วันอังคารที่ 17-11-20 มีนัดเจาะเลือดที่โรงพยาบาลกลาง
และเตรียมตัวเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมงานแถลงข่าว
"โครงการบรรพชาและอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติ ฯ ครั้งที่ ๒"
ระหว่าง 10 ธ.ค.63 - 5 ม.ค. 64 ที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานบวชพระ-เณร โชว์ขบวนแห่ลูกแก้ว
สืบสานวัฒนธรรมบวชปอยส่างลอง หรือบวชลูกแก้ว เฉลิมพระเกียรติในหลวงเดือนหน้า
ตามที่แสดงความสนใจกับคุณวุฒิสาร พนารี ผู้จัดทอดกฐินตกค้างที่เพิ่งไปมา
"เที่ยวไปกินไป by laser @ กฐินตกค้าง 2020 วัดสะเมิง"
https://pantip.com/topic/40342882
คุณวุฒิสาร จึงขอให้มาร่วมงานแถลงข่าว ในวันพุธที่ 18-11-20 ที่วัดเจ็ดยอดด้วย
6.39 น.ถึงโรงพยาบาลกลาง
ลากกระเป๋าเดินทางและสะพายกระเป๋ากล้อง
หนึ่งกล้องสองเลนส์พร้อมแฟลชเล็กไปโรงพยาบาลด้วย
ยื่นแสดงสิทธิ์การรักษาพร้อมใบนัด
จากนั้นขึ้นไปเจาะเลือดที่คลีนิกรุ่งอรุณ โดนดูดเลือดไปสามหลอด
เจาะเลือดเสร็จรอผลเลือดสองชั่วโมงก่อนพบหมอ
ลากกระเป๋าผ่านซอยเจ้าคำรพ เลี้ยวขวาผ่านที่ตั้งร้านใหม่ ของร้านตือฮวนสองพี่น้อง ปากซอยอิสรานุภาพ
แต่เลยไปร้านขาหมูนายอุ๊ ที่ปากซอยวงเวียน 22 กรกฎาคม 1 ก่อน
ปกติซื้อกลับบ้านไม่เคยนั่งกินที่ร้าน วันนี้ต้องเดินทางต่อกินที่ร้าน สั่งคากิและไส้หนึ่งจาน 70 บาท
แกงจืดเต้าหู้สาหร่าย 20 บาท ข้าวเปล่าให้มาก 5 บาท แกงจืดเค็มปี๋ตะเตือนไต
ข้ามถนนพลับพลาไชยไปต่อร้านตือฮวนสองพี่น้อง
ที่เปิดตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าถึงไม่เกินบ่ายโมงครึ่ง กลับมาเปิดใหม่หลังจากปิดไปกว่าสามปี
เพราะโดนยึดที่คืนไปเป็นร้านขายซีฟู้ดที่ไปไม่รอด ได้ที่ใหม่เลขที่บ้านสวยตองสี่
แต่ออกเสียงจีนอัปมงคล "ซี่ ซี่ ซี่"
จัดมาหนึ่งชุดหนึ่งชามหนึ่งจาน ตือฮวนเกี้ยมฉ่าย 50 บาท
เลิกใส่ปอดม้ามแล้ว กินทุกครั้งสั่งไม่ใส่ทุกครั้ง
เครื่องในหั่นชิ้นไม่ใหญ่ มีลิ้นหมู
หัวใจหมู
ไส้เล็กหมู
ไส้อ่อนหมู
กระเพาะหมู
และตับหมู
วันนี้ผักกาดดองเค็มตะเตือนไต
จุกบี้ 30 บาท ใส่แปะก๊วยและเนื้อหมู ซีอิ๊วหวานหอมดี
ชวนคุยถึงร้านต้นตำรับที่ตลาดเก่า
ได้ความว่าเลิกเพราะบุหรี่คร่าชีวิตรุ่นสอง
ระหว่างเดินกลับไปพบหมอ แวะเก็บภาพวัดคณิกาผล ทั้งที่เคยเก็บภาพมาแล้วครั้งหนึ่ง
หรือวัดใหม่ยายแฟง ตามชื่อยายแฟง เจ้าสำนักโคมแดง ตรอกเต๊า (เยาวราช 9/เจริญกรุง 14)
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2376 วัดตั้งอยู่ตรงข้าม สน.พลับพลาไชย 2
