คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
อ้างอิง
เฟส Mr.Oe
ลิงค์
https://www.facebook.com/Mr.OeThinkofLiving/posts/2176913999075081?__tn__=K-R
################################################################
รู้หรือไม่ว่า คนไทยโดยเฉลี่ย ต้องทำงานเก็บเงินโดยไม่กินไม่ใช้ราว 22 ปี เพื่อเป็นเจ้าของบ้านราคาประมาณ 5 ล้านบาท 1 หลัง ในขณะที่คนอเมริกันเก็บเงินแค่ 3.5 ปี ก็ซื้อบ้านระดับนี้ที่เมกาได้แล้ว ....
ที่มันเป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ความเหลื่อมล้ำในสังคมและระบบภาษีอันล้าหลัง ทำให้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ดีๆ กระจุกอยู่ในมีเศรษฐีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของประเทศ
นี่คือที่มาของการรื้อระบบจัดเก็บภาษีใหม่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับที่เพิ่งจะออกมาใหม่นี้เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพื่อช่วยให้คนในชาติสามารถเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินได้ง่ายขึ้น โดยการเก็บภาษีจากคนที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกินความจำเป็น
แต่เดิมเราเสียภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่ใช้เพื่อการพาณิชย์หรือบ้านที่ใช้ปล่อยเช่าแต่ด้วยความล้าหลังของกฎหมายและการมีช่องว่างให้มุดออกได้ไม่ยากรวมถึงการบังคับใช้ที่ไม่ตรงไปตรงมาทำให้ การเก็บภาษีโรงเรือนไม่มีความเป็นธรรมบางคนปล่อยเช่าคอนโดเป็นสิบห้องก็ไม่เคยต้องเสียภาษีเลยด้วยซ้ำหรือถึงแม้จะเสียก็เป็นอัตราที่ต่ำเตี้ยมาก
ในส่วนของที่ดินก็มีการกว้านซื้อถือครองสะสมกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนมีอันจะกินเอาที่ดินวางไว้เฉยๆไม่สร้างประโยชน์อะไรเก็บเอาไว้ให้หญ้ามันขึ้นเฉยๆยังงั้นแหละเพราะมันไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรมากมายจากการปล่อยที่ดินรกร้างว่างเปล่า
กฎหมายเดิมทำให้เกิดสิ่งที่บิดเบือนความเป็นธรรมเพราะคนมีเงินก็สามารถซื้ออสังหาทั้งบ้านและที่ดินได้ในแทบจะทุกราคาส่วนคนชั้นกลางหรือคนระดับรากหญ้าก็ต้องกลายเป็นผู้เช่า
เพราะการซื้ออสังหามันทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ คนเกือบร้อยละร้อย จึงต้องเป็นหนี้แบงค์ 25-30 ปี ในช่วงวัยหนุ่มสาวที่มีพลังเต็มที่ แทนที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระและสร้างสรรค์ กลับกลายต้องมานั่งระมัดระวังทำงานใช้หนี้ไป ... เป็นความสูญเสียที่เลวร้ายมากสำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ในระบบกับดักหนี้
กฎหมายที่บังคับใช้ใหม่มันเกิดขึ้นได้เพราะในปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลการประเมินราคาที่ดินรายแปลงรวมถึงราคาบ้านในแต่ละโครงการได้อย่างแม่นยำเป็นรายแปลงดังนั้นราคาประเมินของทางภาครัฐมันจึงแม่นยำมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
