สวัสดีครับพวกเราเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชนพวกเราได้รับมอบหมายงานในวิชาขนส่งภายในประเทศให้ไปเทียวตามจุดต่างๆ ที่อาจารย์กำหนดสถานที่ให้ในกรุงเทพ
โดยใช้เงินในการเดินทางและท่องเทียวให้น้อยที่สุด
จุดเริ่มต้นของพวกเราคือสถานีรถไฟหัวลำโพง

สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่มักเรียกผิดกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระราม 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครสถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่งสถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง

กิจการรถไฟในปัจจุบัน มีเส้นทางที่ออกจากสถานีหัวลำโพง จำนวน 4 สาย ได้แก่
1.ทางรถไฟสายเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ปลายทาง สถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทาง 751.42 กิโลเมตร
2.ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจะแยกออกเป็น 2 สาย ดังนี้ปลายทางสถานี รถไฟอุบลราชธานี ระยะทาง 575.10 กิโลเมตร
ปลายทางสถานีรถไฟหนองคาย ระยะทาง 621.10 กิโลเมตร
3.ทางรถไฟสายตะวันออก ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราแล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือปลายทางสถานีรถไฟ อรัญประเทศ ระยะทาง 254.50 กิโลเมตร
ปลายทางสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ระยะทาง 184.03 กิโลเมตร
4.ทางรถไฟสายใต้ต้นทางสถานีกรุงเทพ และสถานีธนบุรีเมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่แล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือปลายทางสถานีรถไฟบัตเตอร์ เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 973.84 กิโลเมตร (นับถึงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์)
ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ระยะทาง 1,142.99 กิโลเมตร
นั้งรถเมล์ฝั่งตรงข้ามหัวลำโพงสาย53 หน้าวัดไตรมิตร ไปลงท่าช้าง
ต่อมาเดินออกจากตลาดท่าช้างแล้วเดินตรงมาประมาณ100เมตรก็จะถึงมหาลัยศิลปกรคือจุดหมายที่2ของพวกเรา
มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ห้าของประเทศไทย มีชื่อเสียงทางด้านศิลปะและการออกแบบ ปัจจุบันเปิดสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตามมาตรฐานของมหาวิทยาลัยสากลอย่างสมบูรณ์

วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร ได้พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากรวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2486 ศาสตราจารย์ พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ) อธิบดีกรมศิลปากร ได้พัฒนาหลักสูตรจนได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศิลปากรเพื่อเป็นสถาบันอุดมศึกษาขั้นสูงทางศิลปะของชาติ โดยมีปณิธานที่จะสร้างสรรค์ศิลปะวิทยาการและภูมิปัญญาเพื่อสังคม พร้อมทั้งจัดตั้งคณะจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นเป็นคณะวิชาแรก (ปัจจุบันคือ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์) และใน พ.ศ. 2498 ได้จัดตั้งคณะสถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีศาสตราจารย์ พระพรหมพิจิตร (อู๋ ลาภานนท์) เป็นผู้ก่อตั้ง (ซึ่งต่อมาได้ปรับหลักสูตรและเปลี่ยนชื่อเป็น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์) และ คณะโบราณคดี จากการวางรากฐานโดย ศาสตราจารย์ หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ (ป่วน อินทุวงศ์) และหลังจากนั้นได้จัดตั้ง คณะมัณฑนศิลป์ ซึ่งได้แยกตัวจากคณะจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในปีต่อมา
