ในปี 2003 นั้น EA Pacific ได้ถูกรวมเข้ากับ EA Los Angeles ซึ่งเดิมคือ DreamWorks Interactive ที่ EA ไปซื้อมา ทำให้ผู้พัฒนา C&C กลายเป็น EA Los Angeles แทน
ปี 2007 Command & Conquer 3: Tiberium Wars ได้ออกวางจำหน่ายซึ่งตัวเกมนั้นได้จะเพิ่มฝ่ายที่ 3 ลงมาในเกมตามหลักนิยมของเกม RTS ในสมัยนั้น ภาพรวมของเกมนั้นยังคงโอเค แต่ผู้เขียนเล่นแล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเหมือนมีอะไรที่ขาดไป โดยเฉพาะกับภาคเสริมที่ชื่อ Kane's Wrath ที่ออกมาเมื่อปี 2008 นั้นยิ่งเล่นก็ยิ่งรู้สึกแปลก ๆ เช่นว่าทำไมเนื้อเรื่องเสริมถึงมีแต่ฝ่าย NOD
แต่ที่แย่กว่าในความรู้สึกของแฟนเกมคนหนึ่งคือ C&C ในตอนนี้นั้นสู้เกม RTS จากฝั่ง Blizzard ไม่ได้แล้ว ความสนุกนั้นเทียบไม่ได้กับ Warcraft 3 ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2002 เลย
ความรู้สึกแปลก ๆ ยังคงเกิดขึ้นกับ C&C ภาคต่อมาซึ่งก็คือ C&C Red Alert 3 ที่ออกวางจำหน่ายในปี 2008
อันนี้ผู้เขียนเข้าใจได้ว่าเพราะ Red Alert 2 นั้นสร้างมาตรฐานไว้สูงมาก เมื่อ Red Alert 3 ทำไม่ได้อย่างที่ภาคก่อนเคยทำได้ก็เลยมีกระแสตีกลับจากแฟน ๆ
สำหรับผู้เขียนแล้ว เกมสนุกน้อยลงอย่างรู้สึกได้แต่ก็ยังอยู่ในระดับโอเค แต่ก็มารู้สึกแปลก ๆ อีกครั้งกับภาคเสริมของ Red Alert 3 ในชื่อ Uprising
ทำไมภาคเสริมถึงสร้างมาให้เล่นแบบ Standalone ได้
ทำไมถึงมี campaign พิเศษสำหรับยูนิตที่ชื่อ ยูริโกะ ของฝ่ายญี่ปุ่นที่เกมเพลย์ไปเหมือนกับ Warcraft 3 ในภารกิจที่ต้องควบคุม Hero Unit ตัวเดียวลุยด่านเก็บไอเท็มแล้วสู้ Boss
อารมณ์เหมือนผู้พัฒนากำลังจะสร้าง C&C ไปในทิศทางใหม่แต่ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี
และแล้วก็มีการประกาศ C&C ภาคที่ 4 ในชื่อ Tiberian Twilight และเป็นภาคสุดท้ายของซี่รีย์ Tiberian ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องหลักของ C&C ออกวางจำหน่ายที่อเมริกาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2010
ในฐานะแฟนของ C&C ก็ไม่พลาดที่จะซื้อมาเล่นตั้งแต่วันแรกที่เกมออกวางจำหน่ายที่ร้านใกล้บ้าน
ตอนนั้นผู้เขียนไม่ได้อยู่ที่ไทย จำได้แม่นว่าราคาเกมตอนนั้นคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,400 กว่าบาท
มันเป็น 2,400 ที่เสียของที่สุดทั้งในชีวิตการเล่นเกมและในชีวิตของแฟนเกม C&C
แน่นอนว่าผู้เขียนเลือกที่จะเล่นฝ่าย NOD ก่อนเหมือนอย่างเคย
เมื่อเริ่มเกมมาสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่ามันมีอะไรไม่ถูกต้องคือระบบ Gameplay
