ทุกวันนี้ปะการังมีสภาพเสื่อมโทรมลงจากปัจจัยหลายๆอย่าง ทั้งด้านชีวภาพและกายภาพ เพราะปะการังถือเป็นพืชที่ละเอียดอ่อน และรับรู้การเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็ว แต่ไม่ว่าปะการังจะเสื่อมโทรมลงไปยังไง หรือมีปัญหาด้านต่างๆมากมายขนาดไหน แต่เราทุกคนก็ยังต้องช่วยกันอนุรักษ์และฟื้นฟูพืชที่สำคัญนี้ไว้ให้ถึงที่สุด เพราะปะการังถือว่ามีประโยชน์ต่อระบบนิเวศอย่างมาก แถมยังมีส่วนช่วยโลกในอีกหลายด้านอีกด้วย อย่างเช่นที่ คุณเพชร มโนปวิตร นักเขียนและนักอนุรักษ์ ได้กล่าวประโยชน์ของปะการังไว้ 3 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นแรก นักวิทยาศาสตร์ชอบเปรียบเทียบว่าปะการังเหมือนป่าเขตร้อนเพราะมันเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในทะเล พื้นที่แนวปะการังเล็กมากเมื่อเทียบกับมหาสมุทร แต่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตถึง 1 ใน 4 ของทะเลทั้งหมด โครงสร้างเป็น 3 มิติ ซับซ้อน มีที่หลบซ่อนที่อยู่อาศัยค่อนข้างเยอะ เมื่อปะการังตาย โครงสร้าง 3 มิติจะพังทลายเป็นพื้นที่ราบ สิ่งมีชีวิตจะสูญเสียที่อยู่ แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมันเป็นเหมือนป่าเศรษฐกิจที่เราใช้ทำมาหากินด้วย
ประเด็นที่สอง ปะการังเหมือนปราการใต้ท้องทะเล งานวิจัยระยะหลังเริ่มชี้ชัดว่ามันช่วยชะลอคลื่น พื้นที่ที่ปะการังเสื่อมโทรมมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น นี่เป็นหนึ่งในปัญหารุนแรงที่สุดที่รัฐบาลต้องลงทุนแก้ไข การแก้ปัญหาที่คิดเชิงวิศวกรรมอย่างเดียวเช่นสร้างกำแพงกั้นคลื่น จะยิ่งตัดขาดวงจรสมดุลของทราย พอคลื่นมาปะทะและสะท้อนกลับไปแรงขึ้น ก็ยิ่งเอาทรายออกไปเร็วขึ้น เกิดการกัดเซาะที่แก้ไม่จบ
ประเด็นที่สาม มหาสมุทรดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นจากโลกตั้ง 90 เปอร์เซ็นต์ ปะการังเป็น carbon sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนประเภทหนึ่ง การอยู่และเติบโตของปะการังช่วยกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบนิเวศ นี่เป็นการทำงานที่เราได้มาฟรีๆ และไม่ค่อยคำนึงว่ามีมูลค่าแค่ไหน ยังไม่พูดถึงการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะบ้านเรา

เห็นมั้ยคะว่าปะการังมีประโยชน์ต่อโลกนี้ยังไง ทำไมเราถึงต้องช่วยกันดูแลรักษา เห็นอย่างนี้แล้ว ทำให้ทุกคนรักปะการังเพิ่มขึ้นมาอีกร้อยล้านเปอร์เซ็นเลยใช่มั้ยล่ะคะ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ค่ะ สิ่งที่เราจะมาบอกกันในวันนี้ คือ อะไรที่เป็นสาเหตและทำให้ปะการังที่แสนดีนี้ ฟอกขาว ลดลง หรือแม้แต่ใกล้จะสูญพันธ์
ถ้าพูดถึงปะการัง หลายคนคงจะรู้แล้วว่า ปะการังมีปะโยชน์ยังไงทำไมเราต้องอนุรักษ์ แต่หลายๆคนก็ยังไม่รู้ใช่มั้ยคะว่า อะไรถึงทำให้ปะการังประสบปัญหาต่างๆมากมายอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปะการังฟอกขาว ปะการังมีจำนวนลดน้อยลง ปะการังตาย หรือแม้แต่ปะการังใกล้จะสูญพันธุ์ ทั้งๆที่ก็มีการอนุรักษ์ปะการังอยู่ตลอดเวลา มีโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปะการังมากมาย เช่นการปลูกต้นอ่อนปะการัง ออกกฏหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปะการัง แต่ทำไมปะการังถึงยังประสบปัญหาต่างๆอยู่ในขณะนี้ เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และจะพาทุกคนไปตามล่าฆาตกรเงียบ ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตที่ทำลายปะการังค่ะ

อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นว่าเราจะมาหาฆาตกรเงียบกัน ว่าฆาตกรเงีบบที่ฆ่าปะการังคืออะไร และเราก็ได้ข้อสรุปว่า ฆาตกรเงียบที่ว่านี้ มันคือ ครีมกันแดด ค่ะ หลายคนอาจจะยังไม่เชื่อนะคะ ว่าครีมกันที่พวกเราใช้กันอยู่ตอนนี้ อาจจะมีส่วนทำร้าย หรือพูดได้ว่าเป็นฆาตกรเงียบที่ฆ่า เจ้าปะกังรังแสนดี อยู่ตอนนี้ก็ได้ เพราะทุกคนอาจจะคิดว่า "บ้าหรอ ฉันทาครีมกันแดดที่ตัวฉันนะ ฉันไม่ได้ทาที่ปะการังซะหน่อย ปะการังจะตาได้ยังไง มั่วรึเปล่า" แต่จริงๆแล้ว ครีมกันแดดมีส่วนที่ทำให้ปะการังฟอกขาวหรือตายได้ค่ะ เราได้ไปสัมภาษณ์คุณเพชร มโนปวิตร เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณเพชรได้ให้คำตอบไว้ดังนี้ค่ะ คิดว่าครีมกันแดดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งเป็นผลกระทบที่มาพร้อมกับกิจกรรมการท่องเที่ยว จากงานวิจัยหลายชิ้นในระยะหลังพิสูจน์ว่าสารเคมีบางตัวมีอันตรายต่อปะการังจริงๆ รวมไปถึงสัตว์กลุ่มอื่นๆด้วยเช่น ปลา หรือแม้แต่การตกค้างในคน ได้ฟังอย่างนี้แล้ว ถึงกับตกใจกันเลยที่เดียวนะคะ แต่บางคนก็ยังสงสัยอีกว่า "มันจะทำร้ายได้มากขนาดนั้นเลยหรอ ก็แค่ครีมกันแดดเอง" คุณเพชรก็ได้ให้คำตอบไว้ในส่วนนี้ว่า มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่คิดว่าไม่น่าจะมีผลมาก และคิดว่ามีข้อมูลผลกระทบในสภาพธรรมชาติค่อนข้างน้อย แต่ส่วนตัวคิดว่าพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมีความเสี่ยงสูง เพราะปริมาณครีมกันแดดสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่อ่าวที่การไหลเวียนของน้ำไม่ค่อยดี ปริมาณนักท่องเที่ยวเป็นพันๆคนย่อมมีผลแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงคิดว่าควรจะใช้มาตรการป้องกันไว้ก่อน (Precaultionary approach) จะดีกว่า "แล้วถ้าส่งผลเสียจะส่งผลเสียยังไง" มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าสารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลง เพราะสารคมีเหล่านั้นฆ่าปะการังวัยอ่อน ทำลาย DNA จนปะการังไม่ขยายพันธุ์ และยังทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวอีกด้วย นั่นหมายความว่า เราทุกคนที่ใช้ครีมกันแดดยามเที่ยวทะเลมีส่วนทำร้ายปะการัง
สารเคมีสี่ชนิดที่นักวิจัยพบว่ามีส่วนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมลงได้ เพราะฆ่าตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์ และทำให้เกิดปะการังฟอกขาว คือ 1) Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) 2) Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 3) 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ 4) Butylparaben ตัวสุดท้ายเป็นวัตถุกันเสียที่ทำให้ปะการังฟอกขาว นอกจานี้ยังรวมถึงสารเคมีอื่นๆ ดังต่อไปนี้ด้วย เช่น Octocrylene, Butyl Paraben, Methyl Paraben, Ethyl Paraben, Propyl Paraben, Butyl Paraben, Benzyl Paraben และ Triclosan
ตัวที่ร้ายที่สุดคงจะเป็น Oxybenzone หรือ BP3 และ Octinoxate เพราะรบกวนระบบสืบพันธุ์ ทำให้ตัวอ่อนปะการังโตแบบผิดรูป หรือไม่ก็พิการและตายไปเลย Oxybenzone เป็นส่วนผสมที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดกว่า 3500 ยี่ห้อทั่วโลก
