Rajasthan India เที่ยวราชสถาน (ตอนที่ 1)
ราชสถานมีสถานะเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย ( ประเทศอินเดียแบ่งเขตการปกครองเป็น 29 รัฐ และ 7 สหภาพ น่าจะเป็นเขตการปกครองพิเศษ เช่นจัมมูและแคชเมียร์จะเป็นหนึ่งดินแดนสหภาพ และลาดักห์ ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนจีน จะเป็นอีกหนึ่งดินแดนสหภาพ โดยสองดินแดนสหภาพนี้จะถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลในนิวเดลี เป้าหมายเพื่อกระชับอำนาจในพื้นที่ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคง) ราชสถานตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีประชากร 68.89 ล้านคน ( ปี 2012 ) นับว่ามีประชากรมากเป็นอันดับ 7 ของประชากรในทุกรัฐของอินเดีย เป็นรัฐที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย (342,239 ตารางกิโลเมตรประมาณ 10.4% ของพื้นที่ทั้งหมดของอินเดีย) รัฐราชสถานอยู่ติดกับรัฐขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของอินเดีย ได้แก่ รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา รัฐอุตตรประเทศ รัฐมัธยประเทศและรัฐคุชราตและมีชายแดนติดกับปากีสถาน ทำให้รัฐราชสถานได้เปรียบในการค้า รัฐราชสถานมีเครือข่ายทางหลวงแผ่นดิน (national highway) ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีท่าอากาศยานนานาชาติในเมืองชัยปุระ (เมืองหลวงของรัฐ) และท่าอากาศอีกหลายแห่งในเมืองใหญ่ๆ

ตอนนี้เรารู้จักข้อมูลพื้นฐานของรัฐราชสถานแล้วมาเริ่มเข้าสู่การเที่ยวรัฐราชสถานกันดีกว่าเริ่มจากการนัด(28 Dec, 2019 ) พร้อมกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 12.30 เพื่อ check in สายการบิน vistara air เที่ยวบิน UK 122 ออกเดินทาง 15.05 ถึงสนามบินเดลลี่ 18.30 ( เวลาอินเดียช้ากว่าไทย 1.30 h) กว่าจะผ่าน ตรวจคนเข้าเมืองรับกระเป๋าก็ประมาณ 7.30 pm พอถึงเดลลีมองอะไรไม่ค่อยเห็นชัดนักเต็มไปด้วยหมอกควันอากาศหนาว 5 C ต่อจากนั้นเดินทางโดยรถบัสเข้าสู่เมืองอัครา (Agra) ระยะทาง 233 km ใช้เวลาเดินทางเกือบ 5 h พอขึ้นนั่งในรถยิ่งหนาวใหญ่ ต้องรีบควักเสื้อผ้าพันคอมาใส่
วันที่ 1 ( 28 Dec,2019) Delhi - Agra ( 233 km 5 h )
พวกเราเดินทางทั้งหมด 17 คน ( รวมไกด์ น้องแอลลี่ 1 คน) มีไก์ชาวอินเดีย 1 คนชื่ออาเหม็ด พอเรียบร้อยแล้วไกด์แจกข้าวกล่องเป็นไข่ทอด และมีเพิ่มเติมเป็นไก่ทอดอินเดีย เดินทางอย่างหนาวเย็นกันไป 5 h กว่าจะถึงที่พัก Push Villa Hotel เมือง Agra เรากับรุจาได้ห้องพักรีบเข้านอน โชคดีมี Heater แบบเก๋ากึกเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 14 * 10 inch เหมือนเตาไฟฟ้า (ยังดีกว่าไม่มี) รีบอาบน้ำนอน เฮ้ย!!!... ไม่มีน้ำอุ่น เย็นมากแทบสลบ... ไกด์นัด 5.30 6.30 7.30 คือตื่น 5.30 รับประทานข้าวเช้า 6.30 ออกเดินทาง 7.30 มาดูเส้นทางการท่องเทียวของกรุ๊ปเรา เริ่มจาก Delhi - Agra - Jaipur - Pushkar - Udaipur - Ranakpur (Ranakpur is in the central of Judhpur and Udaipur) - Jนdhpur - Jaisalmer - Bikaner - Mandawa( Shekhawati) - Delhi รวมระยะทางทั้งหมด 2,296 km หรืออาจมากกว่าเพราะเป็นการประมาณ เท่ากับการเดินทาง จากแม่สายไปสุไหงโกลก แล้วจากสุไหงโกลกย้อนกลับมาสงขลา ถือว่าเป็นการเดินทางที่ไกลมากกกก... และทรหดมากกกก....
