ที่จริงเรารู้จักเจ้าสัตว์มีพิษกันเยอะมากมาย แต่ถ้านึกถึงสัตว์มีพิษคงจะนึกถึง สัตว์พวกแมงป่อง แมงมุม และงู แต่จะพาทุกคนไปรู้จักสัตว์ น่ารัก ๆที่มีพิษเหมือนกัน ก็คือนกและแมลงที่สวยงามบางชนิด
นกพิโทวี่ Hooded Pitohui

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pitohui dichrous ถือเป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบได้ในหมู่เกาะนิวกินีเท่านั้น ในปัจจุบันพวกมันอยู่ในวงศ์ Pachycephalidae มีทั้งหมด 6 ชนิด สำหรับนกพิโทวี่หลากสี (Variable Pitohui; Pitohui kirhocephalus) อาจแยกย่อยตามสีขนและพื้นที่ที่พบได้อีก 20 ฟอร์มเลยทีเดียว
นกพิโทวี่เป็นนกขนาดกลางที่มีสีสันสดใส นักวิทย์เชื่อกันว่า สีสันที่สดใสของมันเป็นสัญญาณเตือนภัยแก่สัตว์นักล่า (aposematism) พวกมันกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร นักปักษีวิทยารู้จักพวกมันในฐานะหัวหน้าฝูงของนกต่างชนิดที่หากินร่วมกัน (mixed-species flocks) โดยไม่ว่าเจ้านกพิโทวี่จะกระโดดหากินในบริเวณใด นกชนิดอื่นก็จะตามมันไป นักวิทย์ได้สังเกตพบว่านกชนิดอื่นที่ตามนั้นมักจะมีสีสันและรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนกพิโทวี่ และได้ตั้งสมมติฐานหนึ่งว่าลักษณะเช่นนั้นอาจเป็นการเลียนแบบเบทส์ (Batesian mimicry) ซึ่งเป็นการเลียนแบบประเภทหนึ่งที่พวกถูกล่าเลียนแบบสัตว์ที่พวกสัตว์นักล่าไม่กินทั้งสีสัน รูปร่าง และพฤติกรรม
ซึ่งพิษจะพบได้ในผิว และขนนก ที่จะทำให้เกิดเมื่อสัมผัสถูกจะเกิดอาการมึนงง และแสบ ซึ่ง สารพิษที่พบในขนของนกพิโทวี่ ก็คือ โฮโมบราทาโคท็อกซิน (homobratachotoxin) เป็นสารประเภทสเตียรอยดัลอัลคาลอยด์ที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic steroidal alkaloids) ในกลุ่มบราทาโคท็อกซิน ซึ่งสารพิษในกลุ่มนี้ ถือเป็นหนึ่งในสารพิษที่ร้ายแรงที่สุด โดยมันจะไปยับยั้งกระแสประสาทภายในกล้ามเนื้อและเซลล์ประสาททำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเกือบจะทันที
ที่จริงแล้วเจ้านกชนิดนี้ไม่ได้สร้างสารพิษในตัวเอง แต่มันเกิดจากการกินแมลงเต่าทองตัวน้อยที่ชื่อว่า Choresine เข้าไป แมลงเต่าทองดังกล่าวเป็นแมลงขนาดเล็ก (ประมาณ 7 มิลลิเมตร) ที่มีพื้นที่การกระจายพันธุ์กว้าง อย่างไรก็ตาม หลักฐานในปัจจุบันบ่งชี้ว่า ด้วงนี้อาจไม่ได้สร้างพิษนี้ขึ้นเอง แต่อาจมาจากสารจากพืชที่มันกินเข้าไปอีกทีหนึ่ง
ชาวปาปัวนิวกินีรู้กันดีว่านกปิโทฮุยมีอันตรายและไม่สมควรนำมาบริโภค เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ดี มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคนกพวกนี้ ต้องถอนขนและถลกหนังให้หมด โดยอย่าสัมผัสขนและหนังของมันโดยตรง รวมทั้งระวังไม่ให้เนื้อของมันถูกหนังและขน จากนั้นให้นำเนื้อนกไปย่างจนสุขด้วยถ่านร้อน ๆ จึงจะสามารถนำกินได้
Cr.http://drsuntzu.weebly.com
นกคุ่มยุโรป (Eurasian Common Quail)
