คนสมัครงานหลายคนอาจเคยสงสัยว่าทำไมเราส่งเรซูเม่ไปตั้งเยอะ แต่กลับไม่มีที่ไหนเรียกเลย และมีคำถามในหัวตามมาว่า เขาได้รับอีเมลเราไหม จะเป็นไปได้ยังไงที่ยื่นสมัครไปหลายสิบที่แต่ไม่มีที่ไหนเรียก วันนี้ JobThai Tips จะมาบอกสาเหตุเบื้องต้นที่เราอาจจะพลาดตอนสมัครงานแบบไม่รู้ตัว เอาไว้รีเช็กตัวเองก่อนส่งเรซูเม่สมัครงาน จะได้ไม่นั่งเสียดายโอกาสภายหลัง
ข้อมูลส่วนตัวผิด
สิ่งสำคัญที่ควรตรวจทานทุกครั้งก่อนกดสมัครงาน คือข้อมูลติดต่ออย่างเบอร์โทรศัพท์ อีเมล บล็อก เว็บไซต์ หรือข้อมูลโซเชียลมีเดีย ควรเขียนให้ครบและถูกต้อง เพราะถ้าใส่ข้อมูลผิดไปแค่เพียงตัวเดียวก็ไม่สามารถติดต่อได้แล้ว ดังนั้นจำไว้ว่าถึงเราจะเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจก็จริง แต่ถ้าให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง เขาก็ไม่สามารถติดต่อเพื่อนัดสัมภาษณ์เราได้ และทำให้เราพลาดโอกาสไปได้ง่าย ๆ เลย
ใส่ชื่อ Subject ไม่ชัดเจน
ถ้าเขียนหัวข้อ Email ว่า “สมัครงาน” เฉย ๆ มีโอกาสที่ HR จะข้ามอีเมลของคุณไปเลยก็ได้ เพราะ HR หนึ่งคนอาจจะไม่ได้รับใบสมัครงานเพียงแค่ตำแหน่งเดียว ยิ่งองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีอีเมลเข้ามามากแล้ว Subject แบบนั้นก็อาจจะจมหายไปในกองอีเมลได้ ดังนั้นควรระบุชื่อตำแหน่งงานที่ตัวเองต้องการสมัครเข้าไปด้วย เพื่อให้ HR ทำงานได้ง่ายขึ้น และบ่งบอกถึงความรอบคอบและความละเอียดของคุณ รวมถึงยังทำให้ HR คัดกรองเอกสาร และส่งต่อได้สะดวกอีกด้วย
ไฟล์เรซูเม่เปิดยาก
บางทีเราเสียโอกาสได้งานเพราะ HR เปิดอ่านเรซูเม่ของเราไม่ได้ เช่น ไฟล์ผิด ไฟล์มีขนาดใหญ่ไปรอโหลดนาน หรือไฟล์เพี้ยนจากต้นฉบับ ดังนั้นเราควรทำเป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับดูเท่านั้น เช่น ไฟล์ .PDF และ .JPG (ไม่แนะนำให้เป็นไฟล์แบบตั้งโค้ดเข้ารหัส) เพราะถ้าเป็นไฟล์ .Doc .Psd หรือ .Ai เมื่อเปิดในเครื่องต่างเวอร์ชันก็จะทำให้ตัวอักษรและรูปไม่ตรงกับไฟล์ต้นฉบับ เรซูเม่ควรเปิดอ่านได้เลย ไม่ควรต้องขออนุญาตก่อนถึงจะดูได้ หรือไม่ต้องไปดาวน์โหลดจากเว็บรับฝากไฟล์ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ อย่างเช่น มี Portfolio รวมถึงไฟล์ที่ใช้แนบไม่ควรมีขนาดใหญ่เกิน 2 MB
ส่งอีเมลผิดช่วงเวลา
