แนวคิดเทคโนโลยีก้าวหน้าในอวกาศ

“แอสการ์เดีย” ประเทศใหม่ในอวกาศ


(ภาพ-James Vaughan/Asgardia)
นักวิทยาศาสตร์คิดค้นประเทศใหม่ในอวกาศเป็นครั้งแรก โดยที่ประชากรบนโลกสามารถเป็นพลเมืองนอกโลกได้

นายอิกอร์ อาเชอร์เบย์ลี หัวหน้าศูนย์วิจัยอวกาศนานาชาติในกรุงเวียนนาของออสเตรีย แถลงการก่อตั้งประเทศใหม่ในอวกาศที่มีชื่อว่า “แอสการ์เดีย” ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่ผ่านมาโดยหวังว่าจะรักษาเผ่าพันธุ์มนุษย์ป้องกันการก่อสงครามในอวกาศ และปกป้องมวลมนุษยชาติจากอันตรายนอกโลกเช่น เศษหินและการชนของดาวเคราะห์น้อย ถือเป็นก้าวแรกในการสร้างอวกาศยุคใหม่

“แอสการ์เดีย” จะกลายเป็นประตูสู่อวกาศเพื่อการค้า วิทยาศาสตร์ และเพื่อผู้คนจากทุกประเทศบนโลก ส่วนชื่อ “แอสการ์เดีย” มาจากชื่อเมืองลอยฟ้าที่ปกครองโดยโอดินแห่งวังวัลฮาลา ตามนิทานปรัมปราเทพเจ้านอร์ส  ประเทศนอกโลกใหม่นี้ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนคนใดก็ได้ที่อยู่บนโลกนี้เข้าเป็นพลเมืองที่นี่ 
ทีมผู้ก่อตั้งโครงการนี้หวังว่า “แอสการ์เดีย” จะเปลี่ยนแปลงแนวคิดของรัฐชาติใหม่ทั้งหมด โดยจะสร้างกรอบการทำงานแบบใหม่สำหรับการกำกับดูแลและเป็นเจ้าของกิจกรรมต่าง ๆ ในอวกาศ รวมถึงผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารและวิธีการปกครองประเทศ  เพื่อให้แน่ใจว่าห้วงอวกาศมีความสงบสุข และทำเพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติอย่างแท้จริง มากกว่าที่จะไปตั้งถิ่นฐานใหม่ตามส่วนต่าง ๆ ของอวกาศ และก่อสงครามเหมือนที่เกิดขึ้นบนโลก

ทีมงานโครงการแอสการ์เดียย้ำว่า ชาติอวกาศแห่งแรกในประวัติศาสตร์นี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อ “รับใช้มนุษยชาติ” และ “สร้างสรรค์สันติภาพ” ขึ้นในห้วงอวกาศนั่นเอง
Cr.starsmanman.blogspot.com/

 การศึกษาสภาพอากาศในอวกาศ ภารกิจใหม่ของนาซา


 นาซา ได้เลือกภารกิจใหม่ที่จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจและคาดการณ์สภาพอากาศในอวกาศอันกว้างใหญ่รอบโลกของเราได้ เนื่องจากสามารถส่งผลกระทบต่อเทคโนโลยี และนักบินอวกาศรวมถึงการสื่อสารทางวิทยุ
การทดลองครั้งใหม่นี้จะเป็นครั้งแรกที่จะมีการสำรวจเกี่ยวกับสภาพอากาศในอวกาศรอบโลกโดยเฉพาะภูมิภาคที่มีการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศโลก และอาจก่อให้เกิดสัญญาณรบกวนการสื่อสารทางวิทยุ และ GPS
 