ภาษีที่ดินและปลูกสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่นี้ ตั้งอยู่บนหลักการของการให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและจัดเก็บไม่ได้เข้าส่วนกลางและพื้นฐานของหลักการคือการพยายามทำให้คนที่ถือหรือครอบครองอสังหาจำนวนมากลดการถือครองลง เพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินบ้างเหมือนในประเทศที่เจริญแล้วเค้าทำกัน
แต่เดิมมีการพูดคุยถึงหลักการตามอุดมคตินี้และหวังจะผลักดันให้เรทอัตราภาษีสูงถึงระดับ 3% ถึง 5% ซึ่งในระดับนี้จะกระทบกับผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์หนักมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่มี มูลค่าสูง
อาจจะด้วยเหตุนี้ทำให้กฏหมายฉบับนี้ถูกปรับแก้และดีเลย์การบังคับใช้ออกไปนานกว่าที่คาดไว้ในขณะที่เป้าประสงค์เดิมก็ถูกบิดเบือนไปด้วยกันลดเรทอัตราภาษีจากที่จะตั้งไว้หนักประมาณ ล้านละ 30,000 - 50,000 เหลือแค่อัตราล้านละ 3,000 - 30,000 เท่านั้นเอง สำหรับอสังหาเพื่อการพาณิชย์ หรือที่ดินทิ้งร้าง
สำหรับคนที่ครอบครองอสังหาหลายชิ้น แต่ใช้เพื่ออยู่เองไม่ได้ปล่อยเช่าก็เสียแค่ ล้านละ 200 บาท เท่านั้นเองซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำมากจนน่าจะไม่มีใครเดือดร้อนกับเรทนี้เลยนะ พอๆซื้อกาแฟกะขนมชิ้นนึงเอง ดังนั้นอย่าฟูมฟายเยอะ 😂
แน่นอนว่า การลดเรทเหลืออัตราเท่านี้ มันทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ว่า ภาษีตัวนี้ จะเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำนั้น หลุดไปจากเป้าหมายเดิมไปมากมายหลายปีแสง .... แต่ ใช่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ จะไม่ดีไปเสียทั้งหมด
กฎหมายฉบับนี้ ยังมีข้อดีที่ช่วยให้การจัดเก็บภาษีทำได้เต็มที่มากขึ้น หลบยาก ใต้โต๊ะยาก ตรงไปตรงมาโปร่งใสกว่าแต่ก่อนมหาศาล และเชื่อว่า เงินภาษีที่ได้ จะเข้าท้องถิ่นเข้าเขตได้มากขึ้น อันจะทำให้มีเงินในการพัฒนาเขตนั้นๆมากขึ้น
และการลดเรทอัตราภาษี แม้จะไม่ตอบโจทย์ลดความเหลื่อมล้ำ.... แต่ อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ที่สังคมไทยกำลังก้าวเข้าไป ... นั่นคือสังคมผู้สูงอายุซึ่งจะเปลี่ยน landscape ของอุตสาหกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปแบบพลิกฝ่ามือ
ซึ่งถ้าเราดูญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง ถ้าเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหนัก จะเกิดภาวะ ทิ้งบ้านร้าง เมื่อผู้สูงอายุไม่มีรายได้ หรือตายไป ลูกหลานไม่มีใครอยากรับภาระภาษี ขายบ้านทิ้งราคายกให้ฟรีก็มี
ทุกอย่างมีด้านดีด้านเสีย หวังว่าเราจะยืดหยุ่นพอที่จะปรับระบบภาษีนี้ ให้เหมาะกับสังคมแบบไทยๆต่อไปครับ
เฟส Mr.Oe
ลิงค์
https://www.facebook.com/Mr.OeThinkofLiving/posts/2176913999075081?__tn__=K-R
################################################################
รู้หรือไม่ว่า คนไทยโดยเฉลี่ย ต้องทำงานเก็บเงินโดยไม่กินไม่ใช้ราว 22 ปี เพื่อเป็นเจ้าของบ้านราคาประมาณ 5 ล้านบาท 1 หลัง ในขณะที่คนอเมริกันเก็บเงินแค่ 3.5 ปี ก็ซื้อบ้านระดับนี้ที่เมกาได้แล้ว ....
