JJNY : พท.แนะย่นเวลาแก้รธน./เลขาฯก้าวไกลชี้รธน.ฉบับนี้เป็นระเบิดเวลา/ประชุมพปชร.กร่อย!/11ส.เกษตรร้องทุกข์หลังแบนพาราควอต

พท.แนะย่นเวลาแก้รัฐธรรมนูญไม่เกิน1ปี
https://www.dailynews.co.th/politics/787968
 
เมื่อวันที่ 3 ส.ค. ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) 
มีประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทยถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาทิ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย นายชัยเกษม นิติสิริ นายโภคิน พลกุล นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายสุทิน คลังแสง ส.ส. มหาสารคาม ฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน
 
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวภายหลังว่า เราเห็นด้วยกับกรรมาธิการที่นำเสนอใน 2 เรื่องหลัก คือการให้มี สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้น และทำให้เงื่อนไขการแก้ไขรัฐธรรมนูญง่ายขึ้น นอกจากนี้ทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ได้พิจารณาถึงเรื่องเงื่อนเวลา ด้วยสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน ทั้งปัญหาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ การเสื่อมศรัทธาในรัฐบาล สภาวะที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรม เราจึงเห็นว่าระยะเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญไม่ควรเกิน 7-8 เดือน และกระบวนการทั้งหมดไม่ควรเกิน 1 ปี
 
ซึ่งเรามองว่าระยะเวลาดังกล่าวความสามารถทำได้ เพราะมีรัฐธรรมนูญที่เป็นต้นแบบ ไม่ได้เริ่มจากศูนย์ และหลังมีรัฐธรรมนูญใหม่ ก็ควรยุบสภาจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ คืนอำนาจประชาชนให้ตัดสินใจอนาคตของประเทศใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้กฎกติกาที่เป็นสากลและเป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน แล้วได้วันนี้พรรคเพื่อไทยจะมีการประชุมส.ส. จะนำความเห็นของกรรมการยุทธศาสตร์ฯ เพื่อนำเสนอให้ส.ส.พิจารณาหากส.ส.เห็นชอบตามที่เรานำเสนอในเรื่องการย่นระยะเวลา ส.ส.ก็สามารถลงชื่อ และเสนอเป็นญัตติเพื่อเสนอเป็นกฎหมายได้ในสัปดาห์นี้
 
คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวถึงกรณี ส.ส.และ ส.ว.บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.เพราะเป็นการตีเช็กเปล่า ว่า มีการตีเช็กเปล่าโดยไม่ยึดโยงอำนาจของประชาชนมามากหลายเหตุการณ์ ตั้งแต่การร่างรัฐธธรรมนูญ 60 อันมี ส.ว.250 คน นี่คือการตีเช็กเปล่าของจริง แต่การมี ส.ส.ร.จะมาจากประชาชน คืออำนาจอันชอบธรรมที่จะกำหนดทิศทางของประเทศ และกำหนดกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นเช็กที่เขียนเต็มจำนวนในการให้อำนาจประชาชน วันนี้อยากขอร้องว่าอย่าเอาประโยชน์ส่วนตน บ้านเมืองเดินมาถึงจุดนี้ ประชาชนมีความยากลำบาก จำเป็นที่ทุกคนต้องมองเห็นประโยชน์ส่วนรวม
 
ดังนั้นขอเรียกร้องความจริงใจจากนายกฯ เป็นลำดับแรก ซึ่งการเสนอแก้รัฐธรรมนูญไม่เกิน 1 ปี หากนายกฯ มีความจริงใจในการคืนประชาธิปไตยที่แท้จริงให้ชาติ ประชาชน นายกฯต้องสั่งการให้ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลร่วมสนับสนุน ขณะเดียวกัน ส.ว.จะมีที่มาอย่างไรก็แล้วแต่ แต่เมื่อมาทำหน้าที่ให้ประชาชนควรแสดงความจริงใจในการสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากแสดงอาการที่ไม่เหมาะสม อาจแสดงให้เห็นว่ายังยึดติดอำนาจ
 