เรื่องแนวการเล่นที่เปลี่ยนจากเก็บทรัพยากรไปเป็น Point Capture นั้นเข้าใจได้ เกม RTS ที่ดัง ๆ และประสบความสำเร็จในช่วงนั้นเช่น Company of Hero หรือ Warhammer 40k Draw of War ล้วนเป็นแนว Point Capture ทั้งสิ้น
C&C จะเอาอย่างบ้างก็พอเข้าใจได้
แต่ไอ้การที่แบ่งยูนิตออกเป็น 3 หมวด Offend, Defend และ Support ให้ผู้เล่นเลือกว่าจะเล่นหมวดไหนนั้นมันคืออะไร
แล้วผู้เล่นจะสามารถสร้างยูนิตได้ตามหมวดที่เลือกเท่านั้น หมวด Offend จะสร้างยูนิตได้แต่ยานเกราะ , Defend สร้างได้แต่ทหารราบและป้อมปืนและ Support สร้างได้แต่ยานบิน
“ตูเล่น Single Player นะเฮ้ย” นี่คือสิ่งที่คิดตอนนั้น
เมื่อปีที่แล้วผู้เขียนได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับความเป็นมาของ C&C จึงได้รู้ว่า C&C4 นี้พัฒนาบน C&C Arena ซึ่งเป็น C&C แนว Multiplayer ที่ล้มโครงการไป
Ok (เขียนไปอารมณ์เริ่มขึ้นไป)
แต่การเอา Gameplay แบบ Multiplayer มาใส่โหมด Single Player นี่มันคืออะไร
ความพังของเกมเพลย์แบบนี้ถึงกับทำให้มีการพูดถึง C&C ภาคนี้ว่า
“Play with friends or not play at all” (เล่นกับเพื่อน หรือ ไม่ต้องเล่นเลย)
นี่คือดอกแรก
ดอกที่ 2 คือตัวเกมมีระบบ Player Level ด้วย ซึ่งผู้เล่นที่ LV ต่ำนั้นจะไม่สามารถสร้างยูนิตระดับสูงได้
วิธีการเพิ่ม LV นั้นคือการย้อนกลับไปเล่นด่านเก่า สะสมค่าประสบการณ์ไปปลดล๊อกยูนิตใหม่
“นี่ตูเล่น Single Player ใช่ไหม”
การเอาระบบแบบนี้มาใช้กับ Single Player มันจะเป็นยังไงน่ะรึ?
มันก็จะทำให้ในด่านหลัง ๆ เราจะมียูนิตที่ด้อยกว่า AI และทำให้เล่นผ่านยากมากหรือผ่านไม่ได้เพราะคุณภาพยูนิตสู้ไม่ได้
เช่น ฉากหนึ่งฝ่าย AI มีรถถังใช้แต่ฝ่ายผู้เล่นเองกลับยังสร้างได้แค่รถ APC
งั้นก็ใช้อากาศยานมายิงสิ ใช่ ตามปกติก็ควรจะเป็นแบบนั้นแต่ทำไม่ได้เพราะอากาศยานอยู่ในหมวด Support ถ้าเราเล่นหมวดอื่นอยู่ก็ต้องยอมระเบิดฐานเก่าเพื่อเปลี่ยนไปเล่นหมวด Support แทน
แต่เกมยอมให้ฐานเราถูกทำลายได้เพียง 3 ครั้ง ครบ 3 ครั้งก็ Game Over
“นี่ตูเล่น Single Player นะไอ้$&^*@#”
ทำไหมต้องเอาแนวทางการเล่นที่เรียบง่ายของ Single Player อย่างเล่นตาม Story ค่อย ๆ ปลดล๊อคยูนิตใหม่ตามฉากออกไปด้วย เพื่อให้เกมมันมีคุณค่าที่จะ Replay รึ อยากให้ผู้เล่นย้อนเล่นฉากเก่า ๆ รึ บริษัทได้ Achievement ว่าให้ผู้เล่นทุกคนเล่นเกมเกิน 100 ชั่วโมงรึ
ถึงตรงนี้อย่าว่าแต่ 100 ชั่วโมงเลย แค่ชั่วโมงเดียวผู้เขียนยังต้องกัดฟันเล่นด้วยเหตุผลเดียวและเหตุผลเดียวเท่ากัน
FOR KANE.
แต่ความวายป่วงทั้งหลายนั้นยังไม่หมด ยังมีดอกที่ 3 อยู่
C&C4 นั้นใช้ระบบ DRM (Digital Rights Management หรือคิดง่าย ๆ ว่าเป็นระบบตรวจสอบ Software ละเมิดลิขสิทธิ์) แบบ Always Online ซึ่งเริ่มนิยมใช้กันในเกมสมัยนั้น มันบังคับให้ผู้เล่นต้องเชื่อมต่อกับ Server ผ่าน internet ตลอดเวลาที่เล่นเกมเพื่อตรวจสอบ
ยังไม่พอ
ความคืบหน้าในการเล่นของผู้เล่น เช่น Achievement, EXP, ด่านที่เล่นผ่านแล้ว จะถูกส่งไปบันทึกที่ Server เมื่อเล่นผ่านด่านด้วยเช่นกัน นี่ทำให้ผู้เล่นต้อง Online ตลอดเวลาถ้าจะเล่นเกมนี้ ไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือไม่ก็ตาม
ถึงตรงนี้ผู้อ่านหลาย ๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์หรือ network จะเริ่มรู้ตัวแล้วว่าวิธีนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิด single point of failure ได้ เช่น Server หรือ Network รับการเชื่อมต่อจากผู้เล่นจำนวนมาก ๆ ไม่ไหวจนการเชื่อมต่อหลุดไป
คำถาม: ถ้าระหว่างที่เล่นอยู่หากการเชื่อมต่อหลุดไปจะเป็นยังไง
คำตอบ: Achievement, EXP ที่ได้จะไม่ถูกนับ ด่านที่เล่นผ่านนั้นก็จะไม่ถือว่าผ่าน ต้องเล่นด่านนั้นใหม่อีกรอบ
คำถาม: แล้วระบบไม่มันบันทึกเก็บไว้ชั่วคราวในเครื่องแล้วค่อย upload ขึ้นไปใหม่เมื่อเชื่อมต่อใหม่รึ
“ไม่”
ผู้เขียนจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่ผู้เขียนต้องใช้ยูนิตที่ด้อยกว่า AI เอาชนะและผ่านฉากนั้นมาด้วยความยากลำบากและฉิวเฉียด
จำได้ว่าหน้าจอขึ้น Mission complete แล้วหน้าจอก็แสดง Loading Icon นานผิดปกติ
“No no please god no”
หน้าจอกลับมาที่ Main Menu ขึ้น Error Message ว่า “Connection Error”
เมื่อเชื่อมต่อเข้าไปใหม่ ผู้เขียนไปเล่นด่านต่อไปไม่ได้เพราะด้านที่แล้วไม่ถือว่าผ่าน Achievement, EXP ยังคงเดิม
แล้วที่เล่ามานี้คือ Single Player Mode
“SINGLE F**KING PLAYER น่ะโว๊ย”
นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ว่าทำไหมเหล่าผู้เล่นถึงโกรธมากเมื่อรู้เรื่องระบบ DRM ของ Microsoft Xbox One เพราะพวกเค้าเคยเจอระบบแบบนี้มาแล้วเมื่อ 4-5 ปีก่อนและรู้ดีว่ามัน *&$%& แค่ไหนจนผู้เล่นเกม PC หลายคนหนีมาเล่นเกมคอนโซลแทน ส่วนบริษัทเกม PC ก็ออก Patch มาแก้ไขหรือปิดระบบ DRM ในเกมของตัวเองไป แต่ Microsoft กลับจะเอาระบบ DRM แบบนั้นกลับมาใช้อีก ผลคือ Xbox แพ้คู่แข่งตั้งแต่ยังไม่ลงสนาม ชื่อเสียงและโมเมนตั้มที่ได้มาตอนยุคของ Xbox360 เสียเปล่าอย่างน่าเสียดาย
หลังจากนั้นผู้เขียนก็ต้องย้อนกลับไปเล่นฉากก่อนหน้าซ้ำ ๆ เพื่อเก็บ EXP ปลดล๊อกยูนิตที่พอจะสู้ได้มาใช้ผ่านด่าน ซึ่งต้องทำแบบนี้อีกหลายครั้งและหลายคราที่เจอปัญหา connection loss จนต้องเล่นใหม่
ถึงตรงนี้ผู้เขียนรู้สึกพอกันทีกับเกมนี้เต็มแก่แต่ก็พยายามเล่น ๆ ให้มันจบ ๆ ไป
For Kane.
เมื่อจบเกม ผู้เขียนรู้สึกว่าเกมนี้มันช่างว่างเปล่าสิ้นดี ฉากจบก็….
