คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
พระพักตร์พระมหากษัตริย์ก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ส่วนใหญ่เป็นจินตนาการทั้งนั้นครับ เพราะแทบไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงพระพักตร์ของพระเจ้าแผ่นดินเลย นอกจากสมเด็จพระนารายณ์
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำลองพระพักตร์มาจากเศียรพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองครับ
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่อุทยานราชภักดิ์ เข้าในว่าอ้างอิงจากบันทึกของเชอวาลิเยร์ เดอ ฟอร์แบ็ง (Chevalier de Forbin) นายทหารฝรั่งเศสที่เคยเข้าเฝ้า บรรยายว่า "พระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์นี้ทรงมีพระชนม์ราวห้าสิบพรรษา ซูบพระองค์มาก พระสรีระรูปแบบบาง ไม่ทรงไว้พระทาฐิกะ (เครา) ที่เบื้องซ้ายพระหนุ (คาง) มีพระคินถิ (ไฝ) เมล็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมา (ขน) สองเส้นห้องลงมายาว" โดยพระพักตร์พระบรมราชานุสาวรีย์องค์นี้ มีไฝอยู่ที่คางด้านซ้ายเช่นเดียวกันครับ
พระพักตร์ของพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้ากรุงธนบุรีที่วงเวียนใหญ่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ออกแบบใช้ใบหน้าของ อ.ทวี นันทขว้าง และ อ.จำรัส เกียรติก้อง เป็นแบบครับ https://www.silpa-mag.com/history/article_9277
พระพักตร์พระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๓ เข้าใจว่าอ้างอิงจากพระบรมรูปในปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวังอีกต่อหนึ่งครับ
พระบรมรูปเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้อำนวยการ โดยปั้นรูปขึ้นตามคำให้การของบุคคลที่เคยเห็นพระพักตร์ของรัชกาลที่ ๑-๔ ซึ่งในเวลานั้นช่วยกันบอกช่างให้ปรับแก้ไป สำหรับรัชกาลที่ ๔ ไม่มีปัญหาเพราะมีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และรูปหล่อ รัชกาลที่ ๒ และ ๓ ในเวลานั้นก็ยังมีผู้ทันเห็นพระพักตร์อยู่มาก ส่วนรัชกาลที่ ๑ หาผู้ที่ทันเห็นได้เพียง ๔ ท่าน
อ้างอิงจาก ความทรงจำ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า
"การสร้างพระบรมรูป ๔ พระองค์นั้น โปรดฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ และเป็นช่างอย่างดีในพระองค์เองด้วย เป็นผู้อำนวยการ เมื่อปั้นหุ่นนั้นรู้พระลักษณะได้แน่แต่ขนาดพระองค์ว่าสูงเท่าใด เพราะมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อยู่เป็นหลัก แต่ส่วนพระรูปโฉมนั้นนอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมรูปปั้นอยู่แล้ว ต้องอาศัยไต่ถามผู้ที่ได้เคยเห็นพระองค์ให้บอกพระลักษณะและคอยติให้ช่างแก้ไขไปแต่แรกจนแล้ว ก็ในเวลานั้นผู้ที่เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอยู่มาก แต่ผู้เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาได้แต่ ๔ คน คือ พระองค์เจ้าหญิงปุก พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังองค์ ๑ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) คน ๑ กับเจ้าพระยาธรรมาฯ (ลมั่ง สนธิรัตน) คน ๑ ปั้นพระรูปสำเร็จได้หล่อเมื่อเดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วโปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในชั้นแรก"
ผมเคยอ่านเจอที่ไหนสักแห่งว่า กล่าวกันว่ารัชกาลที่ ๓ มีพระพักตร์คล้ายรัชกาลที่ ๑ แต่ทรงพีกว่า และรัชกาลที่ ๔ ทรงจำได้ว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระฉวีคล้ำมาก เข้าใจว่าตอนปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ คงใช้จากพระบรมรูปรัชกาลที่ ๓ เป็นแบบแล้วค่อยให้ผู้ที่เคยพบเห็นปรับแก้กันไปจนคิดว่าเหมือนที่สุดครับ
พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑

พระบรมรูปรัชกาลที่ ๒ กับ รัชกาลที่ ๔

พระบรมรูปรัชกาลที่ ๓
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำลองพระพักตร์มาจากเศียรพระพุทธรูปศิลปะอู่ทองครับ
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่อุทยานราชภักดิ์ เข้าในว่าอ้างอิงจากบันทึกของเชอวาลิเยร์ เดอ ฟอร์แบ็ง (Chevalier de Forbin) นายทหารฝรั่งเศสที่เคยเข้าเฝ้า บรรยายว่า "พระเจ้าแผ่นดินไทยพระองค์นี้ทรงมีพระชนม์ราวห้าสิบพรรษา ซูบพระองค์มาก พระสรีระรูปแบบบาง ไม่ทรงไว้พระทาฐิกะ (เครา) ที่เบื้องซ้ายพระหนุ (คาง) มีพระคินถิ (ไฝ) เมล็ดใหญ่ ซึ่งมีพระโลมา (ขน) สองเส้นห้องลงมายาว" โดยพระพักตร์พระบรมราชานุสาวรีย์องค์นี้ มีไฝอยู่ที่คางด้านซ้ายเช่นเดียวกันครับ
พระพักตร์ของพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้ากรุงธนบุรีที่วงเวียนใหญ่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ผู้ออกแบบใช้ใบหน้าของ อ.ทวี นันทขว้าง และ อ.จำรัส เกียรติก้อง เป็นแบบครับ https://www.silpa-mag.com/history/article_9277
พระพักตร์พระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑-๓ เข้าใจว่าอ้างอิงจากพระบรมรูปในปราสาทพระเทพบิดร ในพระบรมมหาราชวังอีกต่อหนึ่งครับ
พระบรมรูปเหล่านี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยมีพระองค์เจ้าประดิษฐวรการ อธิบดีกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้อำนวยการ โดยปั้นรูปขึ้นตามคำให้การของบุคคลที่เคยเห็นพระพักตร์ของรัชกาลที่ ๑-๔ ซึ่งในเวลานั้นช่วยกันบอกช่างให้ปรับแก้ไป สำหรับรัชกาลที่ ๔ ไม่มีปัญหาเพราะมีทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และรูปหล่อ รัชกาลที่ ๒ และ ๓ ในเวลานั้นก็ยังมีผู้ทันเห็นพระพักตร์อยู่มาก ส่วนรัชกาลที่ ๑ หาผู้ที่ทันเห็นได้เพียง ๔ ท่าน
อ้างอิงจาก ความทรงจำ พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ความว่า
"การสร้างพระบรมรูป ๔ พระองค์นั้น โปรดฯ ให้พระองค์เจ้าประดิษฐวรการอธิบดีกรมช่างสิบหมู่ และเป็นช่างอย่างดีในพระองค์เองด้วย เป็นผู้อำนวยการ เมื่อปั้นหุ่นนั้นรู้พระลักษณะได้แน่แต่ขนาดพระองค์ว่าสูงเท่าใด เพราะมีพระพุทธรูปฉลองพระองค์อยู่เป็นหลัก แต่ส่วนพระรูปโฉมนั้นนอกจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมรูปปั้นอยู่แล้ว ต้องอาศัยไต่ถามผู้ที่ได้เคยเห็นพระองค์ให้บอกพระลักษณะและคอยติให้ช่างแก้ไขไปแต่แรกจนแล้ว ก็ในเวลานั้นผู้ที่เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวยังมีอยู่มาก แต่ผู้เคยเห็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หาได้แต่ ๔ คน คือ พระองค์เจ้าหญิงปุก พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๒ พระองค์ ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังองค์ ๑ เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (บุญศรี) คน ๑ กับเจ้าพระยาธรรมาฯ (ลมั่ง สนธิรัตน) คน ๑ ปั้นพระรูปสำเร็จได้หล่อเมื่อเดือนอ้าย ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วโปรดฯ ให้ประดิษฐานไว้ที่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทในชั้นแรก"
ผมเคยอ่านเจอที่ไหนสักแห่งว่า กล่าวกันว่ารัชกาลที่ ๓ มีพระพักตร์คล้ายรัชกาลที่ ๑ แต่ทรงพีกว่า และรัชกาลที่ ๔ ทรงจำได้ว่ารัชกาลที่ ๑ ทรงมีพระฉวีคล้ำมาก เข้าใจว่าตอนปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑ คงใช้จากพระบรมรูปรัชกาลที่ ๓ เป็นแบบแล้วค่อยให้ผู้ที่เคยพบเห็นปรับแก้กันไปจนคิดว่าเหมือนที่สุดครับ
พระบรมรูปรัชกาลที่ ๑

พระบรมรูปรัชกาลที่ ๒ กับ รัชกาลที่ ๔

พระบรมรูปรัชกาลที่ ๓

แสดงความคิดเห็น
สงสัยครับเกี่ยวกับพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทย
สมเด็จพระราเมศวร
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ตัวอย่างพระมหากษัตริย์องค์อื่นๆที่มีเพียงพระบรมราชานุเสาวรีย์ แต่ไม่มีพระบรมสาทิสลักษณ์ ทั้งๆที่เป็นยุครุ่งเรือง การค้าเฟื่องฟู ซึ่งน่าจะมีการบันทึกไว้บ้างแต่เเทบจะไม่มีเลย
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช