+++ ถ้าต้องการจะใช้แผงโซล่าเซลล์ในการเลี้ยงปลาตู้..ต้องทำไงบ้างครับ+++

พอดีสนใจจะเลี้ยงปลาตู้ กะว่าสักขนาด 20 นิ้ว

ถ้าสนใจอยากจะทำระบบโดยใช้พลังงานแสงาทิตย์ คิดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างไรบ้างครับ...
หลักๆ อุปกรณ์ที่คาดว่าจะใช้ไฟฟ้ามี

1. ปั๊มออกซิเจน
2. กรองแบบแขวน
3. ไฟ Led สำหรับส่องไม้น้ำ

คือถ้าเสียบไฟตรงเข้าใจว่ามันก็ง่ายและสะดวกกว่านั่นแหล่ะ...คือพยายามจะใช้อุปกรณ์ที่เป็นไฟ DC ทั้งหมดเพื่อจะได้ไม่ต้องมี inverter แปลงเป็น AC 
คือตอนนี้ไปติดที่แบตฯ มีราคาค่อนข้างแพง ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้พวกถ่าน ชาร์จแบบ 18650 มันสามารถนำมาต่อกันเพื่อทำเป็นแบตเตอรี่ได้หรือไม่ครับ แล้วความคุ้มค่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับใช้แบตรถยนต์เป็นยังไงบ้างครับ...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
ถ้าสนใจอยากจะทำระบบโดยใช้พลังงานแสงาทิตย์ คิดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์อย่างไรบ้างครับ...หลักๆ อุปกรณ์ที่คาดว่าจะใช้ไฟฟ้ามี
1. ปั๊มออกซิเจน
2. กรองแบบแขวน
3. ไฟ Led สำหรับส่องไม้น้ำ


สวัสดีครับ  คุณจิ้งจอก ฯ   ก่อนอื่นขอเรียนก่อนครับว่าใช้ไฟบ้านคุ้มค่ากว่าแน่นอน
แต่หากอยากลองศึกษาการทำเองแบบ DIY  อุปกรณ์ที่ต้องใช้มีดังนี้ครับ

1. แผง Solar cell ขนาดตามที่คำนวณไว้
2. แบตเตอรี่
3. Solar charger

การคำนวณขนาด Soler cell ก็พิจารณาจาก Load 3 รายการที่ต้องใช้ คือ  ปั้มออกซิเจน  กรองน้ำแบบแขวน และ LED ส่องไม้น้ำ
ขนาดของ Load ทั้ง 3 รายการ  ผมลองหา ๆ ดูแล้วใช้ไฟรวมกันประมาณ 5 + 4 + 3 = 13 วัตต์   และ load 13 วัตต์ นี้
เผื่อการ loss จากการแปลง Volts อีกนิดหน่อย  ตีซะกินไฟจริง ๆ 16 วัตต์  ซึ่ง load 16 วัตต์ นี้  จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่
วันละประมาณ 18 ชั่วโมง (เป็นอย่างมาก)  ระยะเวลานาน 18 ชั่วโมง กับ Load 16 วัตต์ คือ  16 ⨯ 18 = 288 Wh
ดังนั้น  แบตจะต้องสามารถจ่ายประจุได้มากกว่านั้นอีก 40% (แบตเตอรี่จะคายประจุลึก ๆ ไม่ได้  เสื่อมเร็วมาก)
สรุปแล้ว  แบตเตอรี่ต้องมีขนาด 288 Wh + 40% = 400 Wh

จากขนาดความจุแบตที่คำนวณได้มากถึง 400 Wh .... นั่นก็คือหากเป็นที่ 12 Volts  ก็จะแปลงเป็นค่า Ah
ได้ว่า 400 Wh / 12V = 33.33 Ah ...... นั่นก็คือจะต้องใช้แบตรถยนต์ขนาด 40 Ah

ส่วนขนาดของ Solar cell  คำนวณได้จากว่า  เราจะต้องชาร์จ power 288 Wh ลงในแบตภายในเวลาที่มีแสงอาทิตย์
ก็คือวันละ 6 ชั่วโมง  power เฉลี่ยที่ชาร์จลงแบตก็คือ 288 Wh / 6 ชม. = 48 วัตต์  บวก loss ของวงจรชาร์จอีก
ก็ได้เป็นประมาณ 55 วัตต์  และบวก power ที่ load ตู้ปลาใช้ช่วงกลางวันอีก 16 วัตต์ .... ดังนั้น Solar cell
จะต้องใช้แผงขนาด 100 วัตต์  ไปเลย

สรุปค่าใช้จ่าย (ไม่รวมอุปกรณ์ในตู้ปลา) .....
- แผง Solar cell ขนาด 100 วัตต์  2,500 บาท
- Solar charger แบบ PWM ขนาด 10 แอมป์  ประมาณ 700 บาท
- แบตเตอรี่รถยนต์ 12V  40Ah  1,500 บาท

ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้พวกถ่าน ชาร์จแบบ 18650 มันสามารถนำมาต่อกันเพื่อทำเป็นแบตเตอรี่ได้หรือไม่ครับ
แล้วความคุ้มค่าในระยะยาว เมื่อเทียบกับใช้แบตรถยนต์เป็นยังไงบ้างครับ...

ได้ครับ  แบตแบบ 18650 สามารถนำมาต่อกันเป็น bank เพื่อให้มี Volts  และค่าความจุใหญ่ ๆ หลายสิบ Ah ได้
แต่จะ แพงงงง มากกกก  เทียบกับแบตรถยนต์ที่ความจุเดียวกันครับ  และการประกอบก็ต้องมืออาชีพมาก ๆ
เนื่องจากต้องใช้ controller และ protection module เยอะตามจำนวน cells เลยครับ

หากจะเอาแบต 18650 มาประกอบให้ได้ขนาด 11.1V  40Ah .... ทะลุหมื่นบาทแน่นอนครับ

ข้อดีเดียวของการประกอบแบบนี้ คือ อายุการใช้งานจะยาวนานกว่าแบตตะกั่ว-กรด (แบตรถยนต์) มาก
หากใช้งาน Charge/Discharge ภายในพิกัดของมัน  อายุอาจนานกว่าแบตรถยนต์ถึง 3 เท่าครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่