นักวิจัยประมาณว่าทุกปีมีครีมกันแดดมากถึง 14,000 ตัน ที่นักท่องเที่ยวใช้ถูกชะล้างลงสู่แนวปะการังในทะเล นอกจากนี้ยังมีครีมและเครื่องสำอางเป็นจำนวนมากปนเปื้อนออกมากับท่อระบายน้ำหลังจากเราชำระล้างร่างกาย
ความเข้มข้นของ Oxybenzone ตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในปัจจุบันสูงกว่าระดับปลอดภัยไปหลายพันเท่า และกำลังส่งผลร้ายแรงต่อแนวปะการังดังกล่าวในระยะยาว
คาดกันว่าอาจมีปะการังมากถึง 1 ใน10 ของโลกที่กำลังถูกคุกคามด้วยสารเคมีเหล่านี้ เพราะแนวปะการังส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสำคัญที่มีกิจกรรมของมนุษย์ พอได้ฟังแบบนี้ก็รู้แล้วใช่มั้ยคะว่าครีมกันแดดที่เราใช้ ทำร้ายปะการังจริงๆแถมยังมีผลกระทบทั้งในคนและสัตว์อีกด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีวิธีป้องกันนะคะ เราทุกคนมีส่วนช่วยในการลดปัญหานี้ได้ค่ะ
ถึงแม้ครีมกันแดดอาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักหรือสาเหตุหลักที่เป็นปัญหาปัญหาต่อปะการัง แต่ครีมกันแดดก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะไม่มีส่วนช่วยในเรื่องนี้นะคะ ในฐานะที่เราเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภค เราควรตระหนักถึง หลีกเลี่ยง ครีมกันแดดที่มีสารอันตรายข้างต้น แต่เนื่องจากครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการังยังไม่มีมาตรฐานออกมากำกับ ผู้บริโภคจึงอาจจำเป็นต้องพิจารณาสารประกอบต่างๆ ด้วยตนเอง บางยี่ห้ออ้างว่าเป็นครีมกันแดดแบบ Reef-safe แต่อาจจะไม่ได้มีแค่สาร Oxybenzone แค่ตัวเดียว แต่ยังมีสารประกอบอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นอาจจะต้องดูในรายละเอียดสารตัวอื่นๆด้วย
ในฐานะนักท่องเที่ยว เราควรพยายามลดผลกระทบจากกิจกรรมของเราให้มากที่สุด ในกรณีของครีมกันแดด ปัจจุบันมีครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการังออกมาหลายแบบ เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบน้อยกว่าเป็นทางเลือกที่นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการควรคำนึง
Catching a Coral Killers ใครกันนะที่ฆ่าปะการัง?
ประเด็นแรก นักวิทยาศาสตร์ชอบเปรียบเทียบว่าปะการังเหมือนป่าเขตร้อนเพราะมันเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดในทะเล พื้นที่แนวปะการังเล็กมากเมื่อเทียบกับมหาสมุทร แต่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตถึง 1 ใน 4 ของทะเลทั้งหมด โครงสร้างเป็น 3 มิติ ซับซ้อน มีที่หลบซ่อนที่อยู่อาศัยค่อนข้างเยอะ เมื่อปะการังตาย โครงสร้าง 3 มิติจะพังทลายเป็นพื้นที่ราบ สิ่งมีชีวิตจะสูญเสียที่อยู่ แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมันเป็นเหมือนป่าเศรษฐกิจที่เราใช้ทำมาหากินด้วย
ประเด็นที่สอง ปะการังเหมือนปราการใต้ท้องทะเล งานวิจัยระยะหลังเริ่มชี้ชัดว่ามันช่วยชะลอคลื่น พื้นที่ที่ปะการังเสื่อมโทรมมีอัตราการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้น นี่เป็นหนึ่งในปัญหารุนแรงที่สุดที่รัฐบาลต้องลงทุนแก้ไข การแก้ปัญหาที่คิดเชิงวิศวกรรมอย่างเดียวเช่นสร้างกำแพงกั้นคลื่น จะยิ่งตัดขาดวงจรสมดุลของทราย พอคลื่นมาปะทะและสะท้อนกลับไปแรงขึ้น ก็ยิ่งเอาทรายออกไปเร็วขึ้น เกิดการกัดเซาะที่แก้ไม่จบ