15 ปีที่ผ่านมาเพื่อมาเจอสิ่งนี้รึ
สิ่งที่ดีที่สุดในฉากจบคือในช่วงท้ายมีฉากที่ตัวประกอบคนหนึ่งพูดกับกล้องนักข่าวว่า
“Kane is Dead? Oh Yeah!”
แล้วก็เดินหันหลังจากไป
ความคิดในหัวของผู้เขียนตอนนั้นคือ
Yeah, Kane is Dead. This game too.
ช่าย เคนตายแล้ว เกมนี้ก็ด้วย
นี่อาจจะเป็น message จากนักพัฒนาถึงแฟน ๆ ก็เป็นได้
หลังจากนั้นจำได้ว่าผู้เขียนพยายามที่จะเล่นเนื้อเรื่องของฝ่าย GDI ที่สุดท้ายแล้วเล่นไปได้เพียง 3 ด่านก็เลิก
มันทำใจเล่นไม่ได้จริง ๆ
ต่อมาผู้เขียนก็ได้มีโอกาสเล่น C&C General ภาคที่ผู้เขียนมองข้ามมาตลอดแล้วพบว่าไม่เลวทีเดียว ขอแค่เอาภาพยนต์คนแสดงมาใส่ก็เรียกได้เต็มปากว่า C&C และนี่ทำให้ผู้เขียนตื่นเต้นมากเมื่อได้ข่าวว่าจะสร้าง C&C General 2
แต่สุดท้ายโครงการก็ถูกยุบไปพร้อมกับ Brand C&C ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ
เมื่อผู้เขียนได้เห็น Command & Conquer: Tiberium Alliances ในปี 2012 ความรู้สึกต่าง ๆ ที่ยากจะอธิบายนั้นมันผุดขึ้นมาในใจ มันเหมือนเวลาที่เราได้เจอเพื่อนเก่าที่สมัยก่อนนั้นเป็นคนดัง, บ้านรวย, ร่าเริงสนุกสนานและโคตรเท่แต่ปัจจุบันกลับไม่เหลือเค้าเดิมที่เคยจำได้อีกแล้ว
หลังจากนั้น C&C ก็ไม่มีเกมใหม่ออกมาอีกเลย
ผู้อ่านสามารถเข้าไปดู Tiberium Alliances Gameplay ได้ใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=XT7jOng0mWw
หลังจากห่างหายไป 6ปีก็มีความพยายามที่จะปลุกซีรี่ย์ Command & Conquer ขึ้นมาอีกครั้งในภาค C&C Rivals เปิดตัวเมื่อปี 2018
เหล่าแฟน ๆ ต่างมีความหวังแต่ความหวังก็สลายไปเมื่อได้เห็น Gameplay
ความรู้สึกนั้นน่าจะคล้ายกับแฟน ๆ Blizzard ตอนได้เห็น Diablo Immortal
เห็นได้ชัดว่า แม้ EA ต้องการที่จะคืนชีพ C&C อีกครั้งแต่ก็ไม่ได้ตั้งเป้าให้ C&C เป็น C&C อย่างที่เคยเป็น
เมื่อปี 2020 Petroglyph Games ได้วางจำหน่าย Command & Conquer Remastered Collection ซึ่งประกอบไปด้วย C&C Original ภาคแรกและ C&C Red Alert ภาคแรก พร้อมใส่ Expansion ของเกมมาในตัว โดยผู้พัฒนาได้ทำการ Remaster ทั้งกราฟิก เสียงและเพลงประกอบรวมถึงภาพยนตร์ Cutscene ทำให้ C&C ที่เป็นเกมตั้งแต่ยุค 1995 ได้กลับมาโลดแล่นในยุคปัจจุบันอีกครั้งหลังจากผ่านไป 25 ปี
นี่ทำให้เหล่าแฟน ๆ C&C ได้โอกาสระลึกความหลังอีกครั้งร่วมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรุ่นใหม่ได้ทำความรู้จักกับเกมที่เมื่อ 25 ปีที่แล้วโด่งดังในระดับเป็นคู่แข่งกับ Warcraft 2 ของ Blizzard
สำหรับผู้เขียน
Kane Live in Dead. Kane Live in Dead.
KANE LIVE.