“พรรคเพื่อไทยเตรียมยื่นหนังสือถึงนายกฯ ในวันพรุ่งนี้ (4ส.ค.) เพื่อเรียกร้องให้นายกฯ สั่งการให้เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานหยุดการคุกคามนิสิต-นักศึกษาในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นในสถานศึกษาหรือที่พักอาศัย เพราะถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง” คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว
 
นายโภคิน กล่าวว่า ในชั้นการศึกษาของกรรมาธิการลงรายละเอียดใน 2 ส่วน คือมีการลงไปดูในรายประเด็น รายมาตรา ซึ่ง กมธ.ทุกคนมองว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้มีปัญหา และ 2. ควรมีการรับฟังความเห็นจากหลากหลายฝ่าย ซึ่งเรานำทั้งสองส่วนนี้มาปรึกษาในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ซึ่งมีข้อสังเกตเรื่องของเวลา ซึ่งหากร่นระยะเวลาลงมาได้ จะมีประโยชน์ต่อสังคม นอกจากนี้ที่ห่วงว่าจะใช้งบประมาณทำประชามติหลายครั้งจะใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งครั้งแรกคือฉบับ 60 และอีกครั้งจะเป็นฉบับที่ ส.ส.ร.ร่างขึ้น มีคนบอกว่าจะใช้งประมาณ 3 พันล้านบาทนั้น หากจะต้องเสียเงิน 6 พันล้านบาทเพื่อให้มีโรดแม็พของประเทศ คือรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน แพงมากหรืออย่างไรกับที่เรานำเงินไปซื้อสิ่งที่ไม่จำเป็น.
 
ด้านนายสุทิน กล่าวว่า ส.ส.ร.อาจจะเพิ่มอำนาจให้ ส.ว.ก็ได้ ดังนั้นวันนี้ขอ ส.ว.อย่าวิตก ซึ่งสามารถพูดคุยให้เหตุผลได้.


 
เลขาฯ ก้าวไกล ชี้ รธน. ฉบับนี้เป็น 'ระเบิดเวลา' แนะช่วยกันเปลี่ยนผ่านอย่างสันติ
https://voicetv.co.th/read/AoiT0Q136

เลขาธิการก้าวไกล ชี้รัฐธรรมนูญฉบับ คสช. เป็นระเบิดเวลา ต้องช่วยกันเปลี่ยนผ่านการเมืองอย่างสันติ ด้วยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วอน ส.ว.อย่าตอกย้ำให้ประชาชนรู้สึกถึงความไร้ประโยชน์ไปมากกว่านี้
 
ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ระบุว่า ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มี ส.ว. บางท่านออกมาให้ความเห็นคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 เพื่อเปิดช่องให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่า การตั้ง ส.ส.ร. นั้นสิ้นเปลืองงบประมาณในการทำประชามติ, ใช้เวลานานเกินไป, และสุดท้าย หาก ส.ว. หรือ ส.ส. ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับของ ส.ส.ร. บางมาตรา ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็จะไม่ผ่านสภาอยู่ดี ส.ว. บางท่านถึงกับประกาศว่า จะไม่ยอม 'ตีเช็คเปล่า' ให้ ส.ส.ร. เขียนรัฐธรรมนูญใหม่ตามใจชอบ โดยเฉพาะถ้าไปแตะเรื่อง ส.ว. คงยอมกันไม่ได้ พรรคก้าวไกลขอย้ำอีกครั้งว่า รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ส.ช.เป็น 'ระเบิดเวลา' สำหรับสังคมไทย
 
