ตุ๊กตาโบราณในประวัติศาสตร์

ตุ๊กตาอับเฉาเรือ


เป็นตุ๊กตาหินแกะสลัก เทพเจ้าชาวจีน หรือรูปปั้นชาวจีน ที่วางเรียงรายอยู่ในวัดพระแก้ว วัดอรุณ รวมถึงวัดอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร ที่เรียกว่า "ตุ๊กตาอับเฉา" หรือ "อับเฉาเรือ" เนื่องมาจาก

ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทย (สยาม) มีการค้าขายสินค้ากับประเทศจีน ด้วยการขนส่งสินค้าด้วยเรือสำเภา เวลาไปก็มีสินค้าไทยบรรทุกไปเต็มเรือ แต่เวลากลับ ไม่สามารถเดินทางกลับด้วยลำเรือเปล่าๆ ได้ เนื่องจากจะไม่ปลอดภัย เรือจะไม่มีเสถียรภาพ เนื่องจากเรือสมัยโบาณใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบา และท้องโกลน
เมื่อเจอคลื่นลมแรงจะโครงและอาจล่มได้ จึงจำเป็นต้องถ่วงน้ำหนัก ไม่ให้เรือเบาเกินไป ด้วยการซื้อตุ๊กตาจีนแกะสลักจากหินบรรทุกกลับมาด้วย โดยนำตุ๊กตาหินไปไว้ที่ห้องใต้ท้องเรือ ที่เรียกว่า ห้องอับเฉา (Flood chamber) 
เมื่อกลับถึงประเทศไทย (ไม่รู้จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร) จึงนำไปถวายวัด เพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ ณ วัดราชโอรสาราม วัดประจำรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีสวนจีนประดับ ตุ๊กตาอับเฉาจำนวนมาก

เหตุที่เรียกห้องใต้ท้องเรือนี้ว่าห้องอับเฉา สันนิษฐานว่า ห้องนี้อยู่ในท้องเรือ เป็นทั้งห้องบรรทุกของ และถ่วงเรือไปในตัว ไม่มีใครลงไปอยู่ มีความเงียบเหงา นั่นเอง
 นอกจากนั้นยังมี ถังอับเฉา ที่เอาไว้เติมน้ำเพื่อถ่วงเรือให้กินน้ำลึกมากขึ้น เวลาออกปฏิบัติการ เรือจะได้วิ่งเต็มที่ท้าคลื่นลมแรงได้มาก
ปัจจุบันมีการสร้างเรือที่มีปีกซ้ายขวา การถ่วงเรือแบบเดิมจึงไม่มีความจำเป็น


อับเฉาในยุคแรก ๆ จะเป็นแท่งหินยังไม่มีการทำเป็นตุ๊กตาหิน 
ที่มา
http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3557.0
Cr.https://board.postjung.com/642586
Cr.https://sites.google.com/a/birdkm.com/birdkm/outside-classroom/outsideclass/flood-chamber / โดย ธงชัย สิทธิกรณ์ thongchai sitthikorn มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์




ตุ๊กตาเสียกบาล


ตุ๊กตาเสียกบาล เป็นตุ๊กตาดินปั้นที่ทำขึ้นจากความเชื่อของคนไทย ที่มีการทำกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีเอกลักษณ์ลักษณะเลียนแบบท่าทางของคน สร้างขึ้นจากดินเหนียวปั้นเป็นรูปผู้ชาย ผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ในอิริยาบถต่าง ๆ ใช้เป็นตัวแทน เพื่อปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ และอันตราย ที่เกิดขึ้นกับตัวเองหรือญาติพี่น้อง
การปั้นตุ๊กตาเสียกบาลนั้นไม่ต้องใช้ความประณีตมาก ถ้าเป็นผู้หญิง มักนิยมเกล้าผมมวย มีจุก เปลือยอกนั่งตัวตรง ในมือถือของใช้ ถือพัด หรืออุ้มเด็ก จูงลูก หรือมือทั้งสองข้างพนมเข้าหากัน ถือดอกไม้ ฯลฯ ถ้าเป็นผู้ชายก็มักจะเปลือยอก นุ่งผ้าท่อนล่าง แก้มตุ่ยคล้ายกับคนเคี้ยวหมาก ทำเป็นรูปคนเล่นดนตรี คนหมอบฟังเทศน์ คนอุ้มไก่ชน ฯลฯ
ซึ่งอิริยาบถต่างๆ กันนี้ ก็สะท้อนให้เห็นภาพวิถีชีวิตของคนในแต่ละยุค เมื่อปั้นเสร็จก็จะตัดหรือต่อยศีรษะตุ๊กตาออกจากตัวจึงทำให้เรียกว่า “ตุ๊กตาเสียกบาล” คือ “เสียหัว” นั่นเอง

พิธีกรรมเสียกบาล ทำเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา โดยจะปั้นตุ๊กตาดินเหนียวเป็นรูปคนเท่ากับจำนวนคนในครอบครัวตามเพศของคนในครอบครัวรวมจนถึงสัตว์เลี้ยงที่มี  ทำพิธีตรงทางสามแพร่ง เมื่อทำพิธีแล้ว ก็จะหักคอ หักแขน หักขาตุ๊กตานั้นเสีย 


การปั้นตุ๊กตาเสียกบาลมักจะเป็นตุ๊กตาที่ปั้นไม่ประณีตเท่าใดนัก ดินที่ใช้ในการปั้นตุ๊กตาเสียกบาลจะใช้ดินตามท้องถิ่นนั้น ๆ หรืออาจนำมาผสมกับวัสดุอื่น เช่น ทราย ดินเชื้อ เป็นต้น  เพื่อจะได้เนื้อดินที่ทนความร้อนได้สูงขึ้น และเมื่อนำเนื้อดินไปชุบน้ำเคลือบสีจะไม่เปลี่ยน เมื่อนำไปเผาแล้วจะมีความคงทน แข็งแรง ไม่แตกง่าย สามารถเก็บไว้ได้นานหลายปี

ที่มา (อ่านเพิ่มเติม)
สัมภาษณ์ นายเกศ พูลดี อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ ศ ๒๕๒๕
ชมรมประวัติศาสตร์สยาม
http://talk.mthai.com/inbox/377791.html
https://sites.google.com/site/phiphat1234567/tukta-seiy-kbal
https://thailandhandmadebuu.wordpress.com
Cr.https://www.sacict.or.th/uploads/items/attachments/f540b5a543ecdae19fa0876e80f10528/_7a6217cd8ec9fb44d209041b1dbe1608.pdf



คนขาดในนัมโป รัฐไอดาโฮ


ในปี 1889 ได้มีการขุดค้นพบตุ๊กตาประหลาดที่สามารถทำให้เรารับรู้ระยะเวลาวิวัฒนาการของมนุษย์ได้ เพราะวัตถุที่ถูกมนุษย์สร้างขึ้นถูกค้นพบใต้ผิวโลกที่ลึกถึง 320 ฟุต มันได้ทำลายประวัติศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์เคยรับรู้มา เพราะตุ๊กตาตัวนี้มีอายุมากกว่าต้นกำเนิดของเผ่าพันธุ์โฮโมเซเปี้ยนที่รับรู้มา

นั่นแสดงว่า มนุษย์อาศัยอยู่บนโลกนี้นานกว่าที่เราคิดอย่างนั้นหรือ ?   ด้วยการพิสูจน์ทางธรณีวิทยาตามความลึกที่ตุ๊กตาตัวนี้ถูกค้นพบ แสดงว่ามันถูกสร้างขึ้นมากว่า 2 ล้านปีก่อน แต่สิ่งที่เรารู้มาก่อนหน้านี้คือ โฮโมเซเปี้ยน มีอายุเพียง 2-3 แสนปี เท่านั้น

ตุ๊กตาตัวนี้ประกอบไปด้วยดินเหนียวและควอทซ์ มีเครื่องหมายคล้ายทรงเรขาคณิตอยู่บนร่างกายที่อาจระบุได้ว่ามีเครื่องประดับในบางจุด ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า นี่ไม่ใช่งานของเด็กๆ แต่มันเป็นงานที่มีฝีมือทีเดียว

ถ้าไม่ใช่มนุษย์โฮโมเซเปี้ยนทำมันขึ้นมาแล้วใครจะทำ ?   นักวิทยาศาสตร์คาดว่า ไม่น่าจะมีสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่น ที่สามารถทำงานศิลปะเช่นนี้ได้ ถึงแม้มันจะไม่ได้ซับซ้อนมาก แต่พวกเขาค้นพบว่าแขนขวาของตุ๊กตานั้นถูกเชื่อมให้ติดกัน ซึ่งมันค่อนข้างเป็นงานที่ซับซ้อนมากสำหรับมนุษย์ถ้ำ
นี่อาจเป็นหลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่ง ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การถือกำเนิดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ ที่อาจถือกำเนิดมานานกว่าที่เราคิดมากมายนัก
ที่มา : viralnova
Cr.https://petmaya.com/2-million-years-stone-doll