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “C&C รุ่งเรืองถึงร่วงโรยจากมุมมองของแฟนเกม” Part 2
ปี 2007 Command & Conquer 3: Tiberium Wars ได้ออกวางจำหน่ายซึ่งตัวเกมนั้นได้จะเพิ่มฝ่ายที่ 3 ลงมาในเกมตามหลักนิยมของเกม RTS ในสมัยนั้น ภาพรวมของเกมนั้นยังคงโอเค แต่ผู้เขียนเล่นแล้วรู้สึกแปลก ๆ ว่าเหมือนมีอะไรที่ขาดไป โดยเฉพาะกับภาคเสริมที่ชื่อ Kane's Wrath ที่ออกมาเมื่อปี 2008 นั้นยิ่งเล่นก็ยิ่งรู้สึกแปลก ๆ เช่นว่าทำไมเนื้อเรื่องเสริมถึงมีแต่ฝ่าย NOD
แต่ที่แย่กว่าในความรู้สึกของแฟนเกมคนหนึ่งคือ C&C ในตอนนี้นั้นสู้เกม RTS จากฝั่ง Blizzard ไม่ได้แล้ว ความสนุกนั้นเทียบไม่ได้กับ Warcraft 3 ที่ออกมาตั้งแต่ปี 2002 เลย
ความรู้สึกแปลก ๆ ยังคงเกิดขึ้นกับ C&C ภาคต่อมาซึ่งก็คือ C&C Red Alert 3 ที่ออกวางจำหน่ายในปี 2008
อันนี้ผู้เขียนเข้าใจได้ว่าเพราะ Red Alert 2 นั้นสร้างมาตรฐานไว้สูงมาก เมื่อ Red Alert 3 ทำไม่ได้อย่างที่ภาคก่อนเคยทำได้ก็เลยมีกระแสตีกลับจากแฟน ๆ
สำหรับผู้เขียนแล้ว เกมสนุกน้อยลงอย่างรู้สึกได้แต่ก็ยังอยู่ในระดับโอเค แต่ก็มารู้สึกแปลก ๆ อีกครั้งกับภาคเสริมของ Red Alert 3 ในชื่อ Uprising
ทำไมภาคเสริมถึงสร้างมาให้เล่นแบบ Standalone ได้
ทำไมถึงมี campaign พิเศษสำหรับยูนิตที่ชื่อ ยูริโกะ ของฝ่ายญี่ปุ่นที่เกมเพลย์ไปเหมือนกับ Warcraft 3 ในภารกิจที่ต้องควบคุม Hero Unit ตัวเดียวลุยด่านเก็บไอเท็มแล้วสู้ Boss
อารมณ์เหมือนผู้พัฒนากำลังจะสร้าง C&C ไปในทิศทางใหม่แต่ไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี
และแล้วก็มีการประกาศ C&C ภาคที่ 4 ในชื่อ Tiberian Twilight และเป็นภาคสุดท้ายของซี่รีย์ Tiberian ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องหลักของ C&C ออกวางจำหน่ายที่อเมริกาเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2010
ในฐานะแฟนของ C&C ก็ไม่พลาดที่จะซื้อมาเล่นตั้งแต่วันแรกที่เกมออกวางจำหน่ายที่ร้านใกล้บ้าน
ตอนนั้นผู้เขียนไม่ได้อยู่ที่ไทย จำได้แม่นว่าราคาเกมตอนนั้นคิดเป็นเงินไทยประมาณ 2,400 กว่าบาท
มันเป็น 2,400 ที่เสียของที่สุดทั้งในชีวิตการเล่นเกมและในชีวิตของแฟนเกม C&C
แน่นอนว่าผู้เขียนเลือกที่จะเล่นฝ่าย NOD ก่อนเหมือนอย่างเคย
เมื่อเริ่มเกมมาสิ่งที่ทำให้รู้สึกว่ามันมีอะไรไม่ถูกต้องคือระบบ Gameplay