ภารกิจนี้มีชื่อว่า The Atmospheric Waves Experiment (AWE) มีงบประมาณค่าใช้จ่ายอยู่ที่  42 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และวางแผนที่จะเปิดตัวโครงการในเดือนสิงหาคมปี 2565 AWE จะมุ่งเน้นไปที่แถบแสงในชั้นบรรยากาศของโลกที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ airglow คือ ปรากฏการณ์เรืองแสงอ่อนๆของชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งโมเลกุลของชั้นบรรยากาศชั้นบนๆจะถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ทำให้โมเลกุลแตกตัว มักจะเห็นหลังดวงอาทิตย์ตกไปแล้ว ทั้งนี้ เพื่อตรวจสอบสภาพชั้นบรรยากาศในส่วนนั้นว่าเกิดผลกระทบ ต่อสภาพอากาศในชั้นบรรยากาศอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่า การรั่วไหลของแสงอุลตร้าไวโอเลตอย่างต่อเนื่องจากดวงอาทิตย์หรือที่เรียกว่า ลมสุริยะ เท่านั้นที่ส่งผลต่อภูมิภาคต่าง ๆ บนโลก อย่างไรก็ตามเมื่อเร็ว ๆ นี้พวกเขาได้เรียนรู้ว่าลมสุริยะเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิภาคบนพื้นโลก รวมถึงผลกระทบของสภาพอากาศบนโลกอีกด้วย เพื่อหาคำตอบและคลี่คลายการความสัมพันธ์นั้น โครงการ  AWE จะตรวจสอบว่าคลื่นในชั้นบรรยากาศส่วนล่างนั้นส่งผลกระทบต่อบรรยากาศส่วนบนอย่างไร
นาซายังได้เลือก Sun Radio Interferometer (SunRISE) เป็นอุปกรณ์ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเวลา 7 เดือนมูลค่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ  SunRISE  เป็น CubeSats (ประเภทของดาวเทียมขนาดจิ๋วสำหรับการวิจัยอวกาศ) หกตัวที่ทำงานเหมือนกล้องวิทยุโทรทรรศน์ตัวใหญ่ ซึ่งจะตรวจสอบพายุสุริยะในอวกาศนั้นถูกเร่งและปล่อยออกสู่ดาวเคราะห์อย่างไร
ที่มา: NASA
Cr.realmetro.com/

 CHEOPS Probe ศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบ


(ภาพจำลองยาน CHEOPS ที่มา – ESA/Roskosmos)

โครงการ CHEOPS วางแผนที่จะปล่อยตัวในระหว่างวันที่ 15 ตุลาคมจนถึงวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ มันเป็นโครงการแรกที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อทำการหาดาวเคราะห์นอกระบบโดยวิธี Transit Photometry และมันจะสำรวจดาวเคราะห์นอกระบบที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก
เป้าหมายหลักทางวิทยาศาสตร์ของภารกิจนี้คือการวัดความหนาแน่นของ Super-Earth ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ที่สว่างและจัดหาเป้าหมายที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาลักษณะเชิงลึกในอนาคตของดาวเคราะห์นอกระบบในช่วงมวลและขนาดที่ใกล้เคียงกับโลกของเรา

การปล่อยตัว CHEOPS นั้นจะปล่อยตัวไปกับจรวด Soyuz และร่วมเดินทางสู่อวกาศกับดาวเทียม Cosmo-SkyMed ของประเทศอิตาลี โดยดาวเทียมทั้งสองจะแยกเป็นวงโคจรของตัวเองในไม่ช้าหลังจากการ CHEOPS ไปถึงที่ปฏิบัติการใน low-Earth orbit ที่ระดับความสูง 700 กม.
หนึ่งในทีม CHEOPS ได้พูดว่าการวิจัยดาวเคราะห์นอกระบบนั้น สามารถกระตุ้นความสนใจในการล่าอาณานิคมของมนุษย์ได้ หนึ่งในสิ่งที่ทำให้การสำรวจอวกาศเป็นไปอย่างราบรื่นก็คือ เมื่อผู้คนรู้ว่าว่าดาวศุกร์เป็นเหมือนกับนรกและดาวอังคารคล้ายกับทะเลทราย และมันก็เห็นได้ชัดว่ามีดาวเคราะห์จำนวนมากที่ยังมีอยู่และมีลักษณะคล้ายโลกมาก แค่รอวันเราค้นพบ
Cr.spaceth.co/

ฉมวกขนาดยักษ์ ในการกำจัดขยะอวกาศโดย Airbus


ในปัจจุบัน ขยะอวกาศนับเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ต่อโลกของเรา สถานีอวกาศนานาชาติได้ถูกบังคับให้ทำตามขั้นตอนเพื่อการป้องกันตัวเองจากวัตถุเหล่านั้น ในขณะที่ประเทศจีนกำลังฝันถึงวันที่สามารถยิงทำลายชิ้นส่วนเหล่านั้นได้โดยใช้เลเซอร์ ส่วน Airbus กำลังทดสอบวิธีการของตัวเองในการจัดการกับขยะอวกาศด้วย "ฉมวกขนาดยักษ์"
 
ตามที่ BBC รายงาน แผนการของ Airbus ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเริ่มจากการนำยานอวกาศเพื่อการ "ค้นหา" ขยะอวกาศ มาใช้โคจรค้นหา ไม่ว่าจะเป็น จรวดหรือดาวเทียมที่หมดอายุการใช้งานแล้ว จากนั้นยานค้นหาจะปล่อย "ฉมวก" อันทรงพลังเพื่อเจาะเข้าไปยังวัตถุรวมทั้งยึดเกาะเอาไว้ด้วยเงี่ยง และดึงกลับไปยังยานค้นหา และยานค้นหาก็จะใช้เครื่องขับดันเพื่อเหวี่ยงให้ชิ้นส่วนนั้นๆ เข้าไปยังวงโคจรของโลกอย่างรวดเร็ว และถูกเผาใหม้โดยชั้นบรรยากาศของโลกจนสิ้นซากในที่สุด

