พฤติกรรมเฉพาะตัวของสัตว์โลกที่น่าทึ่ง

นกปกป้องรังตัวเองด้วยการตั้งรหัสผ่าน


(นก Superb fairy wren ที่มา wikipedia)
 
เหมือนกับที่คุณต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของตัวเองด้วยการตั้งรหัสผ่านในเครื่องคอมพิวเตอร์ นกพันธุ์ Superb fairy wren ในประเทศออสเตรเลียก็มีการตั้งรหัสผ่านเพื่อปกป้องรังของมันจากผู้บุกรุกเช่นกัน แต่นกเหล่านี้ตั้งรหัสผ่านไปเพื่อให้แน่ใจว่า ลูกนกน้อยในรังของมันเป็นลูกของตัวเองจริงๆ ไม่ใช่ลูกของนกขี้โกงที่แอบมาไข่ทิ้งไว้

จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Biology เมื่อไม่นานมานี้พบว่า แม่นกชนิดนี้จะร้องเพลงๆ หนึ่งให้ไข่ในรังฟังก่อนที่ไข่จะฟักตัวประมาณหนึ่งสัปดาห์ หลังจากนั้น เมื่อลูกนกฟักออกมาแล้ว พวกมันจะต้องร้องเพลงนี้ให้แม่ของมันทุกครั้งจึงจะได้รับอาหาร แต่ถ้ามันร้องเพลงไม่ถูกแม่นกก็จะทิ้งรังไปแล้วปล่อยให้ลูกนกตายลง สาเหตุที่ต้องทำแบบนี้ก็เพราะนก Fairy wrens มักจะตกเป็นเหยื่อของนก Bronze cuckoo ซึ่งจะมาแอบวางไข่ในรังเพื่อให้เลี้ยงลูกแทนให้ ซึ่งลูกนกเหล่านี้นอกจากจะแย่งอาหารลูกนกตัวอื่นแล้ว ยังมีนิสัยเสียชอบเตะลูกนกตัวอื่นตกจากรังอีกด้วย

นักวิทยาศาสตร์สรุปว่า นก Fairy wrens นั้นวิวัฒนาการการจดจำรหัสผ่านโดยใช้เสียง เพื่อใช้ในการแยกลูกของตัวเองออกจากลูกนก Bronze cuckoo ถึงแม้ว่าลูกนกทั้งสองชนิดจะมีลักษณะ หน้าตาไม่เหมือนกันเลยสักนิดก็ตาม แต่ก็อย่างว่าคือ นกชนิดนี้เองก็ไม่ได้ฉลาดขนาดจะแยกแยะลูกนกด้วยการดูจากลักษณะได้

อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติแล้วลูกนก Bronze cuckoo จะพยายามทำการเลียนเสียงร้องเพลงขออาหารจากลูกนกจริงๆ แต่โดยส่วนมากแล้วพวกมันจะทำไม่สำเร็จ เนื่องจากเพลงที่ใช้เป็นรหัสผ่านนี้มีความซับซ้อนมาก อีกทั้งแต่ละรังก็จะใช้เพลงไม่เหมือนกันอีกด้วย นั่นก็หมายความว่า ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้รหัสผ่านเดิมทุกๆ ครั้งที่ลงทะเบียนใช้อะไรสักอย่างออนไลน์ แปลว่าคุณมีระบบความปลอดภัยน้อยกว่านกเสียอีก
Cr.board.postjung.com/

ปลวกมีการรณรงค์หาเสียง


(ที่มาภาพ animalpictures123)
 
มนุษย์เราน่าจะเป็นสัตว์สายพันธุ์เดียวที่มีการหาเสียงทางการเมือง ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงความเป็นใหญ่  อย่างไรก็ตาม มีสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งที่มีพฤติกรรมแบบนี้ นั่นคือ ปลวกพันธุ์ที่มีชื่อว่า Cryptotermes secundus ซึ่งมีการหาเสียงเพื่อให้ได้ตำแหน่งราชินี

ปลวกพันธุ์นี้มักอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก คือ 50-100 ตัวเท่านั้น ทำให้ปลวกทุกๆ ตัวมีโอกาสที่อาจจะได้เป็นราชินี อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลา จะมีปลวกประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกายเพื่อให้เหมาะแก่การเป็นผู้นำ 
หลังจากนั้นก็จะเป็นการชิงตำแหน่งแบบสัตว์ทั่วๆ ไป คือ มีการต่อสู้กันและตัวที่แพ้ก็จะถูกปลวกตัวอื่นๆ กิน ที่แปลกคือหลังจากการต่อสู้ห้ำหั่นกันจบลงแล้ว ปลวกผู้ลงสมัครที่เหลือรอดอยู่ก็จะทำการหาเสียงกันต่อไป

