จริงๆแล้วก่อนหน้านี้เราก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ WiFi ที่บ้านเท่าไรหรอกนะ จนกระทั่งต้องขนงานมาทำที่บ้าน ในช่วง covid19 นี้
และ สัญญา Internet เพิ่งหมดไปเมื่อเดือนกุมภาที่ผ่านมา และเขาโทรมาให้ต่อสัญญา และเพิ่มความเร็วเป็น 500/200 Mbps
ไหนๆก็ต้อง work from home อยู่บ้านละ ก็ถือโอกาส Upgrade อุปกรณ์ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพซะเลย
ก่อนหน้านี้ WiFi เดิมในบ้าน ยังเป็นแค่มาตรฐาน WiFi N300 บน 5GHz (ตอนซื้อถือว่าล้ำมากๆในช่วงนั้นละ 555)
หลังจากได้รับความเร็วใหม่ ก็ทดสอบความเร็วได้แค่ 250Mbps รู้สึกว่ายังไม่สะใจ และการต่อ WiFi กับ SmartTV
เพื่อดู Youtube / Netflix รู้สึกว่ายังกระตุกๆ ไหนๆก็จ่ายเงินเพื่อรับความเร็ว 500Mbps แล้ว อยากได้แรงๆ
เราเลยเริ่มค้นหาข้อมูลละ ว่าตอนนี้ WiFi มาตรฐานล่าสุดที่เขาใช้กันคือมาตรฐานไหนกัน
ในปี 2020 นี้ สิ่งที่มาแรงที่สุด คือ WiFi6 หรือมาตรฐาน 802.11AX นั่นเอง หลายคนงงว่าคืออะไร มันเป็นภาคต่อจาก WiFi5
หรือมาตรฐาน 802.11AC ซึ่งเดิมที AC Wave1 ก็ทำความเร็วได้ประมาณ 867Mbps พอมาเป็น Wave2 มีการปรับปรุงเรื่อง
การส่งสัญญาณเพิ่มเติมหลายอย่างเลย ทั้งเรื่องของ MU-MIMO หรือการให้เสาอากาศเดียว สามารถทั้งส่งและรับพร้อมกันในเวลาเดียวกัน
และ Beam Forming คือการปรับรูปแบบของการกระจายคลื่นวิทยุ ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และ เอื้อมเข้าถึงอุปกรณ์ให้ได้มากที่สุด
รวมถึงรองรับความถี่สัญญาณ 160MHz เหมือนการเปิดถนนให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับ Bandwidth ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
เราเริ่มสำรวจสาย LAN ที่เดินขึ้นมาชั้น 2 หรือ บริเวณบ้าน ก่อนเลย พบว่าสายสัญญาณเก่า และ กรอบมาก เลยให้ช่างมาเดินสาย CAT6 ใหม่
พร้อมกับสั่งเจ้า TP-Link AX10 WiFi Router มาตรฐาน WiFi6 รุ่นเริ่มต้น ราคาประหยัดมาใช้งาน

เอ้าเดี๋ยว ไหนว่าจะมารีวิว AX20 เราไม่ได้สะกดผิดนะ เดี๋ยวจะอธิบายต่อไป

หลายๆคนต้องคุ้นเคยกับแบรนด์ TP-Link อยู่แล้วแหละ เพราะเป็นแบรนด์อุปกรณ์ Network ที่อยู่คู่คนไทยมาหลายปี ราคาคุ้มค่า และ
ขึ้นชื่อเรื่องบริการหลังการขายที่ดี (เสียเปลี่ยนเครื่องใหม่ ไม่ต้องส่งซ่อมส่งเคลม) และ ในช่วงต้นปี 2020 ทาง TP-Link
ก็ได้เปิดตัวอุปกรณ์ WiFi6 มาหลายรุ่น ตั้งแต่ Router รุ่นเริ่มต้น AX10 จนกระทั่งรุ่น High-end ซึ่งก็มีคุณสมบัติมากมาย (ตามราคาอะเนาะ 55)
แต่ด้วยความที่เราก็ใช้ในพื้นที่ไม่ใหญ่มาก และ จำนวนอุปกรณ์ไม่ได้เยอะ จึงได้เลือกเป็นรุ่นเริ่มต้น ซึ่งราคาถือว่าจับต้องได้ จึงซื้อมาแค่เพียง 1,990 บาท

หลังจากที่ AX10 เปิดตัวมาสักพัก ทาง TP-Link ก็มาเสริมทัพด้วยรุ่น AX20 ที่ผมได้มารีวิวนี้ครับ หน้าตาทุกอย่างเหมือน AX10 เดิมเลยครับ
โดย AX20 ได้อัพเกรดเรื่องของ CPU ความเร็วสูงขึ้น ความเร็วการส่งข้อมูลที่สูงขึ้น จาก 1,200 เป็น 1,800 Mbps และ
เพิ่มช่องต่อ USB สำหรับแชร์ไฟล์ แชร์ Printer หลักๆ สองรุ่นนี้จะคล้ายๆกันครับ
TP-Link AX20 มาพร้อมกับเสาอากาศภายนอก ที่ปรับองศาได้ แต่ถอดเปลี่ยนไม่ได้ จำนวน 4 เสา
(ยุคนี้ไม่มีใครเขาเปลี่ยนเสาอากาศกันแล้วครับ เพราะเสาที่ให้มากับเครื่อง เขาคำนวนความแรง และ รูปแบบการกระจายมาให้เหมาะกับรุ่นนั่นๆแล้ว
สังเกตุดูพวก WiFi ระดับ High-end แทบจะไม่มีเสาโผล่มาแล้ว แต่ที่ระดับ Home Use ยังต้องมี เพราะยังเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ
ว่าถ้าเสาหันหาผู้ใช้ มันต้องส่งสัญญาณดีกว่า 555)

โดย 4 เสาที่ให้มานี่ มี Beam Forming ช่วยบีบทิศทางของคลื่น หาอุปกรณ์ได้เอง และยังรองรับ MU-MIMO
เพื่อการส่งและรับข้อมูลในเสาเดียวกันพร้อมกัน (เป็นมาตรฐานที่เริ่มมีมาตั้งแต่ WiFi5 AC Wave2)
หน้าตาของเครื่องก็เป็นแบบหน้าตามาตรฐาน สีดำเงาที่คุ้นเคยครับ
ด้านหน้ามีไฟแสดงสถานะการทำงาน สั่งปิดไฟได้จากในหน้าการตั้งค่า และ ปุ่มหลังเครื่อง
ด้านหลังมี Gigabit LAN 4 ช่อง และ Gigabit WAN 1 ช่อง รวมถึง USB Port ไว้ต่อแชร์ไฟล์จาก USB Drive
หรือ แชร์ Printerได้ มีปุ่มกด WPS ไว้เชื่อมต่อ WiFi ให้เพื่อนที่เราไม่อยากบอกรหัส 555 (จริงๆปุ่มนี้มันมีมานานละ แต่ไม่ค่อยมีคนใช้กัน)

Spec ลึกๆของ TP-Link AX20 ไม่ขอลงรายละเอียดละกันครับ ขอพูดถึงจุดเด่นๆ ละกันคือ
1. CPU แบบ Quad-Core ความเร็วสูง ที่รองรับการส่งข้อมูลปริมาณมากๆ และ จำนวนผู้ใช้ได้จำนวนมาก
ถ้าใช้งานในบ้าน 40-50 อุปกรณ์ สบายๆเลยครับ (ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมใช้ในบ้านอุปกรณ์เยอะขนาดนี้ เพราะว่าสมัยนี้เราเชื่อมต่ออุปกรณ์ Home Automation กันเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Smart TV / เครื่องฟอกอากาศ / เครื่องซักผ้า / เครื่องดูดฝุ่น / ปลั๊กไฟ ต่างๆ )
2. รองรับ WiFi6 มาตรฐาน AX1800 รองรับ bandwidth สูงสุด 1,800Mbps และยังรองรับมาตรฐานเก่าๆ ไม่ว่าจะเป็น AC,N,G,B ทั้งบน 2.4GHz และ 5GHz
3. ตั้งค่า และ ดูสถานะการทำงาน ดูสถานะการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ได้จาก ทั้งหน้าเว็บ และ Mobile App Tether นอกนั้น คุณสมบัติหลักๆที่ Router ทุกเครื่องควรมี ก็ทำได้หมดครับ ไม่ว่าจะเป็น การ Bridge Mode / Router Mode / Access Point Mode / Port Forwarding / UPnP, DMZ, Dynamic DNS, Parental Control, Guest Network ต่างๆ ขอข้ามละกัน 55 เพราะการเปลี่ยนมาใช้ WiFi6 ครั้งนี้ ขอเน้นความเร็ว และ การส่งสัญญาณ ที่เป็นจุดขายนะ
เทคโนโลยีดีแล้ว แต่ใช่ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นของเราจะรองรับ WiFi AC หรือ AX ครบทุกชิ้น (ฮ่าๆ) เราเริ่มจาก Notebook อายุ 5 ปี ที่ยังใช้งานได้ดีอยู่ ก็ได้เปลี่ยน WiFi Card ในเครื่องเป็นตัวล่าสุด คือ Intel AX200 ส่วนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ก็เปลี่ยนไปใช้ WiFi Adapter แบบ AC ซึ่งก็หาซื้อเปลี่ยนได้ในราคาไม่กี่ร้อย อุปกรณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้อย่าง iPad Air ก็รองรับ AC Wave 2 แล้ว ส่วนมือถืออย่าง Note10Plus อันนี้รองรับ WiFi6 เต็มรูปแบบอยู่แล้วครับ ฉะนั้นมั่นใจว่า อุปกรณ์ทุกชิ้น น่าจะทำความเร็วได้แตะๆ 500Mbps แล้วแหละ
เราตั้งเจ้า TP-Link AX20 ในแบบ Access Point นะ โดยจะให้ Router จากชั้น 1 ทำหน้าที่เป็นตัวหลัก
เริ่มจาก Notebook ก่อนเลย อันนี้เป็น connected speed ที่ได้ และ ความเร็วที่ได้จาก App Speedtest.net
อันนี้มาจาก Note10Plus ต่อได้ประมาณ
ความเร็วที่ได้จาก App Speedtest
อันนี้มาจาก iPad Air ทดสอบ App Speed test ครับ
เรื่องความไกลของสัญญาณ ถ้าเป็นบ้านปูนทั่วๆไป ชั้นเดียวกันไม่มีปัญหาอะไรนะ แต่สำหรับชั้นอื่นๆ ข้างบน/ข้างล่าง ยังรับสัญญาณได้
แต่ทดสอบความเร็วก็ตกไปเยอะเหมือนกัน หากว่าบ้านกว้างๆ แนะนำให้เดินสาย LAN ไปวาง WiFiอีกจุดนึง
เป็นปกติของคลื่นความถี่สูงๆ จะส่งสัญญาณได้ไม่ไกล แต่คุณภาพสัญญาณที่รับได้ จะเป็นความเร็วที่สูง
(WiFi สมัยนี้เป็นงี้หมดครับ เขาถึงต้องมีพวก mesh wifi ออกมา เผื่อไว้ สำหรับบ้านที่มีข้อจำกัดเรื่องการเดินสาย
แต่ยังคงต้องใช้ความเร็วสูงๆ แต่ราคาของ mesh ก็ต้องดูครับ ว่าคุ้มค่าหรือเปล่า 55)
นอกจากการใช้งานความเร็วสูงๆแล้ว TP-Link รุ่นใหม่ๆ จะรองรับการตั้งค่าผ่าน Mobile App ที่ชื่อว่า Tether
ซึ่งสามารถตั้งค่า WiFi / Internet รวมถึงดูสถานะการเชื่อมต่อ และ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ ได้อย่างง่ายดายครับ
เอาเป็นว่า ใครไม่เก่งคอม ซื้อมาแล้ว Scan QR ข้างกล่อง แล้วโหลด ตั้งค่าได้เลย ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดครับ
เอาเป็นว่า TP-Link AX20 นี้ ก็ทำให้ผมได้รับประสพการณ์การใช้งาน WiFi6 ที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในปี 2020 ได้ในราคาที่แสนประหยัด
สำหรับ Internet บ้านแบบ Fiber Optic ที่ความเร็วไม่เกิน 700Mbps รองรับได้อย่างสบายหายห่วงครับ
อันนี้ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะ ถ้าบ้านใครหลังใหญ่ๆ จะหวังให้ WiFi6 Router ตัวนี้ตัวเดียว ครอบคลุมทั้งบ้าน ไม่สามารถทำได้นะครับ
ต้องอาศัยการเชื่อมต่อหลายๆจุด จะเหมาะสมกว่า เพราะคลื่นความถี่ 5GHz นี้ ตามทฤษฎีคือส่งได้ไม่ไกลอยู่แล้ว
สำหรับพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านการเดินสาย อาจจะต้องพิจารณาติดตั้งเป็นระบบ mesh ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้นไปหลายเท่า
และ อีกเรื่องคือถ้าใครขอ Internet ความเร็ว 1,000Mbps มา นอกจากต้องดูอุปกรณ์ว่ารองรับมั้ย Router ก็มีผลครับ
อย่าง AX20 นี้ รองรับความถี่สูงสุดที่ 80MHz เท่านั้น ถ้า Internet ความเร็วไม่เกิน 800Mbps รับรองว่าใช้ได้สบายๆ เพราะมี OFDMA
แต่ถ้าระดับบ 1,000Mbps บนความถี่ 80MHz อาจจะโดนกวนได้ง่าย คงจะต้องหารุ่นที่สูงขึ้น และรองรับ 160MHz ซึ่งราคาก็จะโดดไปอีก
และต้องมาดูอุปกรณ์ที่ใช้อีก ว่ารองรับ 160MHz หรือไม่นะครับ
สำหรับราคาของเจ้า TP-Link AX20 นี้ เปิดตัวอยู่ที่ 2,990 บาท นับว่าเป็นราคาที่ถูกมาก สำหรับ WiFi Router เทคโนโลยีล่าสุด
ถ้าใครสนใจสั่งซื้อ ลองเข้าไปดูใน Fanpage ของ TP-Link ดูนะครับ เผื่อมีโปรโมชั่นเด็ดๆ ยิ่งช่วง Work From Home แบบนี้ เห็นว่ามีโปรเรื่อยๆครับ
ทั้งนี้นอกจากเทคโนโลยีจะดีแล้ว อย่าลืมตรวจสอบสภาพของสายสัญญาณของผู้ให้บริการ
รวมถึงเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยนะครับ ว่าพร้อมรองรับความเร็วสูงๆนี้ได้หรือเปล่าครับ
[SR] รีวิว TP-Link AX20 WiFi6 Router เทคโนโลยีล่าสุด ในราคาที่เอื้อมถึงได้ง่ายๆ
และ สัญญา Internet เพิ่งหมดไปเมื่อเดือนกุมภาที่ผ่านมา และเขาโทรมาให้ต่อสัญญา และเพิ่มความเร็วเป็น 500/200 Mbps
ไหนๆก็ต้อง work from home อยู่บ้านละ ก็ถือโอกาส Upgrade อุปกรณ์ให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพซะเลย
ก่อนหน้านี้ WiFi เดิมในบ้าน ยังเป็นแค่มาตรฐาน WiFi N300 บน 5GHz (ตอนซื้อถือว่าล้ำมากๆในช่วงนั้นละ 555)
หลังจากได้รับความเร็วใหม่ ก็ทดสอบความเร็วได้แค่ 250Mbps รู้สึกว่ายังไม่สะใจ และการต่อ WiFi กับ SmartTV
เพื่อดู Youtube / Netflix รู้สึกว่ายังกระตุกๆ ไหนๆก็จ่ายเงินเพื่อรับความเร็ว 500Mbps แล้ว อยากได้แรงๆ
เราเลยเริ่มค้นหาข้อมูลละ ว่าตอนนี้ WiFi มาตรฐานล่าสุดที่เขาใช้กันคือมาตรฐานไหนกัน
ในปี 2020 นี้ สิ่งที่มาแรงที่สุด คือ WiFi6 หรือมาตรฐาน 802.11AX นั่นเอง หลายคนงงว่าคืออะไร มันเป็นภาคต่อจาก WiFi5
หรือมาตรฐาน 802.11AC ซึ่งเดิมที AC Wave1 ก็ทำความเร็วได้ประมาณ 867Mbps พอมาเป็น Wave2 มีการปรับปรุงเรื่อง
การส่งสัญญาณเพิ่มเติมหลายอย่างเลย ทั้งเรื่องของ MU-MIMO หรือการให้เสาอากาศเดียว สามารถทั้งส่งและรับพร้อมกันในเวลาเดียวกัน
และ Beam Forming คือการปรับรูปแบบของการกระจายคลื่นวิทยุ ให้เข้ากับสภาพพื้นที่ และ เอื้อมเข้าถึงอุปกรณ์ให้ได้มากที่สุด
รวมถึงรองรับความถี่สัญญาณ 160MHz เหมือนการเปิดถนนให้กว้างขึ้น เพื่อรองรับ Bandwidth ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
เราเริ่มสำรวจสาย LAN ที่เดินขึ้นมาชั้น 2 หรือ บริเวณบ้าน ก่อนเลย พบว่าสายสัญญาณเก่า และ กรอบมาก เลยให้ช่างมาเดินสาย CAT6 ใหม่
พร้อมกับสั่งเจ้า TP-Link AX10 WiFi Router มาตรฐาน WiFi6 รุ่นเริ่มต้น ราคาประหยัดมาใช้งาน
เอ้าเดี๋ยว ไหนว่าจะมารีวิว AX20 เราไม่ได้สะกดผิดนะ เดี๋ยวจะอธิบายต่อไป
หลายๆคนต้องคุ้นเคยกับแบรนด์ TP-Link อยู่แล้วแหละ เพราะเป็นแบรนด์อุปกรณ์ Network ที่อยู่คู่คนไทยมาหลายปี ราคาคุ้มค่า และ
ขึ้นชื่อเรื่องบริการหลังการขายที่ดี (เสียเปลี่ยนเครื่องใหม่ ไม่ต้องส่งซ่อมส่งเคลม) และ ในช่วงต้นปี 2020 ทาง TP-Link
ก็ได้เปิดตัวอุปกรณ์ WiFi6 มาหลายรุ่น ตั้งแต่ Router รุ่นเริ่มต้น AX10 จนกระทั่งรุ่น High-end ซึ่งก็มีคุณสมบัติมากมาย (ตามราคาอะเนาะ 55)
แต่ด้วยความที่เราก็ใช้ในพื้นที่ไม่ใหญ่มาก และ จำนวนอุปกรณ์ไม่ได้เยอะ จึงได้เลือกเป็นรุ่นเริ่มต้น ซึ่งราคาถือว่าจับต้องได้ จึงซื้อมาแค่เพียง 1,990 บาท
หลังจากที่ AX10 เปิดตัวมาสักพัก ทาง TP-Link ก็มาเสริมทัพด้วยรุ่น AX20 ที่ผมได้มารีวิวนี้ครับ หน้าตาทุกอย่างเหมือน AX10 เดิมเลยครับ
โดย AX20 ได้อัพเกรดเรื่องของ CPU ความเร็วสูงขึ้น ความเร็วการส่งข้อมูลที่สูงขึ้น จาก 1,200 เป็น 1,800 Mbps และ
เพิ่มช่องต่อ USB สำหรับแชร์ไฟล์ แชร์ Printer หลักๆ สองรุ่นนี้จะคล้ายๆกันครับ
TP-Link AX20 มาพร้อมกับเสาอากาศภายนอก ที่ปรับองศาได้ แต่ถอดเปลี่ยนไม่ได้ จำนวน 4 เสา
(ยุคนี้ไม่มีใครเขาเปลี่ยนเสาอากาศกันแล้วครับ เพราะเสาที่ให้มากับเครื่อง เขาคำนวนความแรง และ รูปแบบการกระจายมาให้เหมาะกับรุ่นนั่นๆแล้ว
สังเกตุดูพวก WiFi ระดับ High-end แทบจะไม่มีเสาโผล่มาแล้ว แต่ที่ระดับ Home Use ยังต้องมี เพราะยังเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ
ว่าถ้าเสาหันหาผู้ใช้ มันต้องส่งสัญญาณดีกว่า 555)
โดย 4 เสาที่ให้มานี่ มี Beam Forming ช่วยบีบทิศทางของคลื่น หาอุปกรณ์ได้เอง และยังรองรับ MU-MIMO
เพื่อการส่งและรับข้อมูลในเสาเดียวกันพร้อมกัน (เป็นมาตรฐานที่เริ่มมีมาตั้งแต่ WiFi5 AC Wave2)
หน้าตาของเครื่องก็เป็นแบบหน้าตามาตรฐาน สีดำเงาที่คุ้นเคยครับ
ด้านหน้ามีไฟแสดงสถานะการทำงาน สั่งปิดไฟได้จากในหน้าการตั้งค่า และ ปุ่มหลังเครื่อง
ด้านหลังมี Gigabit LAN 4 ช่อง และ Gigabit WAN 1 ช่อง รวมถึง USB Port ไว้ต่อแชร์ไฟล์จาก USB Drive
หรือ แชร์ Printerได้ มีปุ่มกด WPS ไว้เชื่อมต่อ WiFi ให้เพื่อนที่เราไม่อยากบอกรหัส 555 (จริงๆปุ่มนี้มันมีมานานละ แต่ไม่ค่อยมีคนใช้กัน)
Spec ลึกๆของ TP-Link AX20 ไม่ขอลงรายละเอียดละกันครับ ขอพูดถึงจุดเด่นๆ ละกันคือ
1. CPU แบบ Quad-Core ความเร็วสูง ที่รองรับการส่งข้อมูลปริมาณมากๆ และ จำนวนผู้ใช้ได้จำนวนมาก
ถ้าใช้งานในบ้าน 40-50 อุปกรณ์ สบายๆเลยครับ (ไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมใช้ในบ้านอุปกรณ์เยอะขนาดนี้ เพราะว่าสมัยนี้เราเชื่อมต่ออุปกรณ์ Home Automation กันเยอะมาก ไม่ว่าจะเป็น Smart TV / เครื่องฟอกอากาศ / เครื่องซักผ้า / เครื่องดูดฝุ่น / ปลั๊กไฟ ต่างๆ )
2. รองรับ WiFi6 มาตรฐาน AX1800 รองรับ bandwidth สูงสุด 1,800Mbps และยังรองรับมาตรฐานเก่าๆ ไม่ว่าจะเป็น AC,N,G,B ทั้งบน 2.4GHz และ 5GHz
3. ตั้งค่า และ ดูสถานะการทำงาน ดูสถานะการเชื่อมต่ออุปกรณ์ ได้จาก ทั้งหน้าเว็บ และ Mobile App Tether นอกนั้น คุณสมบัติหลักๆที่ Router ทุกเครื่องควรมี ก็ทำได้หมดครับ ไม่ว่าจะเป็น การ Bridge Mode / Router Mode / Access Point Mode / Port Forwarding / UPnP, DMZ, Dynamic DNS, Parental Control, Guest Network ต่างๆ ขอข้ามละกัน 55 เพราะการเปลี่ยนมาใช้ WiFi6 ครั้งนี้ ขอเน้นความเร็ว และ การส่งสัญญาณ ที่เป็นจุดขายนะ
เทคโนโลยีดีแล้ว แต่ใช่ว่าอุปกรณ์ทุกชิ้นของเราจะรองรับ WiFi AC หรือ AX ครบทุกชิ้น (ฮ่าๆ) เราเริ่มจาก Notebook อายุ 5 ปี ที่ยังใช้งานได้ดีอยู่ ก็ได้เปลี่ยน WiFi Card ในเครื่องเป็นตัวล่าสุด คือ Intel AX200 ส่วนคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ก็เปลี่ยนไปใช้ WiFi Adapter แบบ AC ซึ่งก็หาซื้อเปลี่ยนได้ในราคาไม่กี่ร้อย อุปกรณ์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนได้อย่าง iPad Air ก็รองรับ AC Wave 2 แล้ว ส่วนมือถืออย่าง Note10Plus อันนี้รองรับ WiFi6 เต็มรูปแบบอยู่แล้วครับ ฉะนั้นมั่นใจว่า อุปกรณ์ทุกชิ้น น่าจะทำความเร็วได้แตะๆ 500Mbps แล้วแหละ
เราตั้งเจ้า TP-Link AX20 ในแบบ Access Point นะ โดยจะให้ Router จากชั้น 1 ทำหน้าที่เป็นตัวหลัก
เริ่มจาก Notebook ก่อนเลย อันนี้เป็น connected speed ที่ได้ และ ความเร็วที่ได้จาก App Speedtest.net
อันนี้มาจาก Note10Plus ต่อได้ประมาณ
ความเร็วที่ได้จาก App Speedtest
อันนี้มาจาก iPad Air ทดสอบ App Speed test ครับ
เรื่องความไกลของสัญญาณ ถ้าเป็นบ้านปูนทั่วๆไป ชั้นเดียวกันไม่มีปัญหาอะไรนะ แต่สำหรับชั้นอื่นๆ ข้างบน/ข้างล่าง ยังรับสัญญาณได้
