อยากถามคนแต่ละภาคที่อยู่ข้ามภาคครับ หากจำเป็นต้องไปอยู่ภาคอื่นๆ เขาปรับตัวกันยังไงบ้าง

ยกตัวอย่าง
ถ้าเกิดภาคกลาง  เป็นคนภาคกลางแท้ๆ 
ที่บ้าน  ครอบครัว  ชุมชน สังคม  ใช้ภาษาไทยกลางเป็นหลัดตั้งแต่เกิด 

เมื่อมีเหตุจำเป็นต้องไปอยู่ภาคอื่น อย่าง เหนือ อีสาน ใต้ 
ต้องปรับตัวกันมากน้อยแค่ไหนครับ  การกิน  ประเพณี  ความคิดแต่ละท้องถิ่น  ภาษาถิ่น ภาษาพูด

อย่างบ้านเกิด จขกท ที่อีสาน อยู่แถวๆขอนแก่นไม่ไกล  จขกท ก็กลับบ้านเกิดบ้างบางครั้ง

ก็เห็นมีคนภาคกลาง หรือ ภาคใต้
มาอยู่หลายหลัง 
ทั้ง  ชัยนาท  นครสวรรค์ อุตรดิตถ์  สุราษ
ก็เห็นเขาอยู่กันได้สบายๆ  ไม่ต้องปรับตัวอะไรมากเท่าไหร่นะครับ สำหรับคนอื่น ผมก็ไม่รู้ 5555
ยังไงๆ ก็ประเทศไทย เหมือนกันแหละ
พูดไทยได้ทุกที่  

ยกตัวอย่าง ภาษาถิ่น  มาข้อเดียวละกัน 
คนท้องถิ่น ถ้าเราพูดกลาง เขาก็ตอบกลางกลับมานะ  ยกเว้น คนสูงอายุ ที่พูดกลางไม่ถนัด หรือ เขาจะ
พูดภาษาถิ่นไปเลย  แต่คนอายุ  40 - 35 ลงมา พูดภาษากลางได้เยอะมาก
และ แล้วแต่พื้นที่ด้วยครับ อย่าง เมืองใหญ่ นี่จะเยอะ

จขกท ไปขอนแก่นก็บ่อยครับ 
ขอนแก่น เป็นเมืองใหญ่ 
คนพูดภาษากลางจะเยอะพอสมควร อย่างเพื่อนในขอนแก่น มาจาก บึงกาฬ กาฬสินธุ์  หนองคาย โคราช ก็พูดกลางกัน
ยกเว้นบางคนพูดกับที่บ้าน

ด้วยความที่ขอนแก่น คน ตจว เยอะ คนภาคอื่นมาทำงานก็มีจำนวนมาก
คนขอนแก่นในเมือง จำนวนมากก็พูดภาษกลางกัน  หลายคนฟังอีสานได้ แต่พูดได้อาจไม่ถนัด หรือ พูดได้นิดหน่อย 

เรื่องอื่นๆ ต้องปรับตัวกันมากน้อยแค่ไหนครับ 
เช่น  การกิน  การอยู่  ประเพณี สังคม

ตอบได้ทุกคนครับ 
คนภาคไหนก็ได้ที่อยู่ข้ามภาค
อย่าง  กลางไป อีสาน เหนือ  
อีสาน เหนือ ไป ใต้  ยิ้มพระอาทิตย์
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่