ด้านซ้ายติดกับถนนยมราชสุขุม ด้านขวาติดกับศาลเจ้าไต้ฮงกง
-ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงได้ครองแผ่นดินสยามอยู่นั้น มีหญิงคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า
ยายคุณท้าวแฟง หรือยายแฟง มีอาชีพเก็บตลาดเอาผลกำไร รวมทั้งเป็นแม่เล้าเจ้าของซ่องนางโลมในตรอกเต๊าด้วย
ยายแฟงนั้นแกรู้ว่า ในหลวงทรงโปรดการทำบุญสร้างวัด แกจึงได้ทำการสร้างวัดด้วยเงินรายได้ของแกขึ้นมา
เพื่อต้องการให้สดุดสายพระเนตรของพระเจ้าแผ่นดินกับเขาด้วยเหมือนกัน ที่ตรอกแฟง ในแหล่งธุรกิจของพระนคร
สมัยนั้น พวกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดใหม่ยายแฟง" เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แกก็ได้ทูลขอพระราชทานนามของวัดนั้น
ทรงโปรดพระราชทานนามของวัดนั้นว่า "วัดคณิกาผล" อันแปลตรงตัวได้ว่า วัดที่เป็นผลได้มาจากหญิงโลมเมือง
เพราะรายได้หลักของยายแฟงนั้นก็คือได้จากการเป็นแม่เล้า เจ้าโสเภณี
ในการสมโภชน์วัด ยายแฟงได้ไปนิมนต์สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) ซึ่งสมัยนั้นสมเด็จฯ
ท่านยังไม่มีสมณศักดิ์ คงเป็นเพียงแค่มหาโต ให้มาเทศน์ฉลอง
โดยมีความปรารถนาจะให้ท่านได้สรรเสริญผลบุญของตนต่อหน้าชุมชน แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังใจของยายแฟง
เพราะพระมหาโต ท่านกลับเทศน์บอกแก่เจ้าภาพว่า ในการที่เจ้าภาพได้จัดการทำบุญเช่นนี้นั้น เป็นการทำบุญ
ที่มีเบื้องหลังอยู่หลายประการ เป็นเหตุให้เหมือนกับว่า ในเงินทำบุญ ๑ บาทนั้น ยายแฟงจะได้อานิสงส์
เพียงแค่สลึงเฟื้องเท่านั้น โดยพระมหาโตท่านได้ยกนิทาน เรื่องตากะยายฝังเงินเฟื้องไว้ที่ศิลาหน้าบันได
ขึ้นมาประกอบคำเทศน์ของท่านด้วย ท่านได้เทศน์ว่า เพราะด้วยผลบุญที่ทำนั้น มีสาเหตุมูลฐานในการประกอบ
การบุญนั้นไว้ผิด แม้ว่าเรื่องที่เจ้าภาพได้สร้างวัดนี้ไว้นั้นจะเป็นการดี แต่ก็เพราะการตั้งฐานในการทำบุญครั้งนี้
ไม่ถูกบุญใหญ่ จึงทำให้ผลแห่งการทำบุญนั้นใหญ่โตเหมือนดังที่หวังไว้ไปไม่ได้ คงจะได้บ้างก็แค่เพียงของเศษบุญ
หรือจาก ๑ บาทก็ได้เพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น เมื่อยายคุณท้าวแฟงได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็ให้รู้สึกขัดเคืองใจเป็นกำลัง
แกจึงได้เพียงแต่ประเคนกัณฑ์เทศน์ด้วยอาการไม่พอใจ หลังจากนั้นแกก็จึงได้ไปนิมนต์เสด็จทูลกระหม่อมพระ
ซึ่งก็คือ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในสมัยเมื่อครั้งที่พระองค์ยังได้ทรงผนวชอยู่ เพื่อจะได้ให้ทรงเสด็จมาประทานธรรม