วันที่ 2 ( 29 Dec,2019) Taj mahal - Agra fort - Chand Baori -Jiapur ( 252 km )
ตอนเช้าอากาศที่อัครา หนาวมาก (อุณหภูมิ 7 C ) เราออกเดินทางไป Tajmahal วันแรก เริ่มที่ทัชมาฮาล อนุสรณ์แห่งความรักหรือความหลง หรือความเศร้าโศกอันสุดแสนคณานับของจักรพรรดิชาห์ชหานซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โมกุล(ช่วงเวลาของโมกุล อยูใน ค.ศ.16-19) พระองค์ได้พบรักกับบุตรสาวรัฐมนตรีเป็นรักแรกพบ เมื่อนางอายุเพียง 14 ปี และอีก 5 ปีต่อมาทรงเสกสมรสกับนาง ทัชมาฮาลมองอย่างไรก็สวยงดงาม แม้นวันนี้จะเต็มไปด้วยหมอกแต่พวกเรามาเช้ามากจึงยังไม่ค่อยมีคน ก่อนเข้าประตูทางเข้าต้องมีการ scan กระเป๋า และตรวจค้นเครื่องแต่งกาย ผู้หญิงฝั่งซ้าย ผู้ชายฝั่งขวา แยกกัน แล้วเดินตรงไป เราก็เดินเข้าไปและถ่ายรูปรวมกันทั้งกรุ๊ป

เข้าไปชมด้านในของอนุสรณ์สถานทัชมาฮาล เห็นที่ฝังพระศพของของพระมเหสี มุมตัส มาฮาล แปลว่าอัญมณีแห่งพระราชวัง และที่ฝั่งพระศพของกษัตริย์ชาห์ชหานซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์โมกุล(ช่วงเวลาของโมกุล อยูใน ค.ศ.16-19) ภายในประดับด้วยอัญมณีตบแต่งอย่างงดงาม ( แต่ห้ามถ่ายรูป) ต่อจากนั้นเดินทางไปป้อมอัครา(Agra Fort ) ระยะทางจากทัชมาฮาลไปป้อมอัคราเพียง 3.4 km ป้อมอัครา ยักษ์แดงแห่งอินเดีย เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนาน ถึง 3 ยุคกษัตริย์ราชวงศ์โมกุล (ป้อมอัครา อยู่ไม่ไกลจากทัชมาฮาล)
เดินเข้าวังอัครา
จากการชิงราชสมบัติของพระโอรส จากกษัตร์ชาห์ชหาน โดยกล่าวอ้างว่าพระบิดาเสียสติและใช้เงินไปมหาศาล พระองค์จึงถูกจับคุมขัง ( หรือกักกันบริเวณ) ไว้ในพระราชวังนี้ แต่พระโอรสกษัตริย์ออรงเซป ยังทรงพระGกรุณาให้อยู่ห้อง ที่มองเห็นทัชมาฮาล เล่ากันว่าพระบิดาเฝ้ามองทัชมาฮาลด้วยหลงไหล(คงคิดถึงมเหสี) พระวรกายอ่อนแอและสิ้นพระชมน์หลังจากถูกคุมขังมา. 8 ปี ในขณะสิ้นพระชนม์ในมือพระองค์ยังกำกระจกที่สะท้อนให้เห็นทัชมาฮาล อนิจจา ..ความรัก ความทุกข์ หรือความเศร้า.... หลังจากนั้นเดินทางไปซื้อผลิตภัณฑ์หิมาลายัน (ของฝากยอดฮิต) จากร้านหิมาลายัน แล้วกลับมารับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรม ( ห้องอาหารหมุนรอบ 360 ) มองเห็นทัชมาฮาล ( แต่วันนี้อากาศทึบมีแต่หมอก) หลังจากนั้นเดินทางไป Chand Bawri (Step well) ระยะทางประมาณ 157.4 km ใช้เวลาเดินทาง 4 h
