งาน"แซนโฏนตา" เมืองขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ


"แซนโฏนตา 982  ปี เมืองขุขันธ์"

               แซนโฎนตา หรือบางท่านสะกดว่า แซนโดนตา เป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีและบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร อีสานใต้ ทั้งบุรีรัมย์ สุรินทร์และศรีสะเกษ  เซราะสแรยึง  เป็นการรำลึกและอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ อาจเรียกว่าเป็นประเพณีในเทศกาลสารท  คล้ายกับประเพณีสลากภัต หรือบุญเดือนสิบในภาคอื่นๆ แต่อาจแตกต่างในรายละเอียดพิธีกรรม


    ประเพณีแซนโฎนตาเริ่มจัดตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 เรียกกันว่า “ไงเบ็ณฑ์ตู๊จ หรือวันเบ็ณฑ์ตู๊จ” (บางคนสะกดว่าเบ็นโต๊จ) หรือวันเบ็ณฑ์เล็ก หรือวันสารทเล็ก ถือว่าเป็นวันเริ่มงานวันแรก จนกระทั่งถึงการทำบุญครั้งใหญ่ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เรียกว่า “ไงเบ็ณฑ์ธม” หรือวันเบ็ณฑ์ธม” (บางคนสะกดว่า เบ็นธม) หรือวันเบ็ณฑ์ใหญ่ หรือวันสารทใหญ่
     ผมเองในถานะลูกหลานคนขุขันธ์ ก็ขออนุญาตนำเสนอ เรื่องราวถิ่นฐานบ้านเกิดของตัวเองบ้าง ผมไม่ได้กลับไปร่วมงาน “วันสารท” เดือนสิบ หลายปีแล้ว แต่ปีนี้ตั้งใจอย่างจริงจังว่าจะกลับไปร่วมงาน 
    ซึ่งอำเภอขุขันธ์ปีจัดงาน"ประเพณี แซนโฏนตา บูชาศาลหลักเมือง ลือเลื่องกล้วยแสนหวี 982 ปี เมืองขุขันธ์" ตรงกับวันที่ 25 กันยายน 2562 ทั้ง 22 ตำบลจะเข้าร่วมงาน และมีกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับประเพณี “แซนโฎตา”ให้ดู ให้ชม 


เมืองขุขันธ์มีคำขวัญว่า 
"
ขุขันธ์เมืองเก่า   ชนทุกเผ่าสามัคคี
บารมีพระแก้วเนรมิต วัดลำภู คู่หลวงพ่อโตวัดเขียน
กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน
ประสาทโบราณเป็นศรี
ประเพณีแซนโฎนตา
"
     ในงานจะการรำบูชา พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ที่ชื่อเดิมว่า ตากะจะ ผู้สร้างเมืองขุขันธ์...



     ขบวนแห่ก็สวยงามนะครับ....เมืองขุขันธ์มีอยู่ 4 ชนเผ่า คือ เขมร ลาว กูยหรือกวยและเยอ...รายละเอียดอื่นๆติดตามได้ที่นี้นะครับ http://www.mueangkhukhanculturalcouncil.org/2011/03/4.html


   ภาพนี้เป็นการจำลองการ"จูนโฎนตา" ในขบวนแห่





            เนียงอัปสราก็มารำในขบวนแห่นี้ด้วย...

            รูปจะเยอะๆน่อยนะครับ สนุกกับการถ่ายรูปเพี้ยนเบลอเพี้ยนเบลอ


            งานนี้ผู้เฒ่าก็มาร่วมกับลูกๆหลานๆด้วย...เพี้ยนยิ้มเพี้ยนยิ้ม

..................................................................................................................................................

            วกกลับมา ภาพจำยังติดตา สมัยเด็กชอบมาก เพราะมีอะไรให้เด็กอย่างเราเล่นเยอะแยะไปหมดสำหรับงานแซนโฏนตา ทั้งจุดประทัด เล่นม้าก้านกล้วย ปืนก้านกล้วย มันเป็นภาพจำที่รู้สึกดี...ส่วนผู้ใหญ่เขาก็จะหอข้าวต้มมัด ทำข้าวหลาม ขนมนมเนยต่างๆ มีทั้งคาวทั้งหวาน



           ฝีมือแม่ผมเอง...เพี้ยนกินกล้วยเพี้ยนกินกล้วยเพี้ยนกินกล้วย

          ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตาจะมีประเพณีที่เรียกว่า “จูนโฎนตา” คือ บรรดาลูกหลานญาติพี่น้องจะกลับมาบ้านมาไหว้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และจะนำเอามะพร้าว ข้าวสารเหนียว ขนมต่างๆ มามอบให้ หรืออาจมอบเงินด้วย เพื่อให้ท่านได้ใช้ทำบุญในประเพณีแซนโฎนตา หากพ่อแม่ ปู่ย่าตายายเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะไปกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่ที่เคารพและมอบข้าวของเงินทองให้ หรือถ้าทำไม่ได้ก็จะนำสิ่งของเหล่านี้ไปถวายพระที่วัดแทน เหมือนกับเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ใหญ่หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
           การห่อข้าวต้ม...สำหรับแซนโฏนตา...
           
           เสร็จแล้ว นั่งรอตั้งนาน 555555 ...ได้เวลาตั้งเตาสักที

           ..เพี้ยนปักหมุดเพี้ยนปักหมุด

             คนชิมพร้อม....

           เรียบร้อยครับ สำหรับการเตรียมของเซ่นไหว้....
          การเซ่นไหว้เริ่มทำตั้งแต่ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ช่วงบ่ายๆของวันเรื่อยไปจนถึงดึก โดยจัดที่ลานบ้าน ระเบียงบ้าน หรือโถงกลางบ้าน โดยปูเสื่อผืนใหญ่จากนั้นอาจปูฟูกทับอีกชั้นหนึ่ง วางหมอนไว้ทางหัวฟูก แล้วปูผ้าขาวทับอีกชั้นหนึ่ง ส่วนมากจะหันหัวฟูกไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือนะครับ


            มีเรื่องเล่ากันว่าในสมัยก่อน ช่วงเทศกาลแซนโฎนตา พอตกกลางคืนคนมักจะได้ยินเสียงคนคุยกันที่ใต้ถุนบ้าน เมื่อมองลอดช่องพื้นกระดานลงไปจะเห็นคนผมหงอกผมดำนั่งผิงไฟคุยกัน แต่ฟังไม่รู้เรื่องว่าพูดภาษาอะไร คนเฒ่าคนแก่บอกว่านั่นคือ “ขม๊อจโฎนตา” หรือผีปู่ย่าตายาย ที่ยมทูตฯท่านปล่อยให้มาเยี่ยมลูกหลานและรับส่วนบุญกุศลที่ลูกหลานอุทิศไปให้ 
           หลังจากเซ่นไหว้ในช่วงกลางคืนแล้ว เช้ามืด 15 ค่ำ ทุกบ้านก็จะเอาของเซ่นไหว้มาทำพิธีทางสงฆ์ต่อที่วัด...เพี้ยนส่อง


            พอเสร็จทางสงฆ์ก็ถือว่า งานแซนโฏนตาปีนั้นเสร็จสมบูรณ์ ส่วนพ่อแม่พี่น้อง ก็นำอาหารไปวางตามที่ต่างๆ เช่น รอบเจดีย์ สองข้างถนน หัวไร่ปลายนา ถือเป็นการเลี้ยงผี เปรต ทั้งมีญาตและไร้ญาติ...... 
..................................................................................................................................................................................................
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่