นกเท่าที่โลกรายงานมาพบว่ามันมี 11 ชนิดที่มีพิษ ในจำนวนเหล่านี้มีนกคุ่มยุโรปซึ่งเป็นนกย้ายถิ่นที่มีอยู่ทั่วไปในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ที่เชื่อว่ามีพิษมากว่า 3,500 ปีมาแล้ว แต่ไม่รู้แน่ว่ามันสะสมพิษที่ใด นักวิทยาศาสตร์รู้เพียงว่าเนื้อของมันมีพิษบางตัว ในบางพื้นที บางฤดู(ช่วงอพยพ)
เมื่อกินเนื้อที่มีพิษนี้เข้าไปจะทำให้ได้รับพิษ Noturnism ซึ่งทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ อ่อนแรง บางกรณีอาจรุนแรงถึงหายใจไม่ออกและตายในที่สุด แต่กระนั้นชาวยุโรปก็ไม่เข็ดที่จะกินเนื้อนกนี้แม้จะมีพิศก็ตาม (เหมือนกับกินปลากปักเป้าของญี่ปุ่นนั้นแหละ)
Cr.http://oknation.nationtv.tv/
นกอีฟริตต้าหัวฟ้า (Blue-capped Ifrita; Ifrita kowaldi)

ในหมู่เกาะนิวกินีมีคำบอกเล่าจากชนเผ่าพื้นเมืองว่า นกที่มีชื่อพื้นเมืองว่า "Slek-Yakt" (แปลว่า "นกที่มีเนื้อขม") นั้นมีพิษเช่นกัน การกินนกชนิดนี้จะทำให้ปากแสบร้อนรุนแรงกว่าการกินพริก อีกทั้งการสูดดมเอากลิ่นของนกชนิดนี้เข้าไปอาจทำให้เกิดอาการไอหรืออาการคล้ายอาการแพ้อื่นๆ
สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยดัมแบชเชอร์เกิดความสนใจ หลังจากศึกษาอย่างละเอียดพบว่ามันคือนกอีฟริตต้าหัวฟ้า (Blue-capped Ifrita; Ifrita kowaldi) ซึ่งมีพิษบราทาโคท็อกซินเช่นเดียวกับที่พบในนกพิทูวี่...แต่ไม่ใช่ทุกตัว! ตัวอย่างในบางพื้นที่จะมีสารพิษอยู่มาก และในบางพื้นที่กลับไม่พบสารพิษนี้เลย
ในตัวอย่างที่พบสารพิษนั้น ขนบริเวณอกและท้องจะมีสารพิษนี้อยู่มาก นี่บ่งชี้ว่ามันได้รับสารพิษจากอาหารที่มันกินเช่นเดียวกับนกพิโทวี่ เขาได้รายงานการพบนกชนิดที่สองที่มีพิษในปี 2000 ในปัจจุบันนักวิทย์พบว่า นอกเหนือจากสารพิษโฮโมบราทาโคท็อกซิน นกอีฟริตต้าหัวฟ้านั้นยังสะสมพิษในกลุ่มบราทาโคท็อกซินอื่นอีกหลายตัว นกอีฟริตต้าหัวฟ้าเป็นนกที่มีสีสันสวยงาม พบได้เฉพาะในป่าดิบเขา (ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป) ของหมู่เกาะนิวกินีเท่านั้น มันชอบไต่ตามลำต้นของไม้ยืนต้นคล้ายกับนกไต่ไม้ นกอีฟริตต้าเป็นนกกินแมลง แต่ก็มีรายงานว่าบางครั้งมันก็กินมอสขณะจิกกินแมลงด้วยเช่นกัน
Cr.http://siamensis.org
นกอ็อกเล็ตหงอน (Crested Auklet; Aethia cristatella)

เป็นนกกินแพลงก์ตอนขนาดเล็ก (เช่น เคย โคพีพอด ฯลฯ) ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งแถบทะเลเบอร์ริ่งจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ พวกมันจะปล่อยสารหอมระเหยที่คล้ายกับกลิ่นส้มออกมา สารที่อยู่ตามผิวหนังและขนอาจไม่ได้ใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่าและป้องกันปรสิตภายนอกเพียงอย่างเดียว มันยังมีประโยชน์ในด้านการสืบพันธุ์และการใช้ชีวิต (เช่น การจดจำรัง เป็นต้น) ด้วย