ปลวกผู้ลงสมัครจะเปลี่ยนจากปลวกดุร้ายกลายเป็นปลวกเข้าสังคมแทน มันจะใช้เวลาทั้งวันในการเดินไปทั่วแล้วใช้หนวดแตะปลวกงานตัวอื่นๆ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกันมากขึ้น นอกจากนั้น บางครั้งยังมีการแจกอาหารให้แก่ปลวกงาน (ซึ่งอาหารที่ว่านี้คือของเหลวที่ผลิตออกมาจากก้นของมันเอง) หลังจากนั้น ปลวกที่ได้รับการยอมรับจากปลวกงานก็จะได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นราชินีของอาณาจักร ซึ่งกระบวนการทั้งหมดทั้งมวลนี้กินเวลาอย่างมากแค่ 11 วันเท่านั้น
Cr.board.postjung.com/

นกพิราบชอบการพนัน


นักจิตวิทยา Thomas Zentall จากมหาวิทยาลัย Kentucky ได้ทำการทดลองเพื่อค้นหาว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตจึงเลือกที่จะมุ่งเป้าไปยังการชนะที่เกิดขึ้นได้น้อยมากๆ โดยไม่สนใจว่าจะต้องสูญเสียไปมากแค่ไหน
 ในการทดลองนี้ จะมีไฟให้นกพิราบเลือกจิกอยู่สองฝั่ง ฝั่งหนึ่งคือฝั่งไฟ “ปลอดภัย” คือ ไม่ว่าจะได้ไฟสีอะไร นกก็จะได้รับอาหาร 3 เม็ด ในขณะที่อีกฝั่งจะสุ่มระหว่างไฟสีแดงและสีเขียว ไฟสีเขียวมีโอกาสปรากฎออกมา 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งนกจะไม่ได้รับอาหารอะไรเลย 

แต่ถ้าไฟออกมาเป็นสีแดงซึ่งมีโอกาสอยู่ 20 เปอร์เซ็นต์ นกจะได้รับรางวัลใหญ่เป็นอาหาร 10 เม็ด ซึ่งหมายความว่าในระยะยาวแล้ว ถ้านกเลือกที่จะกดแต่ฝั่งไฟ “ปลอดภัย” มันก็จะได้รับอาหารทุกครั้ง ในขณะที่ถ้ามันเลือกจะเสี่ยงแล้ว ไม่ว่าอย่างไรถึงจะได้รางวัลใหญ่บ้างตามสถิติมันก็จะได้อาหารน้อยกว่าอยู่ดี
หลังจากการทดลองไปนับครั้งไม่ถ้วนพบว่า นกพิราบเลือกที่จะเสี่ยงพนันถึง 82 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่สนใจว่ามันจะได้อาหารน้อยกว่าการเลือกข้างที่ปลอดภัย ซึ่งนายแพทย์ Zentall เองก็บอกไว้ว่า นกพิราบยอมที่จะได้รับอาหารน้อยกว่าเพื่อเสี่ยงกับการถูกรางวัลใหญ่โดยไม่ได้คาดหมาย
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปรับการทดลองให้ไม่ว่าจะเป็นไฟสีเขียวหรือไฟสีแดง ก็มีโอกาส 20 เปอร์เซนต์ที่จะให้อาหาร 10 เม็ดเท่าๆ กัน นกพิราบก็จะหันมาเลือกไฟ “ปลอดภัย” อย่างเดียวแทน
Cr.board.postjung.com/
 

ลูกสุนัขยอมให้ตัวเมียชนะในการเล่นเกม


นายแพทย์ P. Anka เรียกว่า อาการเหล่านี้ว่า “Puppy love”ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้บ่อยๆ ของลูกสุนัข
จากการศึกษาแสดงว่า เวลาที่เล่นต่อสู้กัน ลูกสุนัขตัวผู้จะปฎิบัติกับลูกสุนัขตัวเมียต่างออกไป มีการเผยจุดอ่อนเช่น คอ และยอมให้คู่ต่อสู้ (ที่เป็นตัวเมีย) กัดได้ ซึ่งสำหรับสุนัขแล้วนี่คือการยอมให้อีกฝ่ายชนะ ทั้งๆ ที่มีการบันทึกไว้ว่า ลูกสุนัขตัวผู้เกือบทั้งหมดจะมีร่างกายที่แข็งแรงกว่ามาก แต่เมื่อสู้กับตัวเมียกลับอ่อนปวกเปียกเสียอย่างนั้น ในขณะที่ถ้าเป็นการต่อสู้กับตัวผู้ด้วยกัน ทั้งสองฝ่ายกลับโจมตีกันอย่างจริงจังโดยไม่แสดงความปราณีเลย