วันและเวลาที่มีคนหางาน และสมัครงานมากที่สุดใน JobThai คือ "ช่วง 11 โมง ของวันอังคาร" ดังนั้นถ้าไม่อยากมีคู่แข่งเยอะ ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลานี้ ไม่แนะนำให้ส่งเรซูเม่ในวันเสาร์อาทิตย์ เพราะมันเป็นวันหยุดทำการ อีเมลที่เราส่งไปจะถูกดองเอาไว้นาน รวมถึงพยายามอย่าส่งเรซูเม่ในตอนเย็น เพราะมันเป็นเวลาเลิกงานที่หลาย ๆ คนคงอยากกลับบ้านรวมถึง HR เอง
ช่วงเวลาการส่งอีเมลที่แนะนำคือตอนดึก ๆ เหตุผลเพราะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีใครส่ง และอีเมลที่เราส่งจะได้ขึ้นไปอยู่อีเมลต้น ๆ เมื่อ HR มาทำงานในตอนเช้าแล้วเช็กอีเมลแน่นอนว่าเขามีโอกาสเห็นอีเมลของเราสูง รวมถึงมันดีกว่าการส่งในตอนกลางวัน เพราะบางที HR อาจจะงานยุ่งมากเลยไม่ค่อยได้เปิดดูอีเมลสักเท่าไหร่
อีเมลไปตกอยู่ในถังขยะ
หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าอีเมลที่เราส่งไปอาจไม่ได้ไปอยู่ในกล่องจดหมาย แต่กลับไปตกในอีเมลขยะ ซึ่งปัญหานี้มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ผู้รับคนอื่น ตั้งค่า IP ของคุณเป็นสแปม คุณมีอัตราการใช้อีเมลต่ำ คุณใส่หัวข้อหรือชื่อเรื่องไม่น่าเชื่อถือ คุณลงชื่อผู้ส่งไม่ถูกต้อง คุณใช้ที่อยู่ปลอม หรือคุณมีลิงค์ “Unsubscribe” อยู่ในจดหมาย
แนวทางการการแก้ไข
1. แจ้งให้ผู้รับปลายทาง Add ที่อยู่อีเมล ของคุณเก็บไว้ใน Address Book
2. ในช่อง To: (ถึง) ให้ใส่ที่อยู่อีเมลของคุณลงไปด้วย หรืออาจจะใส่ที่อยู่อีเมลของคุณในช่อง cc: (สำเนาถึง) แทนก็ได้ เพราะถ้าส่งอีเมลเดียวโดด ๆ โอกาสที่อีเมลจะสูญหายมีสูง
3. โทรแจ้งให้ผู้รับปลายทางเข้าไปเช็กอีเมล หากพบว่าอีเมลของคุณอยู่ในถังขยะ ให้คลิก "Allow Sender" หรือ "Not Spam" หรือ "ไม่ใช่อีเมลขยะ" ระบบจะทำการย้ายอีเมล์เข้าไปเก็บไว้ใน Inbox แทน และครั้งต่อไปเมื่อคุณส่งอีเมลไปให้ผู้รับคนนี้อีก จะไม่ตกถังขยะอย่างแน่นอน
แนวทางเหล่านั้นอาจจะเป็นเรื่องง่ายถ้าเรารู้จักกันเป็นการส่วนตัวกับผู้รับ แต่สำหรับการสมัครงานอาจจะเป็นเรื่องยาก JobThai จึงพัฒนาวิธีการสมัครงานผ่าน @trustmail.jobthai.com เพื่อป้องกันไม่ให้อีเมลของผู้สมัครงานที่ส่งถึงองค์กรต้องไปตกอยู่ในถัง Junk Mail หรือ Spam ขององค์กร
อีเมลของคุณตกไป
อีเมลที่เข้ามายัง HR แต่ละวันเยอะมาก ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เขาจะพลาดอีเมลของเราได้ เพื่อความชัวร์โทรติดต่อบริษัทโดยตรงไปเลยดีกว่า แจ้งเขาว่าเราส่งเรซูเม่ตำแหน่งอะไร ส่งไปวันไหน แสดงถึงความต้องการทำงานกับบริษัทนั้นให้มากที่สุด ถ้าเขาตอบว่ายังไม่ได้ดูเรซูเม่ของคุณ ก็ถามต่อว่าต้องรออีกประมาณกี่วัน เมื่อถึงกำหนดวันตามที่แจ้ง ถ้าเขาไม่ติตต่อมาแล้วคุณไม่สบายใจก็ให้ติตต่อไปถามอีกครั้งหากเขายังแจ้งว่าจะติดต่อกลับ ถ้าได้คำตอบแบบนี้ก็ควรเผื่อใจแล้วหาที่ใหม่ไว้เลย
