สถานการณ์ของโควิด-19 ทำให้ฝุ่น PM2.5 ลดลง

การพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 ตามด้วยการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อ 26 มี.ค. แล้วต่อด้วยการประกาศเคอร์ฟิวเมื่อ 3 เม.ย. ได้ทำให้ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพฯ ลดฮวบลง และส่งผลให้คุณภาพอากาศดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) บอกกับบีบีซีไทยว่า โดยปกติแล้ว ช่วงต้นปีอย่างนี้ คุณภาพอากาศในกรุงเทพฯ มักเกินค่ามาตรฐานในระดับส่งผลกระทบต่อสุขภาพเกือบทุกวัน เพราะอากาศปิดและเป็นช่วงที่มีการสัญจรมาก ถ้าไม่มีการระบาดของโควิด-19 ที่นำมาสู่การปิดเมือง การกักตัวอยู่บ้าน สถานการณ์ PM2.5 ปีนี้รุนแรงแน่
PM2.5 กลายเป็น "วิกฤตประจำปี" ที่สถานการณ์มักจะรุนแรงในช่วงหน้าหนาว ตั้งแต่ปลายปีถึงต้นปี ซึ่งนายเถลิงศักดิ์บอกว่าในปีนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ไว้แล้ว "ก่อนที่โควิด-19 จะมา กทม. มีแผนจะปิดโรงเรียนในสังกัด กทม.แล้ว เนื่องจากสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 สูงมากจนถึงระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ แต่พอเกิดการระบาด รัฐบาลประกาศปิดสถานศึกษา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ปริมาณฝุ่นและมลพิษทางอากาศก็ลดลงทันที ซึ่งเมืองใหญ่ในหลายประเทศก็เป็นเหมือนกัน" 

จากการตรวจสอบระหว่างวันที่ 1-17 มีนาคม 2563 (ก่อนประกาศห้ามคนออกจากบ้าน) พบว่า มีรถมาก การจราจรหนาแน่น ค่าดัชนีรถติดเฉลี่ยรายวัน มีค่า 3.1-4.1 ค่าเฉลี่ย 3.7 และ พบว่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่า 10 – 46 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ค่าเฉลี่ย 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชม.ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระหว่างวันที่ 18 มีนาคม – 28 เมษายน 2563 (หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมาตรการให้ปิดสถานที่ที่อาจมีการชุมนุม เช่น โรงเรียนสอนพิเศษ สถาบัน อุดมศึกษา ให้ราชการปรับเปลี่ยนเวลาทำงาน และทำงานที่บ้านได้) รถน้อย การจราจรจรคล่องตัว ค่าดัชนีรถติดเฉลี่ยรายวัน มีค่า 2.4 -3.6  ค่าเฉลี่ย 2.9 พบว่าฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่า 9 – 42 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) ค่าเฉลี่ย 20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เมื่อเปรียบเทียบ ก่อนสถานการณ์โควิด-19 และช่วงโควิด-19 ในเวลาดังกล่าว ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ลดลง 20%
รายงานข้อมูลอ้างอิงจากสำนักข่าวเอเอฟพี ระบุว่า การกักตัวผู้คน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ทำให้สภาพอากาศดีขึ้น และมลพิษทางอากาศลดลงอย่างมาก ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide) หรือ NO2 คือ มลพิษทางอากาศที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน รวมไปถึงการเผาไหม้เชื้อเพลิงของยานพาหนะ หนึ่งในต้นเหตุของฝุ่น PM2.5


 
ภาพดาวเทียมเผย พื้นที่ที่มีการกักตัวประชาชน สกัดโรค COVID-19 พบว่ามลพิษทางอากาศลดลงอย่างฮวบฮาบ หลายจุดทั่วโลก นับเป็นเรื่องที่ดีในช่วงเวลาร้าย ๆ (ภาพจาก ทวิตเตอร์ @NASA Earth)