ชัยธวัช ต่อว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นเพียงใบอนุญาตให้คณะรัฐประหารสืบทอดอำนาจต่อไปเรื่อยๆ และอนุญาตให้อำนาจที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งอยู่เหนืออำนาจที่ยึดโยงกับเสียงของประชาชน อีกทั้งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้การบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพ เปิดช่องให้มีการใช้อำนาจอย่างฉ้อฉล ไม่เห็นหัวประชาชน ไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ แม้จะผ่านการลงประชามติ แต่ก็เป็นการทำประชามติที่บิดเบี้ยว และประชาชนจำนวนมากลงมติเห็นชอบก็เพียงเพื่อต้องการออกจากระบอบ คสช.และให้มีการเลือกตั้งใหม่เร็วๆ
 
นอกจากนี้ยังระบุว่า รัฐธรรมนูญ 2560 จะยิ่งสะสมปัญหาและความขัดแย้งทางการเมืองรอวันปะทุขึ้นมา ดังนั้นต้องช่วยกันถอดสลักระเบิดเวลาลูกนี้ ด้วยการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนทั้งประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบระบบการเมืองที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน ผ่านสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจาการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
 
เลขาฯ ก้าวไกล กล่าวต่อว่า นี่เป็นวิถีทางที่ดีที่สุดในการแสวงหาฉันทามติและความปรองดองครั้งใหม่ นี่ไม่ใช่ 'ทางเลือก' แต่เป็น 'ทางรอด' ของสังคมไทย และขอฝากไปยัง ส.ว. ว่า อย่าทำตัวเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยเสียเองโดยการมากำหนดว่าจะยอมหรือไม่ยอมให้แก้รัฐธรรมนูญอย่างไร ซึ่งจะทำให้ ส.ว.กลายเป็นผู้ผลักการเมืองไทยให้ไปสู่ 'ทางตัน' บทบาทของ ส.ว.เช่นนี้จะยิ่งทำให้ประชาชนตั้งคำถามดังขึ้นเรื่อยๆ ว่า "ส.ว. มีไว้ทำไม?" ทำไมประชาชนต้องยอม 'ตีเช็คเปล่า' ให้ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. มีอำนาจตัดสินใจเลือกนายกรัฐมนตรี, ปฏิรูปประเทศ, และกำหนดเรื่องรัฐธรรมนูญแทนเจ้าของอำนาจอธิปไตยตัวจริง อย่าตอกย้ำให้ประชาชนรู้สึกว่า ส.ว. ไร้ประโยชน์ไปมากกว่านี้
 
และการที่ ส.ส. และ ส.ว. หันมาร่วมมือกันแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.256 เพื่อปลดล็อกให้รัฐธรรมนูญแก้ไขรายประเด็นได้ง่ายขึ้น พร้อมกับเพิ่มหมวด 'การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่' เข้าไป เพื่อเปิดช่องให้มีการตั้ง ส.ส.ร. คือ 'ทางออก' ที่ดีที่สุดในการผ่าทางตันทางการเมืองอย่างสันติและมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เมื่อรัฐสภาผ่านร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปลดล็อก ม.256 และเปิดทางให้มี ส.ส.ร. แล้ว ก็ให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเองผ่านการลงประชามติครั้งที่ 1 ว่าเจ้าของอำนาจอธิปไตยส่วนใหญ่ ซึ่งไม่ใช่ ส.ว. ยอมให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่
 
ถ้าประชามติครั้งที่ 1 ผ่าน และ ส.ส.ร. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วเสร็จ ก็ส่งตรงไปให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจเองผ่านการลงประชามติครั้งที่ 2 ว่าจะยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ ส.ส.ร. หรือไม่ และกระบวนการดังกล่าวไม่ช้าเกินไป หากเทียบกับเวลาที่ประเทศชาติสูญเสียไปภายใต้ระบอบ ค.ส.ช.และกระบวนการดังกล่าวไม่แพงเกินไป หากสามารถช่วยให้ไม่ต้องเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่จากทางตันทางการเมือง ส.ว.ต้องเคารพและฟังเสียงของประชาชน ไม่ใช่กดหัวประชาชนให้ต้องเคารพและฟังเสียง ส.ว.ที่พวกเขาไม่ได้เลือกมา
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่