ต่อมาเดินออกจากมหาลัยศิลปากรเดินตรงไปเพื่อเข้าพระบรมมหาราชวัง เพื่อไปพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ
ซึ่งทางด้านในพระราชวังเขาห้ามถ่ายภาพแต่ผมไม่รู้ผมจึงถ่ายมาได้แค่รูปเดียวก็มีพี่เจ้าหน้าที่เดินเข้ามาเตือนบอกห้ามถ่ายภาพนะครับ
พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถมีค่าเข้าชมอยู่ที่
1. ผู้ใหญ่ 150 บาท
2. ผู้สูงอายุ ( อายุ 65ปีขึ้นไป) 80 บาท
3. นักเรียน/นักศึกษา แสดงบัตรประจำตัว 50 บาท
4.เด็กอาย12-18ปี 50 บาท
5.เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ฟรี
6. ต่างชาติ 500บาท
ต่อมาผมก็เดินย้อนกลับไปทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เพื่อจะไปสถานที่ต่อไปของพวกผมก็คือ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
ซึ่งพิธภัณฑ์แห่งชาติมีค่าเข้าชมอยู่ที่ 30 บาทแต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุ 65ปีขึ้นไปเข้าชมฟรี หรือนักเรียนนักศึกษาเข้าชมฟรี และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า12ปีเข้าชมฟรี ชาวต่างชาติ200บาทไทย
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่บริเวณ “พระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วังหน้า” สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ในคราวเดียวกับพระบรมมหาราชวัง พระราชวังแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชถึง 5 พระองค์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช พระราชวังแห่งนี้จึงว่างลง จึงโปรดเกล้าฯให้ “มิวเซียมหลวง” ณ ศาลาสหทัยสมาคมหรือหอคองคอเดีย ในพระบรมมหาราชวังมาตั้งแสดงสมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชมณเฑียรสถานในพระราชวังสถานมงคลทั้งหมดจัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานสำหรับพระนคร” และประกาศตั้งเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร” เมื่อปี พ.ศ.2477 การจัดแสดงแบ่งเป็นเรื่อง
1.ประวัติศาสตร์แห่งแผ่นดิน
2.ประณีตศิลป์สืบสมัย
3.ประวัติศาสตร์ศิลป์ไทยสืบสาน
4.โบราณสถานวังหน้า
ส่วนซื้อบัตรแล้วจะได้สติเกอร์แปะที่เสื้อก็สามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้
ส่วนด้านในพิพิธภัณฑที่แรกจะเจอห้องแสดงประวัติศาสตร์ชาติไทย
และข้างในก็จะแสดงนิทัศการประวัติศาสตร์ของอาณาจักรฉิน
และรูปปั้นนักรบ
ส่วนที่สองในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติคือโรงราชรถ
ราชรถ หมายถึง รถหลวงหรือรถของพระราชาในที่นี้หมายถึง รถลากมีรูปลักษณะคล้ายเกวียน หรือพัฒนารูปแบบจากเกวียนมีการตกแต่งให้วิจิตรงดงาม และอาจมีขนาดสูงใหญ่มากขึ้น มีทั้งที่มีเครื่องหลังคาและไม่มีเครื่องหลังคา ราชรถแบบไม่มีเครื่องหลังคาเรียกราชรถโถง คือราชรถโล่งนั่นเอง เช่น ราชรถในภาพลายรดน้ำผนังตู้ ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์เป็นลักษณะงานช่างสมัยรัชกาลที่ 1ราชรถแบบมีเครื่องหลังคาเรียกราชรถวอบ้าง ราชรถวิมานบ้าง หรือราชรถยอด หากหลังคามีเครื่องยอด เช่น ราชรถบุษบก เป็นต้น
ราชรถทั้งสองประเภทนี้ มีการขับเคลื่อนสองวิธี คือ หากเป็นราชรถขนาดใหญ่ มีลวดลายวิจิตร มีซุ้มเครื่องยอดสูงใหญ่ มีน้ำหนักมากมักใช้คนลากทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เรียก พลชัก ฉุด เนื่องจากต้องการให้เคลื่อนที่ไปอย่างนิ่มนวล และสามารถเคลื่อนที่หรือหยุดได้อย่างนิ่มนวลด้วย เพื่อป้องกันการชำรุดของลวดลายและมีความสง่างามในลีลาที่เคลื่อนไป