ประเด็นที่สาม มหาสมุทรดูดซับความร้อนที่เกิดขึ้นจากโลกตั้ง 90 เปอร์เซ็นต์ ปะการังเป็น carbon sink หรือตัวดูดซับคาร์บอนประเภทหนึ่ง การอยู่และเติบโตของปะการังช่วยกักเก็บคาร์บอนไว้ในระบบนิเวศ นี่เป็นการทำงานที่เราได้มาฟรีๆ และไม่ค่อยคำนึงว่ามีมูลค่าแค่ไหน ยังไม่พูดถึงการท่องเที่ยวซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลักโดยเฉพาะบ้านเรา
เห็นมั้ยคะว่าปะการังมีประโยชน์ต่อโลกนี้ยังไง ทำไมเราถึงต้องช่วยกันดูแลรักษา เห็นอย่างนี้แล้ว ทำให้ทุกคนรักปะการังเพิ่มขึ้นมาอีกร้อยล้านเปอร์เซ็นเลยใช่มั้ยล่ะคะ แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่เราจะมาพูดคุยกันในวันนี้ค่ะ สิ่งที่เราจะมาบอกกันในวันนี้ คือ อะไรที่เป็นสาเหตและทำให้ปะการังที่แสนดีนี้ ฟอกขาว ลดลง หรือแม้แต่ใกล้จะสูญพันธ์
ถ้าพูดถึงปะการัง หลายคนคงจะรู้แล้วว่า ปะการังมีปะโยชน์ยังไงทำไมเราต้องอนุรักษ์ แต่หลายๆคนก็ยังไม่รู้ใช่มั้ยคะว่า อะไรถึงทำให้ปะการังประสบปัญหาต่างๆมากมายอยู่ในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปะการังฟอกขาว ปะการังมีจำนวนลดน้อยลง ปะการังตาย หรือแม้แต่ปะการังใกล้จะสูญพันธุ์ ทั้งๆที่ก็มีการอนุรักษ์ปะการังอยู่ตลอดเวลา มีโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปะการังมากมาย เช่นการปลูกต้นอ่อนปะการัง ออกกฏหมายเกี่ยวกับการอนุรักษ์ปะการัง แต่ทำไมปะการังถึงยังประสบปัญหาต่างๆอยู่ในขณะนี้ เราจะพาทุกคนมาไขข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้ และจะพาทุกคนไปตามล่าฆาตกรเงียบ ที่เป็นอีกหนึ่งสาเหตที่ทำลายปะการังค่ะ
อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นว่าเราจะมาหาฆาตกรเงียบกัน ว่าฆาตกรเงีบบที่ฆ่าปะการังคืออะไร และเราก็ได้ข้อสรุปว่า ฆาตกรเงียบที่ว่านี้ มันคือ ครีมกันแดด ค่ะ หลายคนอาจจะยังไม่เชื่อนะคะ ว่าครีมกันที่พวกเราใช้กันอยู่ตอนนี้ อาจจะมีส่วนทำร้าย หรือพูดได้ว่าเป็นฆาตกรเงียบที่ฆ่า เจ้าปะกังรังแสนดี อยู่ตอนนี้ก็ได้ เพราะทุกคนอาจจะคิดว่า "บ้าหรอ ฉันทาครีมกันแดดที่ตัวฉันนะ ฉันไม่ได้ทาที่ปะการังซะหน่อย ปะการังจะตาได้ยังไง มั่วรึเปล่า" แต่จริงๆแล้ว ครีมกันแดดมีส่วนที่ทำให้ปะการังฟอกขาวหรือตายได้ค่ะ เราได้ไปสัมภาษณ์คุณเพชร มโนปวิตร เกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณเพชรได้ให้คำตอบไว้ดังนี้ค่ะ คิดว่าครีมกันแดดเป็นอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งเป็นผลกระทบที่มาพร้อมกับกิจกรรมการท่องเที่ยว จากงานวิจัยหลายชิ้นในระยะหลังพิสูจน์ว่าสารเคมีบางตัวมีอันตรายต่อปะการังจริงๆ รวมไปถึงสัตว์กลุ่มอื่นๆด้วยเช่น ปลา หรือแม้แต่การตกค้างในคน ได้ฟังอย่างนี้แล้ว ถึงกับตกใจกันเลยที่เดียวนะคะ แต่บางคนก็ยังสงสัยอีกว่า "มันจะทำร้ายได้มากขนาดนั้นเลยหรอ ก็แค่ครีมกันแดดเอง" คุณเพชรก็ได้ให้คำตอบไว้ในส่วนนี้ว่า มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งที่คิดว่าไม่น่าจะมีผลมาก และคิดว่ามีข้อมูลผลกระทบในสภาพธรรมชาติค่อนข้างน้อย แต่ส่วนตัวคิดว่าพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมีความเสี่ยงสูง เพราะปริมาณครีมกันแดดสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่อ่าวที่การไหลเวียนของน้ำไม่ค่อยดี ปริมาณนักท่องเที่ยวเป็นพันๆคนย่อมมีผลแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงคิดว่าควรจะใช้มาตรการป้องกันไว้ก่อน (Precaultionary approach) จะดีกว่า "แล้วถ้าส่งผลเสียจะส่งผลเสียยังไง" มีงานวิจัยที่ยืนยันว่าสารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรมลง เพราะสารคมีเหล่านั้นฆ่าปะการังวัยอ่อน ทำลาย DNA จนปะการังไม่ขยายพันธุ์ และยังทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวอีกด้วย นั่นหมายความว่า เราทุกคนที่ใช้ครีมกันแดดยามเที่ยวทะเลมีส่วนทำร้ายปะการัง
สารเคมีสี่ชนิดที่นักวิจัยพบว่ามีส่วนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมลงได้ เพราะฆ่าตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์ และทำให้เกิดปะการังฟอกขาว คือ 1) Oxybenzone (Benzophenone-3, BP-3) 2) Octinoxate (Ethylhexyl methoxycinnamate) 3) 4-Methylbenzylid Camphor (4MBC) และ 4) Butylparaben ตัวสุดท้ายเป็นวัตถุกันเสียที่ทำให้ปะการังฟอกขาว นอกจานี้ยังรวมถึงสารเคมีอื่นๆ ดังต่อไปนี้ด้วย เช่น Octocrylene, Butyl Paraben, Methyl Paraben, Ethyl Paraben, Propyl Paraben, Butyl Paraben, Benzyl Paraben และ Triclosan
ตัวที่ร้ายที่สุดคงจะเป็น Oxybenzone หรือ BP3 และ Octinoxate เพราะรบกวนระบบสืบพันธุ์ ทำให้ตัวอ่อนปะการังโตแบบผิดรูป หรือไม่ก็พิการและตายไปเลย Oxybenzone เป็นส่วนผสมที่ใช้อย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดกว่า 3500 ยี่ห้อทั่วโลก
นักวิจัยประมาณว่าทุกปีมีครีมกันแดดมากถึง 14,000 ตัน ที่นักท่องเที่ยวใช้ถูกชะล้างลงสู่แนวปะการังในทะเล นอกจากนี้ยังมีครีมและเครื่องสำอางเป็นจำนวนมากปนเปื้อนออกมากับท่อระบายน้ำหลังจากเราชำระล้างร่างกาย
ความเข้มข้นของ Oxybenzone ตามแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในปัจจุบันสูงกว่าระดับปลอดภัยไปหลายพันเท่า และกำลังส่งผลร้ายแรงต่อแนวปะการังดังกล่าวในระยะยาว
คาดกันว่าอาจมีปะการังมากถึง 1 ใน10 ของโลกที่กำลังถูกคุกคามด้วยสารเคมีเหล่านี้ เพราะแนวปะการังส่วนใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลสำคัญที่มีกิจกรรมของมนุษย์ พอได้ฟังแบบนี้ก็รู้แล้วใช่มั้ยคะว่าครีมกันแดดที่เราใช้ ทำร้ายปะการังจริงๆแถมยังมีผลกระทบทั้งในคนและสัตว์อีกด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีวิธีป้องกันนะคะ เราทุกคนมีส่วนช่วยในการลดปัญหานี้ได้ค่ะ
ถึงแม้ครีมกันแดดอาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักหรือสาเหตุหลักที่เป็นปัญหาปัญหาต่อปะการัง แต่ครีมกันแดดก็ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะไม่มีส่วนช่วยในเรื่องนี้นะคะ ในฐานะที่เราเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้บริโภค เราควรตระหนักถึง หลีกเลี่ยง ครีมกันแดดที่มีสารอันตรายข้างต้น แต่เนื่องจากครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการังยังไม่มีมาตรฐานออกมากำกับ ผู้บริโภคจึงอาจจำเป็นต้องพิจารณาสารประกอบต่างๆ ด้วยตนเอง บางยี่ห้ออ้างว่าเป็นครีมกันแดดแบบ Reef-safe แต่อาจจะไม่ได้มีแค่สาร Oxybenzone แค่ตัวเดียว แต่ยังมีสารประกอบอื่นๆ ร่วมอยู่ด้วย เพราะฉะนั้นอาจจะต้องดูในรายละเอียดสารตัวอื่นๆด้วย
ในฐานะนักท่องเที่ยว เราควรพยายามลดผลกระทบจากกิจกรรมของเราให้มากที่สุด ในกรณีของครีมกันแดด ปัจจุบันมีครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการังออกมาหลายแบบ เพราะฉะนั้นการปรับเปลี่ยนไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่สร้างผลกระทบน้อยกว่าเป็นทางเลือกที่นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการควรคำนึง