
ช่วงหลังมานี้ไม่รู้เป็นอะไร ผมมักจะได้ดูหนังที่มีคอนเซ็ปท์ของเรื่องคล้ายๆ กันในเวลาใกล้ๆ กันตลอด อย่างคราวที่แล้วก็เรื่องคู่รักที่ถูกตีกรอบด้วยอะไรบางอย่างสองเรื่องเหมือนกัน มาคราวนี้เป็นอีกสองเรื่องที่สร้างจากนิยายวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง และเป็นเรื่องที่พูดถึงบทบาทของความเป็นผู้หญิงที่เหมือนกัน ถึงแม้จะอยู่ในวัฒนธรรมและช่วงเวลาที่ต่างกัน ทั้งสองเรื่องเป็นหนังที่สะท้อนสังคมที่ผู้หญิงก็ยังเป็นเพศที่ต้องรองรับวัฒนธรรมของการมีครอบครัว และไม่มีสิทธิที่จะเลือกอะไรให้กับชีวิตตัวเองสักเท่าไหร่ นอกจากการแต่งงานมีครอบครัว ซึ่งหนังสองเรื่องนี้ตีแผ่ออกมาได้ดีมาก

เริ่มที่เรื่องแรก Little Women สี่ดรุณี เป็นหนังที่สร้างจากวรรณกรรมขายดี ซึ่งเคยทำเป็นภาพยนตร์และละครเวทีมาแล้วหลายรอบ เรื่องราวของสี่สาวพี่น้องครอบครัว March ประกอบด้วย เม็ก, โจ, เอมี่, เบ็ธ ที่ทั้งสี่คนมีความฝันของตัวเอง แต่ด้วยวัฒนธรรมและสังคม ที่มีความเชื่อที่ว่า ชีวิตของผู้หญิงทุกคน จะสมบูรณ์ก็ต้อเมื่อแต่งงาน เมื่อชีวิตที่ถูกกำหนด ไม่ใช่สิ่งที่พวกเธอตามหา จึงเกิดเป็นเรื่องราวที่อบอวลด้วยรักและแรงบันดาลใจ

เรื่องที่สอง Kim Ji-Young Born 1982 หรือชื่อไทย คิม จี-ยอง เกิดปี 82 เป็นเรื่องราวของ คิม จี-ยอง หญิงสาว working woman ที่ชีวิตกลับพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อเธอแต่งงานตามวัฒนธรรมของชาวเกาหลีที่เชื่อว่า เมื่อแต่งงานแล้ว ผู้หญิงจะต้องมีหน้าที่แค่ดูแลสามีและครอบครัวของสามีให้ดีที่สุด จากหญิงสาวเก่งที่ทำงานตลอดเวลา กลายเป็นแม่บ้านที่ทำหน้าที่แค่เลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน ชีวิตที่น่าเบื่อทำให้เธอกลายเป็นโรคซึมเศร้าและเกิดสิ่งผิดปกติกับตัวเธอมากขึ้นทุกวันจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของความรักของทั้งคู่และคนรอบข้าง

Little Women ใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครหลักคือ โจ มาร์ช น้องสาวคนที่สอง โดยใช้เทคนิคการเล่าแบบตัดสลับไปมา ระหว่างความฝัน อดีต และความจริง การเรียงลำดับของหนังที่ดี ทำให้เทคนิคการตัดภาพไปมาไม่ได้ทำให้คนดูงง และด้วยการที่หนังใส่ความสดใสของสาววัยแรกแย้มเข้าไป ทำให้คนดูได้สดชื่นและเห็นพัฒนาการทางความคิดและการเจริญวัยของสาวทั้งสี่คนนี้ ซึ่งหนังจะบอกถึงความฝัน อุปสรรค และความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยที่โตขึ้นของหญิงสาวแต่ละคนด้วย แถมด้วยอารมณ์หนังที่ฟุ้งๆ สวยงาม ที่ทำให้คนดูเพลิดเพลินและอิ่มเอมไปกับหนังที่เดินเรื่องแบบเนิบๆ แบบไม่มีจุดพีคอะไรมาก แต่มีจุดที่จะพาเข้าไปสู่ประเด็นที่คอยสะกิดคนดูให้สะท้อนถึงเส้นเรื่องที่มันสะท้อนสังคมฝรั่งในช่วงขณะนั้นอยู่ตลอดเวลา