เราสามารถรับรู้กลิ่นนี้เมื่อเข้าไปใกล้ฝูงของพวกมัน นักวิทย์ได้ตรวจสอบและพบว่ามีสารประกอบอัลดีไฮด์หลายตัวโดยมี n-octanal เป็นหลัก พวกเขาได้ตั้งสมมติฐานว่า สารระเหยนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคุณภาพของคู่ครองในด้านสุขภาพที่ดีและปลอดภัยจากปรสิตภายนอก
นอกจากการสร้างหรือสะสมสารขึ้นมาแล้ว ยังมีการนำเอาสิ่งมีชีวิตที่มีข้อปล้องเช่น มด กิ้งกือ ฯลฯ มาถูขนเพื่อให้พิษของสัตว์เหล่านี้เคลือบติดกับขน เรียกพฤติกรรมนี้ว่า anting รวมถึงการนำเอาสารจากพืชมาเช่น สารลิโมนีน (limonene) จากเปลือกผลของพืชสกุลส้ม สารไพรีทรัม (pyretrum) จากดอกดาวเรือง เป็นต้น มาทาที่ขนหรือรังโดยตรง นักวิทย์ได้ตั้งสมมติฐานว่ามันทำเช่นนี้เพื่อป้องกันปรสิตภายนอก แต่มีการทดลองยืนยันแล้วว่าสมมติฐานในเรื่องดังกล่าวไม่ถูกต้อง เนื่องจากผลการทดลองไม่พบความแตกต่างระหว่างนกที่มีสารหรือสิ่งมีชีวิตดังกล่าวกับนกที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย
Cr.http://siamensis.org
ผีเสื้อโมนาร์ช (Monarch Butterfly)
ทุกฤดูหนาวของภูเขาใน Central Mexico คุณสามารถพบเห็นผีเสื้อโมนาร์ช 20,000 ตัวบนกิ่งไม้ และออกันอยู่ในบริเวณนี้กว่า 220 ล้านตัว พวกมันปลอดภัยอย่างแท้จริง เพราะไม่มีสัตว์ตัวไหนกล้าแตะต้องพวกมัน ก็เพราะต้นไม้ที่ชื่อ มิลค์วีด (Milkweed) มีสารพิษที่ชื่ออัลคาลอยด์ที่มีพิษร้ายแรงขนาดปริมาณแค่ 1 ออนซ์ ก็สามารถฆ่าแกะได้
ผีเสื้อโมนาร์ชตัวเมียอาศัยต้นมิลค์วีดเหล่านี้เพื่อเลี้ยงดูลูกของมัน ดักแด้ของโมนาร์ชกินมิลค์วีดกันอย่างเดียว พวกมันจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักจากแรกเกิดอีก 15 เท่า พวกมันถึงจะพร้อมกลายเป็นผีเสื้อ พวกมันจะสะสมอัลคาลอยด์ในเนื้อเยื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันต้องกินยาพิษที่ช่วยปกป้องพวกมันจากนักล่าในช่วงที่พวกมันมีชีวิต เพราะการกลืนอัลคาลอยด์จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และหัวใจหยุดเต้นได้
เมื่อตัวเต็มวัยของผีเสื้อโมนาร์ชออกจากดักแด้ของมัน พิษของตัวเต็มวัยก็พอๆ กับในตัวดักแด้เพราะมันสะสมอัลคาลอยด์อยู่ในเกล็ดบนปีกของมัน อย่างไรก็ตามมีการศึกษาว่าพิษของผีเสื้อโมนาร์ชนั้นลดลงตามอายุของมัน ก็เพราะเวลาที่ล่วงเลยเกล็ดบนปีกของมันก็เริ่มจะร่วงหล่น
ผีเสื้อโมนาร์ชไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่ใช้สารพิษจากพืช มนุษย์ก็เช่นกัน ผู้ปกครองของโรมโบราณทราบดีถึงการใช้ต้นไม้มีพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นเบลลาดอนนา (Belladonna) หรือ เดธลี่ ไนท์เชด (Deathly Nightshade) ที่เต็มไปด้วยอัลคาลอยด์ที่เต็มไปด้วยอะโทรปิน (Atropine) ซึ่งเป็นสารพิษ ในปริมาณที่พอเพียงสิ่งนี้อาจทำให้หัวใจล้มเหลว หนึ่งในนักโทษที่อื้อฉาวในประวัติศาสตร์ ลิเวียพระชายาของจักรพรรดิ ออกุสตัส (Augustus) บางคนเชื่อว่าพระนางใช้เบลลาดอนนา เพื่อวางยาพิษเหยื่อที่ไม่ได้คาดคิดรวมถึงพระสวามีของพระนาง
Cr.