ที่มันเป็นแบบนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ความเหลื่อมล้ำในสังคมและระบบภาษีอันล้าหลัง ทำให้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ดีๆ กระจุกอยู่ในมีเศรษฐีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ของประเทศ
นี่คือที่มาของการรื้อระบบจัดเก็บภาษีใหม่ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับที่เพิ่งจะออกมาใหม่นี้เป็นหนึ่งในกฎหมายที่ลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและเพื่อช่วยให้คนในชาติสามารถเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินได้ง่ายขึ้น โดยการเก็บภาษีจากคนที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์เกินความจำเป็น
แต่เดิมเราเสียภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่ใช้เพื่อการพาณิชย์หรือบ้านที่ใช้ปล่อยเช่าแต่ด้วยความล้าหลังของกฎหมายและการมีช่องว่างให้มุดออกได้ไม่ยากรวมถึงการบังคับใช้ที่ไม่ตรงไปตรงมาทำให้ การเก็บภาษีโรงเรือนไม่มีความเป็นธรรมบางคนปล่อยเช่าคอนโดเป็นสิบห้องก็ไม่เคยต้องเสียภาษีเลยด้วยซ้ำหรือถึงแม้จะเสียก็เป็นอัตราที่ต่ำเตี้ยมาก
ในส่วนของที่ดินก็มีการกว้านซื้อถือครองสะสมกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนมีอันจะกินเอาที่ดินวางไว้เฉยๆไม่สร้างประโยชน์อะไรเก็บเอาไว้ให้หญ้ามันขึ้นเฉยๆยังงั้นแหละเพราะมันไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรมากมายจากการปล่อยที่ดินรกร้างว่างเปล่า
กฎหมายเดิมทำให้เกิดสิ่งที่บิดเบือนความเป็นธรรมเพราะคนมีเงินก็สามารถซื้ออสังหาทั้งบ้านและที่ดินได้ในแทบจะทุกราคาส่วนคนชั้นกลางหรือคนระดับรากหญ้าก็ต้องกลายเป็นผู้เช่า
เพราะการซื้ออสังหามันทำได้ยากขึ้นเรื่อยๆ คนเกือบร้อยละร้อย จึงต้องเป็นหนี้แบงค์ 25-30 ปี ในช่วงวัยหนุ่มสาวที่มีพลังเต็มที่ แทนที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างอิสระและสร้างสรรค์ กลับกลายต้องมานั่งระมัดระวังทำงานใช้หนี้ไป ... เป็นความสูญเสียที่เลวร้ายมากสำหรับการเกิดมาเป็นมนุษย์ในระบบกับดักหนี้
กฎหมายที่บังคับใช้ใหม่มันเกิดขึ้นได้เพราะในปัจจุบันมีการเก็บข้อมูลการประเมินราคาที่ดินรายแปลงรวมถึงราคาบ้านในแต่ละโครงการได้อย่างแม่นยำเป็นรายแปลงดังนั้นราคาประเมินของทางภาครัฐมันจึงแม่นยำมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก
ภาษีที่ดินและปลูกสิ่งปลูกสร้างตัวใหม่นี้ ตั้งอยู่บนหลักการของการให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและจัดเก็บไม่ได้เข้าส่วนกลางและพื้นฐานของหลักการคือการพยายามทำให้คนที่ถือหรือครอบครองอสังหาจำนวนมากลดการถือครองลง เพื่อให้คนส่วนใหญ่ได้เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินบ้างเหมือนในประเทศที่เจริญแล้วเค้าทำกัน