ในขณะที่ คิม จี-ยอง เกิดปี 82 ก็เล่าเรื่องด้วยวิธีคล้ายกัน แต่เป็นการตัดสลับช่วงเวลาของ จี-ยอง ในช่วงวัยเด็กที่มีความฝันและจุดมุ่งหมาย กับช่วงปัจจุบันที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วกลายเป็นปัญหาชีวิต หนังเล่าแบบลอยๆ ตามอารมณ์ของตัวละคร จี-ยอง ที่เลื่อนลอยอยู่ตลอด เป็นเพราะอาการบางอย่างที่เกิดขึ้นจากความกดดันและความเครียด ที่ทำให้ตัวละครตัวนี้ต้องแบกรับเอาไว้ หนังก็เลยทั้งอึดอัด เลื่อนลอย และกดดันอย่างบอกไม่ถูก ตัวละครถูกพัฒนาให้ค่อยๆ แย่ลงเพื่อค่อยๆ เผยอาการที่เป็นอยู่ออกมาทีละนิดจนถึงจุดพีคที่ทุกอย่างระเบิดออกมาอย่างเต็มเหนี่ยว มันทำให้คนดูจุกอกไปกับสิ่งที่หนังเฉลยออกมาแบบจังๆ ซึ่งหนังจะทำให้คนอินไปกับมันได้มากกว่าอีกเรื่องด้วยซ้ำ เพราะมันค่อนข้างถูกจริตและตรงกับสังคมของคนในโซนเอเซีย

ในส่วนของนักแสดงนั้น ต้องบอกว่า Little Women ได้นักแสดงคุณภาพดีมาร่วมแสดงให้เพียบ คนแรกเลยคือ Saoirse Ronan ในบท Jo ที่เป็นตัวหลักในกรเดินเรื่อง ซึ่งเรียกได้ว่าโดดเด่นที่สุดและคนเดียวยืนหนึ่งของเรื่อง ซึ่งต่างจากนักแสดงคนอื่นที่มากันเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Emma Watson, Florence Pugh, Eliza Scanlen, Laura Dern, Timothée Chalamet, หรือแม้แต่ Meryl Streep ที่หนังไม่ได้กระจายความสำคัญให้ตัวละครเหล่านี้สักเท่าไหร่ เป็นที่น่าเสียดายที่ชื่อชั้นนักแสดงที่มา มันกลายเป็นองค์ประกอบเล็กๆ ของหนังไปมากกว่าจะมาเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้หนังมีน้ำหนักมากขึ้น

ผิดกับเรื่อง คิม จี-ยอง เกิดปี 82 ถึงแม้ตัวละครหลักๆ จะเป็น จอง ยูมิ ในบท คิม จี-ยอง ที่เป็นตัวเดินเรื่อง แต่นักแสดงคนอื่นๆ ที่ถึงจะไม่เยอะเท่าเรื่องแรก แต่ว่าแต่ละคนกลายเป็นส่วนสำคัญในการส่งให้บทบาทของ คิม จี-ยอง ฉายแสงมากๆ ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะ กงยู ในบทสามีที่แสนดี ที่คอยดูแลและพร้อมจะส่งเสริมทุกอย่างให้แก่ภรรยาเพื่อที่จะให้เธอหายจากอาการที่เป็นอยู่ หรืออีกคนที่อยากจะซูฮกการแสดงเลยคือ Kim Mi-Kyung ในบท Mi-Suk แม่ของ จี-ยอง ที่ใครได้ดูต้องน้ำตาตกไปกับฉากที่เธอระเบิดพลังออกมาแน่นอน กลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับตัวละครได้ดีกว่าเรื่องแรก