ภาพจากดาวเทียมขององค์การนาซา NASA เผยให้เห็นว่า นับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 เป็นต้นมา ปริมาณก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ (Nitrogen Dioxide) ที่เมืองอู่ฮั่น จุดศูนย์กลางการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่าลดลงอย่างฮวบฮาบ จนสถานะมาตรวัดเปลี่ยนจากสีส้ม-แดง ไปเป็นสีน้ำเงิน หมายความว่าสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ดาวเทียมของ องค์การอวกาศยุโรป หรือ ESA (European Space Agency) ก็สามารถจับภาพความเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน เผยให้ว่าท้องฟ้าที่อู่ฮั่นแทบไม่มีมลพิษทางอากาศ เมื่อเทียบกับเมืองใหญ่อื่น ๆ อย่างเทศบาลนครฉงชิ่ง ปักกิ่ง โตเกียว โซล และฮ่องกง


 
          โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ที่ตั้งอยู่ใจกลางชุมชน เป็นอีกหนึ่งโรงไฟฟ้าที่ติดตั้งระบบการติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศแบบต่อเนื่อง บริเวณปลายปล่องโรงไฟฟ้า และมีการตรวจวัดคุณภาพอากาศบริเวณชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้า โดยระบบข้อมูลการตรวจวัด จะถูกเชื่อมโยงไปยังกรมโรงงานอุตสาหกรรม และแสดงผลให้ชุมชนโดยรอบโรงฟ้าได้ทราบกัน ซึ่งผู้คนแถวนั้นสามารถที่จะตรวจสอบผ่านหน้าจอแสดงผล ที่ติดตั้งบริเวณหน้าทางเข้าโรงไฟฟ้า และบริเวณถนนบางกรวย-ไทรน้อยในชุมชน และไม่ใช่แค่สภาพอากาศอย่างเดียว ทางโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ยังมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำและระดับความดังของเสียง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่รบกวนประชาชนอีกด้วย
เหมืองแม่เมาะดำเนินการติดตามตรวจวัดปริมาณฝุ่นละอองรวม (TSP) และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM-10) บริเวณพื้นที่ชุมชนโดยรอบ กฟผ.แม่เมาะ โดยมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของ กฟผ.แม่เมาะ จำนวน 16 สถานี และยังมีสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษจำนวน 3 สถานี ผลที่ได้จากการตรวจวัดได้มีการรายงานให้กับตัวแทนของหมู่บ้านที่เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมกับ กฟผ. โดยติดไว้ที่บอร์ดของหมู่บ้านเพื่อให้ชุมชนได้รับรู้สถานการณ์ฝุ่นละอองของแต่ละหมู่บ้าน
ข้อมูลปริมาณฝุ่นละอองจะถูกคำนวณในรูปดัชนีคุณภาพอากาศ (ค่าดัชนี (AQI) ตามที่กรมควบคุมมลพิษกำหนด โดยแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ 0 ถึง มากกว่า 200 ซึ่งแต่ละระดับ จะใช้สีเปรียบเทียบระดับของผลกระทบที่มีต่อสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะหากมีค่าดัชนีเกินกว่า 100 แสดงว่าปริมาณของฝุ่นละอองมีค่าเกินมาตรฐานและบอกได้ว่า คุณภาพอากาศในวันนั้นเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพและอนามัย



 
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าปัญหาฝุ่นขนาดมาก หรือ PM2.5 นั้นส่วนใหญ่เกิดจากไอเสียของรถยนต์ประเภทต่างๆ ร้อยละ 54 โดยเฉพาะรถดีเซล ที่มี 2.8 ล้านคน จากรถทั้งหมดประมาณ 10 ล้านคัน และร้อยละ 35 เกิดจากการเผาในที่แจ้ง (เผาที่สวน ไร่ นา และไฟป่า) โดยที่ ดังนั้น PM2.5 จะเกิดจากภาคอุตสาหกรรม หรือ โรงไฟฟ้าในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับแหล่งอื่นๆ  อีกทั้ง กฟผ. มีระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมที่ใช้งานกับทุกโรงไฟฟ้า  รอบโรงไฟฟ้าเป็นประจำด้วยการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ผลตรวจวัดจึงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้โดยตลอด และที่สำคัญยังเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเองอีกด้วย
 

บทความโดย 
ดร.เชาวน์ นกอยู่  นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม  กรมควบคุมมลพิษ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่