10 สุดยอดดาวเคราะห์นอกระบบ ver update

นอกระบบสุริยะของเรา ยังมีดาวเคราะห์อีกมากให้ตามหา นอกระบบสุริยะของเรา ยังมีความลับอีกมากให้สงสัย กล้องดูดาวที่ตรวจสอบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ยังคงจ้องมองไปบนฟ้าไม่มีหยุด รอเวลาที่ใครคนหนึ่ง จะเดินไปตามหนทางที่ไฝ่หา ใครคนนั้นมันบอกมาว่าไม่หวาดกลัวจะเดินทางฝ่าอวกาศตลอดไป 
 ในขณะที่กล้องเคปเลอร์ของนาซา กำลังทำงานในอวกาศอย่างไม่หยุดยั้ง มันก็ได้ เดินทางออกมาผ่านพ้นหายนะ  ผู้ปรากฏจากดวงดาวจะห่างใกล ไม่ว่าจะเป็นระบบดาวของแทรปปิส ที่ถ้าคุณอยู่บนแทรปปิส 1 B

และมีร่างกายที่ทนความร้อนสูงมากพอ คุณอาจอยู่ในร่างของหมาป่านิรันดร์ที่เฝ้ามองจันทราเต็มดวงก็ได้นะ ไปทำความรู้จักกับพวกมันกันเถอะ 10 อันดับ ดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ที่อาจน่าสนใจที่สุด

10.อยู่ใกล่เราที่สุด(ห่างกันเพียงเอึ้อมมือ)


ปัจจุบันไม่ใช่ว่าเราไม่เคยมีความฝันที่จะไปที่ดาวเคราะห์ ใกล้ๆ หรอกนะครับ ที่ดาวแคระแดง พรอกซิม่า เซนทอรี ที่อยู่ในระยะห่างเพียง 4 ปีแสง ก็ยังคงมีความเป็นไปได้ที่เจ้ามีดาวบริวารอยู่ แถมดาวบริวารดวงนั้น ก็อยู่ในโซนแฮบิเทเบิลโซนเสียด้วย นาซามีโครงการ breakout starshot ที่จะส่งยานไปสำรวจซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาราว 20 ปี ซึ่งจะเดินทางไปถึง มวลของดาวดวงนี้มีค่าราวๆ 1.1-1.2 เท่าของโลก และต้องเจอกับลมสุริยะที่รุนแรงกว่าที่โลกเราเจอร่วม 2000 เท่าทีเดียว แถมระยะห่างของมันกับดาวแม่ก็ใกล้แค่ 0.05 AU หรือ 7,500,000 กิโลเมตรเท่านั้นเอง แต่ระยะห่างแค่นี้ ถามว่าทำไมมันยังอยู่อาศัยได้ คำตอบก็ง่ายนิดเดียว ดาวแม่ของมันมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ของเราอย่างสุดขั้ว ด้วยเส้นฝ่าศูนย์กลางเพียง 0.14 เท่าของดวงอาทิตย์  มวลเพียงแค่ 0.12 เท่า  และความร้อนพึ้นผิวเพียงแค่ 3042 เคลวิน นั่นเย็นเฉียบเมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ของเราที่มีอุณหภูมิที่ มากกว่า 6273 เคลวิน ด้วยระยะทางที่ใกล้ จึงเป้าหมายของการสำรวจดวงดาวด้วย breakout starshot 
9.อยู่ไกลเราที่สุด(แต่มันคือแสนไกล)
sweep 11 sweep 04

ใกล้ที่สุดคือ 4 ปีแสง และถ้าที่อยู่ใกลที่สุดละ มันจะอยู่ห่างใกลไปแค่ใหนกันเชียว
คำตอบคือเกือบๆเกิน 30,000 ปีแสง ด้วยระยะห่างขนาดนี้ เลยทำให้การจะเดินทางไปที่นั่นอาจใช้เวลานักล้านปีด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน sweep 04 และ 11 อยู่ใกลแสนใกล ทำให้การจะเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของมันถือว่าลำบาก เราจึงมีข้อมูลน้อย sweeps 04 มีมวลไม่เกิน 4 เท่า ของดาวพฤหัสบดี ส่วน sweeps 11 นั้นใหญ่กว่าโดยอาจมีมวลถึง 9.7 เท่า ใกล้เคียงกับน้ำหนักของดาวแคระน้ำตาลที่ขีดจำกัดเลย โอ้โห
 