กรอกข้อมูลในเว็บไซต์หางานแบบลวก ๆ
คนหางานหลายคนใช้บริการสมัครงานผ่านเว็บไซต์หางาน ซึ่งเขาจะให้เรากรอกประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน พร้อมแนบไฟล์รูปถ่าย ตามแบบฟอร์มที่กำหนด จากนั้นก็แค่กดปุ่มสมัครงาน ซึ่งหลายคนกรอกข้อมูลเหล่านี้แค่พอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจกรอกให้ครบถ้วน ชัดเจน และเห็นภาพ โดยเฉพาะตรงหน้าที่ความรับผิดชอบที่บางคนกรอกสั้นมากจนไม่รู้เลยว่าประสบการณ์การทำงานมีอะไรบ้าง ดังนั้นคุณควรตั้งใจเขียนให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตัดโอกาสตัวเองในการถูกเรียกสัมภาษณ์งาน อย่าลืมว่าวิธีการนี้ยังเปิดโอกาสให้ HR ที่เข้ามาค้นหาใบสมัครงานในเว็บได้เจอประวัติของคุณด้วย หากคุณเขียนข้อมูลส่วนนี้ได้น่าสนใจ มีข้อมูลครบถ้วน คุณก็อาจจะได้รับการติดต่อจาก HR โดยไม่ต้องกดสมัครงานเลยก็ได้
ทั้งหมดเป็นแค่การรีเช็กตัวเองเบื้องต้นเท่านั้น เพราะไม่ว่าคุณจะเขียนอีเมลได้ถูกต้อง มี Profile ที่น่าสนใจ หรือจะทำ Resume ให้น่าจับจองมากแค่ไหน แต่ถ้าบริษัทที่คุณยื่นสมัครงานไป ไม่มีตำแหน่งว่าง หรืองานไม่ตรงกับความสามารถของคุณ คุณก็คงไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานอยู่ดี เพราะฉะนั้นก่อนจะยื่นสมัครงาน อย่าลืมเช็กสิ่งที่เราบอกไปด้วยทุกครั้งดีที่สุด
ส่งเรซูเม่ไปเยอะมาก แต่ทำไมเงียบไม่มีการตอบกลับเลยคะ
ข้อมูลส่วนตัวผิด
สิ่งสำคัญที่ควรตรวจทานทุกครั้งก่อนกดสมัครงาน คือข้อมูลติดต่ออย่างเบอร์โทรศัพท์ อีเมล บล็อก เว็บไซต์ หรือข้อมูลโซเชียลมีเดีย ควรเขียนให้ครบและถูกต้อง เพราะถ้าใส่ข้อมูลผิดไปแค่เพียงตัวเดียวก็ไม่สามารถติดต่อได้แล้ว ดังนั้นจำไว้ว่าถึงเราจะเป็นผู้สมัครที่น่าสนใจก็จริง แต่ถ้าให้ข้อมูลไม่ถูกต้อง เขาก็ไม่สามารถติดต่อเพื่อนัดสัมภาษณ์เราได้ และทำให้เราพลาดโอกาสไปได้ง่าย ๆ เลย
ใส่ชื่อ Subject ไม่ชัดเจน
ถ้าเขียนหัวข้อ Email ว่า “สมัครงาน” เฉย ๆ มีโอกาสที่ HR จะข้ามอีเมลของคุณไปเลยก็ได้ เพราะ HR หนึ่งคนอาจจะไม่ได้รับใบสมัครงานเพียงแค่ตำแหน่งเดียว ยิ่งองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีอีเมลเข้ามามากแล้ว Subject แบบนั้นก็อาจจะจมหายไปในกองอีเมลได้ ดังนั้นควรระบุชื่อตำแหน่งงานที่ตัวเองต้องการสมัครเข้าไปด้วย เพื่อให้ HR ทำงานได้ง่ายขึ้น และบ่งบอกถึงความรอบคอบและความละเอียดของคุณ รวมถึงยังทำให้ HR คัดกรองเอกสาร และส่งต่อได้สะดวกอีกด้วย