ตุ๊กตาดินเผาโดะงู
 


ตุ๊กตาโดะงูมีรูปลักษณ์มากมายหลายรูปแบบ (ปัจจุบันค้นพบถึง 15,000 แบบ) รูปแบบที่พบเยอะที่สุดมีรูปร่างคล้ายมนุษย์ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพศหญิง เพราะมีหน้าอก เอวคอด สะโพกผาย แต่หน้าตาออกจะแปลกประหลาดไปหน่อย คือหัวโต ตากลมโต มักสวมหมวกขนาดใหญ่ คาดเข็มขัด และใส่เสื้อผ้าหน้าตาแปลกๆ โดะงูนั้นสร้างในยุค โจมง (縄文時代, Jomon) ยุคที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 10,000-400 ปีก่อนคริสตกาล

โดะงูนั้นถูกค้นพบในหลายพื้นที่ในญี่ปุ่น ตั้งแต่แถบคิวชู ไล่ขึ้นเหนือไปถึงโทโฮกุ และฮอกไกโด (ยกเว้นในโอกินาว่าที่ไม่พบเลย) ชิ้นเก่าแก่ที่สุดที่พบอายุประมาณ 10,000 ปี ส่วนชิ้นใหม่สุดอายุประมาณ 2,300 ปี 

ในช่วงปี 1960 มีทฤษฎีอธิบายว่า โดะงูเป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ ซึ่งก็คือ เทพมารดา สร้างขึ้นเพื่อบูชาเกี่ยวกับเรื่องการเกษตรพืชผล เพราะเพศหญิงนั้นสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ และการให้กำเนิดชีวิตใหม่นั่นเอง แต่ทฤษฎีนี้สุดท้ายก็ตกไป เนื่องจากนักโบราณคดียุคหลังพบว่า ตุ๊กตาดินเผาเหล่านี้เหมือนกับเป็น “ของเล่น” หรือเครื่องประดับทั่วๆ ไปในวัฒนธรรมของชาวโจมงเท่านั้นเอง ถูกพบปะปนอยู่ทั่วไปกับซากโบราณที่เป็นที่พักอาศัย หรือสุสาน
 
 สิ่งที่น่าสนใจที่สุดของโดะงูที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาโยงเข้าถึงเรื่องราวของมนุษย์ต่างดาว เป็นเพราะชุดแต่งกาย ซึ่งนักโบราณคดีชาวญี่ปุ่นคิดว่าชาวโจมงน่าจะสร้างเลียนแบบ “อะไรสักอย่าง” 

โดะงูยังถูกนำไปเชื่อมโยงกับตำนานเทพปกรณัมชินโตในความเชื่อของชาวญี่ปุ่นด้วย เทพเจ้าฮิโตโคโตนูชิ เป็นเทพที่มาเยือนมนุษย์เพื่อสอนให้มนุษย์รู้จักวิทยาการต่าง ๆ และสอนให้มนุษย์รู้จักสร้าง และใช้อาวุธด้วย เทพฮิโตโคโตนูชิ เป็นเทพในชุดโจมง อยู่ในชุดแต่งกายของชุดมนุษย์โบราณ ถืออาวุธที่ไม่มีอยู่บนโลกใบนี้ และมีหมวกเหล็กสวมบนศีรษะ
Cr. https://travel.trueid.net/detail/PkblqpZz3zJ / โดย แมวหง่าว


ตุ๊กตาจีนอายุพันปี
ภาพหุ่นตุ๊กตาดินเผาโบราณในพิพิธภัณฑ์ลั่วหยาง แสดงให้เห็นวัฒนธรรมกีฬากับชีวิตของชาวจีนที่มีมาแต่สมัยโบราณนานนับพันปี ไม่ว่าจะเป็นกีฬายิงธนู ขี่ม้า โปโล หรือยิมนาสติกที่มีพื้นฐานมาจากกายกรรม