8.กัมมันตภาพรังสีสูง มวลต่ำที่สุด(ดินแดนแห่งอันเดธ)

PSRB1257+12  พัลซาร์ชื่อดัง มีฉายาว่า ลิช ซึ่งมั่นหมายถึงดวงดาวแห่งความตาย
ซึ่งมันมีระบบดาวที่มีดาวเป็นที่รู้จักสามดวง ดวงแรกคือ ดรากซ์ มันอยู่ในระบบดาวของลิช ที่อยู่ห่างโลกไปร่วม 1957 ปีแสง วงโคจรแทบจะเป็นวงกลม และมีมวลเป็นสองเท่าของดวงจันทร์ เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกสุดที่ถูกค้นพบ คือเจอมันในปี 1994 โดยในระบบดังกล่าวมีดาว 3 ดวงคือ  PSRB1257+12A(dragr) PSRB1257+12B(poltergeist)PSRB1257+12C(phobetor) ระบบนี้อาจมีวัตถุน่าสนใจอย่างแถบแอสเตอร์รอยร์หรือไคเปอร์ด้วย
 

7.ตายไปเร็วที่สุด(พิภพแห่งการสิ้นสูญ)


HD 209458 B เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่สำคัญอย่างมาก เพราะว่ามันกำลังสูญเสียสสารออกไปจากดวงดาวอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งยังเป็นดวงดาวที่เป็นจุดสำคัญในการค้นพบหลายอย่าง เป็นดาวเคราห์ที่ถูกค้นพบจากการโคจรผ่านหน้าดาวฤกษ์ เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่มีชั้นบรรยากาศ ถูกค้นพบด้วยกลวิธีที่หลากหลาย ทางนาซาเชื่อว่าในอีกไมนานเกินรอ มันก็อ่าจระเหยไปจนหมด เพราะว่าดาวดวงนี้สูญเสียไฮโดรเจน 100-500 ล้านกิโลกรัมทุกวีนาที มันมีทั้ง ไฮโดรเจน คาร์บอน และอออกซิเจน การที่มันอยู่ใกล้ดาวแม้และบรรยากาศถูกเป่าด้วยลมสุริยะ อาจนำมาซึ่งการดับสูญของมัน แม่นักวิทยาศาสตร์บางส่วนจะค้านว่ามันมีสนามแม่เหล็กปกป้องสสารบางส่วนก็ตาม
 
6.หนาวเย็นที่สุด(ชั้นหนาวเหลือเกิน หนาวหัวใจเกินทนใหว)


ด้วยระยะห่างจากโลก 13000 ปีแสง OGLE-2016-BLG-1195lb
จึงถือเป็นวัตถุอวกาศที่อยู้ในระยะใกลเหลือเชื่อ อุณหภูมิ 31 เคลวิน ทำให้พึ้นผิวของมันคงจะเป็นนรกน้ำแข็ง ที่หนาวเย็นมากที่สุด ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทัศน์อวกาศสปิตเซอร์ในปี 2017 โดยความร่วมมือจากเกาหลีใต้ และอเมริกา ดาวแม่ของมันน่าจะเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือดาวแคระน้ำตาลเย็นยวดยิ่ง เพราะมีมวลเพียงแค่ 7.8 เปอร์เซ็นต์ของดวงอาทิตย์ แม้จะมีมวลและระยะห่างจากดวงอาทิตย์ไม่ด้อยไปกว่าโลก แต่เพราะดาวแม่ที่หนาวเย็น จึงทำให้มันได้ฉายาว่าโฮทแห่งที่สอง (โฮทแห่งแรกคือ OGLE 2005 BLG 390 Lb ที่อาจมีมวล 3-11 เท่าของโลก และ อุณหภูมิพึ้นผิวที่ 50 เคลวิน เพราะโคจรรอบพึ้นผิวขนาดเล็กเช่นกัน) 
 