ต้องบอกว่าหนังทั้งสองเรื่อง มีคอนเซ็ปท์ที่คล้ายๆ กันในการสื่อถึงบทบาทของผู้หญิงที่มีความฝัน แต่ด้วยภาวะความเชื่อทางสังคมที่ถูกปลูกฝังมา ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่มันก็ทำให้ตีแผ่ความเป็นชนชั้นอีกระดับนึงของความเป็นผู้หญิง ซึ่งในชนชาติตะวันตก อาจจะน้อยลงจนเกือบจะหมดไปแล้ง เพราะผู้หญิงเริ่มมีบทบาทและมีอิสระเสรีมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ในสังคมของชาวเอเซีย แนวความคิดและวัฒนธรรมนี้ก็ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองเรื่องไม่ได้ถึงขั้นเล่าเรื่องราวได้สนุกอะไรมากมาย แต่ก็ถือว่าคนดูก็จะได้อะไรที่สะกิดใจ และสะท้อนใจหลังจากดูจบแน่นอน
ฝากเพจหนังเล็กๆ ด้วยนะครับ >>>
https://www.facebook.com/DooNangGunMai/
[CR] [#Review] Little Women สี่ดรุณี vs คิม จี-ยอง เกิดปี ‘82 - หนังที่สื่อถึงบทบาทของผู้หญิงที่เหมือนกันในสังคมและวัฒนธรรม
ช่วงหลังมานี้ไม่รู้เป็นอะไร ผมมักจะได้ดูหนังที่มีคอนเซ็ปท์ของเรื่องคล้ายๆ กันในเวลาใกล้ๆ กันตลอด อย่างคราวที่แล้วก็เรื่องคู่รักที่ถูกตีกรอบด้วยอะไรบางอย่างสองเรื่องเหมือนกัน มาคราวนี้เป็นอีกสองเรื่องที่สร้างจากนิยายวรรณกรรมทั้งสองเรื่อง และเป็นเรื่องที่พูดถึงบทบาทของความเป็นผู้หญิงที่เหมือนกัน ถึงแม้จะอยู่ในวัฒนธรรมและช่วงเวลาที่ต่างกัน ทั้งสองเรื่องเป็นหนังที่สะท้อนสังคมที่ผู้หญิงก็ยังเป็นเพศที่ต้องรองรับวัฒนธรรมของการมีครอบครัว และไม่มีสิทธิที่จะเลือกอะไรให้กับชีวิตตัวเองสักเท่าไหร่ นอกจากการแต่งงานมีครอบครัว ซึ่งหนังสองเรื่องนี้ตีแผ่ออกมาได้ดีมาก
เริ่มที่เรื่องแรก Little Women สี่ดรุณี เป็นหนังที่สร้างจากวรรณกรรมขายดี ซึ่งเคยทำเป็นภาพยนตร์และละครเวทีมาแล้วหลายรอบ เรื่องราวของสี่สาวพี่น้องครอบครัว March ประกอบด้วย เม็ก, โจ, เอมี่, เบ็ธ ที่ทั้งสี่คนมีความฝันของตัวเอง แต่ด้วยวัฒนธรรมและสังคม ที่มีความเชื่อที่ว่า ชีวิตของผู้หญิงทุกคน จะสมบูรณ์ก็ต้อเมื่อแต่งงาน เมื่อชีวิตที่ถูกกำหนด ไม่ใช่สิ่งที่พวกเธอตามหา จึงเกิดเป็นเรื่องราวที่อบอวลด้วยรักและแรงบันดาลใจ
เรื่องที่สอง Kim Ji-Young Born 1982 หรือชื่อไทย คิม จี-ยอง เกิดปี 82 เป็นเรื่องราวของ คิม จี-ยอง หญิงสาว working woman ที่ชีวิตกลับพลิกผันจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อเธอแต่งงานตามวัฒนธรรมของชาวเกาหลีที่เชื่อว่า เมื่อแต่งงานแล้ว ผู้หญิงจะต้องมีหน้าที่แค่ดูแลสามีและครอบครัวของสามีให้ดีที่สุด จากหญิงสาวเก่งที่ทำงานตลอดเวลา กลายเป็นแม่บ้านที่ทำหน้าที่แค่เลี้ยงลูกอยู่กับบ้าน ชีวิตที่น่าเบื่อทำให้เธอกลายเป็นโรคซึมเศร้าและเกิดสิ่งผิดปกติกับตัวเธอมากขึ้นทุกวันจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ของความรักของทั้งคู่และคนรอบข้าง
Little Women ใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านตัวละครหลักคือ โจ มาร์ช น้องสาวคนที่สอง โดยใช้เทคนิคการเล่าแบบตัดสลับไปมา ระหว่างความฝัน อดีต และความจริง การเรียงลำดับของหนังที่ดี ทำให้เทคนิคการตัดภาพไปมาไม่ได้ทำให้คนดูงง และด้วยการที่หนังใส่ความสดใสของสาววัยแรกแย้มเข้าไป ทำให้คนดูได้สดชื่นและเห็นพัฒนาการทางความคิดและการเจริญวัยของสาวทั้งสี่คนนี้ ซึ่งหนังจะบอกถึงความฝัน อุปสรรค และความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยที่โตขึ้นของหญิงสาวแต่ละคนด้วย แถมด้วยอารมณ์หนังที่ฟุ้งๆ สวยงาม ที่ทำให้คนดูเพลิดเพลินและอิ่มเอมไปกับหนังที่เดินเรื่องแบบเนิบๆ แบบไม่มีจุดพีคอะไรมาก แต่มีจุดที่จะพาเข้าไปสู่ประเด็นที่คอยสะกิดคนดูให้สะท้อนถึงเส้นเรื่องที่มันสะท้อนสังคมฝรั่งในช่วงขณะนั้นอยู่ตลอดเวลา
