วงล้อจับปลาแซลมอน

กระทู้สนทนา
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Alaska Yukon River Fishwheel
Catching Salmon - Stan Zuray
.
.

วงล้อจับปลาเป็นอุปกรณ์ขับเคลื่อนด้วยน้ำ
ที่ใช้จับปลาแซลมอนที่โตเต็มวัยโดยเฉพาะ
ประกอบด้วยล้อหมุนที่มีตะกร้า
และใบพายติดอยู่ที่ขอบล้อ
โดยวงล้อจับปลาจะลอยอยู่เหนือแม่น้ำ
กระแสน้ำจะหมุนวงล้อให้หมุนวน
ทำให้ตะกร้าดักจับปลาแซลมอน
ที่กำลังเดินทางขึ้นไปผสมพันธุ์
และวางไข่เพื่อออกลูกที่ต้นน้ำ

โดยตะกร้าจะติดตั้งให้มี
ลักษณะเอียงคราว 15 องศา
เมื่อยกปลาแซลมอนขึ้นมาจากแม่น้ำ
จะทำให้ปลาแซลมอนไหลออกมา
จากปากตะกร้าแล้วไหลลงสู่
ถังกักปลาบนแพปลาลอยน้ำ

อุปกรณ์ที่ชาญฉลาดนึ้
สามารถจับปลาได้จำนวนมาก
และเรื่องที่ดีที่สุดคือ
ชาวประมงไม่จำเป็นต้องรออยู่ที่นั่น

มีวงล้อจับปลาตัวหนึ่ง
ที่ทำงานในแม่น้ำโคลัมเบีย
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 มีรายงานว่า
จับปลาแซลมอนได้ถึงครึ่งตันต่อวัน

วงล้อจับปลาแซชมอน
มีประสิทธิภาพในการจับปลามาก
จนถูกแบนการใช้งานในสหรัฐอเมริกา
เพราะมันคุกคามประชากรปลาแซลมอน

วงล้อจับปลาสำหรับ
ตกปลาเชิงพาณิชย์/อุตสาหกรรม
ได้รับอนุญาตเฉพาะใน Alaska 
ริมแม่น้ำ Copper River กับ Yukon River
.
.

.
ภาพไม่ระบุวันที่ ชายสองคนยืนอยู่บนดาดฟ้า
วงล้อจับปลาที่จอดนิ่งอยู่ในแม่น้ำโคลัมเบีย 
.
.

ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นคนแรก
ที่เริ่มใช้วงล้อจับปลา
แต่สิ่งประดิษฐ์นี้อาจจะ
ประดิษฐ์ขึ้นในประเทศจีน
วงล้อจับปลาถูกนำมาใช้ในในญี่ปุ่น
ในฝรั่งเศสที่ Garonne และในโรม Tiber
และมีการนำมาใช้ครั้งแรกในปึ 1829
ที่สหรัฐอเมริกาใน  North Carolinia
แต่การติดตั้งครั้งใหญ่ของ
ชาวประมงที่แม่น้ำ Columbia Rive 
ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1870 
ซึ่งพวกมันมีประสิทธิภาพอย่างมาก
ในการดักจับปลาแซลมอนที่อพยพ
ไปสู่ต้นน้ำ(เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่)

วงล้อจับปลาชุดเดียวที่ใกล้กับ The Dalles
สามารถจับปลาแซลมอนประเภทเดียว
ถึง 418,000 ปอนด์ขึ้นมาจากแม่น้ำ
ในปี 1906 มีวงล้อจับปลาแซลมอน
มากกว่า 75 ชุดที่ทำงานในแม่น้ำในปีนั้น

เมื่อช่วงต้นทศวรรษ 1900 
ประชากรปลาแซลมอนในแม่น้ำเริ่มลดลง
และเกิดความขัดแย้งระหว่าง
ผู้ประกอบการวงล้อจับปลา
กับผู้จับปลาที่แข่งขันกันตกปลา
กับชาวประมงพื้นบ้าน
ที่ใช้วิธีการจับปลาแบบดั้งเดิม
ต่างไม่สามารถจับปลาแซลมอนได้จำนวนมาก

