#วันพืชมงคลและพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (ประวัติความสำคัญ)

กระทู้สนทนา
#วันพืชมงคลและพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ สำคัญอย่างไร? 
                (สำหรับผู้ที่ไม่อยากอ่าน สามารถดูคลิปเสียงนี้ได้ค่ะ)


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


1. "จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย กำหนดจัดขึ้นในเดือนหกหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นระยะเหมาะสมที่จะเริ่มต้นการทำนา อันเป็นอาชีพหลักของประชาชนคนไทย แต่ไม่ได้กำหนดวันที่แน่นอนไว้เหมือนกับวันในพระราชพิธีอื่น โดยเลือกจากวันที่มี

ฤกษ์ยามที่เหมาะสมในเดือนหกนั่นเอง พระราชพิธีฯ นี้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์ไม่ได้ลงมือไถนาเอง เป็นแต่เพียงเสด็จไปเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีเท่านั้น ครั้งถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ ไม่ได้เสด็จไปเป็นองค์ประธาน เหมือนกับสมัยกรุงสุโขทัย และจะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน แต่จะมอบอาญาสิทธิ์ให้ เจ้าพระยาจันทกุมาร เป็นผู้แทนพระองค์ โดยทรงทำเหมือนอย่างออกอำนาจจากกษัตริย์ ซึ่งวิธีนี้ได้ใช้ตลอดมาถึงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา 
2. "จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" ในสมัยรัตนโกสินทร์ ได้มีการประกอบพระราชพิธีนี้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 แต่ผู้ทำการแรกนาเปลี่ยนเป็นเจ้าพระยาพลเทพ คู่กันกับการยืนชิงช้า แต่พอถึงรัชกาลที่ 3 ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนา ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดมีพิธีสงฆ์เพิ่มขึ้นในพระราชพิธีต่างๆ ทุกพิธี ดังนั้น พระราชพิธีพืชมงคลจึงได้เริ่มมีขึ้นแต่บัดนั้นมา โดยได้จัดรวมกับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และมีชื่อเรียกรวมกันว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ 
3. ทำไมต้องมี#พิธีแรกนาขวัญ เพื่อจะให้เป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจหมั่นในการที่จะทำนา แต่การทำนานั้นก็มักจะมีอุปสรรค

อยู่ เช่น บางปีน้ำฝนน้ำท่ามากไปน้อยไป ด้วงเพลี้ยและสัตว์ต่างๆ จะบังเกิดเป็นเหตุอันตราย จนทำนาไม่ได้ประโยชน์เต็มที่ ซึ่งพิธีนี้ก็เป็นพิธีสำคัญที่ใช้สำหรับเสี่ยงทายให้รู้ปัญหาล่วงหน้าจะได้หาทนทางแก้ไข โดยอาศัยคำอธิษฐาน มีการใช้อุปกรณ์และสัตว์อย่างพระโคเข้ามาใช้ในพิธีการเสี่ยงทายว่าปีนั้นๆ การทำนาปลูกข้าวจะอุดมสมบูรณ์ดีหรือไม่ หรือจะประสบปัญหาหรืออันตรายด้านใดบ้าง 


4. พิธีกรรมที่ต้องทำมีทั้งพิธีพุทธและพิธีพราหมณ์ พิธีกรรมที่ต้องจัดขึ้น 2 พิธีรวมกัน คือ - พระราชพิธีพืชมงคล: อันเป็นพิธีสงฆ์ทางพุทธศาสนา ซึ่งจะประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต้องอาศัยคำอธิษฐานเอาความสัตย์เป็นที่ตั้ง หรือทำการซึ่งไม่มีโทษนับว่าเป็นการสวัสดิมงคลตามซึ่งมาในพระพุทธศาสนา เป็นต้น - พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ: อันเป็นพิธีพราหมณ์ ซึ่งจะประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีสนามหลวง ซึ่งเป็นการบูชาเซ่นสรวงตามที่มาทางไสยศาสตร์ 


