Facts about Sakoda Saori (迫田さおり) และเส้นทางชีวิตหลังเลิกเล่นวอลเลย์บอล

Facts about Sakoda Saori (迫田さおり) และเส้นทางชีวิตหลังเลิกเล่นวอลเลย์บอล


【元 バレーボール日本代表/迫田さおりさん】の素顔に迫る!!
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

1. เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตอน ป.3 เพราะเห็นพี่สาวเล่น ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็อยู่ชมรมวอลเลย์บอลมาโดยตลอดจนถึงม.ปลาย
2. ไม่เคยคิดเรื่องติดทีมชาติเลย ไม่ได้เป็นนักกีฬาที่มีชื่อเสียงในจ.คาโกชิมา (บ้านเกิด) คิดแค่ว่าสนุกไปกับมันเท่านั้นเอง ฮารุโคก็ไม่เคยไปแข่ง
3. หลังจากเรียน ม.ปลายจบก็คิดว่าอยากจะทำงานที่บ้านเกิดของตัวเองกับพี่สาว
4. มีคนมา scout (คนจากสโมสร Toray) ฟอร์มถึง รร. แต่ก็คิดว่าเส้นทางที่พวกผู้ใหญ่กำหนดให้มันไม่ค่อยตรงกับที่ซาโกดะคิดเท่าไหร่ ก็เคยคิดว่านี่ไม่ใช่ที่ที่ฉันควรมาเลย ซ้อมก็หนักมาก ความคิดที่อยากกลับบ้านก็ออกมาเรื่อย ๆ เลยคิดว่าจะเล่น 3 ปีพอ
5. หลังจากที่คิดว่าจะเล่นแค่ 3 ปี ปีถัดมาก็ถูกเรียกให้ติดทีมชาติ ทั้ง ๆ ที่จะเลิกเล่นแล้ว
6. การซ้อมของทีมชาติหนักมาก ตอนติดทีมชาติปีแรก การซ้อมช่วงเช้าเริ่ม 6 โมงเช้าไปโรงยิม ไปวิ่ง กินข้าวเช้า ทำความสะอาดโรงยิม เริ่มซ้อมช่วงเช้า และก็ซ้อมช่วงบ่าย จากนั้นก็เข้าฟิตเนส
7. ในปี 2012 ก็พาทีมคว้าเหรียญทองแดงกีฬาโอลิมปิก เอาชนะเกาหลีใต้ไป 3-0 ซึ่งทำคะแนนไป 23 คะแนน ในวันนั้นตื่นเต้นมาก เพราะไม่ค่อยได้ลงแมชท์อื่น ๆ เลย อีกทั้งอิชิดะต้องกลับญี่ปุ่นกะทันหันด้วยเรื่องของครอบครัว แต่ก็ร่วมทุกข์ร่วมสุขมาด้วยกันตลอดจนถึงโอลิมปิก ก็เลยคิดว่าเล่นได้ดีในแมชท์นั้นเพราะอิชิดะด้วย
8. มีวิธีควบคุมสติ สมาธิของตัวเองด้วยความรู้สึกจะทำวันนี้ให้ดีที่สุด เล่นให้เต็มที่ แม้ว่าจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อีกอย่างคือเราไม่ได้อยู่ในสนามคนเดียว คนอื่นเขาก็รู้สึกตึงเครียดไปกับการแข่งขันเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็จะพยายามทำให้สุดความสามารถ 
9. การเล่นให้กับทีมโทเรย์และทีมชาติมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในเรื่องของบรรยากาศและการฝึกซ้อม แต่ความตั้งใจ ความหนักแน่นในการฝึกซ้อมก็ไม่ได้แตกต่างกัน
10. ในปี 2016 (จบอันดับ 5) มีความแตกต่างในปี 2012 เพราะเป็นพี่ใหญ่แล้ว ต้องกระตุ้นรุ่นน้องบ่อยขึ้น
11. ไม่ได้เป็นที่พึ่งทางใจให้กับรุ่นน้องสักเท่าไหร่ แต่ชอบอยู่กับรุ่นพี่มากกว่า เพราะพูดกับรุ่นน้องไม่ค่อยเก่ง
12. การตบ 3 เมตร อาวุธลับที่เป็นที่ร่ำลือกันมาอย่างยาวนาน เริ่มฝึกตอนอยู่ที่โทเรย์แต่ก็ไม่ได้เน้นมากเท่าไหร่ เอาแค่พอรู้ว่า "ฉันก็ตบได้นี่นา" แต่พอติดทีมชาติไปแล้วก็คิดว่าเราจะมีจุดเด่นอะไรช่วยทีมได้บ้าง ก็คิดว่าการตบ 3 เมตรนี่แหละ จากนั้นเป็นต้นมาก็บอกกับตัวเองมาตลอดว่าเรื่องการตบจากแดนหลังจะไม่เป็นสองรองใคร
13. เป็นคนคิดมากก่อนนอน โดยเฉพาะก่อนแข่งและหลังแข่ง แต่มันก็เป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำเลยที่ครั้งหนึ่งในชีวิตได้ทุ่มเทกับวอลเลย์บอลมากขนาดนี้
14. เหตุผลที่ประกาศเลิกเล่นในปี 2017 คือ เหตุผลทางด้านจิตใจมากกว่า ว่าจะเล่นได้หรือเปล่านะ จะยังกล้าเล่นกล้าเสี่ยงได้เหมือนเคยอีกหรือเปล่านะ อีกอย่างคือรู้สึกว่าเวลาชนะก็ดีใจนะ แต่เวลาแพ้ก็รู้สึกว่าอ้าวแพ้หรอ ความรู้สึกที่เต็มที่กับวอลเลย์บอล* มันค่อย ๆ หายไป เพราะฉะนั้นถ้าจะเล่นต่อไปก็เหมือนเป็นการเล่นและแข่งขันที่ไม่เคารพคนดูที่มาเชียร์ และการตัดสินใจเลิกเล่นนี้ไม่ได้ปรึกษาครอบครัวเลยแม้กระทั่งพี่สาวที่สนิทกัน ตัดสินใจด้วยตัวเอง