พระมหาพิชัยราชรถและเวชยันตราชรถใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศเพื่ออัญเชิญไปสู่พระเมรุหลวงราชรถเล็กเดิมพระบรมวงศ์ประทับในขบวนอัญเชิญและโยงพระศพ ราชรถน้อยองค์หนึ่งสำหรับสมเด็จพระสังฆราชหรือพระมหาเถระอ่านพระอภิธรรมนำพระบรมศพหรือพระศพ ราชรถน้อยองค์หนึ่งอาจใช้เป็นราชรถตาม บางท่านกล่าวว่าเป็นราชรถพระโกศจันทร์
ต่อมาผมสองคนได้เดินย้อนกลับไปร้านกาแฟพักเหนื่อย
พักเสร็จก็นั่งเรือที่ท่าช้างเพื่อไปวัดระฆังโฆสิตาราม
ข้ามมาวัดระฆังโฆสิตารามเพื่อมาทำบุญก่อนกลับบ้านสักหน่อยเพราะเย็นแล้ว
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1
วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากรมพระเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม”
ยังไม่จบครับที่สุดท้ายของพวกเราคือ วัดวงศมูลวิหาร ซึงอยู่ในกรมอู่ทหารเรื่อ ซึ่งเปิดทำการจันทร์-ศุกร์ ซึ่งผมไปวันเสาร์

ทริปนี่ผมหมดค่าใช้จ่ายไปทั้งหมด108บาท
1.ค่ารถเมล์8บาทสองคน
2.ค่าเรื่อคนละ13.50บาท
3.ค่านมสด 65 บาท
Dom Trip กับเราสองคน
โดยใช้เงินในการเดินทางและท่องเทียวให้น้อยที่สุด
จุดเริ่มต้นของพวกเราคือสถานีรถไฟหัวลำโพง
สถานีรถไฟกรุงเทพ หรือที่มักเรียกผิดกันว่า สถานีรถไฟหัวลำโพง เป็นสถานีรถไฟหลักของประเทศไทย และเป็นสถานีที่เก่าแก่ที่สุด เริ่มก่อสร้างขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2453 สร้างเสร็จและเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ได้บริเวณถนนพระราม 4 โดยมีรูปแบบของทางเชื่อมต่อทางสถาปัตยกรรมที่กลมกลืนกับรถไฟฟ้ามหานครสถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่งสถานีกรุงเทพก่อสร้างในลักษณะโดมสไตล์อิตาเลียนผสมกับศิลปะแบบเรอเนสซองซ์ คล้ายกับสถานีรถไฟแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี ประดับด้วยหินอ่อนและเพดานมีการสลักลายนูนต่าง ๆ เป็นหลัก โดยมีนาฬิกาขนาดใหญ่รัศมี 80 เซนติเมตร ตั้งอยู่กลางสถานีรถไฟเป็นสัญลักษณ์แห่งหนึ่ง
1.ทางรถไฟสายเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ปลายทาง สถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทาง 751.42 กิโลเมตร
2.ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นทางอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางถนนจิระจะแยกออกเป็น 2 สาย ดังนี้ปลายทางสถานี รถไฟอุบลราชธานี ระยะทาง 575.10 กิโลเมตร
ปลายทางสถานีรถไฟหนองคาย ระยะทาง 621.10 กิโลเมตร
3.ทางรถไฟสายตะวันออก ต้นทางสถานีรถไฟกรุงเทพ เมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราแล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือปลายทางสถานีรถไฟ อรัญประเทศ ระยะทาง 254.50 กิโลเมตร
ปลายทางสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ระยะทาง 184.03 กิโลเมตร
4.ทางรถไฟสายใต้ต้นทางสถานีกรุงเทพ และสถานีธนบุรีเมื่อถึงสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่แล้วแยกออกเป็น 2 สาย คือปลายทางสถานีรถไฟบัตเตอร์ เวอร์ธ ประเทศมาเลเซีย ระยะทาง 973.84 กิโลเมตร (นับถึงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์)
ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก ระยะทาง 1,142.99 กิโลเมตร
นั้งรถเมล์ฝั่งตรงข้ามหัวลำโพงสาย53 หน้าวัดไตรมิตร ไปลงท่าช้าง
ยังไม่จบครับที่สุดท้ายของพวกเราคือ วัดวงศมูลวิหาร ซึงอยู่ในกรมอู่ทหารเรื่อ ซึ่งเปิดทำการจันทร์-ศุกร์ ซึ่งผมไปวันเสาร์
ทริปนี่ผมหมดค่าใช้จ่ายไปทั้งหมด108บาท
1.ค่ารถเมล์8บาทสองคน
2.ค่าเรื่อคนละ13.50บาท
3.ค่านมสด 65 บาท