เรื่องแนวการเล่นที่เปลี่ยนจากเก็บทรัพยากรไปเป็น Point Capture นั้นเข้าใจได้ เกม RTS ที่ดัง ๆ และประสบความสำเร็จในช่วงนั้นเช่น Company of Hero หรือ Warhammer 40k Draw of War ล้วนเป็นแนว Point Capture ทั้งสิ้น
C&C จะเอาอย่างบ้างก็พอเข้าใจได้
แต่ไอ้การที่แบ่งยูนิตออกเป็น 3 หมวด Offend, Defend และ Support ให้ผู้เล่นเลือกว่าจะเล่นหมวดไหนนั้นมันคืออะไร
แล้วผู้เล่นจะสามารถสร้างยูนิตได้ตามหมวดที่เลือกเท่านั้น หมวด Offend จะสร้างยูนิตได้แต่ยานเกราะ , Defend สร้างได้แต่ทหารราบและป้อมปืนและ Support สร้างได้แต่ยานบิน
“ตูเล่น Single Player นะเฮ้ย” นี่คือสิ่งที่คิดตอนนั้น
เมื่อปีที่แล้วผู้เขียนได้ดูวิดีโอเกี่ยวกับความเป็นมาของ C&C จึงได้รู้ว่า C&C4 นี้พัฒนาบน C&C Arena ซึ่งเป็น C&C แนว Multiplayer ที่ล้มโครงการไป
Ok (เขียนไปอารมณ์เริ่มขึ้นไป)
แต่การเอา Gameplay แบบ Multiplayer มาใส่โหมด Single Player นี่มันคืออะไร
ความพังของเกมเพลย์แบบนี้ถึงกับทำให้มีการพูดถึง C&C ภาคนี้ว่า
“Play with friends or not play at all” (เล่นกับเพื่อน หรือ ไม่ต้องเล่นเลย)
นี่คือดอกแรก
ดอกที่ 2 คือตัวเกมมีระบบ Player Level ด้วย ซึ่งผู้เล่นที่ LV ต่ำนั้นจะไม่สามารถสร้างยูนิตระดับสูงได้
วิธีการเพิ่ม LV นั้นคือการย้อนกลับไปเล่นด่านเก่า สะสมค่าประสบการณ์ไปปลดล๊อกยูนิตใหม่
“นี่ตูเล่น Single Player ใช่ไหม”
การเอาระบบแบบนี้มาใช้กับ Single Player มันจะเป็นยังไงน่ะรึ?
มันก็จะทำให้ในด่านหลัง ๆ เราจะมียูนิตที่ด้อยกว่า AI และทำให้เล่นผ่านยากมากหรือผ่านไม่ได้เพราะคุณภาพยูนิตสู้ไม่ได้
เช่น ฉากหนึ่งฝ่าย AI มีรถถังใช้แต่ฝ่ายผู้เล่นเองกลับยังสร้างได้แค่รถ APC
งั้นก็ใช้อากาศยานมายิงสิ ใช่ ตามปกติก็ควรจะเป็นแบบนั้นแต่ทำไม่ได้เพราะอากาศยานอยู่ในหมวด Support ถ้าเราเล่นหมวดอื่นอยู่ก็ต้องยอมระเบิดฐานเก่าเพื่อเปลี่ยนไปเล่นหมวด Support แทน
แต่เกมยอมให้ฐานเราถูกทำลายได้เพียง 3 ครั้ง ครบ 3 ครั้งก็ Game Over
“นี่ตูเล่น Single Player นะไอ้$&^*@#”
ทำไหมต้องเอาแนวทางการเล่นที่เรียบง่ายของ Single Player อย่างเล่นตาม Story ค่อย ๆ ปลดล๊อคยูนิตใหม่ตามฉากออกไปด้วย เพื่อให้เกมมันมีคุณค่าที่จะ Replay รึ อยากให้ผู้เล่นย้อนเล่นฉากเก่า ๆ รึ บริษัทได้ Achievement ว่าให้ผู้เล่นทุกคนเล่นเกมเกิน 100 ชั่วโมงรึ
ถึงตรงนี้อย่าว่าแต่ 100 ชั่วโมงเลย แค่ชั่วโมงเดียวผู้เขียนยังต้องกัดฟันเล่นด้วยเหตุผลเดียวและเหตุผลเดียวเท่ากัน
FOR KANE.