ตุ๊กตาดินเผาม้าพยศ ปั้นในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618-907) ปัจจุบันเก็บรักษาโดยพิพิธภัณฑ์ลั่วหยาง การขี่ม้าเป็นกีฬายอดนิยมในราชวงศ์ถัง ถึงกับมีการฝึกให้ม้าเต้น ควบตามจังหวะเพลง ซึ่งไม่แตกต่างจากการแข่งม้าในกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบัน 

ตุ๊กตาตัวนี้จะดูเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจากนักกีฬายิงธนู โดยประวัติศาสตร์การยิงธนูนี้ จีนมีมานับแต่โบราณ ขณะที่กีฬายิงธนูเพิ่งได้รับการบรรจุเข้าเป็นกีฬาโอลิมปิกในปีค.ศ. 1972 ตุ๊กตายิงธนูนี้ ขุดพบเมื่อปี 2000 ทำในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปัจจุบันเก็บรักษาโดยพิพิธภัณฑ์ลั่วหยาง

ตุ๊กตากายกรรม สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ขุดพบเมื่อปี 2000 ปัจจุบันเก็บรักษาโดยพิพิธภัณฑ์ลั่วหยาง ดูเหมือนนักยิมนาสติกโอลิมปิกไม่น้อย

ตุ๊กตาตะเกียงสัมฤทธิ์ ที่ดูคล้ายนักกีฬาถือคบเพลิงนี้ ทำในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก (ค.ศ.25-220) ขุดพบเมื่อปี 2002 ปัจจุบันเก็บรักษาโดยพิพิธภัณฑ์ลั่วหยาง 

ที่มา:http://news.tlcthai.com/news-interest/745681.html
ภาพถ่ายโดย Zhang Xiaoli / Asianewsphoto
Cr.https://sites.google.com/site/bomsujittawatchakan/hna-raek/khaw-prachasamphanth/tuktacinxayuphanpiwathnthrrmkilakxnyukhxolimpik

ตุ๊กตาไดดาลา (Daidala doll)
เป็นชื่อเรียกตุ๊กตาโบราณของกรีก  เป็นตุ๊กตาที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่มากที่สุดตัวหนึ่งของโลก  เพราะมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปมากกว่า 2,800 ปีล่วงมาแล้ว ตุ๊กตาไดดาลาส่วนใหญ่จะสร้างขึ้นจากไม้แกะสลัก และบ้างก็ทำขึ้นจากดินเผา  มีปรากฎค้นพบตั้งแต่ สมัยอาร์เคอิค (Archaic) ของกรีก  

ลักษณะของตุ๊กตาไดดาลาจะมีลักษณะเป็น ประติมากรรมสาวน้อยสวมกระโปรงยาวแบบชาวกรีกโบราณ มีลำคอที่สูงยาว ช่างปั้นมักลงรายละเอียดทั้งส่วนของมือ เท้า และ หน้าอก ตลอดทั้งตัวมักวาดภาพระบายสีลายพร้อย หรือขีดเขียนลายเส้นเรขาคณิตอย่างง่ายๆ รอบๆ ตัวของเธอ แต่ที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษที่สุดก็คือ บนส่วนศีรษะของตุ๊กตาไดดาลาจะมี “สองใบหน้า” 
 
ในรูปคือตุ๊กตาไดดาลาดินเผาในสมัยอาร์เคอิคของกรีก ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑ์โบราณคดีแห่งชาติ (National Archaeological Museum) กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ มีชื่อเรียกว่า  “Athena Glaukopis”  คือ ประติมากรรมเทพีอเธน่าสองใบหน้า แปลว่า เทพีอเธน่าหน้านกฮูก (“Owl – faced” Athena)  
“ตุ๊กตาไดดาลาแห่งอเธน่าสองใบหน้า” (Daidala of Athena Glaukopis) ไม่เพียงใช้เป็นตัวแทนในการรำลึกถึงเทพีอเธน่า  ยังเกี่ยวโยงสัมพันธ์ไปถึง เทศกาลโบราณของกรีกที่เรียกกันว่า “เทศกาลไดดาลา” (Daidala festival or Daedala festival)  โดยในเทศกาลนี้ จะแกะสลักตุ๊กตาไม้เป็นรูปเทพีอเธน่า เรียกกันว่า “ตุ๊กตาไดดาลาสองหน้า” ซึ่งหมายถึงมีความปรองดองด้วย 

เรื่องโดย ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล 
Cr.http://www.artedchula.com/web/index.php?option=com_content&view=article&id=124:daidala-doll&catid=49:cat-symbols-in-the-world&Itemid=71

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่