บ่อน้ำ Chand Baori แห่งนี้สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 9 - 10 หรือพันกว่าปีมาแล้ว ตอนนั้นแคว้นราชาสถานเป็นแคว้นที่ร่ำรวยมาก จากการเป็นเส้นทางการค้าไปยังตะวันออกกลาง ซึ่งมีการลงทุนในการสร้างปราสาทราชวังและป้อมปราการแต่ด้วยความที่ภูมิประเทศของที่นี่เป็นทะเลทราย แห้งแล้งมากมีฝนตกเพียงปีละไม่กี่ครั้ง น้ำฝนก็จะซึมหายผ่านทรายไปอย่างรวดเร็ว มหาราชาเลยต้องพยายามหาวิธีสร้างบ่อน้ำเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ให้ได้นานที่สุดเพราะการเก็บน้ำไว้ใช้ก็ถือเป็นทั้งความมั่นคงของชาติ เป็นการผ่อนคลายและสิ่งสำคัญสำหรับการประกอบพิธีทางศาสนาด้วยในคราวเดียว ยิ่งไปกว่านั้น มหาราชายังต้องการให้คนลงไปตักน้ำจากบ่อมาใช้ได้อย่างสะดวกแม้วันที่ระดับน้ำลดต่ำติดก้นบ่อด้วย บ่อน้ำ Chand Baori ถือว่ากำเนิดขึ้นเลยมีดีไซน์สุดล้ำอย่างน่าอัศจรรย์ ทุกส่วนทุกด้านของบ่อเป็นบันไดเชื่อมถึงกันทั้งหมด เพื่อให้คนเดินลงไปตักน้ำได้พร้อมกันหลายคน และตักได้จนถึงหยดสุดท้ายแม้ว่าบ่อจะลึกถึงประมาณตึก 10 ชั้น หรือ 33 เมตร ตัวบันไดที่สร้างขึ้นมานั้นแบ่งเป็น 13 ชั้น มีขั้นบันไดรวมแล้วกว่า 3,500 ขั้น นับว่าเป็นบ่อน้ำที่ลึกและใหญ่ที่สุดในอินเดีย โดยบ่อแห่งนี้มีความลึกถึง 100 ฟุตสร้างแบบขั้นบันไดไต่ระดับเพื่อลงไปตักน้ำได้ทุกระดับความสูงของ น้ำที่มีอยู่ในบ่อ มีทั้งหมด 13 ชั้น มีขั้นบันไดรวมกัน 3,500 ขั้น Chand Baori ขุดขึ้นโดยกษัตริย์ Chanda เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำ และบ่อแบบขั้นบันนี้นอกจากจะพบได้ในประเทศอินเดียแล้ว ยังสามารถพบได้ในพื้นที่แห้งแล้งมาของประเทศปากีสถานอีกด้วย
แชนด์ เบารี (อังกฤษ: Chand Baori)เป็น บ่อน้ำขั้นบันได ตั้งอยู่ในหมู่บ้านอับบานเนรีในรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย อับบานเนรีเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในอำเภอเดาซา รัฐราชสถานในประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ห่างจากชัยปุระประมาณ 95 กิโลเมตร บนถนน ชัยปุระ-อัคระ อับบานเนรีมีชื่อเดิมว่า อับฮาเนรี(Abha Nagri) ซึ่งแปลว่า "เมืองแห่งความสว่าง" แต่เนื่องจากวันเวลาที่เปลี่ยนไปทำให้มีการออกเสียงผิดเพี้ยนจนกลายเป็นชื่อในปัจจุบัน ปัจจุบันเมืองนี้กลายเป็นซากปรักหักผัง แต่ก็ยังสามารดึงดูดนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆได้ ด้วยความมหัศจรรย์ของบ่อน้ำที่สร้างและออกแบบอย่างล้ำลึกเกินกว่าความคิดของมนุษย์ใน ศตวรรษที่ 9 ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากมนุษย์ต่างดาว เป็นผู้สร้าง ( ตามทฤษฎีสมคบคิด Conspiracy Theory)