https://board.postjung.com
แมลงปีกแข็งบอมบาร์ดิเออ (Bombardier)
แมลงปีกแข็งบอมบาร์ดิเออ (Bombardier) สามารถผลิตระเบิดในบั้นท้ายของมันเอง เมื่อแมลงบอมบาร์ดิเออเจอปัญหา มันปกป้องตัวเองด้วยการพ่นสารเคมีที่แสบร้อนจากด้านหลังของมันเอง ต่อมที่อยู่ด้านหลังของแมลงบอมบาร์ดิเออ ผลิตไฮโดรควิโนน สารเคมีมีพิษที่เราใช้เหมือนกับน้ำยาล้างฟิล์ม ต่อมอีกต่อมหนึ่งสร้างสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารเคมีแบบเดียวกับที่เราใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวด เมื่อสารเคมีทั้งสองอย่างถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน ปฏิกิริยาความร้อนมีมากถึง 212 องศาเซลเซียส ละอองพิษที่แสบร้อนถูกดันออกไปจากหัวฉีดเล็กๆ ด้วยแรงระเบิดที่รวดเร็วสุดๆ มันสามารถฉีดพิษได้ถึง 700 ครั้งต่อวินาที
Cr.
https://board.postjung.com
"เซทเซ" (TSETSE)
เป็นแมลงอันตรายชนิดหนึ่งในแอฟริกา มีลักษณะคล้ายแมลงวันขนาดใหญ่ บินเร็ว แข็งแรง กินเลือดเป็นอาหาร และมักจะหากินในเวลากลางคืน ที่สำคัญคือมันเป็น "แมลงมีพิษ" และยังเป็นสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรคติดต่อร้ายแรงมากจากสัตว์ได้เรียกว่า "โรคนากานา" ซึ่งจะติดต่อผ่านกระแสเลือด
ตามปกติแล้ว "เซทเซ" จะอาศัยอยู่ที่มีต้นไม้ปกคลุม หรืออาจจะอยู่ร่วมกับหมู่หิ่งห้อยตามพุ่มไม้ และจะบินเข้า - ออกเพื่อหาอาหารอยู่ไม่บ่อยนัก ทั้งมันยังสามารถวางไข่ได้มากถึง 1,000 ใบ/สัปดาห์เลยทีเดียว หลังจากนั้นก็จะฟักออกมาเป็นหนอน ต่อมาอีก 30 - 40 วันก็จะโตเต็มวัย ซึ่งในแอฟริกามีแมลง "เซทเซ" 24 ชนิดด้วยกัน และ "กลอสสินา" ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยมันจะกินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร และในขณะที่มันดูดเลือดเป็นอาหารมันก็จะถ่ายพิษในตัวมันเข้าสู่กระดูกสันหลังของเหยื่อไปด้วยในเวลาเดียวกัน
หลังจากที่พิษเข้าสู่ร่างกายก็จะแพร่กระจาย เริ่มแรกจะมีอาการง่วงนอน แต่ถ้าพิษออกฤทธิ์เต็มที่ก็จะทำให้หลับและเสียชีวิตทันที นั่นหมายความว่าถ้าถูกพิษแล้วห้ามหลับเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเป็นในสัตว์ พิษของ "กลอสสินา" ก็จะทำให้สัตว์มีอาการทางประสาทก่อนตาย
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและพบว่า แมลงเซทเซเป็นแมลงเก่าแก่ที่มีชีวิตอยู่บนโลกมานานกว่า 35 ล้านปีแล้ว เดิมพวกมันเคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาแต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำให้พวกมันย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่แอฟริกา
Cr.
