คือ ส่วนใหญ่เป็นคนที่แต่งตัว casual กว่า มักมีอคติกับคนที่แต่งตัว formal กว่า ไม่รู้ทำไม
วิถีชีวิตประจำวันเมื่อเราปฏิสัมพันธ์ด้วยจะโดนค่อนขอดเรื่องการแต่งกายทันที
ครั้งนึงมีเหตุการณ์คัดเลือกตัวประกอบฉากละคร โดยผู้กำกับตั้งลุคว่า เอาคนเสื้อผ้าเป็นชุดราตรีออกงานสังคมไฮโซ ต้องมีเสื้อผ้าเอง ใช้คนประมาณห้าสิบคน ปรากฏว่าคนเลือกดันเลือกคนที่เสื้อผ้าแบบ แจ๊คเก็ตบิ๊กไบค์ เกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบไม่ใส่ถุงเท้า กระโปรงพีทยาวแค่เข่าแบบเด็กพาณิชย์
ส่วนใครมีทักซิโด้ หรือเดรสตัวยาว ตกหมด มีคนมาบอกว่าคนเลือกบอกว่าหมั่นไส้ พวกมีเสื้อผ้าดีๆ ใส่ เลยไม่เอาเข้ารอบ เราเลยคิดว่าละครเรื่องนี้จะปังมั๊ย เพราะลูกน้องของผู้กำกับเอาจริตตัวเองมาเข้ากับงาน
อีกครั้งนึง ช่วงก่อนโควิท เราพาพี่คนรู้จักไปแถวนิคมอุตสาหกรรมแห่งนึงในสมุทรปราการบ่อยๆ ช่วงนั้น พี่คนรู้จักเป็นนายหน้าต้องไปติดต่อเรื่องแรงงานเข้าเมือง แกจะไปบ่ายถึงเย็น เลยได้มาแวะร้านยำมะม่วงเจ้านึงในชุมชนข้างๆ นิคมนั้น โดยเราจะใส่เชิ้ตแขนยาว เกงสแล๊ค ปกติ เจ้าของร้านผู้ชายก็มักจะแขวะเสื้อผ้าเราทุกครั้งที่ไป ไม่ร้อนเหรอใส่เสื้อแขนยาว ทำไมแต่งตัวอย่างงี้ คือเข้าใจนะว่าลูกค้าร้อยทั้งร้อยแต่งชุดพนง.โรงงาน เจอลุคออฟฟิศหน่อยเลยถาม แต่สีหน้าอารมณ์ท่าทางการถามมันตรงกันข้าม
อีกครั้งนึง เป็นโรงงานแห่งนึง ซึ่งมีงานเคลียร์แรนท์ โดยพนักงานในโรงงานเป็นคนเอาของมาตั้งใน hall จัดแสดง เราต้องพาเจ้าของบริษัทผู้ชายลงมาดู โดย พนง.ทุกคนไม่มีใครรู้จักว่าใครเป็นเจ้าของบริษัท และเจ้าของบริษัท ก็บอกเราว่าไม่ต้องการให้คนที่นี่รู้ว่าเค้าเป็นนายใหญ่ของที่นี่ เค้าเดินเข้ามาดูงานกับเราทำทีเป็นคนเดินดูจะซื้อของ โดยแต่งตัวที่เรียกว่าแต่งตัวดี ถึงหรู คือแต่งตัวแบบคนทำงานออฟฟิศ แต่ว่าใส่สูท ดีๆ แบบคัตติ้งเนี้ยบ ใส่เชิ้ตมี cufflinks สวยๆ (ลืมบอกเราไม่ได้เป็นพนง.อะไรในบริษัทนี้ แต่มีงานที่ต้องดิวกับเจ้าของ) เมื่อมาเจอพวกทำงานที่เป็นลูกจ้างเค้า พวกนั้นมองแบบ และคุยกันถึงขั้นนินทากันว่า โห ทำเป็นแต่งตัวดี เงินไม่มีหรอกหวะ (เราฟังแล้วขึ้นเลย คือ เห้ย นี่นายใหญ่พวกคุณเลยนะ) แต่ด้วยเจ้าของบริษัทต้องการปกปิดตัวตนของเค้า บวกกับลุคสุภาพ (มาก) ของเค้า ทำให้ลูกจ้างระดับล่างที่ไม่รู้ว่าเค้าเป็นใคร ข่มใหญ่
กับอีกหลายๆ ครั้งทั้งเราเองและคนรู้จักเล่าให้ฟัง เวลาไปใช้บริการอะไร คนมักเข้าใจว่า คนแต่งตัวไม่ดี มักจะได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี อันนั้นทฤษฎี แต่เรื่องจริงมันตรงกันข้าม ถ้าแต่งตัวดีให้เกียรติสถานที่ มักได้รับการปฏิบัติ ไม่ดีนัก (ข้อหาอาจเหมือนย่อหน้าข้างบน) อย่างเพื่อนเรา พอทักท้วงขึ้นมา พนง.บริการเหล่านั้นก็อ้างทันทีว่า เพื่อนเราหาเรื่องพวกเค้า ทั้งๆ ที่พวกเค้าทำให้เพื่อนเราไม่พอใจก่อน