แต่ความวายป่วงทั้งหลายนั้นยังไม่หมด ยังมีดอกที่ 3 อยู่
C&C4 นั้นใช้ระบบ DRM (Digital Rights Management หรือคิดง่าย ๆ ว่าเป็นระบบตรวจสอบ Software ละเมิดลิขสิทธิ์) แบบ Always Online ซึ่งเริ่มนิยมใช้กันในเกมสมัยนั้น มันบังคับให้ผู้เล่นต้องเชื่อมต่อกับ Server ผ่าน internet ตลอดเวลาที่เล่นเกมเพื่อตรวจสอบ
ยังไม่พอ
ความคืบหน้าในการเล่นของผู้เล่น เช่น Achievement, EXP, ด่านที่เล่นผ่านแล้ว จะถูกส่งไปบันทึกที่ Server เมื่อเล่นผ่านด่านด้วยเช่นกัน นี่ทำให้ผู้เล่นต้อง Online ตลอดเวลาถ้าจะเล่นเกมนี้ ไม่ว่าจะเล่นคนเดียวหรือไม่ก็ตาม
ถึงตรงนี้ผู้อ่านหลาย ๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์หรือ network จะเริ่มรู้ตัวแล้วว่าวิธีนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิด single point of failure ได้ เช่น Server หรือ Network รับการเชื่อมต่อจากผู้เล่นจำนวนมาก ๆ ไม่ไหวจนการเชื่อมต่อหลุดไป
คำถาม: ถ้าระหว่างที่เล่นอยู่หากการเชื่อมต่อหลุดไปจะเป็นยังไง
คำตอบ: Achievement, EXP ที่ได้จะไม่ถูกนับ ด่านที่เล่นผ่านนั้นก็จะไม่ถือว่าผ่าน ต้องเล่นด่านนั้นใหม่อีกรอบ
คำถาม: แล้วระบบไม่มันบันทึกเก็บไว้ชั่วคราวในเครื่องแล้วค่อย upload ขึ้นไปใหม่เมื่อเชื่อมต่อใหม่รึ
“ไม่”
ผู้เขียนจำได้ว่ามีฉากหนึ่งที่ผู้เขียนต้องใช้ยูนิตที่ด้อยกว่า AI เอาชนะและผ่านฉากนั้นมาด้วยความยากลำบากและฉิวเฉียด
จำได้ว่าหน้าจอขึ้น Mission complete แล้วหน้าจอก็แสดง Loading Icon นานผิดปกติ
“No no please god no”
หน้าจอกลับมาที่ Main Menu ขึ้น Error Message ว่า “Connection Error”
เมื่อเชื่อมต่อเข้าไปใหม่ ผู้เขียนไปเล่นด่านต่อไปไม่ได้เพราะด้านที่แล้วไม่ถือว่าผ่าน Achievement, EXP ยังคงเดิม
แล้วที่เล่ามานี้คือ Single Player Mode
“SINGLE F**KING PLAYER น่ะโว๊ย”
นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ว่าทำไหมเหล่าผู้เล่นถึงโกรธมากเมื่อรู้เรื่องระบบ DRM ของ Microsoft Xbox One เพราะพวกเค้าเคยเจอระบบแบบนี้มาแล้วเมื่อ 4-5 ปีก่อนและรู้ดีว่ามัน *&$%& แค่ไหนจนผู้เล่นเกม PC หลายคนหนีมาเล่นเกมคอนโซลแทน ส่วนบริษัทเกม PC ก็ออก Patch มาแก้ไขหรือปิดระบบ DRM ในเกมของตัวเองไป แต่ Microsoft กลับจะเอาระบบ DRM แบบนั้นกลับมาใช้อีก ผลคือ Xbox แพ้คู่แข่งตั้งแต่ยังไม่ลงสนาม ชื่อเสียงและโมเมนตั้มที่ได้มาตอนยุคของ Xbox360 เสียเปล่าอย่างน่าเสียดาย
หลังจากนั้นผู้เขียนก็ต้องย้อนกลับไปเล่นฉากก่อนหน้าซ้ำ ๆ เพื่อเก็บ EXP ปลดล๊อกยูนิตที่พอจะสู้ได้มาใช้ผ่านด่าน ซึ่งต้องทำแบบนี้อีกหลายครั้งและหลายคราที่เจอปัญหา connection loss จนต้องเล่นใหม่
ถึงตรงนี้ผู้เขียนรู้สึกพอกันทีกับเกมนี้เต็มแก่แต่ก็พยายามเล่น ๆ ให้มันจบ ๆ ไป
For Kane.
เมื่อจบเกม ผู้เขียนรู้สึกว่าเกมนี้มันช่างว่างเปล่าสิ้นดี ฉากจบก็….