ต่อให้อีกสักกกัณฑ์หนึ่ง โดยหวังว่า แกคงจะได้รับคำชมจากพระองค์ท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแก้ลำพระมหาโต
ไปในคราวเดียวกัน แต่กลับซ้ำรอยเดิม เพราะแกทำบุญเพื่อเอาหน้า
https://sites.google.com/site/allthaitemple/wad-khnika-phl-wad-him-yay-faeng
ภายหลังนางกลีบ สาครวาสี ลูกสาวยายแฟง ซึ่งรู้สึกเคืองการเทศน์ของหลวงพ่อโต จึงปรารถนาว่า
ถ้ามีเงินจากน้ำพักน้ำแรงเมื่อไร จะสร้างวัดใหม่ เมื่อทำธุรกิจได้เงิน จึงสร้างที่สวนผักเป็นวัดกันมาตุยาราม
เมื่อเข้ามาในวัดจะเป็นลานกว้าง ซึ่งทางวัดให้เช่าเป็นที่จอดรถหารายได้
ทางขวามือมีศาลาพระพุทธโสธร ด้านหน้ามีรูปปั้นของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี)
ทางด้านขวามือของลานจอดรถ เป็นเขตพุทธาวาส
ประกอบด้วยอุโบสถ วิหารและเจดีย์เล็กหนึ่งองค์
พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในบุษบกสีทอง นามว่าหลวงพ่อทองคำ
ด้านขวาของอุโบสถ คือวิหารหลวงพ่อองค์ดำ
หน้าทางเข้าประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์
หลังประตูทางเข้ามีรูปปั้นยืนไม่ปรากฏชื่อ
ส่วนรูปปั้นนั่งเป็นรูปปั้นของยายแฟง หรือที่เรียกกันว่า "ย่าแฟง" มือขวาถือถุงเงินถุงทอง
ซึ่งปั้นขึ้นใหม่เมื่อปี พศ.2545 มีรายนามผู้บริจาคเงินสร้างวิหารหลังนี้
มีแต่ชื่อไม่มีนามสกุล เพราะเริ่มใช้นามสกุลในสมัยรัชการที่ 6
หลวงพ่อองค์ดำ
พระประธานในวิหาร น่าจะเป็นหลวงพ่อโสธรจำลอง
เพราะด้านหน้ามีบทสวดคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ ของหลวงพ่อโสธร แปดริ้ว
ผนังด้านขวาของวิหาร มีภาพถ่ายรูปปั้น มีคำบรรยายว่า
"วัดคณิกาผลนี้ สร้างเมื่อ พ.ศ.2376 โดยคุณแม่แฟง บรรพบุรุษของตระกูลเปาโรหิตย์"
เมื่อเริ่มจะเขียนบทความนี้ ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับวัดคณิกาผล
ปรากฏว่ามีศาลยายแฟงอยู่ที่กำแพงหลังอุโบสถ
วันเสาร์ที่ 28-11-20 จึงกลับไปเก็บภาพ เป็นศาลซึ่งสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2523
ชื่อว่าอาคารย่าแฟง ภายในเป็นรูปปั้นยายแฟงครึ่งตัว ต้นตระกูลเปาโรหิตย์
การตัดสินใจไปเก็บภาพยายแฟงเพิ่มทำให้โชคดีอีกชั้น และได้เป็นบทความอีกตอน
เพราะก่อนไปวัดคณิกาผล ลงรถที่เยาวราช เดินผ่านวัดกันมาตุยารามฝั่งถนนมังกร
มองเข้าไปเห็นประตูเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเปิดอยู่ เป็นอนุสาวรีย์คุณแม่กลีบ ผู้สร้างวัด และเป็นลูกสาวยายแฟง