แต่เดิมมีการพูดคุยถึงหลักการตามอุดมคตินี้และหวังจะผลักดันให้เรทอัตราภาษีสูงถึงระดับ 3% ถึง 5% ซึ่งในระดับนี้จะกระทบกับผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์หนักมาก โดยเฉพาะในกลุ่มที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่มี มูลค่าสูง
อาจจะด้วยเหตุนี้ทำให้กฏหมายฉบับนี้ถูกปรับแก้และดีเลย์การบังคับใช้ออกไปนานกว่าที่คาดไว้ในขณะที่เป้าประสงค์เดิมก็ถูกบิดเบือนไปด้วยกันลดเรทอัตราภาษีจากที่จะตั้งไว้หนักประมาณ ล้านละ 30,000 - 50,000 เหลือแค่อัตราล้านละ 3,000 - 30,000 เท่านั้นเอง สำหรับอสังหาเพื่อการพาณิชย์ หรือที่ดินทิ้งร้าง
สำหรับคนที่ครอบครองอสังหาหลายชิ้น แต่ใช้เพื่ออยู่เองไม่ได้ปล่อยเช่าก็เสียแค่ ล้านละ 200 บาท เท่านั้นเองซึ่งถือเป็นอัตราที่ต่ำมากจนน่าจะไม่มีใครเดือดร้อนกับเรทนี้เลยนะ พอๆซื้อกาแฟกะขนมชิ้นนึงเอง ดังนั้นอย่าฟูมฟายเยอะ 😂
แน่นอนว่า การลดเรทเหลืออัตราเท่านี้ มันทำให้เป้าหมายที่ตั้งไว้ว่า ภาษีตัวนี้ จะเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำนั้น หลุดไปจากเป้าหมายเดิมไปมากมายหลายปีแสง .... แต่ ใช่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนี้ จะไม่ดีไปเสียทั้งหมด
กฎหมายฉบับนี้ ยังมีข้อดีที่ช่วยให้การจัดเก็บภาษีทำได้เต็มที่มากขึ้น หลบยาก ใต้โต๊ะยาก ตรงไปตรงมาโปร่งใสกว่าแต่ก่อนมหาศาล และเชื่อว่า เงินภาษีที่ได้ จะเข้าท้องถิ่นเข้าเขตได้มากขึ้น อันจะทำให้มีเงินในการพัฒนาเขตนั้นๆมากขึ้น
และการลดเรทอัตราภาษี แม้จะไม่ตอบโจทย์ลดความเหลื่อมล้ำ.... แต่ อาจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ที่สังคมไทยกำลังก้าวเข้าไป ... นั่นคือสังคมผู้สูงอายุซึ่งจะเปลี่ยน landscape ของอุตสาหกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปแบบพลิกฝ่ามือ
ซึ่งถ้าเราดูญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง ถ้าเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหนัก จะเกิดภาวะ ทิ้งบ้านร้าง เมื่อผู้สูงอายุไม่มีรายได้ หรือตายไป ลูกหลานไม่มีใครอยากรับภาระภาษี ขายบ้านทิ้งราคายกให้ฟรีก็มี
ทุกอย่างมีด้านดีด้านเสีย หวังว่าเราจะยืดหยุ่นพอที่จะปรับระบบภาษีนี้ ให้เหมาะกับสังคมแบบไทยๆต่อไปครับ
แสดงความคิดเห็น
ภาษีทำธุรกิจปล่อยเช่าคอนโด จะมาปีหน้า (หลายๆคนอาจได้รับกันแล้ว) ทิศทางธุรกิจนี้จะไปทางไหน ขอคำแนะนำเพื่อนๆพันทิพ
เพื่อนๆพันทิพ จะได้เห็นทั่วกัน
ขอบคุณครับ
##########################
ภาษีทำธุรกิจปล่อยเช่าคอนโด จะมาปีหน้า (หลายๆคนอาจได้รับกันแล้ว) ทิศทางธุรกิจนี้จะไปทางไหน ขอคำแนะนำเพื่อนๆพันทิพทีครับ ว่าจะปรับตัวกันยังไง ขึ้นราคาค่าเช่า หรือว่ายังไง ขนาดปัจจุบัน ภาษีตัวนี้ยังไม่มา คอนโดขึ้นมากจนเฟ้อ ยังต้องลดราคาค่าเช่าเพื่อ หาคนเช่าเลย ???