15 ปีที่ผ่านมาเพื่อมาเจอสิ่งนี้รึ
สิ่งที่ดีที่สุดในฉากจบคือในช่วงท้ายมีฉากที่ตัวประกอบคนหนึ่งพูดกับกล้องนักข่าวว่า
“Kane is Dead? Oh Yeah!”
แล้วก็เดินหันหลังจากไป
ความคิดในหัวของผู้เขียนตอนนั้นคือ
Yeah, Kane is Dead. This game too.
ช่าย เคนตายแล้ว เกมนี้ก็ด้วย
นี่อาจจะเป็น message จากนักพัฒนาถึงแฟน ๆ ก็เป็นได้
หลังจากนั้นจำได้ว่าผู้เขียนพยายามที่จะเล่นเนื้อเรื่องของฝ่าย GDI ที่สุดท้ายแล้วเล่นไปได้เพียง 3 ด่านก็เลิก
มันทำใจเล่นไม่ได้จริง ๆ
ต่อมาผู้เขียนก็ได้มีโอกาสเล่น C&C General ภาคที่ผู้เขียนมองข้ามมาตลอดแล้วพบว่าไม่เลวทีเดียว ขอแค่เอาภาพยนต์คนแสดงมาใส่ก็เรียกได้เต็มปากว่า C&C และนี่ทำให้ผู้เขียนตื่นเต้นมากเมื่อได้ข่าวว่าจะสร้าง C&C General 2
แต่สุดท้ายโครงการก็ถูกยุบไปพร้อมกับ Brand C&C ที่ตกต่ำลงเรื่อย ๆ
เมื่อผู้เขียนได้เห็น Command & Conquer: Tiberium Alliances ในปี 2012 ความรู้สึกต่าง ๆ ที่ยากจะอธิบายนั้นมันผุดขึ้นมาในใจ มันเหมือนเวลาที่เราได้เจอเพื่อนเก่าที่สมัยก่อนนั้นเป็นคนดัง, บ้านรวย, ร่าเริงสนุกสนานและโคตรเท่แต่ปัจจุบันกลับไม่เหลือเค้าเดิมที่เคยจำได้อีกแล้ว
หลังจากนั้น C&C ก็ไม่มีเกมใหม่ออกมาอีกเลย
ผู้อ่านสามารถเข้าไปดู Tiberium Alliances Gameplay ได้ใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=XT7jOng0mWw
หลังจากห่างหายไป 6ปีก็มีความพยายามที่จะปลุกซีรี่ย์ Command & Conquer ขึ้นมาอีกครั้งในภาค C&C Rivals เปิดตัวเมื่อปี 2018
เหล่าแฟน ๆ ต่างมีความหวังแต่ความหวังก็สลายไปเมื่อได้เห็น Gameplay
ความรู้สึกนั้นน่าจะคล้ายกับแฟน ๆ Blizzard ตอนได้เห็น Diablo Immortal
เห็นได้ชัดว่า แม้ EA ต้องการที่จะคืนชีพ C&C อีกครั้งแต่ก็ไม่ได้ตั้งเป้าให้ C&C เป็น C&C อย่างที่เคยเป็น
เมื่อปี 2020 Petroglyph Games ได้วางจำหน่าย Command & Conquer Remastered Collection ซึ่งประกอบไปด้วย C&C Original ภาคแรกและ C&C Red Alert ภาคแรก พร้อมใส่ Expansion ของเกมมาในตัว โดยผู้พัฒนาได้ทำการ Remaster ทั้งกราฟิก เสียงและเพลงประกอบรวมถึงภาพยนตร์ Cutscene ทำให้ C&C ที่เป็นเกมตั้งแต่ยุค 1995 ได้กลับมาโลดแล่นในยุคปัจจุบันอีกครั้งหลังจากผ่านไป 25 ปี
นี่ทำให้เหล่าแฟน ๆ C&C ได้โอกาสระลึกความหลังอีกครั้งร่วมถึงเปิดโอกาสให้ผู้เล่นรุ่นใหม่ได้ทำความรู้จักกับเกมที่เมื่อ 25 ปีที่แล้วโด่งดังในระดับเป็นคู่แข่งกับ Warcraft 2 ของ Blizzard
สำหรับผู้เขียน
Kane Live in Dead. Kane Live in Dead.
KANE LIVE.
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/