http://www.unigang.com
นกมีพิษ ( POISONOUS BIRDS )
นกพิโทวี่ Hooded Pitohui
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pitohui dichrous ถือเป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบได้ในหมู่เกาะนิวกินีเท่านั้น ในปัจจุบันพวกมันอยู่ในวงศ์ Pachycephalidae มีทั้งหมด 6 ชนิด สำหรับนกพิโทวี่หลากสี (Variable Pitohui; Pitohui kirhocephalus) อาจแยกย่อยตามสีขนและพื้นที่ที่พบได้อีก 20 ฟอร์มเลยทีเดียว
นกพิโทวี่เป็นนกขนาดกลางที่มีสีสันสดใส นักวิทย์เชื่อกันว่า สีสันที่สดใสของมันเป็นสัญญาณเตือนภัยแก่สัตว์นักล่า (aposematism) พวกมันกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร นักปักษีวิทยารู้จักพวกมันในฐานะหัวหน้าฝูงของนกต่างชนิดที่หากินร่วมกัน (mixed-species flocks) โดยไม่ว่าเจ้านกพิโทวี่จะกระโดดหากินในบริเวณใด นกชนิดอื่นก็จะตามมันไป นักวิทย์ได้สังเกตพบว่านกชนิดอื่นที่ตามนั้นมักจะมีสีสันและรูปแบบที่คล้ายคลึงกับนกพิโทวี่ และได้ตั้งสมมติฐานหนึ่งว่าลักษณะเช่นนั้นอาจเป็นการเลียนแบบเบทส์ (Batesian mimicry) ซึ่งเป็นการเลียนแบบประเภทหนึ่งที่พวกถูกล่าเลียนแบบสัตว์ที่พวกสัตว์นักล่าไม่กินทั้งสีสัน รูปร่าง และพฤติกรรม
ซึ่งพิษจะพบได้ในผิว และขนนก ที่จะทำให้เกิดเมื่อสัมผัสถูกจะเกิดอาการมึนงง และแสบ ซึ่ง สารพิษที่พบในขนของนกพิโทวี่ ก็คือ โฮโมบราทาโคท็อกซิน (homobratachotoxin) เป็นสารประเภทสเตียรอยดัลอัลคาลอยด์ที่มีพิษต่อระบบประสาท (neurotoxic steroidal alkaloids) ในกลุ่มบราทาโคท็อกซิน ซึ่งสารพิษในกลุ่มนี้ ถือเป็นหนึ่งในสารพิษที่ร้ายแรงที่สุด โดยมันจะไปยับยั้งกระแสประสาทภายในกล้ามเนื้อและเซลล์ประสาททำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเกือบจะทันที
ชาวปาปัวนิวกินีรู้กันดีว่านกปิโทฮุยมีอันตรายและไม่สมควรนำมาบริโภค เพราะอาจทำให้เสียชีวิตได้ แต่อย่างไรก็ดี มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคนกพวกนี้ ต้องถอนขนและถลกหนังให้หมด โดยอย่าสัมผัสขนและหนังของมันโดยตรง รวมทั้งระวังไม่ให้เนื้อของมันถูกหนังและขน จากนั้นให้นำเนื้อนกไปย่างจนสุขด้วยถ่านร้อน ๆ จึงจะสามารถนำกินได้
Cr.http://drsuntzu.weebly.com
นกคุ่มยุโรป (Eurasian Common Quail)
นกเท่าที่โลกรายงานมาพบว่ามันมี 11 ชนิดที่มีพิษ ในจำนวนเหล่านี้มีนกคุ่มยุโรปซึ่งเป็นนกย้ายถิ่นที่มีอยู่ทั่วไปในยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ที่เชื่อว่ามีพิษมากว่า 3,500 ปีมาแล้ว แต่ไม่รู้แน่ว่ามันสะสมพิษที่ใด นักวิทยาศาสตร์รู้เพียงว่าเนื้อของมันมีพิษบางตัว ในบางพื้นที บางฤดู(ช่วงอพยพ)