5.ร้อนแรงที่สุด(เมื่อมีไฟลุกแจ่มจ้า)


คิดว่าดาวศุกร์ที่ 500 องศาเซลเซียสเป็นขุมนรกแล้วงั้นหรือ คราวนี้หลบไปใกลๆ เมื่อต้องเจอกับเพลิงนรกตัวจริงเสียงจริง!ด้วยความร้อนระดับ เกินกว่า 13,000 องศาพาเรนไฮต์ ทำให้เจ้านี่เป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ร้อนแรงที่สุด คือมันร้อนแรงยิ่งกว่าผิวดาวอาทิตย์ นั่นมันสุดสยองไปเลย
มันโคจรรอบดาวแม่อย่างเคปเลอร์ 70  ในระยะเวลาไม่ถึง 6 ชั่วโมง นับว่าเป็นดาวที่มีรอบการโคจรรอบ
ดาวแม่เร็วที่สุดดวงหนึ่งที่เรารู้จักกันมา เป็นรองเพียงแค่  PSR 1719-14 b ที่มีรอบการโคจรอยู่ที่สองชั่วโมงเท่านั้น
นักดาราศาสตร์เชื่อกันว่ามันและ kepler 70-C เคยเป็นดาวเคราะห์แก้สยักษ์มาก่อน แต่ถูกทำให้โดนดูดกลืนด้วยฝืมือของดาว
แม่ขนาดยักษ์ ในขณะที่ทำการพองตัวเป็นดาวยักษ์แดง จากนั้นเมื่อดาวแม่ยุบตัว มันเองจึงกลายเป็นพิภพหินที่สุดร้อนแรง
คล้ายกับทะเลลาวาเช่นนี้ มีขนาดแล้วเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่าโลก แต่ความหนาแน่นดาวพอๆ กันครับ
ดาวแม่ของมันร้อนกว่าดวงอาทิตย์ร่วม 6 เท่า และคาดว่าจะกลายเป็นดาวแคระขาวในอนาคต
Kepler-70c ผ่าน Kepler-70b ห่างจาก Kepler-70b 240,000 กิโลเมตร (150,000 ไมล์) ซึ่งอาจก่อให้เกิดแรงกระแทกต่อกัน
และปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาอื่นๆ จำนวนมาก จัดเป็นดาวเคราะห์ที่มีรายงานการเดินทางเข้าใกล้กันมากที่สุด ความร้อนสูงอันนี้มาจากการที่ดาวแม่ของมันมีอุณหภูมิถึง มากกว่า 27000 องศาเซลเซียส และระยะห่างที่ใกลนั่นเอง ความหนาแน่นของดาวนรกนี่ใกล้เคียงกับโลก
 
4.อยู่ใกลจากดาวแม่มากทีสุดและโคจรนานที่สุด

 

ด้วยยระยะห่างจากดาวแม่มากถึง 7,000 หน่วยดาราศาสตร์ ทำให้ตอนแรกมันถูกเข้าใจผิดว่าเป็นดาวโจรหรือดาวเคราะห์พเนจร ระยะห่างจากดาวแม่ที่สูง ทำให้คนหลายๆคน ไม่เชื่อว่า มันจะทำการ
ไทดัลล็อคกับดาวแม่ได้ ระยะห่างที่มากขนาดนี้ มันหมายถึงมันอาจต้องใช้เวลาร่วมเก้าแสนถึงหนึ่งล้านปี กว่าที่มันจะโคจรรอบดาวแม่ได้ครบ 1 รอบ ซึ่งตั้งแต่เวลาที่มันถือกำเนิดขึ้น มันโคจรรอบดาวแม่ไปไม่ถึง50 รอบดีด้วยซ้ำไป และมวลของมันก็อยู่ในระดับเดียวกับดาวแคระน้ำตาล คือที่ราวๆ 13 เท่าเป็นไปได้ว่ามันมีแหล่งพลังงานความร้อนที่แกน ทำให้มันสามารถร้อนแรงได้ถึง 1800 องศาฟาเรนไฮต์
ซึ่งข้อมูลตรงนี้ก็น่าจะเกี่ยวข้องกับมวลของมันครับ