ไฟล์เรซูเม่เปิดยาก
บางทีเราเสียโอกาสได้งานเพราะ HR เปิดอ่านเรซูเม่ของเราไม่ได้ เช่น ไฟล์ผิด ไฟล์มีขนาดใหญ่ไปรอโหลดนาน หรือไฟล์เพี้ยนจากต้นฉบับ ดังนั้นเราควรทำเป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับดูเท่านั้น เช่น ไฟล์ .PDF และ .JPG (ไม่แนะนำให้เป็นไฟล์แบบตั้งโค้ดเข้ารหัส) เพราะถ้าเป็นไฟล์ .Doc .Psd หรือ .Ai เมื่อเปิดในเครื่องต่างเวอร์ชันก็จะทำให้ตัวอักษรและรูปไม่ตรงกับไฟล์ต้นฉบับ เรซูเม่ควรเปิดอ่านได้เลย ไม่ควรต้องขออนุญาตก่อนถึงจะดูได้ หรือไม่ต้องไปดาวน์โหลดจากเว็บรับฝากไฟล์ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ อย่างเช่น มี Portfolio รวมถึงไฟล์ที่ใช้แนบไม่ควรมีขนาดใหญ่เกิน 2 MB
ส่งอีเมลผิดช่วงเวลา
วันและเวลาที่มีคนหางาน และสมัครงานมากที่สุดใน JobThai คือ "ช่วง 11 โมง ของวันอังคาร" ดังนั้นถ้าไม่อยากมีคู่แข่งเยอะ ควรหลีกเลี่ยงช่วงเวลานี้ ไม่แนะนำให้ส่งเรซูเม่ในวันเสาร์อาทิตย์ เพราะมันเป็นวันหยุดทำการ อีเมลที่เราส่งไปจะถูกดองเอาไว้นาน รวมถึงพยายามอย่าส่งเรซูเม่ในตอนเย็น เพราะมันเป็นเวลาเลิกงานที่หลาย ๆ คนคงอยากกลับบ้านรวมถึง HR เอง
ช่วงเวลาการส่งอีเมลที่แนะนำคือตอนดึก ๆ เหตุผลเพราะเป็นช่วงที่ไม่ค่อยมีใครส่ง และอีเมลที่เราส่งจะได้ขึ้นไปอยู่อีเมลต้น ๆ เมื่อ HR มาทำงานในตอนเช้าแล้วเช็กอีเมลแน่นอนว่าเขามีโอกาสเห็นอีเมลของเราสูง รวมถึงมันดีกว่าการส่งในตอนกลางวัน เพราะบางที HR อาจจะงานยุ่งมากเลยไม่ค่อยได้เปิดดูอีเมลสักเท่าไหร่
อีเมลไปตกอยู่ในถังขยะ
หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าอีเมลที่เราส่งไปอาจไม่ได้ไปอยู่ในกล่องจดหมาย แต่กลับไปตกในอีเมลขยะ ซึ่งปัญหานี้มีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น ผู้รับคนอื่น ตั้งค่า IP ของคุณเป็นสแปม คุณมีอัตราการใช้อีเมลต่ำ คุณใส่หัวข้อหรือชื่อเรื่องไม่น่าเชื่อถือ คุณลงชื่อผู้ส่งไม่ถูกต้อง คุณใช้ที่อยู่ปลอม หรือคุณมีลิงค์ “Unsubscribe” อยู่ในจดหมาย
แนวทางการการแก้ไข
1. แจ้งให้ผู้รับปลายทาง Add ที่อยู่อีเมล ของคุณเก็บไว้ใน Address Book
2. ในช่อง To: (ถึง) ให้ใส่ที่อยู่อีเมลของคุณลงไปด้วย หรืออาจจะใส่ที่อยู่อีเมลของคุณในช่อง cc: (สำเนาถึง) แทนก็ได้ เพราะถ้าส่งอีเมลเดียวโดด ๆ โอกาสที่อีเมลจะสูญหายมีสูง