ชาวประมงที่ทำมาหากิน
เป็นอาชีพในแม่น้ำดังกล่าว
จึงกล่าวโทษเจ้าของวงล้อจับปลา
ว่าคือ สาเหตุหลักที่ทำลายล้างเผ่าพันธุ์
ปลาแซลมอนในแม่น้ำจนแทนหมดเกลี้ยง

มีการต่อสู้ผ่านทางกฎหมาย
และทางรัฐสภาของรัฐต่าง ๆ
ในปี 1908
รัฐ Oregon มีการเลือกตั้งครั้งสำคัญ
ทั้งสองฝ่ายต่างหาผู้แทนที่สนับสนุน/ไม่สนับสนุน
การใช้วงล้อจับปลาแซลมอน
ให้ถูกกฎหมายหรือผิดกฎหมาย
ในที่สุดการใช้วงล้อปลาแซลมอน
ในปี 1928
รัฐ Columbia กับรัฐ Oregon ก็สั่งห้าม
และในปี 1935 ที่รัฐ Washington ก็สั่งห้าม

แต่แล้วอุตสาหกรรมการประมง
ก็ได้รับผลกระทบรุนแรงอีกครั้ง
เมื่อเขื่อน Grand Coulee Dam
ถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีบันไดโจนของปลา
ทำให้ปลาแซลมอนจำนวนมาก
ว่ายไปถึงแหล่งวางไข่ไม่ได้
เพิ่งจะมีการแก้ไขและสร้างบันไดโจน
ของปลาแซลมอนในภายหลัง
 
ปัจจุบันในสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง
การใช้วงล้อจับปลาแซลมอน
เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมาย/มีโทษแรง
แต่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับนักวิจัย
ที่ใช้ตรวจสอบปลาแซลมอน
ตะกร้าตักปลาแซลมอนขึ้นจากน้ำ
โดยไม่ติดหรือเกี่ยวกับตัวปลา
จึงไม่ทำอันตรายต่อตัวปลา
หรือทำให้ปลาบอบช้ำ
เมื่อปลาแซลมอนถูกจับขึ้นบนดาดฟ้า
ก็สามารถวัดความยาว ชั่งน้ำหนัก
ติดแท็กและปล่อยลงในแม่น้ำได้

วงล้อจับปลาอาจจะกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
ในฐานะเทคนิคการจับปลาเชิงพาณิชย์
เพราะไม่เหมือนกับอุปกรณ์ทางเลือกอื่น ๆ
เช่น อวนติดตา ที่จมในน้ำ
จะฆ่าปลาเล็กปลาน้อยได้
แต่วงล้อจับปลาจะทำการคัดแยกขนาดปลา
ปลาประเภทที่ได้รับการคุ้มครอง
จะถูกปล่อยลงในแม่น้ำได้
โดยไม่ได้รับอันตราย/บอบช้ำมาก
.

เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/30zlhqf
https://bit.ly/33zXWa8
https://bit.ly/33zOKT9
https://bit.ly/2I2FaQn
.
.
.

.
A model of a fish wheel
.
.

.
An Indian fish wheel in Alaska
.
.

.
Fish wheels in the Copper river, Alaska
.
.

.
Fish wheels in the Copper river, Alaska
.
.

.
Fish wheels in the Copper river, Alaska
.
.

.
Fish wheels in the Copper river, Alaska
.
.

.
A fish wheel on the river bank. 
When not in operation, 
the wheels are lifted out of the water
.
.

.
.

.
.

.
.

.
Fishwheel on the Taku River in Alaska, 
May 1908, photo by John Nathan Cobb
.
.
.

.
Fish wheel on display in Alaska
.
.

.
A fishing camp in Alaska
complete with drying shed 
and bearproof cache on stilts
.
.

.
.

.
.

.
A wooden fish wheel out of the water
.
.

.
.

.
Pacific salmon leaping at 
Willamette Falls, Oregon
.
.

.
Spawning sockeye salmon 
in Becharof Creek, 
Becharof Wilderness, Alaska
.
.

.
Redds on riverbed
.
.

.
Bear cub with salmon
.
.

.
Angler and gillie land a salmon, Scotland
.
.

.
Eggs in different stages of development
.
.

.
Salmon fry hatching—the baby has grown 
around the remains of the yolk
.
.