5. องค์ประกอบสำคัญในพิธี : พระยาแรกนาและเทพีทั้งสี่ แต่ก่อนพิธีนี้ได้หยุดไประยะหนึ่ง จากนั้นในปี พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ฟื้นฟูพิธีนี้กลับมา และสมัยนั้นในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ได้ทรงปรับปรุงพิธีการบางอย่างให้เหมาะสม มาถึงองค์ประกอบสำคัญในพระราชพิธีฯ เริ่มจาก "พระยาแรกนา" ในช่วงแรกๆ ของการฟื้นฟูพิธีนี้กลับมา ผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ก็คือ "อธิบดีกรมการข้าว" ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในปีนั้นๆ สำหรับ "เทพีทั้งสี่" พิจารณาคัดเลือก จากภริยาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อมาภายหลังผู้ที่จะทำหน้าที่เป็น "พระยาแรกนา" ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตำแหน่ง ส่วนผู้ที่มาทำหน้าที่เป็นเทพีคู่หาบทอง และคู่หาบเงินนั้น ได้ทำการพิจารณาคัดเลือกจากข้าราชการหญิงโสดในสังกัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ที่มีตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการพลเรือนสามัญชั้นโทขึ้นไป 

6. องค์ประกอบสำคัญในพิธี : ข้าว ถั่ว งา สำหรับธัญพืชหลักๆ ที่ต้องนำมาใช้ในพระราชพิธี ได้แก่ ข้าว มีทั้งข้าวเปลือก ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว เผือกมันต่างๆ และเมล็ดพืชต่างๆ รวม 40 อย่าง ซึ่งพันธุ์พืชเหล่านี้ต้องสามารถนำไปปลูกและงอกได้ทั้งสิ้น สำหรับข้าวเปลือกที่จะต้องนำมาหว่านในพิธีแรกนา เป็นข้าวพันธุ์ดีที่ในหลวงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปลูกในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดารโหฐาน และพระราชทานมาให้ใช้ในพระราชพิธีพืชมงคล โดยบรรจุใส่กระเช้าทองหนึ่งคู่และกระเช้าเงินหนึ่งคู่ 



7. องค์ประกอบสำคัญในพิธี #:พระโคเสี่ยงทาย #พระโคกินอะไร? พระโค ในทางศาสนาพรามหณ์หมายถึง เทวดาผู้ทำหน้าที่เป็นพาหนะของพระอิศวรซึ่งเปรียบได้กับการใช้แรงงานและความเข้มแข็ง และเป็นสัตว์เลี้ยงที่พระกฤษณะและพระพลเทพดูแลซึ่งเปรียบได้กับความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น ในการประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงได้กำหนดให้ใช้พระโคเพศผู้เข้าร่วมพระราชพิธีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เพื่อเป็นตัวแทนของความเข้มแข็งและความอุดมสมบูรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานดำเนินการคัดเลือกโคเพื่อเป็นพระโคตามหลักเกณฑ์ กล่าวคือ จะต้องเป็นโคที่มีลักษณะดี รูปร่างสมบูรณ์ มีความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ความยาวลำตัวไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร ความสมบูรณ์รอบอกไม่น้อยกว่า 180 เซนติเมตร โคทั้งคู่จะต้องมีสีเดียวกัน ผิวสวย ขนเป็นมัน กิริยามารยาทเรียบร้อย ฝึกง่ายสอนง่าย ไม่ดุร้าย เขาลักษณะโค้งสวยงามเท่ากัน ตาแจ่มใส หูไม่มีตำหนิ หางยาวสวยงามดี มีขวัญหน้า ขวัญทัดดอกไม้ซ้ายขวา และขวัญหลังถูกต้อง มีขาและกีบข้อเท้าแข็งแรง มองดูด้านข้างลำตัวจะเป็นสี่เหลี่ยม 

8. การเสี่ยงทายของกิน 7 อย่าง 
-ถ้าพระโคกินข้าวหรือข้าวโพด พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี

- ถ้าพระโคกินถั่วหรืองา พยากรณ์ว่า ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี

- ถ้าพระโคกินน้ำหรือหญ้า พยากรณ์ว่า น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหารจะอุดมสมบูรณ์


- ถ้าพระโคกินเหล้า พยากรณ์ว่า การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขาย กับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจ รุ่งเรือง

#งดจัดงานวันพืชมงคล2563

CR.ข้อมูลกรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/879871
FB:https://bit.ly/2VihITa
ID:yingonnaka
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่