เดินผ่านมาหลายสิบปีไม่เคยเจอประตูเปิด แต่วันนี้มีงานฉลองเจ้าอาวาสองค์ใหม่ จึงจัดอาหารไหว้
[CR] เที่ยวไปกินไป by laser @ วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ (ประชุมและแถลงข่าว งานบวชพระ-เณรลูกแก้ว เฉลิมพระเกียรติฯ)
และเตรียมตัวเดินทางไปเชียงใหม่ เพื่อร่วมงานแถลงข่าว
"โครงการบรรพชาและอุปสมบทศาสนทายาทเฉลิมพระเกียรติ ฯ ครั้งที่ ๒"
ระหว่าง 10 ธ.ค.63 - 5 ม.ค. 64 ที่วัดเจ็ดยอด จังหวัดเชียงใหม่ จัดงานบวชพระ-เณร โชว์ขบวนแห่ลูกแก้ว
สืบสานวัฒนธรรมบวชปอยส่างลอง หรือบวชลูกแก้ว เฉลิมพระเกียรติในหลวงเดือนหน้า
ตามที่แสดงความสนใจกับคุณวุฒิสาร พนารี ผู้จัดทอดกฐินตกค้างที่เพิ่งไปมา
"เที่ยวไปกินไป by laser @ กฐินตกค้าง 2020 วัดสะเมิง" https://pantip.com/topic/40342882
คุณวุฒิสาร จึงขอให้มาร่วมงานแถลงข่าว ในวันพุธที่ 18-11-20 ที่วัดเจ็ดยอดด้วย
6.39 น.ถึงโรงพยาบาลกลาง
ลากกระเป๋าเดินทางและสะพายกระเป๋ากล้อง
หนึ่งกล้องสองเลนส์พร้อมแฟลชเล็กไปโรงพยาบาลด้วย
ยื่นแสดงสิทธิ์การรักษาพร้อมใบนัด
จากนั้นขึ้นไปเจาะเลือดที่คลีนิกรุ่งอรุณ โดนดูดเลือดไปสามหลอด
เจาะเลือดเสร็จรอผลเลือดสองชั่วโมงก่อนพบหมอ
ลากกระเป๋าผ่านซอยเจ้าคำรพ เลี้ยวขวาผ่านที่ตั้งร้านใหม่ ของร้านตือฮวนสองพี่น้อง ปากซอยอิสรานุภาพ
แต่เลยไปร้านขาหมูนายอุ๊ ที่ปากซอยวงเวียน 22 กรกฎาคม 1 ก่อน
ปกติซื้อกลับบ้านไม่เคยนั่งกินที่ร้าน วันนี้ต้องเดินทางต่อกินที่ร้าน สั่งคากิและไส้หนึ่งจาน 70 บาท
แกงจืดเต้าหู้สาหร่าย 20 บาท ข้าวเปล่าให้มาก 5 บาท แกงจืดเค็มปี๋ตะเตือนไต
ข้ามถนนพลับพลาไชยไปต่อร้านตือฮวนสองพี่น้อง
ที่เปิดตั้งแต่เจ็ดโมงเช้าถึงไม่เกินบ่ายโมงครึ่ง กลับมาเปิดใหม่หลังจากปิดไปกว่าสามปี
เพราะโดนยึดที่คืนไปเป็นร้านขายซีฟู้ดที่ไปไม่รอด ได้ที่ใหม่เลขที่บ้านสวยตองสี่
แต่ออกเสียงจีนอัปมงคล "ซี่ ซี่ ซี่"
จัดมาหนึ่งชุดหนึ่งชามหนึ่งจาน ตือฮวนเกี้ยมฉ่าย 50 บาท
เลิกใส่ปอดม้ามแล้ว กินทุกครั้งสั่งไม่ใส่ทุกครั้ง
เครื่องในหั่นชิ้นไม่ใหญ่ มีลิ้นหมู
หัวใจหมู
ไส้เล็กหมู
ไส้อ่อนหมู
กระเพาะหมู
และตับหมู
วันนี้ผักกาดดองเค็มตะเตือนไต
จุกบี้ 30 บาท ใส่แปะก๊วยและเนื้อหมู ซีอิ๊วหวานหอมดี
ชวนคุยถึงร้านต้นตำรับที่ตลาดเก่า
ได้ความว่าเลิกเพราะบุหรี่คร่าชีวิตรุ่นสอง
ระหว่างเดินกลับไปพบหมอ แวะเก็บภาพวัดคณิกาผล ทั้งที่เคยเก็บภาพมาแล้วครั้งหนึ่ง
หรือวัดใหม่ยายแฟง ตามชื่อยายแฟง เจ้าสำนักโคมแดง ตรอกเต๊า (เยาวราช 9/เจริญกรุง 14)