ในขณะที่ คิม จี-ยอง เกิดปี 82 ก็เล่าเรื่องด้วยวิธีคล้ายกัน แต่เป็นการตัดสลับช่วงเวลาของ จี-ยอง ในช่วงวัยเด็กที่มีความฝันและจุดมุ่งหมาย กับช่วงปัจจุบันที่แต่งงานมีครอบครัวแล้วกลายเป็นปัญหาชีวิต หนังเล่าแบบลอยๆ ตามอารมณ์ของตัวละคร จี-ยอง ที่เลื่อนลอยอยู่ตลอด เป็นเพราะอาการบางอย่างที่เกิดขึ้นจากความกดดันและความเครียด ที่ทำให้ตัวละครตัวนี้ต้องแบกรับเอาไว้ หนังก็เลยทั้งอึดอัด เลื่อนลอย และกดดันอย่างบอกไม่ถูก ตัวละครถูกพัฒนาให้ค่อยๆ แย่ลงเพื่อค่อยๆ เผยอาการที่เป็นอยู่ออกมาทีละนิดจนถึงจุดพีคที่ทุกอย่างระเบิดออกมาอย่างเต็มเหนี่ยว มันทำให้คนดูจุกอกไปกับสิ่งที่หนังเฉลยออกมาแบบจังๆ ซึ่งหนังจะทำให้คนอินไปกับมันได้มากกว่าอีกเรื่องด้วยซ้ำ เพราะมันค่อนข้างถูกจริตและตรงกับสังคมของคนในโซนเอเซีย
ในส่วนของนักแสดงนั้น ต้องบอกว่า Little Women ได้นักแสดงคุณภาพดีมาร่วมแสดงให้เพียบ คนแรกเลยคือ Saoirse Ronan ในบท Jo ที่เป็นตัวหลักในกรเดินเรื่อง ซึ่งเรียกได้ว่าโดดเด่นที่สุดและคนเดียวยืนหนึ่งของเรื่อง ซึ่งต่างจากนักแสดงคนอื่นที่มากันเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Emma Watson, Florence Pugh, Eliza Scanlen, Laura Dern, Timothée Chalamet, หรือแม้แต่ Meryl Streep ที่หนังไม่ได้กระจายความสำคัญให้ตัวละครเหล่านี้สักเท่าไหร่ เป็นที่น่าเสียดายที่ชื่อชั้นนักแสดงที่มา มันกลายเป็นองค์ประกอบเล็กๆ ของหนังไปมากกว่าจะมาเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้หนังมีน้ำหนักมากขึ้น
ผิดกับเรื่อง คิม จี-ยอง เกิดปี 82 ถึงแม้ตัวละครหลักๆ จะเป็น จอง ยูมิ ในบท คิม จี-ยอง ที่เป็นตัวเดินเรื่อง แต่นักแสดงคนอื่นๆ ที่ถึงจะไม่เยอะเท่าเรื่องแรก แต่ว่าแต่ละคนกลายเป็นส่วนสำคัญในการส่งให้บทบาทของ คิม จี-ยอง ฉายแสงมากๆ ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะ กงยู ในบทสามีที่แสนดี ที่คอยดูแลและพร้อมจะส่งเสริมทุกอย่างให้แก่ภรรยาเพื่อที่จะให้เธอหายจากอาการที่เป็นอยู่ หรืออีกคนที่อยากจะซูฮกการแสดงเลยคือ Kim Mi-Kyung ในบท Mi-Suk แม่ของ จี-ยอง ที่ใครได้ดูต้องน้ำตาตกไปกับฉากที่เธอระเบิดพลังออกมาแน่นอน กลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับตัวละครได้ดีกว่าเรื่องแรก
ต้องบอกว่าหนังทั้งสองเรื่อง มีคอนเซ็ปท์ที่คล้ายๆ กันในการสื่อถึงบทบาทของผู้หญิงที่มีความฝัน แต่ด้วยภาวะความเชื่อทางสังคมที่ถูกปลูกฝังมา ถึงแม้ว่าจะอยู่ในสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่มันก็ทำให้ตีแผ่ความเป็นชนชั้นอีกระดับนึงของความเป็นผู้หญิง ซึ่งในชนชาติตะวันตก อาจจะน้อยลงจนเกือบจะหมดไปแล้ง เพราะผู้หญิงเริ่มมีบทบาทและมีอิสระเสรีมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับว่า ในสังคมของชาวเอเซีย แนวความคิดและวัฒนธรรมนี้ก็ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้งสองเรื่องไม่ได้ถึงขั้นเล่าเรื่องราวได้สนุกอะไรมากมาย แต่ก็ถือว่าคนดูก็จะได้อะไรที่สะกิดใจ และสะท้อนใจหลังจากดูจบแน่นอน
ฝากเพจหนังเล็กๆ ด้วยนะครับ >>> https://www.facebook.com/DooNangGunMai/
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้