เมื่อกินเนื้อที่มีพิษนี้เข้าไปจะทำให้ได้รับพิษ Noturnism ซึ่งทำให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ อ่อนแรง บางกรณีอาจรุนแรงถึงหายใจไม่ออกและตายในที่สุด แต่กระนั้นชาวยุโรปก็ไม่เข็ดที่จะกินเนื้อนกนี้แม้จะมีพิศก็ตาม (เหมือนกับกินปลากปักเป้าของญี่ปุ่นนั้นแหละ)
Cr.http://oknation.nationtv.tv/
นกอีฟริตต้าหัวฟ้า (Blue-capped Ifrita; Ifrita kowaldi)
ในหมู่เกาะนิวกินีมีคำบอกเล่าจากชนเผ่าพื้นเมืองว่า นกที่มีชื่อพื้นเมืองว่า "Slek-Yakt" (แปลว่า "นกที่มีเนื้อขม") นั้นมีพิษเช่นกัน การกินนกชนิดนี้จะทำให้ปากแสบร้อนรุนแรงกว่าการกินพริก อีกทั้งการสูดดมเอากลิ่นของนกชนิดนี้เข้าไปอาจทำให้เกิดอาการไอหรืออาการคล้ายอาการแพ้อื่นๆ
สิ่งนี้ทำให้นักวิจัยดัมแบชเชอร์เกิดความสนใจ หลังจากศึกษาอย่างละเอียดพบว่ามันคือนกอีฟริตต้าหัวฟ้า (Blue-capped Ifrita; Ifrita kowaldi) ซึ่งมีพิษบราทาโคท็อกซินเช่นเดียวกับที่พบในนกพิทูวี่...แต่ไม่ใช่ทุกตัว! ตัวอย่างในบางพื้นที่จะมีสารพิษอยู่มาก และในบางพื้นที่กลับไม่พบสารพิษนี้เลย
ในตัวอย่างที่พบสารพิษนั้น ขนบริเวณอกและท้องจะมีสารพิษนี้อยู่มาก นี่บ่งชี้ว่ามันได้รับสารพิษจากอาหารที่มันกินเช่นเดียวกับนกพิโทวี่ เขาได้รายงานการพบนกชนิดที่สองที่มีพิษในปี 2000 ในปัจจุบันนักวิทย์พบว่า นอกเหนือจากสารพิษโฮโมบราทาโคท็อกซิน นกอีฟริตต้าหัวฟ้านั้นยังสะสมพิษในกลุ่มบราทาโคท็อกซินอื่นอีกหลายตัว นกอีฟริตต้าหัวฟ้าเป็นนกที่มีสีสันสวยงาม พบได้เฉพาะในป่าดิบเขา (ที่ระดับความสูง 1,500 เมตรขึ้นไป) ของหมู่เกาะนิวกินีเท่านั้น มันชอบไต่ตามลำต้นของไม้ยืนต้นคล้ายกับนกไต่ไม้ นกอีฟริตต้าเป็นนกกินแมลง แต่ก็มีรายงานว่าบางครั้งมันก็กินมอสขณะจิกกินแมลงด้วยเช่นกัน
Cr.http://siamensis.org
นกอ็อกเล็ตหงอน (Crested Auklet; Aethia cristatella)
เป็นนกกินแพลงก์ตอนขนาดเล็ก (เช่น เคย โคพีพอด ฯลฯ) ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งแถบทะเลเบอร์ริ่งจนถึงมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ พวกมันจะปล่อยสารหอมระเหยที่คล้ายกับกลิ่นส้มออกมา สารที่อยู่ตามผิวหนังและขนอาจไม่ได้ใช้ในการป้องกันตัวจากนักล่าและป้องกันปรสิตภายนอกเพียงอย่างเดียว มันยังมีประโยชน์ในด้านการสืบพันธุ์และการใช้ชีวิต (เช่น การจดจำรัง เป็นต้น) ด้วย
เราสามารถรับรู้กลิ่นนี้เมื่อเข้าไปใกล้ฝูงของพวกมัน นักวิทย์ได้ตรวจสอบและพบว่ามีสารประกอบอัลดีไฮด์หลายตัวโดยมี n-octanal เป็นหลัก พวกเขาได้ตั้งสมมติฐานว่า สารระเหยนี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงคุณภาพของคู่ครองในด้านสุขภาพที่ดีและปลอดภัยจากปรสิตภายนอก
นอกจากการสร้างหรือสะสมสารขึ้นมาแล้ว ยังมีการนำเอาสิ่งมีชีวิตที่มีข้อปล้องเช่น มด กิ้งกือ ฯลฯ มาถูขนเพื่อให้พิษของสัตว์เหล่านี้เคลือบติดกับขน เรียกพฤติกรรมนี้ว่า anting รวมถึงการนำเอาสารจากพืชมาเช่น สารลิโมนีน (limonene) จากเปลือกผลของพืชสกุลส้ม สารไพรีทรัม (pyretrum) จากดอกดาวเรือง เป็นต้น มาทาที่ขนหรือรังโดยตรง นักวิทย์ได้ตั้งสมมติฐานว่ามันทำเช่นนี้เพื่อป้องกันปรสิตภายนอก แต่มีการทดลองยืนยันแล้วว่าสมมติฐานในเรื่องดังกล่าวไม่ถูกต้อง เนื่องจากผลการทดลองไม่พบความแตกต่างระหว่างนกที่มีสารหรือสิ่งมีชีวิตดังกล่าวกับนกที่ไม่มีสิ่งเหล่านี้เลย
Cr.http://siamensis.org
ผีเสื้อโมนาร์ช (Monarch Butterfly)
ทุกฤดูหนาวของภูเขาใน Central Mexico คุณสามารถพบเห็นผีเสื้อโมนาร์ช 20,000 ตัวบนกิ่งไม้ และออกันอยู่ในบริเวณนี้กว่า 220 ล้านตัว พวกมันปลอดภัยอย่างแท้จริง เพราะไม่มีสัตว์ตัวไหนกล้าแตะต้องพวกมัน ก็เพราะต้นไม้ที่ชื่อ มิลค์วีด (Milkweed) มีสารพิษที่ชื่ออัลคาลอยด์ที่มีพิษร้ายแรงขนาดปริมาณแค่ 1 ออนซ์ ก็สามารถฆ่าแกะได้
ผีเสื้อโมนาร์ชตัวเมียอาศัยต้นมิลค์วีดเหล่านี้เพื่อเลี้ยงดูลูกของมัน ดักแด้ของโมนาร์ชกินมิลค์วีดกันอย่างเดียว พวกมันจำเป็นต้องเพิ่มน้ำหนักจากแรกเกิดอีก 15 เท่า พวกมันถึงจะพร้อมกลายเป็นผีเสื้อ พวกมันจะสะสมอัลคาลอยด์ในเนื้อเยื่อให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะมันต้องกินยาพิษที่ช่วยปกป้องพวกมันจากนักล่าในช่วงที่พวกมันมีชีวิต เพราะการกลืนอัลคาลอยด์จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน และหัวใจหยุดเต้นได้
เมื่อตัวเต็มวัยของผีเสื้อโมนาร์ชออกจากดักแด้ของมัน พิษของตัวเต็มวัยก็พอๆ กับในตัวดักแด้เพราะมันสะสมอัลคาลอยด์อยู่ในเกล็ดบนปีกของมัน อย่างไรก็ตามมีการศึกษาว่าพิษของผีเสื้อโมนาร์ชนั้นลดลงตามอายุของมัน ก็เพราะเวลาที่ล่วงเลยเกล็ดบนปีกของมันก็เริ่มจะร่วงหล่น
ผีเสื้อโมนาร์ชไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวที่ใช้สารพิษจากพืช มนุษย์ก็เช่นกัน ผู้ปกครองของโรมโบราณทราบดีถึงการใช้ต้นไม้มีพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้นเบลลาดอนนา (Belladonna) หรือ เดธลี่ ไนท์เชด (Deathly Nightshade) ที่เต็มไปด้วยอัลคาลอยด์ที่เต็มไปด้วยอะโทรปิน (Atropine) ซึ่งเป็นสารพิษ ในปริมาณที่พอเพียงสิ่งนี้อาจทำให้หัวใจล้มเหลว หนึ่งในนักโทษที่อื้อฉาวในประวัติศาสตร์ ลิเวียพระชายาของจักรพรรดิ ออกุสตัส (Augustus) บางคนเชื่อว่าพระนางใช้เบลลาดอนนา เพื่อวางยาพิษเหยื่อที่ไม่ได้คาดคิดรวมถึงพระสวามีของพระนาง