หลังจากชมสถาปัตยกรรมที่น่าทึ่งของบ่อน้ำ chand baori หรือที่หลายคนชอบเรียกว่า step well ดูแล้วช่างเป็นความคิดที่น่าอัศจรรย์จริง ๆ ช่างคิดให้คนเดินลงไปตักน้ำถึงก้นบ่อ ด้านขวาของบ่อน้ำมีวัดฮินดูใหญ่พอควร ขณะนี้เวลาเย็นมากแล้ว ได้ยินเสียงดนตรีที่มาจากวัดมองขึ้นไปเห็นคนตีกลองและเครื่องดนตรีคล้ายฆ้องวง ไพเพราะ ไกด์บอกว่าเป็นการบรรเลงดนตรีบูชาเทพเจ้า หน้าวัดมีร้านขายสินค้าพื้นเมืองของอินเดีบประเภทกระเป๋า สาหรี่ ชุดิเดีย ฯ สวย ๆ ทั้งนั้นแถมราคาถูกด้วย แอลลี่ (ไกด์)บอกซื้อได้เพราะไม่ได้พาไปตลาดพื้นเมืองแล้ว ถ้าไปจะทำให้เราไปถึง jaipur ดึกมาก
หลังจากซื้อของกันอย่างถูกใจแล้ว (ค่ำแล้ว) ขึ้นรถขับต่อไปยัง Jaipur ระยะทาง 95 km ใช้เวลา 2 h พวกเรามาถึงโรงแรมเกือบ 3 ทุ่ม กินข้าวแล้วขึ้นนอนหนาวกันต่อไป
วันที่ 3 ( 30 Dec,2019) Jaipur Hawa Mahal - Amber fort - Water Palace - Pushkar-Udaipur
Jaipur ชัยปุระ (ฮินดี: जयपुर, อักษรโรมัน: Jaipur) เป็นเมืองหลักของรัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย และยังเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 10 ของประเทศอินเดีย (3.1 ล้านคน) สร้างขึ้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1727 โดยมหาราชาสวาอี ชัยสิงห์ที่ 2" เจ้าครองนครอาเมร์ (Amer) ในปัจจุบันชัยปุระยังเป็นที่รู้จักกันดีในอินเดียว่า "นครสีชมพู"
เช้าวันนี้หนาวมากอุณหภูมิ 3 C ( แต่อุณหภูมิความรู้สึกหนาวกว่านั้น) สั่นงั๊ก ๆ ออกจากโรงแรมไป ถ่ายรูปที่ Hawa Mahal หรือพระราชวังสายลม
ฮาวา มาฮาล (ฮินดี: हवा महल, อังกฤษ: Hawa Mahal, แปลว่า: "พระราชวังแห่งสายลม") เป็นพระราชวัง ตั้งอยู่ในเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน สร้างในปีค.ศ. 1799 โดยมหาราชาสะหวาย ประธาป สิงห์ (Maharaja Sawai Pratap Singh) ออกแบบโดยลาล ชันด์ อุสถัด (Lal Chand Ustad) โดยถอดแบบมาจากรูปทรงของมงกุฏพระนารายณ์ โดยมีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ บริเวณด้านหน้าอาคารมีหน้าบันสูงห้าชั้นและมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง ซึ่งประกอบด้วยหน้าต่างขนาดเล็กตกแต่งด้วยลวดลายฉลุเป็นช่องลมจำนวน 953 บาน เพื่อนางในวังสามารถมองทะลุออกมาเห็นชีวิตภายนอกบนท้องถนนได้ (น่าสงสาร..) ไม่มีใครสังเกตเห็นจากด้านนอก เนื่องจากนางในเหล่านั้นต้องมีความเคร่งครัดในการคลุม "ปูร์ดาห์" (หรือ ผ้าคลุมหน้า) ต่อตอนที่ 2....