Camille Ward จากมหาวิทยาลัย Michigan กล่าวไว้ว่า สาเหตุที่ลูกสุนัขยอมแพ้ให้กับตัวเมีย ก็เพื่อให้ตัวเองกลายเป็นที่รักใคร่ ซึ่งนำไปสู่การเล่นกันต่อไปอีกเป็นเวลานาน 
ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะปกติแล้วธรรมชาติมักจะสร้างให้ตัวผู้ที่โตเต็มวัยแสดงพฤติกรรมข่มตัวเมีย หรือพยายามผสมพันธุ์ให้ได้มากที่สุด (สร้างฮาเร็ม) แต่กับลูกสุนัขกลับแสดงพฤติกรรมตรงกันข้ามเสียอย่างนั้น
Cr.board.postjung.com/

นากทะเลใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตนเอง


นากทะเลป่า มักทุบหอยแมลงภู่ด้วยการกระแทกกับหินจนติดเป็นนิสัย ทำให้พวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์เพียงไม่กี่ตัวที่ใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ เพื่อช่วยเหลือตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมของนากทะเลทางตอนใต้ของชายฝั่งแคลิฟอร์เนียและวิเคราะห์การสึกหรอของหินและเปลือกหอยบริเวณใกล้เคียงนั้น นักวิจัยจึงสามารถค้นพบข้อสรุปอันน่าประหลาดใจได้
ยกตัวอย่างเช่น รอยแตกอันเด่นชัดบริเวณด้านข้างของหอยแมลงภู่แสดงให้เห็นว่านากส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้ใช้มือขวาของพวกมันในการทุบ เป็นเวลาหลายทศวรรษที่นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่า มีเพียงแค่โฮมินิดและมนุษย์เท่านั้นที่ใช้มือสร้างประโยชน์ แต่ต่อมาทั้งจิงโจ้ ปลาวาฬสีน้ำเงิน และนากทะเล ต่างมีความถนัดในการใช้มือข้างใดข้างหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันนี้ โบราณคดีที่ศึกษาเรื่องสัตว์ได้แยกย่อยออกมาศึกษาเรื่องสภาพแวดล้อมทางทะเล ซึ่งมันอาจนำไปสู่การค้นพบที่คล้ายคลึงกันเกี่ยวกับสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในน้ำตัวอื่นๆ โดยมีสัตว์ทะเลเพียงไม่กี่ชนิดที่ถูกค้นพบว่าใช้เครื่องมือในการสร้างประโยชน์ เช่น ปลาโลมาที่ใช้ฟองน้ำเป็นอุปกรณ์ป้องกันจะงอยปากขณะล่าปลาในปะการัง และอาจใช้เป็นสัญลักษณ์เพื่อแสดงความรักอีกด้วย เช่นเดียวกับนากทะเล เม่นทะเล หรือแม้แต่เต่าทะเลตัวน้อยที่พร้อมโจมตีหินซึ่งเป็นสิ่งที่พวกมันโปรดปราน
Cr.ngthai.com/

หนูนาได้รับแรงกดดันจากเพื่อนให้ดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น


(Prairie vole ที่มาภาพ mnn)
 
 หนูนาที่อาศัยอยู่ในแถบอเมริกาตอนเหนือซึ่งมีชื่อว่า Prairie vole เหล่านี้ก็มีความลับน่าอับอายเหมือนกับมนุษย์อย่างเรา นั่นคือ การที่สายพันธุ์ของพวกมันเป็นพวกรักการดื่มจนถึงขั้นติดแอลกอฮอล์นั่นเอง ซึ่งเป็นโชคร้ายของหนูทั้งหลายที่เกิดมาแต่เป็นโชคดีของพวกนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการศึกษาเรื่องธรรมชาติของการได้รับแรงกดดันจากเพื่อนหรือคนรอบข้าง และพฤติกรรมการดื่มเพื่อเข้าสังคม

จากการทดลองโดยมหาวิทยาลัย Oregon Health & Science และศูนย์การแพทย์ Portland Veterans Affairs Medical Center ได้มีการนำหนูนาขังไว้ในกรงพร้อมกับขวด 2 ใบ ใบหนึ่งใส่น้ำเปล่าธรรมดา และอีกใบคือเหล้าดีกรี 6 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็ทำการสังเกตและพบว่า ถ้าหนูพวกนี้ถูกขังไว้ตัวเดียวมันจะเลือกกินน้ำเปล่าในปริมาณที่พอๆ เหล้า อย่างไรก็ตาม ถ้าจับหนูไปขังไว้กับหนูตัวอื่นๆ พฤติกรรมพวกมันจะเปลี่ยนไปเป็นหนูขี้เหล้าในทันที โดยมันจะเลือกกินเหล้ามากกว่าน้ำถึง 80 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนั้น ยังพบว่าหนูที่ถูกขังไว้จะพยายามดื่มเหล้าให้ได้ปริมาณเท่าๆ กับหนูอีกตัวที่ถูกขังไว้ด้วยกัน เหมือนกับว่าจะเป็นการเสียชื่อถ้าดื่มได้น้อยกว่า ซึ่งก็เป็นแบบเดียวกับพฤติกรรมมนุษย์เวลาไปปาร์ตี้กับเพื่อนฝูงแล้วแข่งกันดื่มนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ก็มีความสงสัยว่าเหตุการณ์นี้อาจจะเป็นแค่ความบังเอิญ หรือไม่ก็หนูพวกนี้อาจจะแค่เลือกกินตามเพื่อนมันโดยไม่จำเป็นว่าต้องเป็นแอลกอฮอล์อย่างเดียวก็ได้ นักวิทยาศาสตร์เองก็เลยทำการทดลองอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคราวนี้แทนที่จะเป็นขวดบรรจุเหล้า ก็เป็นขวดบรรจุนำหวานแทน (ซึ่งเป็นของกินที่หนูชอบมาก) ซึ่งผลก็ปรากฏว่า หนูเลือกกินน้ำหวานมากกว่าน้ำธรรมดาก็จริง แต่พฤติกรรมการพยายามดื่มเพื่อให้ได้ปริมาณเท่ากับเพื่อนร่วมกรงของมันหายไปเลย 
Cr.board.postjung.com/
 
 

ฝังเขี้ยวดีกว่าชักใย



แมงมุมชนิดนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Thomisus Labefactus KARSCH ๑๘๘๑)..เป็นตัวห้ำ(Predator) ที่ช่วยในการกำจัดแมลงศัตรูพืชบางชนิดให้กับเกษตรกร เช่น แมลงวันทอง แมลงเม่า ตั๊กแตน ผีเสื้อหนอนมะนาว เพลี้ยกระโดด ฯ  สายพันธุ์ที่พบบริเวณ” เขาลับงา “ จะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแมงมุมปู สายพันธุ์จีน.....
จุดที่แตกต่าง เห็นได้ชัดก็คือ กระดอง ซึ่งอยู่ส่วนบนของลำตัว(Cephalothorex) ที่เรียกว่า “ Carapace” จะมีรูปร่างคล้ายกรวยก้นมนโค้ง มีจุดสีน้ำตาลปนเขียวแต่งแต้มเปรอะข้างลำตัวและมีรอยเปื้อนสีเขียวอ่อนคล้ายข้าวเม่า อยู่ด้านบนของท้อง(Opisthosoma) จำนวน ๖ จุด 

ส่วนสายพันธุ์จีน ด้านบนลำตัว จะเป็นรูปตัววี(V) มีแถบปื้นสีน้ำตาลพาดสองฟากข้างลำตัว ด้านบนส่วนของท้อง จะมีสีเขียว..      แมงมุมปูชนิดนี้ เมื่อยังโตไม่เต็มที่ หากดูผิวเผิน จะคล้ายแมงมุมปูขาว(White Crab Spider: Thomisus Spectabilis) มาก ..เมื่อโตเต็มที่ ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ หลายเท่า.. 
แมงมุมปู(Flower Crab Spider) ได้ซ่อนตัวใต้ฐานกลีบดอกไม้รอผึ้งและผีเสื้อ ที่ถูกหลอนให้หลงระเริงในความงามและความหวาน .มาเป็นอาหารอันโอชะ..ด้วยความสงบ/อดทน.. . ในที่สุด ก็มีผึ้งหลวงวัยฉกรรจ์..บินเข้ามาให้คมเขึ้ยวฝังแทรกซอกคอ .เป็นอาหารมื้อเที่ยง..เข้าจนได้
                     
แมงมุมปูเขตเขาลับงา พบว่า..จะวางไข่ ราวช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือประมาณปลายกันยายน-ตุลาคม และเจริญเติบโตเต็มวัย ราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปีถัดไป ...แมงมุมปูวัยเด็ก-วัยรุ่นเหล่านี้ จึงเป็นประชากรที่ต้องพบพานกับอุปสรรค..การขาดแคลนอาหาร ในช่วงฤดูหนาวและฤดูแล้ง อย่างแสนสาหัส..
Cr.gotoknow.o
แก้ไขข้อความเมื่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่