ซากจรวดและดาวเทียมที่กำลังเป็นปัญหาลอยอยู่รอบๆ โลกของเราเป็นจำนวนมหาศาล บางครั้งวัตถุเหล่านี้ก็เกิดชนกันและสร้างเศษขยะอวกาศที่มีขนาดเล็กลงซึ่งอาจทำให้ดาวเทียมที่ใช้งานอยู่เกิดเสียหาย และเป็นอันตรายต่อนักบินอวกาศได้
และฉมวกยักษ์ของ Airbus ก็ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขยะอวกาศชิ้นใหญ่ที่สุด มันคือดาวเทียม Envisat ที่สิ้นสุดอายุการใช้งานมาตั้งแต่ปี 2012 และยังคงลอยอยู่ในวงโคจรตั้งแต่นั้นมา ดาวเทียมน้ำหนักเกือบ 9 ตันนี้ ก่อให้เกิดความท้าทายอย่างมากต่อความพยายามในการกำจัดขยะอวกาศ แต่แอร์บัสมีความหวังว่าฉมวกจะใช้งานได้
การทดสอบครั้งแรกของเทคโนโลยีใหม่นี้จะมีขึ้นในเดือนเมษายน ในชื่อภารกิจ RemoveDebris ซึ่งจะทดสอบโดยการกำจัดขยะอวกาศจำนวน 2 ชิ้น เมื่อมันไปถึงวงโคจร ทั้งนี้ ฉมวกรุ่นทดสอบนี้จะเป็นรุ่นที่เล็กกว่าของจริง และหากทุกอย่างเป็นไปตามแผน ฉมวกขนาดใหญ่ก็จะถูกนำไปใช้ต่อไปที่มา : bgr.com
Cr.thaiware.com/

Fisher Space Pen ปากกาสำหรับใช้งานในอวกาศของสหรัฐอเมริกา 


(ภาพปากา Fisher AG7)

การใช้ดินสอในอวกาสมันอันตราย เพราะไส้ดินสอมันแตกหักได้ และภายใต้สภาวะไร้น้ำหนัก เศษเหล่านี้มันเป็นอันตรายต่อทั้งตัวมนุษย์อวกาศเอง และพวกเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ที่มีความละเอียดอ่อน (ไส้ดินสอเป็นคาร์บอน ติดไฟได้ และนำไฟฟ้าด้วย หากเกิดไปถุกไฟก็จะไหม้ หรือหากไปติดในวงจรไฟฟ้า ก็อาจจะก่อให้เกิดการลัดวงจร) ​จึงเป็นที่มาของการที่ Fisher Pen Company ทุ่มงบวิจัย 1 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการคิดค้นปากกาที่สามารถใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพไร้น้ำหนัก หรือร้อนและเย็นจัด 

Fisher Space Pen เป็นปากกาที่ผลิตสำหรับให้นักบินอวกาศใช้บนสภาวะไร้แรงโนมถ่วงโดยเฉพาะ ภายในใส้ปากกาจะมีแรงดันที่ควบคุมให้ปริมาณน้ำหมึกเป็นปรกติ และพร้อมที่จะใช้งานตลอดเวลาในทุกสภาพพื้นผิว ทั้งเขียนกลับหัว ใต้น้ำ ก็สามารถเขียนได้โดยปรกติ ทั้งสหรัฐอเมริกาและรัสเซียต่างก็ใช้ในโครงการอวกาศมาจนถึงปัจจุบัน
Cr.kafaak.com/

NASA พัฒนาล้อสำหรับรถสำรวจดาวแบบใหม่ 


ล้อและยาง ถือว่าเป็นส่วนสำคัญของยานพาหนะต่าง ๆ ทำให้สามารถเคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ เมื่อใดที่ยางแบน ก็แค่เพียงสูบลมเข้าไป แต่ถ้าหากเป็นยานพาหนะที่ใช้ในอวกาศ อย่างเช่น รถสำรวจดาว การสูบลมยางถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ด้วยเหตุนี้ทำให้ทาง NASA ได้คิดค้นล้อและยางแบบใหม่ ที่ใช้งานทรหดแค่ไหน ยางก็ไม่แบน

สำหรับยางรูปแบบใหม่จาก NASA นั้น จะมีโครงสร้างเป็นเหล็ก ซึ่งเวอร์ชันแรกที่พัฒนาออกมานั้น ตัวล้อทำมาจากเหล็ก ส่วนแกนเป็นสปริง ทำให้ไม่ต้องสูบลมเหมือนล้อปัจจุบันอีกต่อไป แต่ปัญหาของล้อเวอร์ชันแรกก็คือ เมื่อใช้งานไปนาน ๆ ตัวสปริงจะเสียความยืดหยุ่น ส่งผลให้ล้อเริ่มผิดรูป ทำให้ทาง NASA ต้องคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการเปลี่ยนวัสดุใหม่ จากเหล็กเป็นวัสดุประเภท Nickel-Titanium Alloy แทน และถอดแกนสปริงของเดิมออกไป ซึ่งวัสดุใหม่นี้ มีคุณสมบัติเด่นตรงที่สามารถจดจำรูปร่างเดิมได้ นั่นหมายความว่า ต่อให้โครงสร้างของล้อเปลี่ยนไป ก็จะคืนรูปกลับมาเป็นทรงเดิม
โดยเทคโนโลยีล้อแบบใหม่นี้ จะถูกนำไปใช้กับรถสำรวจดาวก่อน เนื่องจากพื้นผิวของดาวมีลักษณะขรุขระ ส่วนการใช้งานบนโลกนั้น ยังไม่สามารถนำมาใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากการยึดเกาะของถนนกับโลหะไม่ดีเท่ายาง คงต้องพัฒนาต่อไปอีกมากจนกว่าจะสามารถนำมาใช้บนโลกได้จริง
Cr.techmoblog.com/
 
 

 “Starshade” ดอกทานตะวันยักษ์ในอวกาศ 
 

 
นาซ่าปัดฝุ่นโปรเจ็ก “Starshade” สิ่งก่อสร้างขนาดยักษ์ลอยอยู่นอกโลก ตั้งความหวังเป็นเครื่องมือสำคัญค้นหาดาวดวงใหม่ และสิ่งมีชีวิตนอกโลก

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซ่า) ออกมาเปิดเผยถึงโปรเจ็กใหม่ในการสำรวจอวกาศ รวมถึงดวงดาวอื่นๆ เพื่อพิสูจน์ว่าจะมีสิ่งชีวิตนอกโลกอยู่หรือไม่ ด้วยการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่เพื่อนำไปลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยสิ่งก่อสร้างชนิดนี้ถูกเรียกว่า “Starshade”

“Starshade” จะเป็นสิ่งก่อสร้างรูปทรงแบนขนาดใหญ่คล้ายกับดอกทานตะวันยักษ์ ลอยอยู่กลางอวกาศห่างจากพื้นผิวโลกราว 40,000 กิโลเมตร เพื่อให้ทีมนักดาราศาสตร์ของนาซ่าใช้อุปกรณ์ดังกล่าวที่จะทำหน้าที่เสมือนกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ ให้สามารถค้นหาดาวเคราะห์ต่างๆ ในอวกาศที่อาจมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับโลก ซึ่งรูปแบบการทำงานมันจะบังแสงจากดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ เพื่อบีบให้แสงสว่างต่างๆ เปิดทางให้กล้องมองเห็นดาวดวงอื่นที่อยู่ห่างออกไปได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โปรเจ็ก Starshade เคยถูกนำเสนอมาแล้วในช่วงอดีตที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้ถูกบรรจุในภาระหลักของนาซ่า แต่ล่าสุดที่มีการพูดถึงอีกครั้งจนสื่อต่างประเทศหลายสำนักนำไปรายงาน นั่นเพราะ ทีมนักวิจัยของนาซาได้ทำการทดลองจำลองการวางตำแหน่งของ Starshade ด้วยระบบอัลกอริทึมของคอมพิวเตอร์ดู และพบว่าแท้จริงแล้วแนวคิดการใช้งาน Starshade อาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้จริงก็เป็นได้
 
ซึ่งตามข้อมูลของนาซ่าระบุว่า หากการจำลองของคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ถูกต้องจริงๆ ทางนาซาก็พบว่าพวกเรานั้นจะสามารถเรียง Starshade และกล้องโทรทรรศน์อวกาศในตำแหน่งที่ถูกต้องได้ ภายในระยะทางมากถึง 74,000 กิโลเมตร ซึ่งมันอาจทำให้นักวิจัยสามารถใช้สิ่งก่อสร้างดังกล่าวที่คาดว่าจะถูกสร้างขึ้นในไม่ช้าค้นหาดาวดวงใหม่ในระบบสุริยจักรวาลได้
Cr.thaiquote.org/
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่