Spinosaurus ไดโนเสาร์ที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างมากที่สุด



Fact file 6 สไปโนซอรัสกับรูปร่างที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา



สไปโนซอรัส เป็นไดโนเสาร์ที่เป็นที่ชื่นชอบของใครหลาย ๆ คนด้วยขนาดตัวมหึมา หัวคล้ายจระเข้ และมีกระโดงหลังสูง 2 เมตร นักล่าตัวนี้ใหญ่กว่าทีเร็กซ์ถึง 3 เมตร และยังคงเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดจนถึงทุกวันนี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมสไปโนซอรัส ที่เราเห็นกันตามสื่อ หน้าตาไม่เหมือนกันซักที่ นั่นเป็นเพราะว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็น1ในไดโนเสาร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเยอะที่สุด เพราะอะไร มาดูไปพร้อม ๆ กันเลยครับ



ในปี 1910 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอร์มันนามว่า Ernst Stromer ได้ขุดพบกระดูกสันหลังของไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในสถานที่ที่มีชื่อว่าบาฮาริยา อยู่ทางภาคตะวันตกของอียิปต์ เขาและทีมงานจึงรวบรวมและนำตัวอย่างฟอสซิลกลับมาที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ณ เมืองมิวนิค และในปี 1913 สตอร์มเมอร์ก็ได้ตีพิมพ์บทความพร้อมกับตั้งชื่อให้ไดโนเสาร์พันธุ์นี้ว่า "สไปโนซอรัส อียิปติคัส (Spinosaurus Aegypticus)" แปลว่า กิ้งก่ามีหนามจากอียิปต์

สไปโนซอรัสในยุคแรกมีรูปร่างคล้ายไดโนเสาร์กินเนื้อทั่วไปในยุคนั้น คือเดินหางลากพื้น กะโหลกกลม และ มีแขนยาว รูปร่างค่อนไปทางเมกะโลซอรอยด์ หรือ อัลโลซอรอยด์ มากกว่าตัวในปัจจุบัน แต่หลังจากนั้นในปี 1944 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟอสซิลสไปโนซอรัสของสตอร์มเมอร์ที่อยู่ในมิวนิคก็ถูกกองบินของอังกฤษ ถล่มทิ้งจนราบคาบ ไปพร้อมกับไดโนเสาร์ตัวอื่น ๆ ในพิพิธภัณฑ์ นับว่าเป็นการสูญพันธ์ุครั้งที่ 2 ของไดโนเสาร์ชนิดนี้


ฟอสซิลกระดูกสันหลังที่พบครั้งแรก เหลือไว้เพียงภาพถ่าย

หลังจากนั้นไม่นาน ช่วงก่อนปี 1985 ข้อมูลสมัยนั้นได้บอกไว้ว่า ไดโนเสาร์ไม่น่าเดินตัวตรงแล้วหางลากพื้น พวกมันเดินยกหางขึ้นจากพื้นโดยใช้หางถ่วงสมดุลย์ของร่างกาย สไปโนซอรัสเองก็โดนปรับให้เดินยกหาง แต่หน้าตาก็ยังเป็นอัลโลซอรอยด์เหมือนเดิม



ก่อนปี 2000 มีการค้นพ้บกระดูกของไดโนเสาร์กินเนื้อที่เป็นญาติของสไปโนซอรัส คือ ซูโคไมมัส และบาริโอนิกซ์ ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์ตระกูลนี้ล่าปลาเป็นอาหารหลัก พวกมันมีกระโหลกแคบ และยาวคล้ายจระเข้ ทำให้สไปโนซอรัส มีปากที่ยาวขึ้น


ช่วงปี 2000 Jurassic park 3 กำลังจะเริ่มที่จะเปิดกองถ่าย ผกก. ต้องการไดโนเสาร์หน้าใหม่ที่จะมาเป็นตัวเอกแทนทีเร็กซ์ แจ๊ก ฮอเนอร์ นักบรรพชีวินวิทยา จึงเสนอตัวเลือกเป็นสไปโนซอรัส เพราะมีขนาดใหญ่กว่าทีเร็กซ์และน่ากลัวกว่ากลัวกว่า โจ จอห์นสตัน ผกก. Jurassic park 3 จึงได้จินตนาการสไปโนซอรัสออกมาเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อรูปร่างสูงใหญ่ ขาหลังแข็งแรง และแขนทรงพลัง กรงเล็บใหญ่ มีกระโดงรูปพัดอยู่บนหลัง หัวคล้ายจระเข้ และมีหงอนเล็กๆ เหนือตา2หงอน พร้อมทั้งแสดงความดุร้ายเกินพิกัด โดยการฆ่าทีเร็กซ์ บนจอเงิน

ซีน ฟัดกับ ทีเร็กซ์ ใน Jurassic Park 3
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



ช่วงหลังปี 2000 มีการค้นพบจะงอยปากและฟันของสไปโนซอรัส และหงอนเหนือตา มันมีปากที่บางกว่าในปี 2000 มาก คล้ายตะโขงมากกว่าจระเข้ ฟันรูปร่างคล้ายสิ่วของมัน มีไว้จับเหยื่อตัวลื่น ๆ สันนิฐานว่ามันอาจจะกินปลาเป็นอาหารหลัก มากกว่าใช้ปากบาง ๆ ของมันไล่จับเหยื่อบนบก ส่วนหงอนก็ลดจาก 2 อันเหลืออันเดียว และ ย้ายไปอยู่ตรงกลางสันจมูกแทน

ช่วงปี 2013 มีการพบแผงหลังของสไปโนซอรัสเพิ่มเติม จากตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าสไปโนซอรัสมีแผงหลังที่สูง และกว้างกว่าตัวยุคก่อนๆมากและทอดยาวไปจนถึงโคนหาง



ปี 2014 เป็นปีที่สไปโนซอรัสเกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีการค้นพบฟอสซิลของกระโดง ปาก และเท้าหลังของสไปโนซอรัสวัยเด็ก นักล่าตัวนี้มีขาหลังเล็กสั้น เล็บมีลักษณะแบน และนิ้วเท้าอาจจะมีพังผืดคล้ายจระเข้ ส่วนกระโดงก็ไม่ได้โค้งเป็นรูปพัดแบบสมัยก่อนแล้ว กระดูกแต่ละชิ้นมีขนาดไม่เท่ากัน เมื่อมองจากด้านข้างมันจะดูคล้ายรูปตัว M มีคอยาวขึ้น หางยาวขึ้น เป็นผลมาจากการปรับตัวให้ไปใช้ชีวิตในน้ำอย่างเต็มรูปแบบ แขนมีกรงเล็บมหึมาเหมือนเดิม แต่ขาหลังเล็กจนสามารถเดินได้ทั้ง 4 ขา มันอาจจะเคลื่อนที่ด้วยขาทั้ง 4 โดยใช้แขนช่วย แต่ก็สามารถเคลื่อนที่ด้วยการเดิน 2 ขาได้เช่นกัน สันนิฐานว่าสไปโนซอรัสอาจจะใช้ชีวิตคล้ายตะโขงโดยการจับปลาขนาดใหญ่ เช่น เมาโซเนีย (ซีลาแคนธ์ยักษ์) และ ออร์นคอพริสติส (ปลาฉนากยักษ์) กินเป็นอาหารมากกว่าที่จะขึ้นไปไล่เหยื่อบนบก แต่มันคงไม่ปฏิเสธถ้ามีไดโนเสาร์เคราะห์ร้ายหลงเข้ามาในถิ่นให้มันจับกินเป็นอาหาร





ที่มา https://www.facebook.com/ThePrimalPlay/

[ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! กับการค้นพบฟอสซิลหางของสไปโนซอรัส ]

สไปโนซอรัสเป็นไดโนเสาร์ในวงศ์สไปโนซอริดส์ที่มีรูปร่างแปลกประหลาด ในปี ค.ศ.2014 ที่ผ่านมา นักบรรพชีวิน นิซ่าร์ อิบราฮิม ได้เสนอแนวคิดที่ว่าสไปโนซอรัสอาจเป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตแบบ “semi aquatic” ที่จะอาศัยใช้ชีวิตทั้งในน้ำและบนบก เพราะขาหลังที่สั้นและกะโหลกที่ยาวไว้จับปลา แต่นักบรรพชีวินหลายท่านก็ไม่เห็นด้วย เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์ที่นิซาร์ใช้ มาจากสไปโนซอรัสหลายตัวและหลายช่วงอายุ



แต่ทว่าในวันที่ 29 เมษายนที่ผ่านมา นิซ่าร์ ได้เสนอหลักฐานที่ช่วยยืนยันทฤษฎีของเขาว่า แท้จริงแล้วสไปโนซอรัสก็ยังคงใช้ชีวิตในน้ำเป็นหลักแน่นอน ด้วยกระดูกชุดใหม่ที่ถูกค้นพบเพิ่มเติมในปี ค.ศ.2018 กระดูกหางกว่า 30 ชิ้น ของสไปโนซอรัสวัย subadult ได้ถูกค้นพบเพิ่มเติมใน Kem Kem bed ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโมรอคโค 



จากการศึกษาพบว่า หางของสไปโนซอรัส มีกระดูกส่วน neural spine ของหางที่สูงมาก โดยเฉพาะบริเวณปลายหางที่จะสูงเป็นพิเศษที่ส่วน spine ของหางสูงกว่าส่วน centrum ถึง 7 เท่า และกระดูก chevron ก็ยาวมากเช่นกัน จึงเป็นไปได้ว่าหางของสไปโนซอรัส จะมีกล้ามเนื้อที่โคนหางหนามาก และที่ปลายหางมีทรงแบนคล้ายกับหางของปลาหรือจระเข้ ทำให้เกิดแนวคิดที่ว่า แท้จริงแล้วหางของสไปโนซอรัส ก็ยาวและมีไว้ใช้ตวัดน้ำเพื่อเคลื่อนตัวในน้ำได้เต็มรูปแบบอย่างนั้นหรือ?



เพื่อทดสอบแนวคิดนี้ นิซาร์จึงต้องจำลองหุ่นกลไก เพื่อทดสอบ propulsive hydrodynamics ของหางสไปโนซอรัส และพบว่าหางของมันสามารถมีพละกำลังในการแกว่งสูงกว่าไดโนเสาร์เทอโรพอดทั่ว ๆ ไปถึง 8 เท่า ! นิซาร์อิบราฮิมจึงสรุปว่า สไปโนซอรัสคือไดโนเสาร์ตัวแรกที่สามารถวิวัฒนาการใช้ชีวิตอยู่ในน้ำมากกว่าสไปโนซอริดส์ตัวอื่น ๆ ไปอีกขึ้น ด้วยหางที่ทรงประสิทธิภาพทำให้มันไม่จำเป็นต้องยืนจับปลาอยู่ริมแม่น้ำ แต่อาจสามารถว่ายน้ำตามลงไปล่าสัตว์ในน้ำได้เลย


ภาพเคลื่อนไหว Spinosaurus ว่ายน้ำ
https://www.nationalgeographic.com/science/2020/04/spinosaurus-graphic-reconstructing-gigantic-aquatic-predator/?fbclid=IwAR0D8oeaAdLPH37UdmFggUbye7UbQHZcOeXtHZACSazyJiuBIOKo2VPgciQ

การค้นพบครั้งนี้ได้สนับสนุนพฤติกรรมและวิวัฒนาการของสไปโนซอรัสที่เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ทั้งบนบกและในน้ำ (semi aquatic adaptation) ตลอดจนเป็นการค้นพบครั้งสำคัญ ที่ทำให้เราได้เข้าใจถึงสรีระอันน่าอัศจรรย์ของไดโนเสาร์เทอโรพอดที่พยายามและปรับตัวเพื่ออาศัยอยู่ในน้ำอย่างเกือบเต็มรูปแบบ

https://www.facebook.com/%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-Jurassic-World-349299178590923
https://www.nature.com/articles/s41586-020-2190-3?fbclid=IwAR2XV4KxFMw6XFQ2128znAfB7JBt-lELndvfnzri2LWIDlURaBTq6IYyXYc
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่