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2376 วัดตั้งอยู่ตรงข้าม สน.พลับพลาไชย 2
ด้านซ้ายติดกับถนนยมราชสุขุม ด้านขวาติดกับศาลเจ้าไต้ฮงกง
-ในสมัยเมื่อครั้งสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ทรงได้ครองแผ่นดินสยามอยู่นั้น มีหญิงคนหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า
ยายคุณท้าวแฟง หรือยายแฟง มีอาชีพเก็บตลาดเอาผลกำไร รวมทั้งเป็นแม่เล้าเจ้าของซ่องนางโลมในตรอกเต๊าด้วย
ยายแฟงนั้นแกรู้ว่า ในหลวงทรงโปรดการทำบุญสร้างวัด แกจึงได้ทำการสร้างวัดด้วยเงินรายได้ของแกขึ้นมา
เพื่อต้องการให้สดุดสายพระเนตรของพระเจ้าแผ่นดินกับเขาด้วยเหมือนกัน ที่ตรอกแฟง ในแหล่งธุรกิจของพระนคร
สมัยนั้น พวกชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "วัดใหม่ยายแฟง" เมื่อสร้างเสร็จแล้ว แกก็ได้ทูลขอพระราชทานนามของวัดนั้น
ทรงโปรดพระราชทานนามของวัดนั้นว่า "วัดคณิกาผล" อันแปลตรงตัวได้ว่า วัดที่เป็นผลได้มาจากหญิงโลมเมือง
เพราะรายได้หลักของยายแฟงนั้นก็คือได้จากการเป็นแม่เล้า เจ้าโสเภณี
ในการสมโภชน์วัด ยายแฟงได้ไปนิมนต์สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) ซึ่งสมัยนั้นสมเด็จฯ
ท่านยังไม่มีสมณศักดิ์ คงเป็นเพียงแค่มหาโต ให้มาเทศน์ฉลอง
โดยมีความปรารถนาจะให้ท่านได้สรรเสริญผลบุญของตนต่อหน้าชุมชน แต่ผลก็ไม่ได้เป็นดังใจของยายแฟง
เพราะพระมหาโต ท่านกลับเทศน์บอกแก่เจ้าภาพว่า ในการที่เจ้าภาพได้จัดการทำบุญเช่นนี้นั้น เป็นการทำบุญ
ที่มีเบื้องหลังอยู่หลายประการ เป็นเหตุให้เหมือนกับว่า ในเงินทำบุญ ๑ บาทนั้น ยายแฟงจะได้อานิสงส์
เพียงแค่สลึงเฟื้องเท่านั้น โดยพระมหาโตท่านได้ยกนิทาน เรื่องตากะยายฝังเงินเฟื้องไว้ที่ศิลาหน้าบันได
ขึ้นมาประกอบคำเทศน์ของท่านด้วย ท่านได้เทศน์ว่า เพราะด้วยผลบุญที่ทำนั้น มีสาเหตุมูลฐานในการประกอบ
การบุญนั้นไว้ผิด แม้ว่าเรื่องที่เจ้าภาพได้สร้างวัดนี้ไว้นั้นจะเป็นการดี แต่ก็เพราะการตั้งฐานในการทำบุญครั้งนี้
ไม่ถูกบุญใหญ่ จึงทำให้ผลแห่งการทำบุญนั้นใหญ่โตเหมือนดังที่หวังไว้ไปไม่ได้ คงจะได้บ้างก็แค่เพียงของเศษบุญ
หรือจาก ๑ บาทก็ได้เพียงสลึงเฟื้องเท่านั้น เมื่อยายคุณท้าวแฟงได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็ให้รู้สึกขัดเคืองใจเป็นกำลัง
แกจึงได้เพียงแต่ประเคนกัณฑ์เทศน์ด้วยอาการไม่พอใจ หลังจากนั้นแกก็จึงได้ไปนิมนต์เสด็จทูลกระหม่อมพระ
ซึ่งก็คือ สมเด็จพระจอมเกล้าฯ ในสมัยเมื่อครั้งที่พระองค์ยังได้ทรงผนวชอยู่ เพื่อจะได้ให้ทรงเสด็จมาประทานธรรม