ทำไมคนไทยสมัยนี้ ชอบแทรกแทรงการแต่งกายของคนอื่นครับ
วิถีชีวิตประจำวันเมื่อเราปฏิสัมพันธ์ด้วยจะโดนค่อนขอดเรื่องการแต่งกายทันที
ครั้งนึงมีเหตุการณ์คัดเลือกตัวประกอบฉากละคร โดยผู้กำกับตั้งลุคว่า เอาคนเสื้อผ้าเป็นชุดราตรีออกงานสังคมไฮโซ ต้องมีเสื้อผ้าเอง ใช้คนประมาณห้าสิบคน ปรากฏว่าคนเลือกดันเลือกคนที่เสื้อผ้าแบบ แจ๊คเก็ตบิ๊กไบค์ เกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบไม่ใส่ถุงเท้า กระโปรงพีทยาวแค่เข่าแบบเด็กพาณิชย์
ส่วนใครมีทักซิโด้ หรือเดรสตัวยาว ตกหมด มีคนมาบอกว่าคนเลือกบอกว่าหมั่นไส้ พวกมีเสื้อผ้าดีๆ ใส่ เลยไม่เอาเข้ารอบ เราเลยคิดว่าละครเรื่องนี้จะปังมั๊ย เพราะลูกน้องของผู้กำกับเอาจริตตัวเองมาเข้ากับงาน
อีกครั้งนึง ช่วงก่อนโควิท เราพาพี่คนรู้จักไปแถวนิคมอุตสาหกรรมแห่งนึงในสมุทรปราการบ่อยๆ ช่วงนั้น พี่คนรู้จักเป็นนายหน้าต้องไปติดต่อเรื่องแรงงานเข้าเมือง แกจะไปบ่ายถึงเย็น เลยได้มาแวะร้านยำมะม่วงเจ้านึงในชุมชนข้างๆ นิคมนั้น โดยเราจะใส่เชิ้ตแขนยาว เกงสแล๊ค ปกติ เจ้าของร้านผู้ชายก็มักจะแขวะเสื้อผ้าเราทุกครั้งที่ไป ไม่ร้อนเหรอใส่เสื้อแขนยาว ทำไมแต่งตัวอย่างงี้ คือเข้าใจนะว่าลูกค้าร้อยทั้งร้อยแต่งชุดพนง.โรงงาน เจอลุคออฟฟิศหน่อยเลยถาม แต่สีหน้าอารมณ์ท่าทางการถามมันตรงกันข้าม
อีกครั้งนึง เป็นโรงงานแห่งนึง ซึ่งมีงานเคลียร์แรนท์ โดยพนักงานในโรงงานเป็นคนเอาของมาตั้งใน hall จัดแสดง เราต้องพาเจ้าของบริษัทผู้ชายลงมาดู โดย พนง.ทุกคนไม่มีใครรู้จักว่าใครเป็นเจ้าของบริษัท และเจ้าของบริษัท ก็บอกเราว่าไม่ต้องการให้คนที่นี่รู้ว่าเค้าเป็นนายใหญ่ของที่นี่ เค้าเดินเข้ามาดูงานกับเราทำทีเป็นคนเดินดูจะซื้อของ โดยแต่งตัวที่เรียกว่าแต่งตัวดี ถึงหรู คือแต่งตัวแบบคนทำงานออฟฟิศ แต่ว่าใส่สูท ดีๆ แบบคัตติ้งเนี้ยบ ใส่เชิ้ตมี cufflinks สวยๆ (ลืมบอกเราไม่ได้เป็นพนง.อะไรในบริษัทนี้ แต่มีงานที่ต้องดิวกับเจ้าของ) เมื่อมาเจอพวกทำงานที่เป็นลูกจ้างเค้า พวกนั้นมองแบบ และคุยกันถึงขั้นนินทากันว่า โห ทำเป็นแต่งตัวดี เงินไม่มีหรอกหวะ (เราฟังแล้วขึ้นเลย คือ เห้ย นี่นายใหญ่พวกคุณเลยนะ) แต่ด้วยเจ้าของบริษัทต้องการปกปิดตัวตนของเค้า บวกกับลุคสุภาพ (มาก) ของเค้า ทำให้ลูกจ้างระดับล่างที่ไม่รู้ว่าเค้าเป็นใคร ข่มใหญ่
กับอีกหลายๆ ครั้งทั้งเราเองและคนรู้จักเล่าให้ฟัง เวลาไปใช้บริการอะไร คนมักเข้าใจว่า คนแต่งตัวไม่ดี มักจะได้รับการปฏิบัติที่ไม่ดี อันนั้นทฤษฎี แต่เรื่องจริงมันตรงกันข้าม ถ้าแต่งตัวดีให้เกียรติสถานที่ มักได้รับการปฏิบัติ ไม่ดีนัก (ข้อหาอาจเหมือนย่อหน้าข้างบน) อย่างเพื่อนเรา พอทักท้วงขึ้นมา พนง.บริการเหล่านั้นก็อ้างทันทีว่า เพื่อนเราหาเรื่องพวกเค้า ทั้งๆ ที่พวกเค้าทำให้เพื่อนเราไม่พอใจก่อน