หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำกล่าว หรือคำถามที่ว่า คุณถนัดใช้สมองซีกซ้าย หรือสมองซีกขวามากกว่ากัน หรือเคยได้ยินว่า คนถนัดใช้สมองซีกซ้ายจะเก่งเรื่องตัวเลขและชอบใช้เหตุผลเป็นหลัก ส่วนคนถนัดใช้สมองซีกขวาจะเก่งเรื่องความคิดสร้างสรรค์และชอบใช้อารมณ์เป็นหลัก แต่ว่า คำกล่าวเกี่ยวกับ สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา เหล่านี้จะใช่เรื่องจริงไหม จริงๆ แล้วสมองของเราทำงานอย่างไร
สมองของคนเราทำงานอย่างไร
สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อน แม้จะมีน้ำหนักแค่ประมาณ 1.3 กิโลกรัม แต่ก็ประกอบด้วยเซลล์ประสาทกว่าแสนล้านเซลล์ และมีส่วนเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทถึงร้อยล้านล้านส่วน สมองของเราแบ่งออกเป็นสองซีก 2 ซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา โดยสมองแต่ละซีกก็ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป
แม้สมองทั้งสองซีกจะดูคล้ายคลึงกัน แต่วิธีการประมวลข้อมูลของสมองทั้งสองซีกก็แตกต่างกันมาก แต่ถึงอย่างนั้น สมองสองซีกของเราก็ไม่ได้ทำงานแยกกันโดยสิ้นเชิงแบบที่ใครหลายคนเข้าใจ โดยปกติแล้ว สมองแต่ละส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยเส้นใยประสาท (nerve fibers) หากสมองได้รับบาดเจ็บรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่อของสมองแต่ละส่วนหรือแต่ละซีก ร่างกายของคุณก็จะยังสามารถทำงานต่อไปได้ แต่การสอดประสานกันก็อาจจะไม่ดีเท่าปกติ หรือทำให้ร่างกายทำงานบกพร่องไปบ้าง
ทฤษฎีว่าด้วยเรื่อง สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา
มีทฤษฎีที่ว่าสมองแต่ละซีก ทั้งสมองซีกซ้าย และสมองซีกขวานั้นควบคุมความคิดคนละด้านกัน และคนเราแต่ละคนก็มักจะถนัดใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าสมองอีกซีก เช่น คนถนัดใช้สมองซีกซ้ายมักจะเก่งเรื่องการคิดวิเคราะห์ การคิดคำนวณ การใช้เหตุผล และมองอะไรตามพื้นฐานของความเป็นจริง ตรงข้ามกับคนถนัดใช้สมองซีกขวา ที่จะเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการมากกว่า เก่งเรื่องศิลปะ ชอบแสดงอารมณ์ ชอบทำอะไรตามสัญชาตญาณ หรือทำอะไรตามความรู้สึก
หากว่ากันในทางจิตวิทยา ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากกระบวนการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาที่แตกต่างกัน คือ สมองของเราแบ่งออกเป็นสองซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา โดยสมองทั้งสองซีกมีหน้าที่แตกต่างกันไป และสื่อสารหรือเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายของใยประสาทที่เรียกว่า “คอร์ปัส แคลโลซัม” (Corpus Callosum) ซึ่งทำหน้าที่คอยประสานให้สมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันได้โดยไม่ติดขัด
ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าสมองของคุณจะใช้ความคิดในแง่ของตรรกะหรือในแง่ความคิดสร้างสรรค์ สมองทั้งสองซีกก็จะต้องส่งข้อมูลถึงกันตลอด ไม่สามารถทำงานแค่ซีกเดียวได้ เช่น หากคุณต้องคิดค่าอาหารที่กินเข้าไป สมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่คำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ ส่วนสมองซีกขวาก็จะช่วยเปรียบเทียบข้อมูลและประมาณค่าคร่าว ๆ
วิธีลับสมอง ให้เฉียบคมอยู่เสมอ
สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า การลับสมองให้เฉียบคมอยู่เสมอด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยเพิ่มพลังให้สมอง และกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองใหม่ได้ ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ได้ด้วย
หาเวลาอ่านหนังสือ หรือเขียนไดอารีบ้าง
อย่าหยุดเรียนรู้ คุณควรเข้ารับการฝึกอบรม หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ
เล่นเกมลับสมองและช่วยพัฒนาความจำ เช่น คอร์สเวิร์ด ซูโดกุ ต่อจิ๊กซอว์ บอร์ดเกม เกมทดสอบความจำ วิดีโอเกม เกมไพ่
หางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ หรือทักษะการเรียนรู้ เช่น การเล่นดนตรี การวาดรูป ศึกษาไอเดียใหม่ๆ จากผู้อื่นเสมอเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
พักผ่อนให้เพียงพอ
พยายามอย่าเครียด และหัวเราะให้เยอะๆ
สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา ทำงานแตกต่างกันอย่างไร?