แต่ทดสอบความเร็วก็ตกไปเยอะเหมือนกัน หากว่าบ้านกว้างๆ แนะนำให้เดินสาย LAN ไปวาง WiFiอีกจุดนึง
เป็นปกติของคลื่นความถี่สูงๆ จะส่งสัญญาณได้ไม่ไกล แต่คุณภาพสัญญาณที่รับได้ จะเป็นความเร็วที่สูง
(WiFi สมัยนี้เป็นงี้หมดครับ เขาถึงต้องมีพวก mesh wifi ออกมา เผื่อไว้ สำหรับบ้านที่มีข้อจำกัดเรื่องการเดินสาย
แต่ยังคงต้องใช้ความเร็วสูงๆ แต่ราคาของ mesh ก็ต้องดูครับ ว่าคุ้มค่าหรือเปล่า 55)
นอกจากการใช้งานความเร็วสูงๆแล้ว TP-Link รุ่นใหม่ๆ จะรองรับการตั้งค่าผ่าน Mobile App ที่ชื่อว่า Tether
ซึ่งสามารถตั้งค่า WiFi / Internet รวมถึงดูสถานะการเชื่อมต่อ และ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ ได้อย่างง่ายดายครับ
เอาเป็นว่า ใครไม่เก่งคอม ซื้อมาแล้ว Scan QR ข้างกล่อง แล้วโหลด ตั้งค่าได้เลย ไม่ยุ่งยากอย่างที่คิดครับ
เอาเป็นว่า TP-Link AX20 นี้ ก็ทำให้ผมได้รับประสพการณ์การใช้งาน WiFi6 ที่เป็นเทคโนโลยีล่าสุดในปี 2020 ได้ในราคาที่แสนประหยัด
สำหรับ Internet บ้านแบบ Fiber Optic ที่ความเร็วไม่เกิน 700Mbps รองรับได้อย่างสบายหายห่วงครับ
อันนี้ขอเพิ่มเติมนิดนึงนะ ถ้าบ้านใครหลังใหญ่ๆ จะหวังให้ WiFi6 Router ตัวนี้ตัวเดียว ครอบคลุมทั้งบ้าน ไม่สามารถทำได้นะครับ
ต้องอาศัยการเชื่อมต่อหลายๆจุด จะเหมาะสมกว่า เพราะคลื่นความถี่ 5GHz นี้ ตามทฤษฎีคือส่งได้ไม่ไกลอยู่แล้ว
สำหรับพื้นที่ที่มีข้อจำกัดด้านการเดินสาย อาจจะต้องพิจารณาติดตั้งเป็นระบบ mesh ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้นไปหลายเท่า
และ อีกเรื่องคือถ้าใครขอ Internet ความเร็ว 1,000Mbps มา นอกจากต้องดูอุปกรณ์ว่ารองรับมั้ย Router ก็มีผลครับ
อย่าง AX20 นี้ รองรับความถี่สูงสุดที่ 80MHz เท่านั้น ถ้า Internet ความเร็วไม่เกิน 800Mbps รับรองว่าใช้ได้สบายๆ เพราะมี OFDMA
แต่ถ้าระดับบ 1,000Mbps บนความถี่ 80MHz อาจจะโดนกวนได้ง่าย คงจะต้องหารุ่นที่สูงขึ้น และรองรับ 160MHz ซึ่งราคาก็จะโดดไปอีก
และต้องมาดูอุปกรณ์ที่ใช้อีก ว่ารองรับ 160MHz หรือไม่นะครับ
สำหรับราคาของเจ้า TP-Link AX20 นี้ เปิดตัวอยู่ที่ 2,990 บาท นับว่าเป็นราคาที่ถูกมาก สำหรับ WiFi Router เทคโนโลยีล่าสุด
ถ้าใครสนใจสั่งซื้อ ลองเข้าไปดูใน Fanpage ของ TP-Link ดูนะครับ เผื่อมีโปรโมชั่นเด็ดๆ ยิ่งช่วง Work From Home แบบนี้ เห็นว่ามีโปรเรื่อยๆครับ
ทั้งนี้นอกจากเทคโนโลยีจะดีแล้ว อย่าลืมตรวจสอบสภาพของสายสัญญาณของผู้ให้บริการ
รวมถึงเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้ด้วยนะครับ ว่าพร้อมรองรับความเร็วสูงๆนี้ได้หรือเปล่าครับ
SR - Sponsored Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ SR โดยที่เจ้าของกระทู้
ข้อมูลเพิ่มเติม