ขอบคุณครับ
###################################
รวมคำถามเกี่ยวกับการลงทะเบียนตอบรับ "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 นะครับ

(ใครมีคอนโด “อยู่อาศัย” ทั้งหมด อ่าน Version ย่อได้ที่ https://www.facebook.com/1072231159607931/posts/1410419769122400?d=n&sfns=mo)
(มีคำถามตอบกันใน Comment เยอะมาก ผมไม่สามารถไป QC ทุกคำตอบได้หมดนะครับ แต่จะพยายาม อ่านแล้วเช็คกับเขตด้วยนะครับ)
ตอนนี้เพื่อนๆที่มีคอนโดคงได้จดหมายตามในรูป ซึ่งในจดหมายแจ้งให้เราเช็คข้อมูลแล้วก็ยื่นแก้ไขภายใน 15 วัน ใบนี้ไม่ใช่ใบเรียกเก็บภาษีนะครับ อันนี้แบบสำรวจเฉยๆ ใบเรียกเก็บมาต้นปีหน้า ดู Timeline ในรูปได้ครับ
มีเพื่อนๆหลายคนถามคำถามเข้ามาพอสมควร ผมจะนำบางคำถามที่คิดว่ามีประโยชน์มาแชร์ให้ฟังนะครับ
Question 1: จดหมายนี้จะถูกส่งไปที่ไหน ถ้าเรามีคอนโด 5 ห้องต้องวิ่งไปเปิด Mailbox ของทุก 5 คอนโดเลยไหม?
Answer: จดหมายนี้จะถูกส่งไปที่ๆเรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านครับ เช่นถ้าเรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่เชียงใหม่แต่มีคอนโดอยู่ที่กรุงเทพฯ 5 ห้อง เอกสารของคอนโดทั้ง 5 ห้องจะถูกส่งไปที่เชียงใหม่ ไม่ต้องเข้าไปรับที่คอนโดขับ
Question 2: เช็คแล้วไม่ได้เอกสาร ทำยังไงดี?
Answer: ถ้าเช็คที่บ้านที่เรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแล้วยังไม่มี ผมแนะนำให้รออีก 2-3 วันแล้วค่อยไปให้ที่เขตพิมพ์ให้ (แต่ละเขตเหมือนจะส่งจดหมายออกไม่พร้อมกัน) แต่ที่สำคัญเช็คหน่อยว่าคอนโดเป็นชื่อเราจริงๆ บางคนคอนโดเป็นชื่อแฟนหรือชื่อพ่อแม่แต่เข้าใจผิดมาตลอดว่าเป็นชื่อเรา เวลาดูเจ้าของให้ดูชื่อหลังฉโนด ไม่ใช่ชื่อในทะเบียนบ้านนะครับ
Question 3: ทำไมพื้นที่ใช้สอยไม่ตรงกับพื้นที่จริง แล้วต้องแก้ไหม?
Answer: อันนี้งงมาก หลายๆเคสคือรัฐคิดพื้นที่ใช้สอยไม่รวมระเบียง แต่หลายๆห้องก็รวมระเบียง บางห้องลบพื้นที่ระเบียง (ดูได้ในโฉนด) ก็ไม่ตรง ไม่รู้ไปเอามาจากไหน 😭 ส่วนต้องแก้ไหม? เป็นผมคงไม่แก้ถ้าไม่มีอย่างอื่นต้องแก้ มันเสียเวลาๆมากๆยิ่งถ้าเป็นบ้านหลังหลัก ยังไงก็ไม่เสียภาษีอยู่ดี ไว้ว่างๆค่อยไปแก้แล้วกัน
Question 4:ภาษีคิดยังไง แล้วคำว่า “อยู่อาศัย” กับ “อื่นๆ” ต่างกันยังไง
Answer: ภาษีคิดตามลักษณะการทำประโยชน์ ถ้าเป็น “อยู่อาศัย” เคสนี้จะไม่เสียภาษีถ้าเป็นบ้านหลังหลัก (ต้องเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้านภายในปีนี้ จริงๆเอาชื่อใครเข้าก็ได้) ถ้าไม่ใช่บ้านหลังหลักจะเสียภาษี 0.02% หรือล้านละ 200 บาท ถ้าคอนโดราคา 10 ล้านก็เสีย 2,000 บาท ถ้าเป็น “อื่นๆ” จริงๆหมายถึงคอนโดที่ไม่ได้อยู่อาศัยหรือคอนโดปล่อยเช่า จะเสียภาษีแพงคือ 0.3% ขึ้นไป หรือล้านละ 3,000 บาท ถ้าคอนโด 10 ล้านก็เสีย 30,000 บาท ดูรูปประกอบได้ครับ
Question 5: รัฐใช้หลักการอะไรในการกำหนดค่าเริ่มต้น (ค่า default) ว่าห้องนี้เป็น “อยู่อาศัย” หรือ “อื่นๆ”
Answer: ตอบไม่ได้ มันดูมั่วๆนิดนึง เท่าที่สังเกตดูส่วนใหญ่ถ้าเรามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของคอนโดนั้นระบบจะ default ให้เป็น “อยู่อาศัย” แต่ถ้าเป็นคอนโดที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านจะถูกเลือกให้เป็น “อื่นๆ” แต่ผมก็มีเพื่อนที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน แต่ถูกเลือกให้เป็น “อยู่อาศัย” โชคดีจัง
Question 6: อยากแก้ไขข้อมูลทำยังไง? เอกสารใช้อะไรบ้าง
Answer: ต้องบอกก่อนว่าแต่ละเขตตอบไม่เหมือนกันคร้บ ส่วนมากบอกให้มาแก้เองที่เขต โดยเอาสำเนาฉโนด สำเนาทะเบียนบ้าน (ของตัวเอง และ ของห้องที่จะแก้) สัญญาซื้อขายไปด้วย สามารถมอบอำนาจได้ เพื่อนบางคนบอกว่าที่เขตห้วยขวางให้ส่งคำร้องไปแก้ทางเมลล์ได้ ลองโทรไปถามดูนะครับ แต่ขอให้โชคดีในการโทรไปที่เขต กว่าจะโทรติดและกว่าจะเจอคนพูดจารู้เรื่อง
จริงๆในฟอร์มมี Barcode ให้เข้าไปแก้ Online แต่ลองละไร้ประโยชน์มากๆ ระบบเหมือนยังไม่เสร็จ อันนี้ขอบ่นนิดนึงครับ คือรัฐจะเก็บภาษี ควรจะทำระบบให้ดีๆไหม อำนวยความสะดวยให้พวกเรานิดนึง คือเวลาไที่เขตที่มันนานมาก แล้วทำคนก็ต้องทำงาน ไม่ไหวอ่ะ แย่มาก
Question 7: ทำไมต้องแก้ไขข้อมูลภายใน 15 วัน ของผมจดหมายลงวันที่ 25 พย (บางคนลงวันที่ 20 พย) แปลว่าต้องไปทำแล้วไหม?
