งแต่ปีที่แล้วถึงปัจจุบัน กระทั่งสถานการณ์ความขาดแคลนหน้ากากอนามัยดีขึ้น

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
 
ด้านตัวแทนซีพี โดยนายภูมิชัย ตรัยดลานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี โซเชียล อิมแพคท์ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจโรงงานหน้ากากอนามัยซีพี ให้รายละเอียดที่สรุปได้ว่า 
 
-       โรงงานหน้ากากอนามัยซีพี เริ่มต้นผลิตและแจกจ่ายหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Mask)ตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน 2563 เป็นต้นมา ตามเจตนารมย์ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์

-       โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เป็นผู้พิจารณา กำหนดผู้รับและสถานที่ รวมถึงความต้องการในการแจกจ่าย โดยนำไปแจกจ่ายฟรีแก่แพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนประชาชนกลุ่มเปราะบาง 

-       จนถึงสิ้นปี 2563 ได้ผลิตและแจกจ่ายหน้ากากอนามัยไปแล้วกว่า 11 ล้านชิ้น มอบให้แก่โรงพยาบาล องค์กรการกุศล และมูลนิธิทั่วประเทศไทยกว่า 1,000 แห่ง 

-       รายละเอียดการแจกจ่ายหน้ากากอนามัย แบ่งเป็นระยะ

o   ระยะแรก เริ่มตั้งแต่ 16 เมษายน 2563 : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ได้มุ่งเน้นแจกจ่ายแก่บุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาล เป็นลำดับแรก โรงงานจึงต้องผลิตในกำลังการผลิตสูงสุด ทำงาน 24 ชั่วโมง ภายใต้ความยากลำบากในการหาวัตถุดิบที่ขาดแคลนทั่วโลก เนื่องจากในช่วงเวลานั้น หลายโรงพยาบาลทั่วประเทศขาดแคลน ทำให้สามารถบรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนหน้ากากอนามัยได้เป็นอย่างดี ทั้งยังช่วยแบ่งเบาภารกิจของภาครัฐในการแจกจ่ายหน้ากากอนามัยให้กับบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นหน้าด่านในการต่อสู้กับโควิด-19 

o   ระยะที่ 2 ตั้งแต่ 1 มิถุนายน – 31 กรกฎาคม 2563 : ระยะขยายการแจกจ่ายจากบุคลากรทางการแพทย์ไปสู่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง โดยแจกจ่ายหน้ากากอนามัยแก่บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล จำนวน 4 ล้านชิ้น และบางส่วนให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางผ่านเครือข่ายกาชาด จำนวน 1 ล้านชิ้น รวมทั้ง 2 ระยะ เป็นจำนวน 8 ล้านชิ้น 

o   ระยะที่ 3 ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563 : เนื่องจากมีโรงงานผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทยเกิดขึ้นใหม่จำนวนมาก และเมื่อสำรวจความต้องการในตลาดและปริมาณการผลิตในประเทศ เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ จึงมีเจตนารมย์ให้โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยปรับกระบวนการผลิตกลับมาอยู่กำลังการผลิตปกติ โดยสำรองหน้ากากอนามัยให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ เดือนละประมาณ 300,000 ชิ้น (365,000 ชิ้น)



-       การจำหน่าย

o   เพื่อให้เกิดรายได้นำมาใช้ในการดำเนินโรงงานอย่างยั่งยืน ตามหลักการของวิสาหกิจเพื่อสังคม จึงจำหน่ายให้กับบริษัทในเครือฯ โดยแต่ละบริษัทสามารถลงงบประมาณ เพื่อให้โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยผลิตนำไปบริจาคและแจกจ่ายฟรี 

o   ราคาจำหน่ายตามกฎหมายชิ้นละ 2.50 บาท

o   โดยจัดสรรกำไรทั้งหมดจากการดำเนินกิจการโรงงานหน้ากากอนามัยในทุกปีการผลิต ให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ ดังนี้ 

§  ศูนย์โรคหัวใจ 30% 
§  โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ 30% 
§  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30% และ
§  สภากาชาดไทย 10% 

o   ปัจจุบันยังไม่มีการจำหนายให้กับบุคคลภายนอก รวมถึงไม่ได้จำหน่ายในร้าน 7-11 แต่อย่างใด
 
สรุปว่าซีพีทำตามที่พูดไว้ โดยกำลังการผลิตในแต่ละช่วงเวลาไม่เหมือนกัน ช่วงวิกฤติตั้งแต่เดือนเม.ย. – ส.ค. 2563 ผลิตโดยเฉลี่ย 3 ล้านชิ้นต่อเดือน หลังช่วงวิกฤติ ในตลาดมีหน้ากากอนามัยมากขึ้นแล้ว ยอดการผลิตจึงลดลง ส่วนการขายก็เป็นไปตามหลักการของวิสาหกิจเพื่อสังคม และขายในราคาตามกฎหมาย ไม่เกินชิ้นละ 2.50 บาท รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย มอบให้กับโรงพยาบาลจุฬาฯ 100% ซึ่งขณะนี้มีรายได้เฉพาะจากการขายให้กับบริษัทในเครือฯ ในลักษณะสวัสดิการพนักงานและนำไปบริจาคให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่ร้องขอ 

โรงงานหน้ากากอนามัยซีพีสร้างขึ้นตามเจตนารมย์ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยใช้เวลาก่อสร้าง 5 สัปดาห์ ทุกขั้นตอนการผลิตใช้ระบบอัตโนมัติและใช้กำลังคนน้อยที่สุด เพื่อให้หน้ากากอนามัยปลอดเชื้อ เป็นไปตามมาตรฐานสากล

สำหรับตัวหน้ากากอนามัยซีพี เป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือ Surgical Mask จัดอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์หรือเครื่องมือทางการแพทย์ ประกอบด้วย 3 ชั้น โดยชั้นที่สำคัญที่สุดคือชั้นกลาง ที่เป็นนอนวูฟเวนชนิดเมลต์โบลน (สีขาว) ใช้ป้องกันเชื้อโรค มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย (BFE) 99% รวมถึงกรองฝุ่นอนุภาคขนาดเล็ก 0.1 ไมครอน (PFE) เฉลี่ย 99.9% และได้รับใบรับรองคุณภาพจาก Nelson Labs องค์กรมาตรฐานอุปกรณ์ทางการแพทย์จากประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมั่นใจได้ในคุณภาพและมาตรฐานระดับสูงรายหนึ่งของเมืองไทย
 
---------------------  

ข้อมูลข่าวมติชน, TNN

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่