3. โทรแจ้งให้ผู้รับปลายทางเข้าไปเช็กอีเมล หากพบว่าอีเมลของคุณอยู่ในถังขยะ ให้คลิก "Allow Sender" หรือ "Not Spam" หรือ "ไม่ใช่อีเมลขยะ" ระบบจะทำการย้ายอีเมล์เข้าไปเก็บไว้ใน Inbox แทน และครั้งต่อไปเมื่อคุณส่งอีเมลไปให้ผู้รับคนนี้อีก จะไม่ตกถังขยะอย่างแน่นอน
แนวทางเหล่านั้นอาจจะเป็นเรื่องง่ายถ้าเรารู้จักกันเป็นการส่วนตัวกับผู้รับ แต่สำหรับการสมัครงานอาจจะเป็นเรื่องยาก JobThai จึงพัฒนาวิธีการสมัครงานผ่าน @trustmail.jobthai.com เพื่อป้องกันไม่ให้อีเมลของผู้สมัครงานที่ส่งถึงองค์กรต้องไปตกอยู่ในถัง Junk Mail หรือ Spam ขององค์กร
อีเมลของคุณตกไป
อีเมลที่เข้ามายัง HR แต่ละวันเยอะมาก ดังนั้นจึงมีโอกาสที่เขาจะพลาดอีเมลของเราได้ เพื่อความชัวร์โทรติดต่อบริษัทโดยตรงไปเลยดีกว่า แจ้งเขาว่าเราส่งเรซูเม่ตำแหน่งอะไร ส่งไปวันไหน แสดงถึงความต้องการทำงานกับบริษัทนั้นให้มากที่สุด ถ้าเขาตอบว่ายังไม่ได้ดูเรซูเม่ของคุณ ก็ถามต่อว่าต้องรออีกประมาณกี่วัน เมื่อถึงกำหนดวันตามที่แจ้ง ถ้าเขาไม่ติตต่อมาแล้วคุณไม่สบายใจก็ให้ติตต่อไปถามอีกครั้งหากเขายังแจ้งว่าจะติดต่อกลับ ถ้าได้คำตอบแบบนี้ก็ควรเผื่อใจแล้วหาที่ใหม่ไว้เลย
กรอกข้อมูลในเว็บไซต์หางานแบบลวก ๆ
คนหางานหลายคนใช้บริการสมัครงานผ่านเว็บไซต์หางาน ซึ่งเขาจะให้เรากรอกประวัติส่วนตัวและประวัติการทำงาน พร้อมแนบไฟล์รูปถ่าย ตามแบบฟอร์มที่กำหนด จากนั้นก็แค่กดปุ่มสมัครงาน ซึ่งหลายคนกรอกข้อมูลเหล่านี้แค่พอเป็นพิธีเท่านั้น ไม่ได้ตั้งใจกรอกให้ครบถ้วน ชัดเจน และเห็นภาพ โดยเฉพาะตรงหน้าที่ความรับผิดชอบที่บางคนกรอกสั้นมากจนไม่รู้เลยว่าประสบการณ์การทำงานมีอะไรบ้าง ดังนั้นคุณควรตั้งใจเขียนให้ดี เพื่อที่จะได้ไม่ตัดโอกาสตัวเองในการถูกเรียกสัมภาษณ์งาน อย่าลืมว่าวิธีการนี้ยังเปิดโอกาสให้ HR ที่เข้ามาค้นหาใบสมัครงานในเว็บได้เจอประวัติของคุณด้วย หากคุณเขียนข้อมูลส่วนนี้ได้น่าสนใจ มีข้อมูลครบถ้วน คุณก็อาจจะได้รับการติดต่อจาก HR โดยไม่ต้องกดสมัครงานเลยก็ได้
ทั้งหมดเป็นแค่การรีเช็กตัวเองเบื้องต้นเท่านั้น เพราะไม่ว่าคุณจะเขียนอีเมลได้ถูกต้อง มี Profile ที่น่าสนใจ หรือจะทำ Resume ให้น่าจับจองมากแค่ไหน แต่ถ้าบริษัทที่คุณยื่นสมัครงานไป ไม่มีตำแหน่งว่าง หรืองานไม่ตรงกับความสามารถของคุณ คุณก็คงไม่ถูกเรียกไปสัมภาษณ์งานอยู่ดี เพราะฉะนั้นก่อนจะยื่นสมัครงาน อย่าลืมเช็กสิ่งที่เราบอกไปด้วยทุกครั้งดีที่สุด