สมองของคนเราทำงานอย่างไร
สมองเป็นอวัยวะที่ซับซ้อน แม้จะมีน้ำหนักแค่ประมาณ 1.3 กิโลกรัม แต่ก็ประกอบด้วยเซลล์ประสาทกว่าแสนล้านเซลล์ และมีส่วนเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทถึงร้อยล้านล้านส่วน สมองของเราแบ่งออกเป็นสองซีก 2 ซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา โดยสมองแต่ละซีกก็ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายที่แตกต่างกันออกไป
แม้สมองทั้งสองซีกจะดูคล้ายคลึงกัน แต่วิธีการประมวลข้อมูลของสมองทั้งสองซีกก็แตกต่างกันมาก แต่ถึงอย่างนั้น สมองสองซีกของเราก็ไม่ได้ทำงานแยกกันโดยสิ้นเชิงแบบที่ใครหลายคนเข้าใจ โดยปกติแล้ว สมองแต่ละส่วนจะเชื่อมต่อกันด้วยเส้นใยประสาท (nerve fibers) หากสมองได้รับบาดเจ็บรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการเชื่อมต่อของสมองแต่ละส่วนหรือแต่ละซีก ร่างกายของคุณก็จะยังสามารถทำงานต่อไปได้ แต่การสอดประสานกันก็อาจจะไม่ดีเท่าปกติ หรือทำให้ร่างกายทำงานบกพร่องไปบ้าง
ทฤษฎีว่าด้วยเรื่อง สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา
มีทฤษฎีที่ว่าสมองแต่ละซีก ทั้งสมองซีกซ้าย และสมองซีกขวานั้นควบคุมความคิดคนละด้านกัน และคนเราแต่ละคนก็มักจะถนัดใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าสมองอีกซีก เช่น คนถนัดใช้สมองซีกซ้ายมักจะเก่งเรื่องการคิดวิเคราะห์ การคิดคำนวณ การใช้เหตุผล และมองอะไรตามพื้นฐานของความเป็นจริง ตรงข้ามกับคนถนัดใช้สมองซีกขวา ที่จะเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการมากกว่า เก่งเรื่องศิลปะ ชอบแสดงอารมณ์ ชอบทำอะไรตามสัญชาตญาณ หรือทำอะไรตามความรู้สึก
หากว่ากันในทางจิตวิทยา ทฤษฎีนี้เกิดขึ้นโดยมีพื้นฐานมาจากกระบวนการทำงานของสมองซีกซ้ายและซีกขวาที่แตกต่างกัน คือ สมองของเราแบ่งออกเป็นสองซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวา โดยสมองทั้งสองซีกมีหน้าที่แตกต่างกันไป และสื่อสารหรือเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายของใยประสาทที่เรียกว่า “คอร์ปัส แคลโลซัม” (Corpus Callosum) ซึ่งทำหน้าที่คอยประสานให้สมองทั้งสองซีกทำงานร่วมกันได้โดยไม่ติดขัด
ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าสมองของคุณจะใช้ความคิดในแง่ของตรรกะหรือในแง่ความคิดสร้างสรรค์ สมองทั้งสองซีกก็จะต้องส่งข้อมูลถึงกันตลอด ไม่สามารถทำงานแค่ซีกเดียวได้ เช่น หากคุณต้องคิดค่าอาหารที่กินเข้าไป สมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่คำนวณสมการทางคณิตศาสตร์ ส่วนสมองซีกขวาก็จะช่วยเปรียบเทียบข้อมูลและประมาณค่าคร่าว ๆ
วิธีลับสมอง ให้เฉียบคมอยู่เสมอ
สมาคมโรคอัลไซเมอร์แห่งสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า การลับสมองให้เฉียบคมอยู่เสมอด้วยวิธีง่ายๆ ดังต่อไปนี้ อาจช่วยเพิ่มพลังให้สมอง และกระตุ้นการสร้างเซลล์สมองใหม่ได้ ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) ได้ด้วย
หาเวลาอ่านหนังสือ หรือเขียนไดอารีบ้าง
อย่าหยุดเรียนรู้ คุณควรเข้ารับการฝึกอบรม หรือเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ อยู่เสมอ
เล่นเกมลับสมองและช่วยพัฒนาความจำ เช่น คอร์สเวิร์ด ซูโดกุ ต่อจิ๊กซอว์ บอร์ดเกม เกมทดสอบความจำ วิดีโอเกม เกมไพ่
หางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ต้องใช้สมาธิ หรือทักษะการเรียนรู้ เช่น การเล่นดนตรี การวาดรูป ศึกษาไอเดียใหม่ๆ จากผู้อื่นเสมอเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
พักผ่อนให้เพียงพอ
พยายามอย่าเครียด และหัวเราะให้เยอะๆ