ขอแถมเกี่ยวกับชีวิตหลังเลิกเล่นของซาโกดะ

元バレーボール日本代表が要潤に悩みを打ち明ける!?
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
15. เริ่มรู้สึกอยากเล่นวอลเลย์ขึ้นมาก็ตอนที่ต้องกักตัวอยู่บ้านเพราะโควิด-19
16. ตอนเด็ก ๆ อยากเปิดร้านขายดอกไม้ แล้วตอนที่มีการถ่ายทำรายการ (ไม่แน่ใจว่ารายการอะไร) ร้านขายดอกไม้ที่ จ.คาโกชิมะ พอถ่ายเสร็จแล้วก็พูดกับทีมงานว่า "ให้ฉันทำงานที่นี่ได้ไหมคะ!"
17. ไม่เคยคิดจะผันตัวเองไปเป็นโค้ชเลยเพราะพูดกับเด็ก ๆ หรือรุ่นน้องไม่ค่อยเก่ง อีกอย่างคือเป็นคนจริงจังมาก ถ้าเปรียบเป็นสวิตช์ก็มีแต่ปิดกับเปิดเท่านั้น ไม่รู้วิธีจะปิดมันอย่างไร ถ้าไปฝึกให้ใครแล้วเปิดโหมด ON ตลอดก็กลัวตัวเองเหมือนกันเพราะน่าจะเข้มงวดมาก เพราะงั้นถ้ารู้วิธีปิดเปิดได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระแล้วล่ะก็อาจจะไปเป็นโค้ช
18. มีบ้างที่รู้สึกอิจฉาเวลาเห็นรุ่นพี่ของตัวเองไปสอนเกี่ยวกับวอลเลย์ เพราะสมัยติดทีมชาติก็มีผลงานที่โดดเด่น มีคำอธิบายเข้าใจง่าย การใช้ภาษาก็เก่ง
19. ในปี 2020 เป็นปีที่มีโอลิมปิกที่โตเกียว ตั้งใจมาเช่าบ้านที่โตเกียวเพื่อทุ่มเทให้กับวอลเลย์บอล  แต่พออยู่ได้ 2 เดือนเท่านั้นโคโรน่าก็มาพอดี พึมพำกับตัวเองว่า "นี่ฉันมาโตเกียวทำไมกันนะ" แต่ก็จะพยายามต่อไปอยู่ดี
20. อยากบอกนักกีฬาชุดโตเกียว 2021 ว่าไม่ต้องเกร็งและฝืนตัวเองเกินไป ถ้ามีเวลาได้พักก็พักให้เต็มที่ อยากให้เล่นในแบบที่ตัวเองเล่นมาตลอด
21. เพื่อให้ได้เป็นในแบบที่ตัวเองอยากเป็น ได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานไปในทุก ๆ วัน สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับเธอก็คือ "การอยู่อย่างมีความสุข"

ช่วงท้ายของการสัมภาษณ์มีการถามเทคนิคจาก Jun ว่ามีวิธีการเล่าเรื่องหรือบรรยายให้ดีอย่างไรอีกด้วย เพราะมีโอกาสได้ทำงานต้องเป็น narrator ในจ. คาโกชิมะบ้านเกิดของตัวเธอเองอีกด้วย

เพิ่มเติม
*คำนี้ที่ซาโกดะพูดออกมา 闘争心 (sotoshin: สู้จนตัวตาย สู้จนถึงที่สุด) แสดงให้เห็นถึงความจริงจังและตั้งใจของคนญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี
คนที่ซาโกดะคุยด้วยคือ Jun Kaname เป็นนักแสดงชื่อดังของญี่ปุ่นคนหนึ่งเลย
ตอนนี้นอกจากทำงานที่บ้านเกิดแล้ว ก็ยังทำงานที่โตเกียวอีกด้วย ซึ่งก็คือการเป็นผู้บรรยายกีฬาวอลเลย์บอลในวีลีกบ้าง ทำคลินิกวอลเลย์บอลบ้าง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่