3. โคจรรอบดาวแม่เร็วที่สุด


SWIFT J1756.9-2508 B
พัลซาร์ทรงพลังที่ปลดปล่อยแสงสว่างออกมามากมากเหนือจินตนาการ จะดาวบริวาร
ที่จะโคจรไปรอบๆมัน แต่เสียดายที่มีข้อมูลน้อยไปหน่อย แต่นั้นก็ไม่ใช่ปัญหาร้ายแรง สำหรับเหล่านักดาราศาสตร์ครับ
เพราะว่าเรามีตัวเปรียบเทียบอย่าง PSR J1719-1438 b ที่โคจรไปรอบๆ พัลซาร์ที่มีจังหวะในระดับมิลลิวินาที และเจ้าพัลซาร์จะปล่อยสนามแม่เหล็กรุนแรงออกมารอบตัว พึ้นผิวของ PSR J1719-1438Bนั้นมีลักษนะที่มีความหนาแน่นสูงมาก คาดว่าสะท้อนแสงได้ดีเหมือนเพชร และมีความหนาแน่นมากกว่าดาวพฤหัสบดีกว่า 20 เท่า มันถูกค้นพบโดยสังเกติจังหวะการเคลื่อนที่ของพัลซาร์ ระยะเวลาโคจรรอบดาวแม่ของมันไม่ถึงชั่วโมงดี
2. ดาวแม่ร้อนแรงที่สุด
NY Virginis b ,NN SERPENTIS c,NN SERPENTIS D


วงโคจร 7 ปี ทำให้ดาวดวงนี้เป็นดาวที่ต้องอยู่รอบดาวแม่เป็นระยะเวลายาวนานมาก แต่นั้นก็ไม่สำคัญ
เมื่อเทียบกับดาวแม่ที่ร้อนแรงอย่างกับเพลิงนรกที่ 33,000 องศา ส่วน NN SERPENTIST เป็นดาวคู่ที่อาจร้อนได้ถึง 57000
องศา เมื่อทำการรวมพลังงานความร้อนเข้าด้วยกัน ระบบดาวเคราะห์ได้รับการคาดการ์ณถึงการมีอยู่รอบ ๆ NN Serpentis โดยหลายทีม ทีมงานทั้งหมดเหล่านี้อาศัยข้อเท็จจริงที่ว่า Earth ตั้งอยู่ในระนาบเดียวกับระบบดาวคู่ของ NN Serpentis ดังนั้นมนุษย์จึงสามารถมองเห็นดาวแคระแดงขนาดใหญ่ทำให้เกิดดาวแคระขาวทุก 0.13 วัน นักดาราศาสตร์จะสามารถใช้สุริยุปราคาบ่อยครั้งเพื่อดูรูปแบบของความผิดปกติเล็ก ๆ แต่มีนัยสำคัญในวงโคจรของดาวซึ่งอาจเป็นผลมาจากการปรากฏตัวและแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์วงโคจร

ปลายปีพ. ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 นักวิจัยจากสหราชอาณาจักร (มหาวิทยาลัย Warwick และ University of Sheffield), เยอรมนี (Georg-August-Universitat ในGöttingen, Eberhard-Karls-Universitat ในTübingen), ชิลี (Universidad de Valparaíso) และ United รัฐ (มหาวิทยาลัยเท็กซัสในออสติน)   ชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาของการบังแสงดาวแม่เกิดจากดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์สองดวง ดาวก๊าซยักษ์ขนาดใหญ่มีขนาดประมาณ 6 เท่ามวลของดาวพฤหัสบดีและโคจรรอบดาวฤกษ์สองเท่าทุกๆ 15.5 ปีวงโคจรอื่น ๆ ทุกๆ 7.75 ปีและมีมวลประมาณ 1.6 เท่าของดาวพฤหัสบดี
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่