Rajasthan India เที่ยวราชสถาน (ตอนที่ 1)
ราชสถานมีสถานะเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย ( ประเทศอินเดียแบ่งเขตการปกครองเป็น 29 รัฐ และ 7 สหภาพ น่าจะเป็นเขตการปกครองพิเศษ เช่นจัมมูและแคชเมียร์จะเป็นหนึ่งดินแดนสหภาพ และลาดักห์ ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนจีน จะเป็นอีกหนึ่งดินแดนสหภาพ โดยสองดินแดนสหภาพนี้จะถูกปกครองโดยตรงจากรัฐบาลในนิวเดลี เป้าหมายเพื่อกระชับอำนาจในพื้นที่ที่มีความรุนแรงเกิดขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความมั่นคง) ราชสถานตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีประชากร 68.89 ล้านคน ( ปี 2012 ) นับว่ามีประชากรมากเป็นอันดับ 7 ของประชากรในทุกรัฐของอินเดีย เป็นรัฐที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดในอินเดีย (342,239 ตารางกิโลเมตรประมาณ 10.4% ของพื้นที่ทั้งหมดของอินเดีย) รัฐราชสถานอยู่ติดกับรัฐขนาดใหญ่และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจอื่นๆ ของอินเดีย ได้แก่ รัฐปัญจาบ รัฐหรยาณา รัฐอุตตรประเทศ รัฐมัธยประเทศและรัฐคุชราตและมีชายแดนติดกับปากีสถาน ทำให้รัฐราชสถานได้เปรียบในการค้า รัฐราชสถานมีเครือข่ายทางหลวงแผ่นดิน (national highway) ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ มีท่าอากาศยานนานาชาติในเมืองชัยปุระ (เมืองหลวงของรัฐ) และท่าอากาศอีกหลายแห่งในเมืองใหญ่ๆ
ฮาวา มาฮาล (ฮินดี: हवा महल, อังกฤษ: Hawa Mahal, แปลว่า: "พระราชวังแห่งสายลม") เป็นพระราชวัง ตั้งอยู่ในเมืองชัยปุระ รัฐราชสถาน สร้างในปีค.ศ. 1799 โดยมหาราชาสะหวาย ประธาป สิงห์ (Maharaja Sawai Pratap Singh) ออกแบบโดยลาล ชันด์ อุสถัด (Lal Chand Ustad) โดยถอดแบบมาจากรูปทรงของมงกุฏพระนารายณ์ โดยมีสิ่งก่อสร้างที่โดดเด่นคือ บริเวณด้านหน้าอาคารมีหน้าบันสูงห้าชั้นและมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง ซึ่งประกอบด้วยหน้าต่างขนาดเล็กตกแต่งด้วยลวดลายฉลุเป็นช่องลมจำนวน 953 บาน เพื่อนางในวังสามารถมองทะลุออกมาเห็นชีวิตภายนอกบนท้องถนนได้ (น่าสงสาร..) ไม่มีใครสังเกตเห็นจากด้านนอก เนื่องจากนางในเหล่านั้นต้องมีความเคร่งครัดในการคลุม "ปูร์ดาห์" (หรือ ผ้าคลุมหน้า) ต่อตอนที่ 2....