.
Artificially incubated chum salmon
.
.

.
ลูกปลาในแม่น้ำ
.
.

.
พร้อมสู่ทะเล
.
.

.
ตัวผู้ในทัองทะเล
.
.

.
ตัวผู้พรัอมผสมพันธุ์
.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.

.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ

ที่บริเวณเกาะยอ สงขลา
เป็นทางน้ำเข้าออกจากทะเลน้อย
ทะเลน้ำจืดที่อยู่ระหว่างสงขลากับพัทลุง
จะมีการวางโป๊ะลอยน้ำ กับ กะชัง
เลี้ยงปลากะพง จำนวนมาก
ซึ่งขวางทางน้ำที่ไหลมาผสม
น้ำเค็มกับน้ำจืดเป็นน้ำกร่อย
แม้ว่าจะทางการจะพยายาม
รื้อถอนออกหลายต่อหลายครั้ง
ก็มักจะมีข้ออ้างวิถีชีวิตชาวประมงพื้นบ้าน
และเป็นอาชีพของชาวบ้านของชุมชน
ดีกว่าให้ชาวบ้านเป็นโจรเพราะไม่มีอาชีพ

ทางการจะทำการสิ่งใด
ก็ไม่เคยสำเร็จได้แต่ประการใด
เพราะมีนักการเมืองหนุนหลังส่วนหนึ่ง
นักการเมืองต้องการคะแนนเสียงจากชาวบ้าน
เลยพยายามเถ(ดันทุรัง)
สนับสนุนในการทำเรื่องผิดกฎหมายอยู่แล้ว
ให้ถูกกฎหมายตามแบบฉบับของตน
เพื่อให้ได้คะแนนเสียงจากชาวบ้าน

หลายครั้งแล้ว
ที่ทางการจะรื้อถอน/จับกุมเรื่องนี้
ชาวบ้านต่างมาชุมนุม(ไม่สนใจผู้ใหญ่ลี)
ด้วยการลงถนนปิดสะพานเกาะยอทุกครั้ง
พร้อมกับได้รับท่อน้ำเลี้ยงจากนักการเมือง
ที่สนับสนุนการประท้วงด้วยการปิดสะพาน
รถราที่จะเข้าออกสงขลาไปสิงหนคร นครฯ
ก็จะติดยิ่งกว่าตังแม เดือดร้อนกันไปทั่ว
จนทำให้ทางราชการ
ต้องถอยดีกว่า ไม่เอาดีกว่า

เรื่องดังกล่าวจึงคาราคาซังจนทุกวันนี้
จนมีเสียงลือเสียงเล่าอ้างว่า
มีการจ่ายเงินกันเป็นไร่ ๆ ไร่ละแสนอย่างต่ำ
ให้กับนายหน้า/นักการเมือง
นำเงินไปส่งส่วยให้คนมีอำนาจ
แบบเอาพื้นที่ทะเลมาทำมาหากิน
และอ้างว่ามีโฉนดทะเลได้เลยทีเดียว
บางรายก็สร้างที่พักในทะเลสาบสงขลา
พอมีคำสั่งให้รื้อถอนก็ทำพอเป็นพิธีก่อน
แล้วค่อยปรับปรุงต่อเติมเพิ่มขึ้นอีกในวันหลัง

พื้นที่ทะเลสาบสงขลา
โดยกฎหมายแล้วห้ามมีสิ่งกีดขวาง
เพราะมีผลต่อการพัดพา
ตะกอนทรายลงสุ่ทะเลหลวง
ถ้าสะสมนานนานทะเลน้อยก็จะตื้นเขิน
การขุดลอกเอาตะกอนทรายออก
ยิ่งมีผลกระทบมากกว่าเดิมมาก
ทั้งเรื่องกองดินทราย
ที่ขุดขึ้นมาจะไปไว้ตรงไหน
น้ำขุ่นข้นมีผลกระทบแหล่งเพาะพันธุ์ปลา
กระแสน้ำที่จะเปลี่ยนทิศทางหลังขุดลอก
มีผลต่อโป๊ะลอยน้ำ กะชังปลา
ที่ขวางเส้นทางเดินของปลาบางชนิด
ที่จะไปวางไข่ในน้ำจีดด้านบนทะเลน้อย
.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่