Cr.https://board.postjung.com
แมลงปีกแข็งบอมบาร์ดิเออ (Bombardier)
แมลงปีกแข็งบอมบาร์ดิเออ (Bombardier) สามารถผลิตระเบิดในบั้นท้ายของมันเอง เมื่อแมลงบอมบาร์ดิเออเจอปัญหา มันปกป้องตัวเองด้วยการพ่นสารเคมีที่แสบร้อนจากด้านหลังของมันเอง ต่อมที่อยู่ด้านหลังของแมลงบอมบาร์ดิเออ ผลิตไฮโดรควิโนน สารเคมีมีพิษที่เราใช้เหมือนกับน้ำยาล้างฟิล์ม ต่อมอีกต่อมหนึ่งสร้างสารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ สารเคมีแบบเดียวกับที่เราใช้เป็นเชื้อเพลิงจรวด เมื่อสารเคมีทั้งสองอย่างถูกรวมเข้าไว้ด้วยกัน ปฏิกิริยาความร้อนมีมากถึง 212 องศาเซลเซียส ละอองพิษที่แสบร้อนถูกดันออกไปจากหัวฉีดเล็กๆ ด้วยแรงระเบิดที่รวดเร็วสุดๆ มันสามารถฉีดพิษได้ถึง 700 ครั้งต่อวินาที
Cr.https://board.postjung.com
"เซทเซ" (TSETSE)
เป็นแมลงอันตรายชนิดหนึ่งในแอฟริกา มีลักษณะคล้ายแมลงวันขนาดใหญ่ บินเร็ว แข็งแรง กินเลือดเป็นอาหาร และมักจะหากินในเวลากลางคืน ที่สำคัญคือมันเป็น "แมลงมีพิษ" และยังเป็นสัตว์ที่เป็นพาหนะนำโรคติดต่อร้ายแรงมากจากสัตว์ได้เรียกว่า "โรคนากานา" ซึ่งจะติดต่อผ่านกระแสเลือด
ตามปกติแล้ว "เซทเซ" จะอาศัยอยู่ที่มีต้นไม้ปกคลุม หรืออาจจะอยู่ร่วมกับหมู่หิ่งห้อยตามพุ่มไม้ และจะบินเข้า - ออกเพื่อหาอาหารอยู่ไม่บ่อยนัก ทั้งมันยังสามารถวางไข่ได้มากถึง 1,000 ใบ/สัปดาห์เลยทีเดียว หลังจากนั้นก็จะฟักออกมาเป็นหนอน ต่อมาอีก 30 - 40 วันก็จะโตเต็มวัย ซึ่งในแอฟริกามีแมลง "เซทเซ" 24 ชนิดด้วยกัน และ "กลอสสินา" ก็เป็นหนึ่งในนั้น โดยมันจะกินเลือดคนและสัตว์เป็นอาหาร และในขณะที่มันดูดเลือดเป็นอาหารมันก็จะถ่ายพิษในตัวมันเข้าสู่กระดูกสันหลังของเหยื่อไปด้วยในเวลาเดียวกัน
หลังจากที่พิษเข้าสู่ร่างกายก็จะแพร่กระจาย เริ่มแรกจะมีอาการง่วงนอน แต่ถ้าพิษออกฤทธิ์เต็มที่ก็จะทำให้หลับและเสียชีวิตทันที นั่นหมายความว่าถ้าถูกพิษแล้วห้ามหลับเด็ดขาด ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้ แต่ถ้าเป็นในสัตว์ พิษของ "กลอสสินา" ก็จะทำให้สัตว์มีอาการทางประสาทก่อนตาย
ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและพบว่า แมลงเซทเซเป็นแมลงเก่าแก่ที่มีชีวิตอยู่บนโลกมานานกว่า 35 ล้านปีแล้ว เดิมพวกมันเคยอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาแต่เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม ทำให้พวกมันย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่แอฟริกา
Cr.http://www.unigang.com