Answer: ไม่รู้ รัฐบาลประสาท คิดว่าคนว่างมั้ง สิ่งอำนวยความสะดวกก็ไม่มี (แก้ Online ก็ไม่ได้) ข้อมูลก็ไม่บอก ไม่มีการประชาสัมพันธ์ แล้วมาทำอะไรกันตอนปลายปีแล้วก็เร่งๆ ทำยังกับประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนาไปได้
ปล มีแฟนเพจแจ้งว่า 15 วันนับจากวันได้รับจดหมาย (ดูใน Comment ได้ครับ) แต่ของผมเจ้าหน้าที่แจ้งว่า 15 วันหลังจากวันที่ๆเขียนในจดหมาย
Question 8: อยากแก้จาก “อื่นๆ” ให้เป็น “อยู่อาศัย” จะได้เสียภาษีน้อยๆ ต้องมีหลักฐานอะไร
Answer: เราสามารถแก้เป็น “อยู่อาศัย” ได้ จะ “อยู่อาศัย” กี่ห้องก็ได้แหละ (แปลกแมะ) ตอนนี้ผมคิดว่าเค้าใช้ระบบเชื่อใจนะ คงใช้เวลาอีกนานกว่าจะเช็คได้ ใครที่มีคอนโดที่อยู่อาศัยควรรีบๆไปแก้ให้เป็น “อยู่อาศัย” ก่อนเลย ด่วนๆ
แต่ถ้าใครปล่อยเช่าอยู่ ก็วัดดวงเอาละกัน เพราะถ้าเราปล่อยเช่าอยู่แล้วเราแจ้ง “อยู่อาศัย” จริงๆมันผิดกฎหมายนะ ถามว่าระบบมีโอกาสเช็คได้ไหม ผมก็ไม่แน่ใจ (เหมือนเรื่องใบสั่งกับการต่อทะเบียนอ่ะ” ที่ต้องลุ้นเป็นพิเศษคือการปล่อยเช่าชาวต่างชาติ เพราะเราต้องส่งใบ ตม30 (เพราะเจ้าของห้องจะต้องแจ้งข้อมูลชาวต่างชาติที่เช่าห้องพักให้กับที่ทำการตรวจคนเข้าเมืองหรือสถานีตำรวจในท้องที่ ซึ่งบุคคลต่างด้าว หรือชาวต่างชาติที่เช่านั้นจะต้อง “ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว”) ดังนั้นรัฐจะรู้แหละว่าคอนโดห้องนี้ปล่อยเช่า หรือบางนิติก็มีส่งรายงานให้รัฐอยู่แล้วว่าห้องไหนอยู่เองห้องไหนปล่อยเช่า
ผมเข้าใจแหละว่าถ้าห้องเราเป็นห้องปล่อยเช่า การเลือก “อื่นๆ” ทำให้เสียภาษีแพง (0.3%) แล้วค่าเช่าก็ต้องเสียภาษีเงินได้อีก (ตอนนี้คนที่ปล่อยเช่าส่วนใหญ่ไม่มีใครเสียหรอก) ใครที่ฐานเงินเดือนเยอะๆแล้วต้องเสียภาษีกับเงินค่าเช่าก็เจ็บตัวอยู่ แต่รายได้ก็ต้องเสียภาษีแหละ
เคสปล่อยเช่าจะแจ้งเป็น “อยู่อาศัย” หรือ “อื่นๆ”ตัดสินใจกันเอง ผมไม่เกี่ยว
Question 9: ทำไมบางห้องขายไปแล้วในปีนี้ ถึงยังมีใบสำรวจส่งมา เราไม่ควรเสียภาษีนี้ไม่ใช่หรอ??
Answer: ผมมีห้องที่โอนขายไปเดือน มิ.ย แต่ยังมีจดหมายนี้มา เหมือนระบบมันไม่ Update โทรไปถามที่เขตคลองเตยเค้าบอกให้มาทำเรื่องคัดค้าน เป็นภาระไปได้อีก!!!
ประมาณนี้ครับ ใครมีคำถามอื่นๆถามมาได้ อยากฝากถึงรัฐบาลหรือคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ อยากให้เตรียมพร้อมให้ดีกว่านี้ ระบบ Online ควรมีไหนๆจะเก็บเงินแล้วควรจะลงทุนอำนวยความสะดวกหน่อย ที่สำคัญควรจะสื่อสารกับประชาชนให้ดีกว่านี้ ไม่ใช่ว่ารีบๆแล้วประชาชนมีคำถามก็ไม่รู้จะถามใคร อย่างน้อยๆ FAQ ควรมี (ถ้ามีผมก็ไม่ต้องเขียนละ 55 จริงๆมีอีกหลายเรื่องที่ผมก็ไม่แน่ใจนะ) เจ้าหน้าที่ๆเขตก็มีไม่พอหรือตอบคำถามไม่ตรงกัน เบื่ออ่ะ