ต่อให้อีกสักกกัณฑ์หนึ่ง โดยหวังว่า แกคงจะได้รับคำชมจากพระองค์ท่าน ซึ่งก็เท่ากับเป็นการแก้ลำพระมหาโต
ไปในคราวเดียวกัน แต่กลับซ้ำรอยเดิม เพราะแกทำบุญเพื่อเอาหน้า
https://sites.google.com/site/allthaitemple/wad-khnika-phl-wad-him-yay-faeng
ภายหลังนางกลีบ สาครวาสี ลูกสาวยายแฟง ซึ่งรู้สึกเคืองการเทศน์ของหลวงพ่อโต จึงปรารถนาว่า
ถ้ามีเงินจากน้ำพักน้ำแรงเมื่อไร จะสร้างวัดใหม่ เมื่อทำธุรกิจได้เงิน จึงสร้างที่สวนผักเป็นวัดกันมาตุยาราม
เมื่อเข้ามาในวัดจะเป็นลานกว้าง ซึ่งทางวัดให้เช่าเป็นที่จอดรถหารายได้
ทางขวามือมีศาลาพระพุทธโสธร ด้านหน้ามีรูปปั้นของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี)
ทางด้านขวามือของลานจอดรถ เป็นเขตพุทธาวาส
ประกอบด้วยอุโบสถ วิหารและเจดีย์เล็กหนึ่งองค์
พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับในบุษบกสีทอง นามว่าหลวงพ่อทองคำ
ด้านขวาของอุโบสถ คือวิหารหลวงพ่อองค์ดำ
หน้าทางเข้าประดิษฐานพระพุทธรูปปางปาลิไลยก์
หลังประตูทางเข้ามีรูปปั้นยืนไม่ปรากฏชื่อ
ส่วนรูปปั้นนั่งเป็นรูปปั้นของยายแฟง หรือที่เรียกกันว่า "ย่าแฟง" มือขวาถือถุงเงินถุงทอง
ซึ่งปั้นขึ้นใหม่เมื่อปี พศ.2545 มีรายนามผู้บริจาคเงินสร้างวิหารหลังนี้
มีแต่ชื่อไม่มีนามสกุล เพราะเริ่มใช้นามสกุลในสมัยรัชการที่ 6
หลวงพ่อองค์ดำ
พระประธานในวิหาร น่าจะเป็นหลวงพ่อโสธรจำลอง
เพราะด้านหน้ามีบทสวดคาถาพระเจ้า 5 พระองค์ ของหลวงพ่อโสธร แปดริ้ว
ผนังด้านขวาของวิหาร มีภาพถ่ายรูปปั้น มีคำบรรยายว่า
"วัดคณิกาผลนี้ สร้างเมื่อ พ.ศ.2376 โดยคุณแม่แฟง บรรพบุรุษของตระกูลเปาโรหิตย์"
เมื่อเริ่มจะเขียนบทความนี้ ได้หาข้อมูลเกี่ยวกับวัดคณิกาผล
ปรากฏว่ามีศาลยายแฟงอยู่ที่กำแพงหลังอุโบสถ
วันเสาร์ที่ 28-11-20 จึงกลับไปเก็บภาพ เป็นศาลซึ่งสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2523
ชื่อว่าอาคารย่าแฟง ภายในเป็นรูปปั้นยายแฟงครึ่งตัว ต้นตระกูลเปาโรหิตย์
การตัดสินใจไปเก็บภาพยายแฟงเพิ่มทำให้โชคดีอีกชั้น และได้เป็นบทความอีกตอน
เพราะก่อนไปวัดคณิกาผล ลงรถที่เยาวราช เดินผ่านวัดกันมาตุยารามฝั่งถนนมังกร
มองเข้าไปเห็นประตูเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมเปิดอยู่ เป็นอนุสาวรีย์คุณแม่กลีบ ผู้สร้างวัด และเป็นลูกสาวยายแฟง
เดินผ่านมาหลายสิบปีไม่เคยเจอประตูเปิด แต่วันนี้มีงานฉลองเจ้าอาวาสองค์ใหม่ จึงจัดอาหารไหว้
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้